การเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓

การเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓
 ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  งานแผนและบริหารคุณภาพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 23 ก.ค. 2553   ถึงวันที่  : 23 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓
  วันที่บันทึก  29 ก.ค. 2553


 รายละเอียด
               การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน : ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน โดย ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.กิติชัย วัฒนานิกร กล่าวถึง ก) เงื่อนไขสำคัญในการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ ๑) พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษารับผิดชอบจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ โดยจัดให้มีการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานประจำตามปกติ (IQA) ๒) แผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๖๕) มีสาระสำคัญบางประเด็นซึ่งเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพภายใน – ประเด็นที่ ๑ เพื่อปัญหาการไร้ทิศทาง ความซ้ำซ้อน การขาดคุณภาพและการขาดประสิทธิภาพให้พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิทยาลัยชุมชน กลุ่มมหาวิทยาลัย ๔ ปี และมหาวิทยาลัยศิลปศาสตร์ กลุ่มมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลี มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง และกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยและมหาวิทยาลัยบัณฑิต – ประเด็นที่ ๒ จัดทำหลักเกณฑ์กำกับและใช้เครื่องมือเชิงนโยบายการเงินเพื่อ ลดเลิกหลักสูตรที่ไม่เป็นที่ต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน ลดเลิกคณะและสถาบันที่มีปัญหาคุณภาพรุนแรง และจัดกลไกคณะกรรมการตรวจสอบและศูนย์สถิติอุดมศึกษา ผ่านทาง CHE online โดยต้นสังกัดและ สกอ. – ประเด็นที่ ๓ ให้มีการออกแบบระบบความเชื่อมโยงระหว่างอุดมศึกษาและภาคการผลิต ทั้งการจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจัย – ประเด็นที่ ๔ จัดให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย กลุ่มมหาวิทยาลัย ศูนย์ความเป็นเลิศ ภาคอุตสาหากรรมในและต่างประเทศ ภาคสังคมและชุมชน ๓) กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศใช้เมื่อ มีนาคม ๕๓ สาระที่สำคัญสามารถสรุปได้ดังนี้ – ระบบการประกันคุณภาพภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษาทุกระดับต้องมีการประเมิน คุณภาพภายใน การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา – ระบบการประกันคุณภาพภายนอก เพื่อรองรับมาตรฐานและมุ่งพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ต้องประกอบด้วย การประเมินคุณภาพภายนอกและการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา – ให้สถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดและการมีส่วนร่วมของสังคม – ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอต่อคณะ กรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและเปิดเผยรายงานนั้นต่อสาธารณชน – สถานศึกษาต้องนำผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกไปประกอบการจัดทำแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ข) ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติของ สกอ. ในบทบาทของสถาบันการศึกษา ต้องพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและแนวทางการดำเนินงานของตนเอง ประกอบด้วย ๑) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ภายใต้กรอบนโยบาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ สกอ. กำหนด ๒) สร้างตัวบ่งชี้และเกณฑ์เพิ่มเติม นอกเหนือจากตัวบ่งชี้ของ สกอ. และ สมศ. ที่เหมาะสมกับวิสัยทัศน์และสภาพแวดล้อมของตน (ประเด็นที่น่าสนใจ: วพบ.นครฯ สร้างเองได้หรือไม่ หรือต้องรอ สบช. ?) ๓) ประเมินตนเอง และส่งรายงานประจำปีไปยัง สกอ./ต้นสังกัด ทุกสิ้นปีการศึกษาตามระบบ CHE QA-Online (ประเด็นที่น่าสนใจ: เราสามารถใช้ระบบนี้ได้เมื่อไร ทราบมาว่า สกอ. ไม่นับ วพบ. แต่ละ วพ. เป็นสถานศึกษา แต่จะนับในภาพรวมของ สบช.) ๔) ติดตาม ตรวจสอบ และพัฒนาตามผลการประเมิน ค) หลักการในการพัฒนาตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพของ สกอ. สรุปได้ดังนี้ ๑) ตัวบ่งชี้ครอบคลุม ๙ องค์ประกอบคุณภาพ และเป้าไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒) ตัวบ่งชี้ตอบสนองเจตนารมณ์แห่ง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ๓) ตัวบ่งชี้ประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตและผลลัพธ์ โดยตัวบ่งชี้ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ จะรวมตัวบ่งชี้ของ สกอ. และ สมศ. เพื่อความเชื่อมโยง และเป็นเอกภาพของระบบประกันคุณภาพอุดมศึกษาไทย ๔) ตัวบ่งชี้มีความสมดุล ระหว่างมุมมองการบริหารจัดการทั้ง ๔ ด้าน ๕) จำนวนตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นเป็นเพียงจำนวนตัวบ่งชี้ขั้นต่ำ สถาบันสามารถเพิ่มเติมตัวบ่งชี้และเกณฑ์ได้ตามความเหมาะสมกับระดับการพัฒนา ของสถาบัน ง) ประเภทของตัวบ่งชี้ แบ่งเป็น ๑) ตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพ ระบุเกณฑ์มาตรฐานเป็นข้อๆ กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็น ๕ ระดับ มีคะแนน ๑ ถึง ๕ การประเมินจะนับจำนวนข้อ และระบุว่าผลการดำเนินงานได้กี่ข้อ ได้คะแนนเท่าไร กรณีที่ไม่ดำเนินการใดๆ หรือดำเนินการไม่ครบที่จะได้ ๑ ข้อ ให้ถือว่าได้ ๐ คะแนน ๒) ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ อยู่ในรูปร้อยละหรือค่าเฉลี่ย กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็น ๕ ระดับ มีคะแนน ๑ ถึง ๕ โดยเป็นค่าต่อเนื่อง (มีจุดทศนิยม) การแปลงผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ เป็นคะแนน ทำโดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ โดยที่แต่ละตัวบ่งชี้ จะกำหนดค่าร้อยละ หรือค่าเฉลี่ยที่คิดเป็น ๕ คะแนน จ) เกณฑ์การประเมิน แบ่งเป็น – คะแนน ๐.๐๐ – ๑.๕๐ หมายถึง การดำเนินงานต้องปรับปรุงเร่งด่วน – คะแนน ๑.๕๑ – ๒.๕๐ หมายถึง การดำเนินงานต้องปรับปรุง – คะแนน ๒.๕๑ – ๓.๕๐ หมายถึง การดำเนินงานระดับพอใช้ – คะแนน ๓.๕๑ – ๔.๕๐ หมายถึง การดำเนินงานระดับดี – คะแนน ๔.๕๑ – ๕.๐๐ หมายถึง การดำเนินงานระดับดีมาก ฉ) กระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้สถาบันวางแผนจัดกระบวนการประเมิน ให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปีการศึกษา เพื่อสามารถนำผลการประเมินไปทำแผนปรับปรุงปีต่อไป โดยกระบวนการประเมินเน้น ๔ ขั้นตอนตามระบบพัฒนาคุณภาพ PDCA และทำการประเมินตั้งแต่ระดับ ภาควิชา/สาขาวิชา คณะ และสถาบัน โดยใช้ระบบ CHE QA-Online ประเมินตั้งแต่ระดับคณะขึ้นไป ช) ในการประเมินระดับสถาบัน ต้องใช้ตัวบ่งชี้คุณภาพของ สกอ. (๒๓ ตัว) และ สมศ. ทุกตัว ในการประเมินคุณภาพแต่ละปีการศึกษา สำหรับการประเมินระดับภาควิชา / สาขาวิชา คณะวิชา และหน่วยงานที่มีการเรียนการสอน ให้สถาบันพิจารณาตัวบ่งชี้ ของ สกอ. และ สมศ. ที่จะนำไปใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบท โครงสร้าง และการบริหาร และสามารถปรับข้อความในตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานให้สอดคล้องกับระดับหน่วย งานที่รับการประเมินได้ ซ) การแต่งตั้งคณะผู้ประเมินระดับภาควิชา มีกรรมการอย่างน้อย ๓ คน เป็นผู้ประเมินจากภายนอกภาควิชา อย่างน้อย ๑ คน ประธานผู้ประเมินเป็นผู้ประเมินจากภายในหรือภายนอกก็ได้โดยผู้ประเมินทุกคน ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. หรือที่สถาบันจัด โดยใช้หลักสูตร สกอ. ฌ) การแต่งตั้งคณะผู้ประเมินระดับสถาบัน มีกรรมการอย่างน้อย ๕ คน เป็นผู้ประเมินจากภายนอกสถาบัน อย่างน้อยร้อยละ ๕๐ โดยผู้ประเมินต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. หรือที่สถาบันจัด โดยใช้หลักสูตร สกอ. สำหรับประธานฯ ต้องเป็นผู้ประเมินจากภายนอกสถาบันที่ขึ้นบัญชีประธานฯ ของ สกอ. ญ) สกอ. / ต้นสังกัด ต้องจัดให้มีการติดตามตรวจสอบ คุณภาพการศึกษาอย่างน้อย ๑ ครั้งในทุก ๓ ปี โดยติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน จัดทำรายงานการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และเสนอแนะมาตรการเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน ฑ) รายละเอียดของตัวบ่งชี้ที่พัฒนาโดย สกอ. (สามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm)


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ประกันคุณภาพการศึกษา และการจัดการเรียนการสอน โดยต้องมีการศึกษาตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานที่ปรับเปลี่ยนไป เพื่อให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ต้องประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรรับทราบโดยทั่วกัน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การประกันคุณภาพการศึกษา

(241)

Comments are closed.