การรับรองสถาบันการศึกษาพยาบาลและผดุงครรภ์ ณ สภาการพยาบาล

การรับรองสถาบันการศึกษาพยาบาลและผดุงครรภ์ ณ สภาการพยาบาล
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานแผนและบริหารคุณภาพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 6 ต.ค. 2555   ถึงวันที่  : 6 ต.ค. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สภาการพยาบาล
  จังหวัด :  กรุงเทพ
  เรื่อง/หลักสูตร :  การรับรองสถาบันการศึกษาพยาบาลและผดุงครรภ์ ณ สภาการพยาบาล
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555


 รายละเอียด
๑) รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ นำเสนอการเปรียบเทียบ ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับรองสถาบันการ ศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ กับ (ร่าง) ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ……  ส่วนใหญ่เนื้อหาเหมือนเดิม มีการปรับเปลี่ยนข้อความเพื่อให้กระชับ เข้าใจได้ง่ายขึ้น รวมทั้งเพิ่มเติมบางข้อความ เช่น

ข้อ ๔ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา หมายถึง คณบดี หรือผู้อำนวยการ ของสถาบันการศึกษาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า

ข้อ ๑๙.๒  เพิ่มเติม คุณสมบัติของผู้บริหาร  ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม

ข้อ ๒๒ คุณสมบัติของอาจารย์ประจำ  ต้อง สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโทสาขาพยาบาลศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์  นั่นหมายถึง อาจารย์ที่จบปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์  ไม่สามารถนับได้  นอกจากนั้นต้องมีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลไม่น้อยกว่า ๒ ปี และมีประสบการณ์ด้านการสอน  ไม่น้อยกว่า ๑ ปี  หรือต้องผ่านการอบรมหลักสูตรศาสตร์และศิลป์การสอนทางการพยาบาล      (ครูคลินิก)

ข้อ ๒๓.๓ สัดส่วนวุฒิอาจารย์พยาบาลประจำ ปริญญาเอก มีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๕ ของอาจารย์พยาบาลประจำทั้งหมด  และปริญญาโท มีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๕ ของอาจารย์พยาบาลประจำทั้งหมด 

ข้อ ๒๔ การกำหนดภาระงานสอน  ต้องไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยชั่วโมง แต่ไม่เกิน ๑๒ หน่วยชั่วโมงต่อสัปดาห์  (สอดคล้องกับกพอ.๕๔)

ข้อ ๓๔ เพิ่มเติม ต้องมีการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนอยู่ในระดับดี  และมีการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอก และการประกันคุณภาพภายในไปใช้ปรับปรุงคุณภาพสถาบันการศึกษาอย่างชัดเจน ครบถ้วน

ข้อ ๕๐ เพิ่มค่าธรรมเนียม การรับรองสถาบันการศึกษา  ครั้งละ ๔๐,๐๐๐ บาท  การตรวจเยี่ยมและประเมิน ครั้งละ ๓๐,๐๐๐ บาท

๒) รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์  บรรยายเรื่องเกณฑ์การพิจารณารับรองสถาบันและหลักสูตรพยาบาลศาสตร์  เน้นการประเมินตนเอง เทียบเคียงกับมาตรฐานการประคุณภาพระดับชาติ (สกอ. และ สมศ.) และสอดคล้องกับข้อบังคับของ TQF และมาตรฐานอุดมศึกษา

เกณฑ์ แบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ เกณฑ์สำคัญ คิดเป็น ๗๐ เปอร์เซ็นต์ และเกณฑ์ ทั่วไป คิดเป็น ๓๐ เปอร์เซ็นต์

มาตรฐานและตัวบ่งชี้ของการพิจารณาการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์  มีทั้งหมด ๘ มาตรฐาน ๒๘ ตัวบ่งชี้

มาตรฐาน

ตัวบ่งชี้

ระดับตัวบ่งชี้

คะแนน

ด้านองค์กรและการบริหารองค์กร ตัวบ่งชี้ที่ ๑ การบริหารองค์กร เกณฑ์ทั่วไป

๑๐

ตัวบ่งชี้ที่ ๒ ระบบบริหารความเสี่ยง เกณฑ์ทั่วไป

ตัวบ่งชี้ที่ ๓ ระบบสารสนเทศ เกณฑ์สำคัญ

๑๕

ด้านอาจารย์ ตัวบ่งชี้ที่ ๔ คุณสมบัติอาจารย์พยาบาลประจำ เกณฑ์ทั่วไป

๑๐

ตัวบ่งชี้ที่ ๕ คุณวุฒิอาจารย์พยาบาลประจำ เกณฑ์ทั่วไป

๑๐

ตัวบ่งชี้ที่ ๖ อัตราส่วนจำนวนอาจารย์พยาบาลประจำต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า เกณฑ์สำคัญ

๑๕

ตัวบ่งชี้ที่ ๗ ภาระงานสอนของอาจารย์พยาบาลประจำ เกณฑ์ทั่วไป

ตัวบ่งชี้ที่ ๘ การพัฒนาอาจารย์ เกณฑ์ทั่วไป

ตัวบ่งชี้ที่ ๙ การประเมินผลการสอนของอาจารย์ เกณฑ์ทั่วไป

ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนและผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ การบริหารหลักสูตร เกณฑ์ทั่วไป

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย / บัณฑิตใหม่ต่อคุณภาพหลักสูตร เกณฑ์ทั่วไป

 

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๒ แผนการสอนรายวิชาในหมวดวิชาชีพ เกณฑ์สำคัญ

๑๐

ด้านนิสิต/นักศึกษาและการพัฒนา ตัวบ่งชี้ที่ ๑๓ การพัฒนานักศึกษา เกณฑ์ทั่วไป

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔ ระบบการดูแลและให้คำปรึกษานักศึกษา เกณฑ์ทั่วไป

ด้านแหล่งฝึกปฏิบัติการพยาบาล ตัวบ่งชี้ที่ ๑๕ แหล่งฝึกปฏิบัติการพยาบาล เกณฑ์ทั่วไป

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๖ อัตราส่วนจำนวนอาจารย์พยาบาลประจำต่อนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ เกณฑ์สำคัญ

๑๕

ด้านการประเมินและผลลัพธ์ของหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ ๑๗ จำนวนผู้สอบความรู้ขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ

การผดุงครรภ์ผ่านครั้งแรก

เกณฑ์สำคัญ

๑๕

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๘ ผลการประเมินการเรียนรู้ตามมาตรฐาน ๖ ด้านของบัณฑิต โดยผู้ใช้บัณฑิต เกณฑ์ทั่วไป

ตัวบ่งชี้ที่ ๑๙ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา เกณฑ์สำคัญ

๑๐

ตัวบ่งชี้ที่ ๒๐ การประเมินคุณภาพภายในของสถาบันการศึกษา เกณฑ์สำคัญ

๑๐

ด้านการวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตัวบ่งชี้ที่ ๒๑ ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ต่ออาจารย์ประจำทั้งหมด เกณฑ์สำคัญ

๑๕

ตัวบ่งชี้ที่ ๒๒ ผลงานวิชาการ เกณฑ์สำคัญ

๑๕

ตัวบ่งชี้ที่ ๒๓ การบริการวิชาการ เกณฑ์ทั่วไป

  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(632)

Comments are closed.