คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยของสถาบันพระบรมราชชนก

คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยของสถาบันพระบรมราชชนก
 ผู้บันทึก :  นางสาวจามจุรี แซ่หลู่
  กลุ่มงาน :  งานวิจัยและผลงานวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 5 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 7 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยของสถาบันพระบรมราชชนก
  วันที่บันทึก  15 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย คือการปกป้องสิทธิและประโยชน์ของผู้เข้าร่วมวิจัย (protect research participants) คณะกรรมการต้องยึดหลักการทางจริยธรรมของการวิจัยในคนเป็นแนวทางในการพิจารณา งานวิจัย ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 3 ประการ คือหลักความเคารพในบุคคล (respect for person) หลักคุณประโยชน์และไม่ก่ออันตราย (beneficence, non-maleficence) และหลักยุติธรรม (justice) หลักความเคารพในบุคคล คือการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นคน การเคารพในการมีอิสระในการตัดสินใจให้คำยินยอมโดยมีข้อมูลที่เพียงพอ การเคารพในศักดิ์ศรีของบุคคลที่อ่อนแอ เปราะบาง (vulnerable person) ซึ่งด้อยความสามารถทางร่างกาย/จิตใจ เช่น ผู้ป่วยโรคจิต เด็ก ผู้เยาว์ หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ถูกคุมขัง การเคารพในความเป็นส่วนตัวและรักษาความลับ หลักคุณประโยชน์และไม่ก่ออันตราย หมายถึงการชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงและผลประโยชน์ ประโยชน์ที่ได้ต้องมากกว่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และความเสี่ยงนั้นอาสาสมัครยอมรับได้ ซึ่งความเสี่ยงนี้ครอบคลุมถึงความเสี่ยงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ชื่อเสียงเกียรติยศ ผู้วิจัยต้องลดอันตรายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด (minimizing harm) ผู้วิจัยต้องป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอาสาสมัครหรือหากป้องกันไม่ ได้ควรจะหาทางให้เกิดอันตรายน้อยที่สุด อาสาสมัครต้องไม่เสี่ยงโดยไม่จำเป็น ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรใช้ตัวอย่างการวิจัยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะตอบคำถาม การวิจัยได้ในการวิเคราะห์ผลทางสถิติ นอกจากนี้นักวิจัยจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะพึงมีแก่อาสาสมัครโดย ตรงด้วยนอกเหนือจากผลประโยชน์แก่ตนเอง/สังคม/วิชาการ หลักยุติธรรม คือความเที่ยงธรรม (fairness) และความเท่าเทียมกัน (equity) ผู้วิจัยต้องปฏิบัติต่ออาสาสมัครแต่ละคนอย่างถูกต้องยุติธรรมและเท่าเทียม กัน จากการหลักการดังกล่าวเมื่อพิจารณางานวิจัย คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย ต้องพิจารณาโครงร่างการวิจัยในหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 1. ผู้วิจัยจะต้องบอกถึงความจำเป็นอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำการวิจัยในคน 2. ผู้วิจัยต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ระบุประโยชน์และความเป็นไปได้ 3. ผู้วิจัยต้องแสดงหลักฐานผลการศึกษาในห้องทดลอง หรือผลการวิจัยอื่นอย่างเพียงพอที่จะยืนยันถึงความปลอดภัยและเหมาะสมที่จะนำ มาวิจัยในคน 4. มีระเบียบวิธีวิจัย (research methodology/design) ที่ดีและเหมาะสม สามารถตอบคำถามการวิจัยได้ การวิจัยที่ออกแบบไม่เหมาะสมไม่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์จะทำให้มีคนต้อง เสี่ยงโดยไม่เกิดประโยชน์ 5. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถประสบการณ์เพียงพอที่จะดำเนินการวิจัยในคน ได้ โดยการแสดงหลักฐานคุณวุฒิการศึกษา การฝึกอบรมและผลงาน 6. ผู้วิจัยต้องระบุกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมที่จะใช้ในการวิจัยซึ่งไม่มากเกิน ความจำเป็นหรือน้อยเกินไปจนไม่สามารถให้ค่าทดสอบที่เชื่อถือได้ทางสถิติ 7. ผู้วิจัยต้องจำกัดความเสี่ยงให้มีน้อยที่สุดต่ออาสาสมัคร 8. ในกระบวนการขอความยินยอม ผู้วิจัยต้องทำเอกสารคำอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายให้อาสาสมัครทราบก่อน ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ เปิดโอกาสให้มีการซักถามและมีเวลาสำหรับตัดสินใจ สำหรับสิ่งที่ผู้วิจัยต้องบอกให้อาสามสมัครรับทราบคือ – วัตถุประสงค์ พร้อมวิธีการวิจัยที่จะปฏิบัติต่ออาสาสมัคร – ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งอาสามสมัคร ผู้อื่น หรือวงวิชาการ – ความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่ออาสาสมัคร – ทางเลือกในการรักษาหรือตรวจวินิจฉัยที่จะเป็นประโยชน์ต่ออาสาสมัคร – วิธีการ/ขอบเขตดูแลเก็บรักษาข้อมูลของอาสาสมัครไว้เป็นความลับ – การดูแลรักษา/ระยะเวลา ที่ผู้วิจัยจะจัดให้อาสาสมัคร – การจ่ายเงินชดเชยหรือค่าใช้จ่ายในกรณีที่เกิดอันตราย หรือเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากการทำวิจัย ขึ้นกับอาสาสมัคร – สิทธิของอาสาสมัครที่จะถอนตัวออกจากโครงการได้ทุกเมื่อ โดยยังคงได้รับการดูแลรักษาบริการตามปกติที่พึงได้รับ – ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ของผู้วิจัย เพื่อให้สามารถติดต่อสอบถามได้ – การจ่ายค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์แก่อาสาสมัคร ต้องระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าค่าตอบแทนจะเป็นการรักษาหรือเงินก็ตาม ซึ่งจะต้องไม่มากเกินไปจนล่อใจให้เข้ามาเป็นอาสาสมัคร (unduce inducement) โดยทั่วไปอาจเป็นค่าเดินทาง ค่าเสียเวลา หรือค่าอาหาร 9. ผู้วิจัยต้องจัดทำใบยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรให้อาสาสมัครเซ็นชื่อไว้เป็น หลักฐาน 10. ผู้วิจัยอาจยุติโครงการวิจัยก่อนกำหนดได้เพื่อความปลอดภัยของอาสาสมัคร และเพื่อประโยชน์ต่ออาสาสมัคร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              งานวิจัยและการเรียนการสอนวิชาวิจัยทางการพยาบาล


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               การเขียนโครงการวิจัย

(357)

Comments are closed.