อบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น

อบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น
ผู้บันทึก :  นางสาวภาวดี เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 26 เม.ย. 2553   ถึงวันที่  : 28 พ.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข
  จังหวัด :  มหาสารคาม
  เรื่อง/หลักสูตร :  อบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น
  วันที่บันทึก  3 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning outcome) – พัฒนาสมรรถนะกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต – พัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาจากเหตุที่แท้จริง – พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง – พัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มของผู้เรียน 1. การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ – ประโยชน์ : การเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเอง -วิธีการเรียนรู้:เริ่มที่ตัวเองก่อนแล้วเรียนรู้ตามความต้องการเพราะ “การรอคอยให้ผู้อื่นบอก อาจจะไม่ได้ความรู้ตามที่ต้องการ” – การแลกเปลี่ยนกับเพื่อน “เพื่อนช่วยเพื่อน” ทำให้ทราบข้อมูลลึกซึ้ง สามารถนำไปใช้งานได้ – “เรียนรู้ที่จะค้นคว้า” 2. แนวคิดการเรียนรู้ – มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต – อายุไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนรู้ – การเรียนรู้ต้องไม่อาย – พื้นฐานองค์ความรู้ที่มีของทุกคน เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่สมาชิก – การหยุดอยู่กับที่ ในขณะที่เพื่อนเดินไปข้างหน้า เท่ากับเราเดินถอยหลัง – จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต – เมื่อไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป 3. ปรัชญาการเรียนรู้ “การเรียนรู้คือ การพัฒนา การไม่เรียนรู้คือ การไม่พัฒนา เมื่อไม่พัฒนาก็เหมือน ไดโนเสาร์ ที่มันจะตายไปเองตามกาลเวลา” 4. กระบวนการกลุ่มและการทำงานเป็นทีม – เป้าหมาย : ขับเคลื่อนงานสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่ขัดกัน “ลงเรือลำเดียวกันต้องอยู่รวมกัน” – สิ่งค้นพบ : สร้างความกล้าหาญและโอกาสแสดงความคิดเห็น 5. บทบาท: – ผู้นำกลุ่มต้องพูดน้อยฟังมาก – สมาชิกต้องรู้บทบาทและหน้าที่ของตนเอง – การวางแผน บริหารเวลา และประสานงานชัดเจน – มีการแบ่งงาน “ put the right man on the right job” – ระดมความคิด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เรียนรู้ร่วมกัน – ร่วมแรงร่วมใจ เสียสละ และอดทน 6. ผู้นำ – พูดน้อยฟังมาก สื่อสารเชิงบวก – มีความคิดเชิงระบบ ประมวลความคิด เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ – บริหารเวลา ให้เกิดสมดุลในชีวิตและงาน – ฟังเพื่อประมวลความคิดเป็นข้อสรุปของทุกฝ่าย ป้องกันความขัดแย้ง สิ่งค้นพบ – ผู้นำโดยธรรมชาติมีความสำคัญในการขับเคลื่อนงานสาธารณสุข – การทำงานต้องเสียสละประโยชน์ส่วนตัวบางส่วนเพื่อสร้างความสุขของส่วนรวม 7. การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ (จากเหตุปัจจัยที่แท้จริง) – ค้นหาปัญหาอย่างเป็นระบบ – วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในเชิงลึกและกว้าง “มีมุมมองกว้างขึ้น”เพื่อหาต้นตอของปัญหา – แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการและข้อมูล – บูรณาการความรู้ในแก้ปัญหาอย่างเข้าใจ สิ่งค้นพบ : บุคคลมีศักยภาพและวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เหมือนกัน 8. การมอบหมายงาน – การมอบหมายงานมีความสำคัญ เป็นการแสดงความไว้วางใจซึ่งกันและกัน – วิธีการมอบหมายงานแตกต่างกัน ตามลักษณะความชอบและถนัดของทั้งผู้มอบหมายงานและผู้รับมอบหมายงาน สิ่งค้นพบ: ก่อนมอบหมายงานจึงควรมองคนให้ออก มองคนให้เป็น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การบริหารงานในงานวิจัยและผลงานวิชาการ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การบริหารงานในงานวิจัยและผลงานวิชาการ และงานวิชาการ

(282)

Comments are closed.