การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก

การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก
 ผู้บันทึก :  นางรัถยานภิศ พละศึก
  กลุ่มงาน :  งานแผนและบริหารคุณภาพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 8 ก.พ. 2553   ถึงวันที่  : 10 ก.พ. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก (ส่วนแผน /ยุทธศาสตร์)
  จังหวัด :  นครปฐม
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก
  วันที่บันทึก  24 มี.ค. 2553


 รายละเอียด
               นิยามศัพท์ทางยุทธศาสตร์ที่ควรรู้ 1. ความต้องการทางยุทธศาสตร์ (Strategic Need) ความต้องการหรือ ความจำเป็นที่ทำให้องค์กรจะต้องทำแผนยุทธศาสตร์ หรือเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อสนองความจำเป็นดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยความต้องการจากนโยบาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภารกิจหรือธุรกิจ 2. จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) จุดยืน ความมุ่งมั่น ประเด็นสำคัญและเป็นหัวใจหลักในการทำแผนยุทธศาสตร์ โดยมาจากความต้องการทางยุทธศาสตร์ที่ผ่านการวิเคราะห์ 3 ด้าน คือ ความสำคัญต้องตรงกับองค์กร ความเร่งด่วนในด้านปัญหา ผลกระทบต่อลูกค้า โดยมีเกณฑ์ 5 ระดับ คือน้อยมาก น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด ตามลำดับ โดยความต้องการที่ได้ค่าคะแนนสูง จัดทำหรือกำหนดเป็นจุดยืนในการพัฒนาด้วยกลไกของยุทธศาสตร์ต่อไป 3. ทิศทางยุทธศาสตร์ 3.1 วิสัยทัศน์ (Vision) เส้นทางสู่ความสำเร็จ หรือภาพฝันในอนาคตที่องค์กรจะใช้เป็นเข็มมุ่งในการพัฒนา 3.2 พันธกิจ (Mission) ภารกิจโดยหน้าที่ (By Job) และภารกิจโดยวิสัยทัศน์ (By Vision) ที่องค์กรให้พันธะสัญญาว่าจะให้เป็นกรอบในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ 3.3 ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue) ประเด็นหลักของพันธกิจที่สำคัญที่องค์กรจะนำมาพัฒนาให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ด้วย กระบวนการทางยุทธศาสตร์ 3.4 เป้าประสงค์ (Goal) ผลสัมฤทธิ์ในอนาคตที่เป็นผลลัพธ์ (Outcome) ที่องค์กรจะให้บรรลุ เมื่อได้ดำเนินการในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นผลสัมฤทธิ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเดินทางไปสู่วิสัยทัศน์ 3.5 ผลลัพธ์ (Outcome) ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่องค์กรจะให้บรรลุผล เมื่อได้ดำเนินการในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 4. การประเมินศักยภาพทางยุทธศาสตร์ (SWOT Analysis) เป็นการประเมินจุดแข็ง และจุดอ่อน ภายในองค์กรต่อการดำเนินการให้เป้าประสงค์บรรลุผลสัมฤทธิ์ และประเมินโอกาสและอุปสรรคจากภายนอกที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับการ บรรลุผลสัมฤทธิ์ของเป้าประสงค์ 5. ระบบวัดผลทางยุทธศาสตร์ 5.1 ตัวชี้วัดหลักที่สำคัญของกรอบการดำเนินงาน (Key Performance Indicator: KPI) ตัวบ่งชี้ที่สำคัญของผลงานที่แสดงให้เห็น/บ่งบอกถึงการบรรลุผลสัมฤทธิ์ของ เป้าประสงค์นั้นๆ 5.2 ค่าเป้าหมาย (Target) ค่าเป้าหมายบอกตัวชี้วัดที่องค์กรต้องการให้บรรลุผลและแสดงถึงการบรรลุถึง เป้าประสงค์ 6. ระบบการปฏิบัติการทางยุทธศาสตร์ 6.1 กลยุทธ์ (Strategy) กลวิธี/มาตรการเชิงการกระทำที่ดำเนินการด้วยวิธีการทางยุทธศาสตร์ (สร้างสรรค์แตกต่าง โดดเด่น ก้าวกระโดด เทียบเคียงกับความเป็นเลิศ) เพื่อการผลักดันให้ระบบวัดผลของเป้าประสงค์บรรลุผล กลยุทธ์เป็นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำเป้าประสงค์สู่การกระทำอย่างเป็นรูปธรรม 6.2 แผนงาน/โครงการ (Plan/Project) แนวทางและวิธีการดำเนินการในภาคการปฏิบัติ เพื่อนำพาระบบยุทธศาสตร์ทั้งหมดสู่การดำเนินงาน ซึ่งต้องมีการกระทำที่ครบวงจร คือ Plan Do Check Action Standard และยึดหลักการริเริ่มอย่างสร้างสรรค์ (Initiative) นั้นคือต้องลดปฏิบัติต่อเป้าประสงค์ และเป็นกิจกรรมแห่งการกระทำที่ต้องสร้างสรรค์ ดีกว่าเดิม แตกต่าง โดดเด่น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ซึ่งผู้ที่มีบทบาทในการบริหารยุทธศาสตร์ จำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์แบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ในทุกขั้นตอน จึงจะสามารถทำให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ที่วางไว้


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร

(249)

Comments are closed.