โครงการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ และการประเมินผลระบบควบคุมภายใน

โครงการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ และการประเมินผลระบบควบคุมภายใน
ผู้บันทึก :  นางรัถยานภิศ พละศึก
  กลุ่มงาน :  งานแผนและบริหารคุณภาพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 15 ก.พ. 2553   ถึงวันที่  : 17 ก.พ. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  กรุงเทพฯ
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ และการประเมินผลระบบควบคุมภายใน
  วันที่บันทึก  24 มี.ค. 2553


 รายละเอียด
               การควบคุมภายในมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการรั่วไหลของการใช้ทรัพยากรจาก การดำเนินงานตามระบบที่หน่วยงานจัดขึ้น โดยทรัพยากรในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงการเงินเพียงอย่างเดียว ตาหมายรวมถึง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลต่าง ๆ ทางการเงิน ความน่าเชื่อถือของการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่นำไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้น แนวคิดการควบคุมภายในจึงเป็นกระบวนงานที่แทรกหรือแฝงอยู่ในการปฏิบัติงานตาม ปกติ โดยเป็นความรับผิดชอบของบุคลากรทุกคนที่ปฏิบัติงานอยู่ในระบบงานขององค์กร การควบคุมภายในจึงทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างสมเหตุสมผล พัฒนางานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการควบคุมภายใน เป็นกระบวนการที่ผู้กำกับดูแล (สบช.) ฝ่ายบริหาร (ผอ.) และบุคลากรของหน่วยงานรับตรวจกำหนดให้มี เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุผลว่าการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุ วัตถุประสงค์ และความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารต่อการควบคุมภายใน ประกอบด้วย ๑. ผู้อำนวยการ รับผิดชอบโดยตรงในการจัดให้มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในระดับที่น่าพอใจอยู่เสมอ, ประเมินผลการควบคุมภายในของหน่วยงาน และกำหนดให้หน่วยตรวจสอบภายในเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมภายใน ๒. ผู้บริหารระดับรองลงมาทุกระดับ รับผิดชอบให้มีการควบคุมภายในของส่วนงานที่ตนรับผิดชอบ, สอบทานการปฏิบัติงานที่ใช้บังคับในหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการควบคุมภายในให้รัดกุม เหตุผลที่ทำให้การควบคุมภายในล้มเหลว ประกอบด้วย ๑. การใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจผิด ๒. ผู้บริหารใช้อภิสิทธิ์ในการสั่งการเป็นอย่างอื่น ๓. ผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่องค์กรกำหนด ๔. การสมรู้ร่วมคิดกันโดยทุจริตกระทำการฉ้อโกง ๕. ขาดความเข้าใจในกลไกการควบคุมที่กำหนด ๖. ความคุ้มค่ากับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกลไกการควบคุมภายใน สาระสำคัญของระเบียบการควบคุมภายใน (คตง.) ๑. ตัวระเบียบ ๙ ข้อ ประกอบด้วย ข้อ ๑) ชื่อระเบียบ ข้อ ๒) วันบังคับใช้ ข้อ ๓) ความหมายต่าง ๆ ข้อ ๔) ผู้รับผิดชอบในการนำมาตรฐานต่าง ๆ ไปใช้ ข้อ ๕) จัดวางให้แล้วเสร็จภายใน ๑ปี รายงานความคืบหน้าทุก ๖๐ วัน ข้อ ๖) รายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่จัดวางไว้ในข้อ ๕ ภายใน ๙๐ วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ คือธันวาคมของทุกปี ข้อ ๗) ไม่สามารถปฏิบัติได้ทำข้อตกลง ข้อ ๘) บทลงโทษ และข้อ ๙) ประธานคตง. มีอำนาจตีความ ละวินิจฉัย ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ระเบียบ ๒. มาตรฐานควบคุมภายใน ๕ องค์ประกอบ ประกอบด้วย ๑) สภาพแวดล้อมของการควบคุม ๒) การประเมินความเสี่ยง ๓) กิจกรรมการควบคุม ๔) สารสนเทศและการสื่อสาร และ ๕) การติดตามประเมินผล และการรายงานตามระเบียบฯ ข้อ ๖ ๑. จัดทำการประเมิน ๕ องค์ประกอบ (ส่วนย่อย) ลงใน แบบ ปย. ๑ ๒. ประเมินกระบวนการปฏิบัติงานในแบบ ปย. ๒ ๓. ประมวล ปย. ๑ จากข้อ ๑ และประเมินเพิ่มเติม สรุปลงใน ปอ. ๒ ๔. สรุปผลจากข้อ ๒ ลงในแบบ ปอ. ๓ ๕. จัดทำหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน ปอ. ๑


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ และการประเมินผลระบบควบคุมภายใน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ด้านการจัดระบบควบคุมภายใน

(293)

Comments are closed.