การพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่าย ตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรองรับการประเมินสถาบัน ระยะที่ 1

การพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่าย ตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรองรับการประเมินสถาบัน ระยะที่ 1
ผู้บันทึก :  นางสาคร ฤทธิ์เต็ม
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 28 ก.พ. 2554   ถึงวันที่  : 4 มี.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยในเครือข่าย ตามผลการประเมินคุณภาพเพื่อการรองรับการประเมินสถาบัน ระยะที่ 1
  วันที่บันทึก  28 มี.ค. 2554

 รายละเอียด
               วิทยากรบรรยายให้ความรุ้ โดย ดร.ชูศักดิ์ เตชะวิเศษ ตำแหน่งวิศกร ในวันแรกได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจในภาพรวมของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้การประกันคุณาพกา รศึกษาของ สกอ.(สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา) ,สมศ.(สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา), สบช.(สถาบันพระบรมราชชนก) สภาการพยาบาลและ TQF สบช.เทียบเท่า 1 สถาบัน แต่ละ วพบ.จะถูกประเมินเทียบเท่า 1 คณะ เกณฑ์มาตรฐานสู่การประเมิน ต้องมีร่องรอย หลักฐาน -วันที่ 1 มี.ค.2554 เรียนรู้ตัวบ่งชี้ สกอ.PI 5.1,5.2 พร้อม สมศ. สบช.สภาการพยาบาลละ TQF ที่เกี่ยวข้อง จากการเรียนรู้ได้รับทราบว่าตัวบ่งชี้ 5.1 เป็นระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม ซึ่ง สมศ.จะเน้นบริการสู่สังคม หรือผลงานระดับชาติ ส่วนตัวบ่งชี้ 5.2 เป็นกระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม รอบระยะเวลาการประเมินจะเป็นรอบปีการศึกษา คือ เริ่มจากมิถุนายน-พฤษภาคม ของปีถัดไป -วันที่ 2 มีนาคม 2554 ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความเข้าใจในการนำสู่การปฏิบัติ ตัวบ่งชี้ 2.8,6.1,3.1และ 3.2 วิทยากรได้ทำตารางวิเคราะห์การพัฒนาแต่ละด้านและมีการศึกษาความเป็นไปได้ ของตัวบ่งชี้แต่ละด้าน เช่นด้านคุณภาพบัณฑิต ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยใส่ตัวเลขจากการคาดคะเนย์ถึงความน่าจะเป็นไปได้ และเสนอแนะตัวบ่งชี้ที่จะทำให้สถาบันดำเนินผ่านการประเมินคุณภาพ จากตัวอย่างที่แจกวิทยากรแสนอแนะว่า ตัวที่น่าจะทำให้วิทยาลัยผ่านการประเมิน มีด้านบริการวิชาการแก่สังคม และด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ถ้ามีการพัฒนาและปรับปรุงให้ดี -วันที่ 3 มีนาคม 2554 วิทยากรได้อธิบายถึงตัวบ่งชี้ที่ 8.1 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ วิทยากรได้อธิบายถึง เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้ 1.มีแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน ยึดระยะเวลาการประเมินเป็นรอบปีงบประมาณ แผนมี 2 อย่างคือ แผนกลยุทธ์ กับ แผนปฏิบัติการ การจัดทำแผนทางการเงิน ควรจัดทำแผน Cash inflow และ Cash outflow ก่อน แล้วจึงทำ Cash flow projection (ประมาณการหรือคาดการณ์การไหลเข้าออกของเงินสด โดสามารถดูได้จากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วนำมาทำนายผ่านแผน Cash inflow ประมาณการรายรับ เช่น ดูจากค่าลงทะเบียน(รายได้หลัก) เงินวิจัยภายนอก เงินที่ได้จากบริการวิชาการ ค่าธรรมเนียม ฯลฯ cash inflow จะเป็นตัวเลขทางด้านบวก สามารถทำได้ทุกสิ้นไตรมาส หรือสิ้นปีการศึกษา โดยระบุเม็ดเงินที่เข้ามา คำนึงถึงระยะเวลามาประกอบเป็นประมาณการผ่านแผน Cash outflow ประมาณการจ่าย สามารถดูได้จากรายงานทางการเงิน อาจจะทำเป็นแผน 1 ปี หรือมากกว่า ทางที่ดี ควรจะมีทั้งแผนระยะสั้น และระยะยาว ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งแผน ธ.ค.,มี.ค.,พ.ค.,มิ.ย.,ก.ย. 2.มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ แนวทางการจัดหาเงิน เช่น ได้รับเงินจากงบประมาณ เงินอุดหนุน ค่าลงทะเบียน ฯลฯ ส่วนแนวทางการจัดสรร ต้องจัดสรรตามแผนกลยุทธ์ของสถาบัน การวางแผนการใช้เงิน เช่น ช่วงเดือนนี้ เดือนนั้นจะใช้เงินกี่เปอร์เซ็น ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ คือ ถูกต้องตามระเบียน ใช้เงินได้ตามเกณฑ์ที่หน่วยงานตั้งไว้ 3.มีงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในแต่ละพันธกิจและการพัฒนา สถาบันและบุคลากร ควรเปรียบเทียบให้เห็นระหว่างแผนที่ตั้งไว้ กับงบประมาณที่ได้รับโดยยึดแผนปฏิบัติการเป็นหลัก ควรแยกเป็นก่อนใช้ ระหว่างใช้ และหลังใช้ ควรจะออกมาเป็นเปอร์เซ็น ระหว่างปีสามารถวิเคราะห์แผนเพิ่มเติมได้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการประมาณแผน คือต้นปีงบประมาณ ก.ค.,ส.ค. สิ้นไตรมาส ช่วงเปิดเทอม(มิ.ย.) ช่วงสิ้นสุดเทอม (พ.ค.) 4.มีการจัทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ และรายงานต่อสภาสถาบันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ข้อนี้จะเป็นตัวเลขจริง ซึ่งได้แก่รายงานประจำปี ประจำเดือน และมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เงินเข้าเงินออก ดีกว่าแผน หรือแย่กว่าแผนโดยวิเคราะห์แยกตามพันธกิจ หลัก ๆ เช่น ด้านการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาอาจารย์ต่อคน พัฒนานักศึกษาต่อคน(ดูจากงบด้านห้องสมุด,คอมพิวเตอร์) 5.มีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของสถาบันอย่างต่อเนื่อง สามารถนำข้อ 4 และข้อ 5 มารวมกันได้ ซึ่งหลักฐานที่สามารถบ่งบอกได้ คือ ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารของสถาบัน 6.มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด ดูได้จากคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทางการเงินชุดต่าง ๆ และรายงานการตรวจสอบของ สตง. หรือ สตน. ถ้าไม่มีหน่วยงานใดมาตรวจสอบ ต้องทำหนังสือเชิญให้มาตรวจสอบ 7.ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้วางแผนและการตัดสินใจ ข้อมูลที่การเงินเสนอผู้บริหารต้องเป็นข้อมูลการใช้จ่ายที่แยกตามพันธกิจ โครงการ อาจจะสรุปเป็นรายไตรมาสได้ สามารถดูหลักฐานได้จากบันทึกการประชุม


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ใช้ในการปฏิบัติงาน จัดทำรายงาน จัดทำแผน เสนอผู้บริหาร เพื่อให้ผ่านการประกันคุณภาพทั้งภายใน และภายนอก และสามารถควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(248)

Comments are closed.