ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๓)

ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๓)
ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานแผนและบริหารคุณภาพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 7 มิ.ย. 2556   ถึงวันที่  : 7 มิ.ย. 2556
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สมศ.
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๓)
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2556

 รายละเอียด
ด้านเนื้อหาสาระปรัชญา             ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ
Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

ปณิธาน          ประเมินเพื่อพัฒนา…อย่างต่อเนื่อง
Assessing for Continual Improvement

วิสัยทัศน์         คงความเชี่ยวชาญขององค์กร เพิ่มความเชื่อมั่นของประชาคม สร้างความเชื่อใจให้ประชาชน
Maintaining ONESQA’s Competency, Increasing Credibility, and Enhancing Public Confidence

พันธกิจ           ประเมินคุณภาพและรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษา

Assessing and Accrediting the Quality of Educational Institutions

ONESQA        Overcome Limitations          ก้าวข้ามขีดจำกัด

                   Nurture Creativity                คิดสร้างสรรค์

                   Enhance Ethics                   ขับเคลื่อนจริยธรรม

                   Social Responsibility             รับผิดชอบต่อสังคม

                   Quality Awareness               สำนึกคุณภาพ

                   Amicable Agency                 องค์กรกัลยาณมิตร

แนวคิด สมศ  “ลดภาระ สร้างสรรค์ กัลยาณมิตร”  ในการประเมินรอบสี่ หากไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่เพิ่มตัวบ่งชี้  หลังจากการประชาพิจารณ์แล้วจะมีการนำเสนอตัวบ่งชี้ในวันที่ ๗-๘ พฤศจิกายน ๕๖ ณ ศูนย์ประชุมไบเทคบางนา

แนวคิดในการกำหนดตัวบ่งชี้ ครอบคลุม  ๓ มิติ ได้แก่

๑)      ตัวบ่งชี้พื้นฐาน  ซึ่งเป็นสากล

๒)      ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ บ่งบอกความเป็นตัวตน  สามารถใช้มาตรการเทียบเคียง เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละสถาบัน  ผู้บริหารสถาบันต้องสร้างบรรยากาศภายในให้พร้อมในการสนับสนุนอัตลักษณ์ด้วย

๓)      ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม  เป็นการช่วยเหลือสังคม  ต้องส่งเสริทั้งในและนอกสถาบัน มองปัญหารอบข้างของสถาบัน

การวัดคุณภาพ   ประเมินจาก

w ความต่อเนื่อง ครอบคลุม

w คุ้มค่า/คุณค่า: ใช้ห้องประชุมให้คุ้ม

w ความปลอดภัย: ภายในสถาบัน

w ความรับผิดชอบ: ในการผลิตบัณฑิต มีงานทำ

w ความร่วมมือ: ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นเรื่องของทุกคน

w ความทันสมัย: คิดสร้างสรรค์ ริเริ่ม หลากหลาย

w ความดี: คุณธรรม จริยธรรม

w ความงาม: ขึ้นอยู่กับรสนิยม

การวัดคุณภาพศิษย์  คิด ทำ ประเมิน ก่อให้เกิดผลกระทบ เพื่อเปลี่ยนประเทศไทย  จาก การประเมินที่ผ่านมาทั้ง ๓ รอบ พิจารณาคุณภาพศิษย์จาก ผลสัมฤทธิ์ ความดี การศึกษาต่อ การมีงานทำ ความพึงพอใจผู้ใช้ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิจัย

นิยามคุณภาพศิษย์ “ความรู้ ความสามารถ ความคิด จิตอาสา ความเป็นไทย ทันสมัย ทันโลก”

เป็นกรอบในการคิดแบบวัด

๑) ความรู้ : จำ เข้าใจ นำไปใช้

๒) ความสามารถ : ตน (ทักษะชีวิต) คน (คุณลักษณะตามสาขาวิชาชีพ) งาน (การเข้าสู่วิชาชีพ)

๓) ความคิด : วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ ประเมินคุณค่า และหรือความคุ้มค่า

๔) จิตอาสา : เสียสละ บำเพ็ญประโยชน์ รับผิดชอบต่อสังคม

๕) ความเป็นไทย : น้ำใจไมตรี สืบสานประเพณี มีวัฒนธรรม

๖) ทันสมัย ทันโลก : รู้รอบ รู้ทัน เป็นปัจจุบัน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ ๔


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(291)

Comments are closed.