การสัมมนาวิชาการการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเสริมสร้างนวตกรรมด้านการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา โดยพัฒนาการปฏิบัติงานที่ดี (Good Practice)

การสัมมนาวิชาการการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเสริมสร้างนวตกรรมด้านการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา โดยพัฒนาการปฏิบัติงานที่ดี (Good Practice)
ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  งานแผนและบริหารคุณภาพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 27 ก.พ. 2555   ถึงวันที่  : 28 ก.พ. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การสัมมนาวิชาการการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเสริมสร้างนวตกรรมด้านการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา โดยพัฒนาการปฏิบัติงานที่ดี (Good Practice)
  วันที่บันทึก  16 เม.ย. 2555


 รายละเอียด
แนวทางการสรรหา Good Practice มีดังนี้

๑)                พิจารณาจากวงจรคุณภาพ PDCA ว่างานได้มีการจัดวางระบบและกลไกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่

๒)              มีผลงานที่สามารถยืนยันการดำเนินการ (Result) หรือไม่ และผลลัพธ์นั้นสะท้อน หรือบอกเล่าคุณภาพของการดำเนินงานทั้งด้านประสิทธิผล และประสิทธิภาพได้หรือไม่

๓)               ผลลัพธ์ที่ได้มานั้น สามารถพัฒนาขึ้นไปได้เรื่อยๆ (End Trend) อย่างไร

๔)               ผลงานสามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือสร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มเป้าหมายได้แค่ไหน

องค์ประกอบหลักของการจัดทำ Good Practice

๑)     แสดงขบวนการ Benchmarking โดยผลงานต้องแสดงการเทียบเคียงซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

๒)   ใช้ แนวทางการบริหารจัดการความรู้ เพื่อแสดงการถ่ายทอดประสบการณ์ การรวบรวมเรื่องราวอย่างเป็นระบบ ซึ่งช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น หน่วยงานสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่นโดยไม่พบ ปรากฎการณ์ฟันปลา

๓)    มีการสร้างนวตกรรมต่อยอดองค์ความรู้และพัฒนางานที่มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานที่สามารถนำไปสู่ Good Practice จะทำให้เกิดความสำเร็จต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยของความสำเร็จด้วยเสมอ (Enable/CSF)  ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการสนับสนุนให้งานบรรลุวัตถุประสงค์

กระบวนการตรวจสอบระบบ ประกอบด้วย

D Definable = อธิบายกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่ต้น จนจบได้

R Repeatable =  ระบบที่ดีต้องมีการดำเนินการซ้ำได้อีก แม้จะเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงาน

M Measuable = ต้องสามารถวัดประเมินผลได้

P Predictable = บอกผลในเชิงคาดคะเนได้ เช่น หลักปฏิบัติตามแนวทางนี้แล้วจะเพิ่มคุณค่างานได้เท่าไร หรือสามารถลดต้นทุนในการทำงานได้เท่าไร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ใช้เป็นแนวทางการจัดทำระบบและกลไกการดำเนินงานทุกพันธกิจที่ต้องใช้การบูรณาการการประกันคุณภาพการศึกษา


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(296)

Comments are closed.