การประชุมวิชาการ 2010 Asia – Pacific Quality Network Conference and Annual General Meeting

การประชุมวิชาการ 2010 Asia – Pacific Quality Network Conference and Annual General Meeting
 ผู้บันทึก :  นางพนิดา รัตนพรหม
  กลุ่มงาน :  งานแผนและบริหารคุณภาพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 3 มี.ค. 2553   ถึงวันที่  : 5 มี.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมวิชาการ 2010 Asia – Pacific Quality Network Conference and Annual General Meeting
  วันที่บันทึก  23 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               การประชุมเครือข่ายคุณภาพในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (The Asia-Pacific Quality Network (APQN) และการพบปะกันระหว่างกลุ่มสมาชิกเครือข่าย นั้นจัดขึ้นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรายงานผลความก้าวหน้าของการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ของสถาบันที่เข้าเป็นสมาชิกในแต่ละประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก อันเป็นผลสืบเนื่องจากความสำเร็จของการประชุมเครือข่ายสมาชิกการประกัน คุณภาพการศึกษา ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องเริ่มที่ประเทศนิวซีแลนด์ (มีนาคม 2005) ประเทศจีน (มีนาคม 2006) ประเทศมาเลเซีย (กุมภาพันธ์ 2007) ประเทศญี่ปุ่น 2008) และ ประเทศเวียดนาม (มีนาคม 2009) ทั้งนี้ในปี 2010 คณะกรรมการฯ ริเริ่มให้ตัวแทนการประกันคุณภาพซึ่งรวมทั้งสมาชิกในเครือข่าย และผู้สนใจเข้าร่วมการประชุม ระหว่างวันที่ 3 – 5 มีนาคม 2010 โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ) เป็นเจ้าภาพจัด ทั้งนี้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ถือเป็นกลุ่มผู้สังเกตการณ์การประชุม ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะเห็นถึงความสำคัญและความตื่นตัวในการใช้ระบบ คุณภาพในสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก และได้เข้าใจถึงองค์กรที่ดำเนินการผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษามีการแข่งขัน เพื่อพัฒนาการศึกษาให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศในทุกๆด้าน และนำพาประเทศของตนไปสู่ความก้าวหน้าและอยู่รอดได้ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง สาระของการประชุมที่สำคัญ เน้นถึงความสำเร็จของการใช้ระบบคุณภาพในสถาบันอุดมศึกษา ในแต่ละประเทศ ขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสให้ประเทศที่ยังมีความอ่อนแอด้านคุณภาพการศึกษา เช่น กัมพูชา และ ติมอล (Timor Leste) ได้นำเสนอการจัดการด้านคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศ แก่สมาชิกเครือข่ายและผู้ร่วมสังเกตการณ์ โดยประเด็นในการประชุมมีหลากหลาย และจัดรูปแบบการประชุมในแบบ Conference ในห้องประชุมใหญ่ และการแบ่งกลุ่ม Conference ในห้องประชุมเล็ก โดยมีหัวข้อนำเสนอให้เลือกฟังตามความสนใจ และผู้นำเสนอมาจากหลากหลายประเทศในแถบเอเชีย – แปซิฟิก เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง คูเวต ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ออสเตรเลีย เยอรมัน รัสเซีย ปากีสถาน อินเดีย นิวซีแลนด์ ติมอล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เนปาล สาธารณรัฐอาหรับอิลมิเลต และรวมถึงตัวแทนของ UNESCO ในแถบเอเชีย และแปซิฟิก ประเด็นที่น่าสนใจ 1. Quality Assurance in Thailand โดย ตัวแทนผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน กล่าวถึงการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไว้ดังนี้ 1.1 Background of Educational Quality Assurance การประกันคุณภาพการศึกษาในประเทศไทย มีการปฏิรูปใน ปี ค.ศ. 1997 และ 2007 โดยกำหนดไว้ใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ดังนี้ ข้อ 8 การพัฒนาการศึกษาต้องอยู่พื้นฐานดังนี้ 1) การเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) สังคมในทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา 3) พัฒนาอย่างต่อเนื่องในเรื่อง “องค์ความรู้” (Body of Knowledge) และ “กระบวนการเรียนรู้” (Learning process) ข้อ 9 “ระบบ” “โครงสร้าง” และ “กระบวนการจัดการศึกษา” ขององค์กรต้องให้ความสำคัญ ดังนี้ 1) กำหนดเป็นนโยบายและการนำไปใช้ 2) กระจายอำนาจสู่สถานศึกษา สถาบัน และองค์กรบริหารในท้องถิ่น 3) กำหนดมาตรฐานการศึกษา และใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาในการจัดการศึกษาทุกๆ ระดับและทุกประเภท 4) พัฒนาคุณภาพอาจารย์ บุคลากร นักการศึกษา ให้มีมาตรฐานและต่อเนื่อง 5) กระจายทรัพยากรทางการศึกษาอย่างทั่วถึง 6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันศาสนา อุตสาหกิจ และสถาบันทางสังคมต่างๆ ซึ่งจากข้อกำหนดดังกล่าวโดยเฉพาะในส่วนที่ 3 ของข้อ 9 ในพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ย้ำถึงความจำเป็นของการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นเครื่องการันตี ว่าสถาบัน และบัณฑิตได้มาตรฐานทัดเทียมมาตรฐานนานาชาติ 1.2 Educational Quality Assurance System ระบบการประกันคุณภาพของประเทศไทยนั้น กำหนดให้ทุกสถาบันการศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก โดยสถาบัน/คณะ จะต้องจัดทำรายงาน (annual reports) ต่อสถาบันหลัก/มหาวิทยาลัย ซึ่งตัวแทนคุณภาพของสถาบันจะต้องดำเนินการให้เกิดการพัฒนาคุณภาพที่ได้ มาตรฐานรองรับการประกันคุณภาพภายนอก ทั้งนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (An Office for National Education Standards and Quality Assessment/ ONESQA) ทำหน้าที่กำหนดตัวชี้วัดและแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งบ่งชี้คุณภาพภายหลังการประเมินคุณภาพภายนอกจะถูกแสดงด้วยระยะเวลา ของการเข้าประเมินในรอบต่อไป เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันดำเนินการแก้ไขจนกว่าจะได้ตามมาตรฐาน 1.3 Outcome of Educational Quality Assurance ผลลัพธ์ของการปฏิรูประบบการศึกษาในอดีตที่ผ่านมานั้น ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ โดยเฉพาะในประเด็น “การปฏิรูปการเรียนรู้” (Learning reform) ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูป ปัญหาที่ยังคงอยู่ได้แก่ สถานศึกษาคุณภาพต่ำ, การด้อยสมรรถนะของผู้เรียนทั้งในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ ทักษะการคิดและการคิดวิเคราะห์ (Thinking and Analytical skill), การสืบค้นและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านคุณธรรมและจริยธรรม นอกจากนี้การพัฒนาคุณภาพครูให้เป็นครูที่ดี (good teacher) ยังดำเนินไปได้ช้า การกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาได้ผลลัพธ์ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย ขาดการร่วมมืออย่างจริงจังของผู้บริหารและผู้จัดการศึกษา (Education administration & management) 1.4 Educational Reform in the Second Decade สาระของการปฏิรูปการศึกษาระหว่างปี 2009 – 2018 เป็นผลสืบเนื่องจากการประเมินคุณภาพการศึกษาของ สมศ. และตัวแทนคุณภาพอื่นๆ โดยนำจุดอ่อนและสิ่งที่พบจากการประเมินในรอบแรก มาเป็นแนวทางหลักในการกำหนดวาระการปฏิรูปการศึกษาใน 10 ปี ข้างหน้า ซึ่งได้แก่ประเด็นคุณภาพการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใน 3 ส่วนหลัก คือ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา, การขยายโอกาสทางการศึกษา และการส่งเสริมความร่วมมือของผู้บริหารและจัดการศึกษาซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ หลัก 2. Challenges in developing and implementing Qualifications Framework การ conference ในหัวข้อดังกล่าว ประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศมาเลเซีย นิวซีแลนด์ และประเทศไทย ซึ่งประกาศใช้ Qualifications Framework กับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศแล้ว โดยประเด็นดังกล่าวได้รับการสนับสนุน จากหลายๆ ประเทศ ถึงผลลัพธ์ต่อคุณภาพบัณฑิตที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้สำหรับประเทศไทย โดย ศาสตรจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ได้เสนอ “Thai Qualifications Framework for Higher Education; TQF: HEd” ซึ่งได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2009 โดยพัฒนาต่อยอดจากประเทศออสเตรเลีย ในรูปของ มาตรฐานการเรียนรู้(The standards of learning outcomes) 5 ด้าน “ปัจจลักษณ์” ซึ่งออกแบบให้สะท้อนความเป็นธรรมชาติและคุณภาพการเรียนการสอนสำหรับประเทศ ไทย ได้แก่ – ด้านคุณธรรมและจริยธรรม – ด้านความรู้ – ด้านทักษะทางปัญญา – ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ – ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข, การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในบางสาขาอาจรวมทักษะที่จำเป็นต้องใช้เฉพาะสาขาวิชา จึงอาจเพิ่มความสามารถในด้านทักษะพิสัยร่วมด้วย ในปัจจุบัน ได้มีการดำเนินการประกาศใช้ มาตรฐานการเรียนรู้ดังกล่าว อย่างเป็นรูปธรรมแล้วใน 4 สาขาวิชา คือ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาพยาบาลศาสตร์ สาขาโลจิสติกส์ สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ทั้งนี้สถาบันจะต้องประยุกต์สู่การจัดการเรียนการสอน โดยออกแบบการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียน และประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้ โดยต้องได้รับการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาบุคลากร ในรูปแบบของการฝึกอบรม และการวิจัย รวมถึงการมีองค์กรที่จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาและสนับสนุนในระยะเริ่มต้นนี้ด้วย 3. อื่นๆ ข้อสังเกตที่ได้จากการเข้าประชุม จะเห็นว่าสถาบันการศึกษาจากประเทศในกลุ่มประเทศจีน ได้แก่ ฮ่องกง ไตหวัน ซึ่งเริ่มใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาในเวลาใกล้เคียงกับไทย พบว่าสามารถพัฒนาระดับคุณภาพสถาบันให้อยู่ในระดับต้นๆ ของการจัดลำดับสถานศึกษา และตัวแทนที่มานำเสนอได้กล่าวถึงความสำคัญของการได้รับการผลักดันจากรัฐบาล และทรัพยากรที่เพียงพอ นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ซึ่งแตกต่างจากประเทศเล็กๆ เช่น กัมพูชา หรือ ติมอล ซึ่งดำเนินการด้านนี้ได้อย่างยากลำบาก จากการอภิปรายของที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันในการให้ความสำคัญกับการสนับ สนุนทรัพยากร และการผลักดันจากรัฐบาลในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้ประเทศมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถนำพาประเทศสู่ความเจริญ ต่อไป ทั้งนี้ในประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล “Reconstruction” ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างชัดเจน องค์กรที่มีบทบาทสำคัญในระดับโลกอย่าง UNESCO ซึ่งมีตัวแทนรับผิดชอบอยู่ในแต่ละภูมิภาคของโลก ควรเข้ามาแสดงบทบาทให้มากขึ้น โดยสะท้อนให้เห็นตัวอย่างของการพัฒนาหรือการปฏิบัติการที่เป็นเลิศ นำเผยแพร่ต่อประเทศ หรือสถาบันที่ประสบปัญหา ตลอดจนการสนับสนุนทรัพยากรทั้งบุคลากร และเงินทุนในการพัฒนาครู เทคโนโลยี หรืองานวิจัย อย่างต่อเนื่อง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ประยุกต์ใช้กับการบูรณาการ Qualifications Framework ที่กำลังดำเนินการโดย สกอ. ในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของนานาชาติ


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การพัฒนาระบบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

(273)

Comments are closed.