ผู้บันทึก : นางจิตฤดี รอดการทุกข์ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : อบรม | |
เมื่อวันที่ : 18 ส.ค. 2553 ถึงวันที่ : 18 ส.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : กลุ่มสร้างเสริมวินัยและระบบคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุข | |
จังหวัด : นนทบุรี | |
เรื่อง/หลักสูตร : การอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต | |
วันที่บันทึก 21 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การประชุม ครั้งนี้จัดเป็นการบรรยายในหัวข้อ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ซึ่งสำนักงานที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) การทำงานของ ปปท. มีหน้าที่เช่นเดียว กับป.ป.ช. แบ่งเป็น ปราบปราม ๑ คดีกลุ่มกระทรวงด้านสังคม ปราบปราม ๒ คดีกลุ่มด้านเศรษฐกิจ, ปราบปราม ๓ คดีกลุ่มรัฐวิสาหกิจ , ปราบปราม ๔ คดีกลุ่มอบต. / องค์กรปกครองท้องถิ่น, ปราบปราม ๕ คดีกลุ่มองค์กรอิสระทั้งหมด เช่น ศาล การปราบปรามการทุจริต มีความเป็นมาจากยุทธศาสตร์ชาติภาครัฐตั้งแต่ ปี ๒๕๕๑ โดยมีวิสัยทัศน์คือ “ หน่วยงานภาครัฐ บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ทุกภาคส่วนร่วมกันป้องกันและปราบปรามการทุจริต” การทุจริตจะมีโครงสร้างการทุจริต ตั้งแต่ภาคการเมือง ภาครัฐ ภาคธุรกิจจนเป็นค่านิยม เพราะฉะนั้นหน่วยงาน ปปท. ที่จัดตั้งขึ้นต้องมีการป้องกันการทุจริตที่จะเกิดขึ้น โดยการกำหนดแนวทางการปฏิบัติไว้ ๓ แนวทาง ๑. การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนคือทำอย่างไรไม่ให้คนทุจริต ๒. ต้องทำควบคู่กันระหว่างการป้องกันและการปราบปราม และ๓. เน้นการดำเนินงานเชิงบูรณาการจึงได้มีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เสริมสร้างสำนึก ค่านิยม ให้หน่วยงานภาครัฐบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางในการดำเนินการ – การรณรงค์สร้างจิตสำนึก ค่านิยมใหม่ให้ประชาชน – การรณรงค์สร้างจิตสำนึก ค่านิยมใหม่ให้บุคลากรภาครัฐ -การปลูกฝังจิตสำนึกค่านิยมใหม่แก่เยาวชน -การฝึกอบรมและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่และรัฐ ประชาชนประพฤติตนตามหลักปรัชญาเศษรฐกิจพอเพียง -การเผยแพร่ข่าวสาร – การยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่ประพฤติดี แนวทางในการดำเนินการ – การแลกเปลี่ยนข้อมูลการทุจริตและการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันในการ ป้องกันปราบปรามการทุจริตระหว่างภาครัฐ – การจัดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน -การส่งเสริมประชาชนรู้ถึงข้อมูลข่างสารทางราชการมากขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ แนวทางในการดำเนินการ – การนำกระบวนการตรวจสอบภายในมาใช้ในการตรวจสอบ – การจัดทำดัชนีชี้วัดความโปร่งใส – การเสนอ/ สนับสนุนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เอื้อต่อการทุจริต – การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตรวจสอบข้อมูล – การศึกษาค้นคว้าและทำงานวิจัยด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริต ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ แนวทางในการดำเนินการ – การอบรมเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ – การจัดทำรูปแบบและงานวิจัยเกี่ยวกับการทุจริต – การจัดทำจรรยาบรรณวิชาชีพและมาตรฐานคุณธรรมจริยธรรมภาครัฐ – การติดตามตรวจสอบให้ข้าราชการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ แนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างราชการใสสะอาดและการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต – ความหมายของราชการใสสะอาด การที่หน่วยงานของรัฐมีกลไกการทำงานและการให้บริการโปร่งใสและตรวจสอบได้ ปลอดการทุจริต และประพฤติมิชอบ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่มีคุณธรรม จริยธรรมมีทักษะ สมรรถนะในการประกอบอาชีพที่ถูกต้อง -ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินการโดยการฝึกอบรม หลักสูตรพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติ จำนวน ๓ หลักสูตร , การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรเครือข่าย และวิทยากรกลุ่มเพื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติ จำนวน ๒ ครั้ง , – สร้างมาตรฐานความโปร่งใสในภาครัฐ ๕ มิติ / ๑๕ ตัวชี้วัด ๑.มิติด้านนโยบาย/ ผู้บริหาร การให้ความสำคัญต่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของฝ่ายบริหาร ๒. มิติด้านข้อมูลข่าวสาร ๓. มิติด้านระบบการตรวจสอบติดตามการทำงานภายในองค์กร ๔.มิติด้านระบบรับร้องเรียน ๕.มิติด้านการให้บริการ มาตรฐานความโปร่งใส ๔มิติ / ๑๓ ตัวชี้วัด ๑. มิติ ด้านนโยบาย / ผู้บริหาร และความพยายาม / ริเริ่ม ของหน่วยงานในการสร้างความโปร่งใส ๒.มิติด้านความเปิดเผย / การมีระบบตรวจสอบภายในองค์กร และการมีส่วนร่วม ๓.มิติด้านการใช้ดุลยพินิจ ๔.มิติด้านการมีระบบกลไก จัดการรับเรื่องร้องเรียน ค่านิยมหลักสำหรับประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้า หน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ๑.การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ๒.การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ ๓. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ๔. การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรมและถูกกฎหมาย ๕. การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความราดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฎิบัติ ๖. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องไม่ บิดเบือนข้อเท็จจริง ๗. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน และมีคุณภาพโปร่งใส และตรวจสอบได้ ๘. การยึดถือมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ๙. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
เป็นแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ในการปฏิบัติงานด้านการไม่ทุจริต
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
เป็นแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ในการปฏิบัติงานด้านการไม่ทุจริต |
(273)