โครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเตรียมพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอบ : ระดับอุดมศึกษา

โครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเตรียมพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอบ : ระดับอุดมศึกษา
 ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  งานแผนและบริหารคุณภาพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 23 ธ.ค. 2554   ถึงวันที่  : 23 ธ.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการส่งเสริมให้สถานศึกษาเตรียมพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอบ : ระดับอุดมศึกษา
  วันที่บันทึก  10 ม.ค. 2555

 รายละเอียด
ประเด็นที่ ๑ เรื่อง อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และมาตรการส่งเสริม

- อัตลักษณ์ (identity) หมายถึง บุคลิก ลักษณะที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบัน และสถาบันต้องมีการดำเนินการกำหนดไว้ในกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติงาน  ตลอด จนมีการติดตามประเมินผล จากผู้เรียนและบุคลากร เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ ซึ่งจะต้องมีผลการดำเนินการไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕  นอก จากนี้ต้องแสดงผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์ (ตัวบ่งชี้ที่ ๑๖.๒) โดยการสำรวจข้อมูลความเป็นตัวแทนของผู้สำเร็จการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและ คุณภาพ อย่างน้อยร้อยละ ๒๐ ของผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมด

-เอกลักษณ์ (unique) หมาย ถึงความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็นลักษณะโดดเด่นเป็น หนึ่งของสถาบัน หรือแสดงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะของสถานศึกษา โดยกำหนดเป็นกลยุทธ์การปฎิบัติงาน และให้ผู้เรียนและบุคลากรมีส่วนร่วม

-  มาตรการ ส่งเสริม หมายถึง กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาเป็นผู้ กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันชี้แนะ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบายของรัฐ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา สถานการณ์ของประเทศ หรือโลก โดยสถานศึกษาต้องเป็นแสดงให้เห็นว่าสามารถเป็นที่พึงต่อสังคมหรือเป็น “คลังสมองของประเทศ” ได้ ซึ่งการดำเนินการต้องดำเนินการทั้งมาตรการส่งเสริมภายในสถาบัน และภายนอกสถาบัน

ประเด็นที่ ๒  โครงการ ๑ ช่วย ๙

- เพื่อ ขับเคลื่อนให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง สู่ ความเป็นเลิศ และสร้างความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันก่อให้เกิดความเข้มแข็งในการ จัดการศึกษาทุกระดับ โดยมีเงื่อนไขให้ ๑ สถานศึกษาช่วย ๙ สถานศึกษา  สถาน ศึกษาที่สมัครเป็นแกนนำมีหน้าที่ช่วยเหลือเกื้อกูลให้เครือข่ายมีค่าเฉลี่ย ผลการประเมินคุณภาพรอบสามของสมศ. ดีขึ้นกว่ารอบสอง โดยสถาบันที่เป็นแกนนำและสมัครเข้าร่วมโครงการจะต้องมีคะแนนประเมินจาก สมศ.ในรอบที่สอง ภาพรวม ในระดับดีมาก เท่านั้น และเครือข่ายที่ขอรับการช่วยเหลือจะตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือต่าง พื้นที่กันก็ได้

ประเด็นที่ ๓ การประเมินคุณภาพภายนอกเชิงพื้นที่ (Area based Assessment: ABA)

การ รับรองการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ นั้น กำหนดใช้แนวทางการเข้าประเมินสถาบันที่จัดตั้งอยู่ใน ๘ จังหวัด คือ ชัยนาท สิงหบุรี สมุครสาคร ตราด อำนาจเจริญ ชุมพร พังงา และแพร่ โดยมีแนวทางการประเมินที่เน้นคุณภาพสถาบันดังนี้

- เป็นหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน (ความรับผิดชอบต่อสังคม)

- เริ่มที่ปัจเจก คุณภาพปัจเจกชนสร้างชุมชนคุณภาพ (การมีส่วนร่วม)

- เกิดจากความเข้าใจ เข้าถึง  พัฒนา (ทัศนคติ)

- มีชีวิต ต้องอุทิศและทุ่มเท

ประเด็นที่ ๔ ระบบ Automated QA กับการประเมินคุณภาพภายนอก

- สมศ. พัฒนาWeb based application สำหรับกรอกข้อมูล on line โดยเชื่อมต่อข้อมูลสถานศึกษาจากฐานข้อมูล CHE QA online ของ สกอ. ซึ่งข้อมูลสถานศึกษาที่ได้ใช้ไว้กับ สกอ. จะมาปรากฏบนฐานข้อมูล สมศ.ได้ทันที่ ซึ่งสถานศึกษาดำเนินการกรอกข้อมูลผ่าน Excel template แนบเอกสาร ในรูปแบบเอกสารสรุปรายงาน หรือสามารถเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลบน Web ของสถานศึกษา

-  เนื่องจากระบบยังไม่สมบูรณ์ จึงมีประเด็นแลกเปลี่ยน ดังนี้

๑)      กรณีขอแก้ไขข้อมูล ซึ่งสถาบันกรอกให้กับ สกอ.ใน CHE QA online แล้ว จะดำเนินการอย่างไร

๒)      สมศ. ควรแสดงสูตรบน Excel template เพื่อสถาบันมีความเข้าใจในการนำเข้าสูตรด้วย

๓)      มีการกำหนดช่วงเวลาในการเข้ากรอก แก้ไขข้อมูล และปิดการนำเข้าข้อมูลที่ชัดเจน

ประเด็นที่ ๕ มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม : ระดับอุดมศึกษา

- สมศ. กำหนดกลุ่มตัวบ่งชี้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานตามกฎกระทรวง ดังนี้

๑.      กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน  ๑๕ ตัวบ่งชี้  ที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานตามกฎกระทรวงในด้านผลการจัดการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือตัวบ่งชี้ที่ ๑ – ๑๑ และ สอดคล้องกับการบริหารจัดการศึกษา คือ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๒ – ๑๔ และ สอดคล้องกับการประกันคุณภาพภายใน คือตัวบ่งชี้ที่ ๑๕

๒.กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์  ๓ ตัวบ่งชี้

๓.กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม  ๒ ตัวบ่งชี้

ซึ่ง ข้อ ๒ และ ๓ สอดคล้องกับมาตรฐานตามกฎกระทรวงในด้านผลการจัดการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้สมศ. ได้จัดทำคู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติมพฤศจิกายน ๒๕๕๔) รอการวิพากษ์ แก้ไข และจะออกฉบับสมบูรณ์ให้กับสถานศึกษาทุกแห่งต่อไป

   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเตรียมสถาบันรับประเมินจากสมศ.
  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในบทบาทความรับผิดชอบของงานประกันคุณภาพการศึกษาและทำความเข้าตัวบ่งชี้ เพื่อรับประเมินคุณภาพภายนอกจากสมศ.

(282)

Comments are closed.