หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง รุ่นที่ 29

หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง รุ่นที่ 29

หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับกลาง รุ่นที่ 29  ระหว่างวันที่   1 มิ.ย. 2558 ถึงวันที่  10 ก.ค. 2558  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร  จังหวัดชลบุรี โดย นงรัตน์ โมปลอด

ความรู้
-    การคิดแบบหมวก 6 ใบ
-    การทำแผนกลยุทธ์
-   การจัดการสมัยใหม่กับการบริหารองค์ภาครัฐ
-   การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
-    การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
-   การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
-    การวิเคราะห์สวอต

1.การทำแผนกลยุทธ์

ยุทธศาสตร์ หมายถึงแนวทางในการบรรลุจุดหมายของหน่วยงาน ดังนั้นจุดหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการจัดทำยุทธศาสตร์ โดยผู้จัดทำจำเป็นต้องกำหนด จุดหมายของหน่วยงานให้ชัดเจน เพื่อให้ยุทธศาสตร์ที่ได้ออกมานั้นตรงตามความต้องการ แล0ดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง

  1. ขั้นตอนของการกำหนดพันธกิจ (mission)

พันธกิจ หมายถึงกรอบ หรือขอบเขตการดำเนินงานของหน่วยงาน การกำหนดพันธกิจ สามารถทำได้โดยนำภารกิจ (หรือหน้าที่ความรับผิดชอบ) แต่ละข้อที่หน่วยงานได้รับมอบหมายตั้งแต่แรกก่อตั้งมาเป็นแนวทาง ทั้งนี้ ผู้จัดทำต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าพันธกิจแต่ละข้อ มีความหมายครอบคลุมขอบเขตแค่ไหน และแต่ละข้อมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในขั้นตอนต่อไปเป็นไปอย่างสะดวก และถูกต้อง

  1.  ขั้นตอนของการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) ให้กับหน่วยงาน

วิสัยทัศน์ หมายถึงสิ่งที่เราต้องการให้หน่วยงานเป็น ภายในกรอบระยะเวลาหนึ่งๆ โดยการจัดทำวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน ควรกระทำเมื่อเราได้กำหนดพันธกิจของหน่วยงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงนำพันธกิจทั้งหมด มาพิจารณาในภาพรวม ว่าหน่วยงานจักต้องดำเนินการในเรื่องใดบ้าง และเพื่อให้หน่วยงานสามารถบรรลุพันธกิจได้ครบถ้วนทุกข้อ หน่วยงานต้องมีความเป็นเลิศในด้านใด หรือควรมุ่งเน้นไปในทิศทางใด

  1.  การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ (strategy issue)

ประเด็นยุทธศาสตร์ หมายถึงประเด็นหลักที่ต้องคำนึงถึง ต้องพัฒนา ต้องมุ่งเน้นประเด็นยุทธศาสตร์นี้ สามารถทำได้โดยการนำพันธกิจแต่ละข้อมาพิจารณาว่าในพันธกิจแต่ละข้อนั้น หน่วยงานต้องการดำเนินการในประเด็นใดเป็นพิเศษ และหลังจากได้ดำเนินการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องการให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงในทิศทางใดทั้งนี้ ในการจัดทำประเด็นยุทธศาสตร์ของแต่ละหน่วยงานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำแผนบริหารราชการแผ่นดิน ของกระทรวงต้นสังกัดมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาด้วย

  1.  การกำหนดเป้าประสงค์ (goal) ของแผนยุทธศาสตร์

เป้าประสงค์ หมายถึงสิ่งที่หน่วยงานปรารถนาจะบรรลุ โดยต้องนำประเด็นยุทธศาสตร์มาพิจารณาว่า หากสามารถดำเนินการจนประสบความสำเร็จตามประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละข้อแล้ว ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ และได้รับประโยชน์อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เป้าประสงค์ของกรมสรรพากรประการหนึ่งคือ รัฐมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเพียงพอในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ จากตัวอย่างนี้ ผู้ได้รับประโยชน์คือภาครัฐ โดยได้ประโยชน์คือสามารถจัดเก็บภาษีได้มากพอ ที่จะนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ได้ นั่นเอง

  1.  ขั้นตอนของการสร้างตัวชี้วัด (Key Performance Identification)

ตัวชี้วัด หมายถึงสิ่งที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าหน่วยงานสามารถปฏิบัติงานบรรลุเป้าประสงค์ที่วางไว้ได้หรือไม่ ขั้นตอนนี้เราจะต้องพิจารณาหาปัจจัยที่เป็นตัวบ่งชี้ดังกล่าว และต้องใช้ถ้อยคำที่ชัดเจน ทั้งในแง่ของคำจำกัดความ และการระบุขอบเขต เช่น “จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการในหนึ่งเดือน” เป็นต้น โดยตัวชี้วัดนี้จะถูกนำเป็นหลักในการกำหนดค่าเป้าหมายในลำดับต่อไป

  1.  ขั้นตอนของการกำหนดค่าเป้าหมาย (target)

ค่าเป้าหมาย หมายถึงตัวเลข หรือค่าของตัวชี้วัดความสำเร็จที่หน่วยงานต้องการบรรลุขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนของการกำหนด หรือระบุว่าในแผนงานนั้นๆ หน่วยงานต้องการทำอะไร ให้ได้เป็นจำนวนเท่าไร และภายในกรอบระยะเวลาเท่าใดจึงจะถือว่าบรรลุเป้าหมาย เช่น ต้องผลิตนักสังคมสงเคราะห์เพิ่มเป็นจำนวน 1,250 คน ภายในระยะเวลา 5 ปี เป็นต้น

  1. ขั้นตอนของการกำหนดกลยุทธ์ (strategy)

กลยุทธ์ หมายถึงสิ่งที่หน่วยงานจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ โดยกลยุทธ์นี้ จะกำหนดขึ้นจากการพิจารณาปัจจัยแห่งความสำเร็จ (critical success factors) เป็นสำคัญ กล่าวคือ ต้องพิจารณาว่าในการที่จะบรรลุเป้าประสงค์ข้อหนึ่งๆ นั้น มีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อความสำเร็จ และเราจำเป็นต้องทำอย่างไรจึงจะไปสู่จุดนั้นได้

ส่วนการบริหารงานในภาครัฐซึ่งเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมิใช่เพื่อจุดประสงค์ในการแสวงหาผลกำไร ก็จะมีมิติที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญแตกต่างกันไป โดยการบริหารงานของภาครัฐจะมุ่งเน้นความสำเร็จในด้านต่างๆ คือ

- ด้านประสิทธิผล
- ด้านคุณภาพการบริการ
- ด้านประสิทธิภาพ
- ด้านการพัฒนาองค์กร

 

2   การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (  Problem Based   Learning  ) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก หรือ PBL หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนซึ้งใช้ตัวปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดวามต้องการที่จะค้นหาข้อมูลและองค์ความรู้มาฃ่วยแก้ปัญหาหรือทำให้ปัญหานั้นกระจ่างมี  9 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  ทำความเข้าใจในความหมายต่างๆ  ใน Trigger   โดยผู้เรียนต้องทำความเข้าใจกับปัญหาที่ได้

ขั้นตอนที่ 2  ค้นหาปํญหาและกำหนดปํญหาให้ชัดเจน

ขั้นตอนที่ 3   วิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุและตั้งสมติฐาน

ขั้นตอนที่ 4  ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยวิทยากร

ชั้นตอนที่  5  วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปํญหา

ขั้นตอนที่  6 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ขั้นตอนที่  7 ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง  การบรรยายของวิทยากรหรือการสอบถามผู้รู้

ขั้นตอนที่   ๘  แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกและกลุ่ม

ขั้นตอนที่   ๙   การนำเสนอรายงานการค้นคว้า

เงื่อนไขการเรียนรู้แบบ PBL คือ

๑        กระตุ้นความรู้เดิม

๒        เสริมความรู้ใหม่

๓        ต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์

3       การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ

  1.  วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และ เป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน

2. ความเปิดเผยต่อกัน และ การเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานเป็นทีม ที่มีประสิทธิภาพ

3 การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน  สมาชิกในทีมจะต้องไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน

4  ความร่วมมือและการใช้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ ผู้นำกลุ่มหรือทีมจะต้องทำงานอย่างหนักในอันที่จะทำให้.ทีมราบรื่น

4 แนวคิด การคิดแบบ หมวก 6 ใบ ( Six Thinking Hats )

ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน” เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดเรื่อง Lateral Thinking (การคิดนอกกรอบ) และเป็นคนพัฒนาเทคนิคการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และได้พัฒนาเป็นแนวคิดที่เรียกว่า “Six Thinking Hats” ซึ่งเป็นวิธีคิดที่มีมุมมองแบบ “รอบด้าน” ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้บริหาร เพราะนอกจากจะช่วยสร้างสิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังช่วย ในการคิดค้นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่ง “เดอ โบโน” พบว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ ทุกคนมีอยู่ หรือสร้างขึ้นมาได้ แต่จะต้องมาฝึกกระบวนการสร้างความคิดดังกล่าว ในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน ทุกคนย่อมต้องมีการคิดในเรื่องต่างๆ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน จึงได้ให้เทคนิค “6 หมวกการคิด” เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมี ประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีการดังกล่าวได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งบริษัทข้ามชาติอย่างเช่นบริษัท ไอบีเอ็ม และเซลส์ เป็นต้น หมวกแต่ละใบเป็นการนำเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ตามมุมมองต่างๆ ของปัญหา โดยวิธีการสวมหมวกทีละใบในแต่ละครั้ง เพื่อพลังของการคิดจะได้มุ่งเน้นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ความเห็นและความคิดสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นได้ และยังเป็นการดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนมาใช้โดยที่ไม่รู้ตัว

Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ “เดอ โบโน” จะประกอบด้วยหมวก 6 ใบ 6 สี คือ

1.      White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง

จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น

2.     Red Hat หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เรา

สามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ

3.      Black Hat หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้อง

พูดถึงจุดด้อย อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น

4.     Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้

หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

5.      Green Hat หมวกสีเขียว สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์

6.     Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด

5    บทบาทผู้บริหาร 

       เป็น  Leader คือ

1   Listen    ฟังให้เป็น ฟังแบบมีสติ

2  Explain     อธิบาย

3  Assist     ช่วยเหลือ

4   Discuss พิจารณาแยกแยะข้อดีข้อเสีย ดิดแต่สิ่งดีๆชีวิตจะมีความสุข

5   Evaluate   ประเมินผล

6   Responsible      รับผิดชอบ

ผู้นำที่ดี  เป็นผู้มีวิสัยทัศน์  แบบอย่าง วุฒิภาวะ มีคุณธรรมอดทนอดกลั้น   สร้างคน สร้างองค์กรและเรียนรู้ตลอดชีวิต

๖     การจัดการสมัยใหม่กับการบริหารองค์ภาครัฐ

Skills  needed  at different   Management   level

๑  Techical   skills   เป็นผู้บริหารระดับต้นต้องมีทักษะหรือหรือเทคนิคในการปฎิบัติการ

๒ Human  Skills  ผู้บริหารระดับกลางต้องมีทักษะด้านบุคคล

๓  Conceptual  skills  ผู้บริหารระดับสูง

แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

๑ สังคมข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้

๒  การเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

๓   การกระจายอำนาจ

๔   ความร่วมมือเศรษฐกิจในลักษฌะพหุภาคีมากขึ้น

๕  เน้นความยั่งยืน วางแผนระยะยาว

๖ ครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น

๗  สังคมผุ้สูงอายุ

๘ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม

๙ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

๑๐  ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ความท้าทายในอนาคตกับการจัดการขององค์กรสมัยใหม่

๑        กระแสโลกาภิวัฒน์

๒       ความซับซ้อนของปัญหาด้านต่างๆ

๓       ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล ขีดความสามารถในการแข็งขันและการจัดการ

๗  การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา

การเฝ้าระวังทางสาธารณสุข หมายถึงการจัดเก็บ การวิเคราะห์ข้อมูล  และการแปรผลข้อมูลทางสาธารณสุขที่ดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่อง ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ที่ได้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผน การแจ้งมาตรการ และการประเมินผล มาตรการป้องควบคุมปัญหาสาธารณสุข

การเฝ้าระวังเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการไหลเวียนของวงจรข้อมูลด้านสุขภาพ โดยมีผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่ ประชาชน ผู้ให้บริการด้านสุขภาพและหน่วยงานสาธารณสุข โดยทั่วไปวงจรของข้อมูลจะเริ่มจากการมีโรค หรือภาวะสุขภาพบางครั้งเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรกร และการเกิดโรคนั้นๆถูกรายงานมายังหน่วยงานสาธารณสุข และวงจรของข้อมูลจะจบลงเมื่อข้อความรู้ต่างๆที่เกิดขึ้นได้รับการส่งต่อไปยังผู้มีส่วนเกียวข้องกับการป้องกันและควบคุมโรค

โดยทั่วไปเราติดตามสถานการณ์ของปัญหาสุขภาพ เพื่อ

-ตรวจจับการระบาดของโรคหรือปัญหาสุขภาพหรือตรวจจับการการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการเกิดโรคและการกระจายของโรคที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที

-ติดตามการเปลี่ยนแปลงของการเกิดโรคระยะยาวและการกระจายของโรคในประชากรติดตามการเปลี่ยนแปลงก่อเชื้อโรคและธรรมชาติของการเกิดโรค

การตรวจจับการระบาดของโรคหรือปัญหาสุขภาพมักเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดการระบาดได้  หน้าที่หลักของการวิเคราะห์ข้อมูลเฝ้าระวัง  เพื่อตรวจจับการระบาดเป็นเป็นของหน่วยงานสาธารณสุขในระดับภูมิภาคเช่นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น ซึ้งหากมีการตรวจพบการระบาดแล้วก็จะนำไปสู่กระบวนการสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดของโรคต่อไป ตามความเหมาะสม

ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังยังช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรคในระยะยาวการเปลี่ยนแปลงการเกิดโรคตามฤดูกาลและการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการเกิดโรคในประชากรรวมถึงการพยายามอธิบายถึงสาเหตุ ของการเปลี่ยนแปลงแหล่งการสวบสวนการระบาดและการควบคุมโรคเมื่อระบบเฝ้าระวังสามารถตรวจจับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างผิดปกติ   หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ  มักจะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งแต่การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบถึงขอบเขตการระบาดที่ชัดเจน

การวางแผนข้อมูลที่ได้จากระบบเฝ้าระวังมักมีข้อมูลแสดงรูปแบบการเกิดโรคที่ชัดเจนทั้งบุคคลเวลาและสถานที่ จึงสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนได้

๘   SWOT  ANALYSIS

การวิเคราะห์สวอต(SWOT  ANALYSIS)คือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็น

เครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับองค์กรซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายในโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก

Sมาจาก Strengths หมายถึงจุดเด่นหรือจุดแข็งเราจะมีจุดแข็งอะไรบ้างในองค์กร เช่นบุคลากรมีประสิทธิภาพ  อายุงานของบุคลากรมาก และสามารถพัฒนาได้ง่าย

WมาจากWeakness หมายถึงจุดด้อยหรือจุดอ่อนเรามีจุดอ่อนอะไรบ้างในองค์กร เช่นการประสานงานไม่ดี  การบริการไม่ดี

O  มาจากOpportunities  หมายถึงโอกาส จากสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เอื้อประโยชน์ให้องค์กรเรา เช่นนโยบายของประเทศส่งเสริมองค์กรเรา

T  มาจาก Threats  หมายถึง  อุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อองค์กร เช่นการเมือง สังคม ที่มีผลกระทบต่อองค์กร

ส่วนใหญ่สภาวะแวดล้อมภายนอกขององค์กรจะเกี่ยวกับ  การเมือง  สังคม แนวโน้มการเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้ารวมไปถึงสภาวะทางเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ  ข่าวโรคระบาด รวมถึงเราต้องจับสถานการณ์ภายนอกองค์ให้ดี  จุดแข็งบางเรื่องที่เคยเป็นจุดแข็งเมื่อมีคู่แข็งมากขึ้นจุดแข็งก็อาจกลายเป็นจุดอ่อนได้เช่นกัน

จากประสบการณ์ที่พบคือการที่ให้หัวหน้างานหรือผู้บริหารระดับต้น และกลางทำการวิเคระห์Swotองค์กรเมื่อไรจะเห็นว่าผลสรุปออกมาไม่ชัดเจน  ขาดทรัพยากรสนับสนุนแต่ถ้าเป็น Swotที่ผู้บริหารระดับสูงทำ  จะเห็นผลการวิเคราะห์อีกแบบหนึ่ง เช่นการประสานงานไม่ดี  ขาดระเบียบวินัยดังนั้นการทำ Swotควรให้ผู้บริหารทุกระดับมีส่วนร่วม และต้องเปิดโอกาสให้ผู้เสนอให้เหตุผลและอธิบายสาเหตุว่าทำไมจึงให้หัวข้อนี้เป็นจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส หรืออุปสรรค จากนั้นให้ที่ประชุมซักถามและออกความคิดเห็นแล้วใช้มติที่ประชุมเป็นการชี้ขาดว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบอยากจะเน้นการใช้ประโยชน์จาก Swotให้มากเพราะการทำ Swotจะช่วยให้ไหวตัวทันสถานการณ์และมีความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

นอกจากการSwotโดยวิเคราะห์ทีละด้านแล้วยังมีวิธี  Swotอีกแบบที่น่าสนใจ คือ

So วิเคราะห์พร้อมกันเลยว่าเรามีจุดแข็งอะไรและมีโอกาสอะไรที่สนับสนุนจุดแข็งนั้น

Stวิเคราะห์ว่าเรามีอุปสรรคอะไรบ้าง และเราสามารถใช้จุดแข็งแก้ไขอุปสรรคอย่างไร

Woวิเคราะห์ว่ามีสภาพแวดล้อมอะไรบ้างที่เอื้อโอกาสให้เราแล้วแต่เรายังมีจุดอ่อนอะไรที่ทำให้ฉกฉวยโอกาสนั้นไม่ได้

Wtวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่เป็นอุปสรรคและกระทบกับจุดอ่อน

 

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

นำความรู้ด้านการบริหารมาประยุกต์ใช้ .ในฐานะหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลอนามัยชุมชน ในประเด็น             การทำแผนกลยุทธ   การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก       การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ  แนวคิด การคิดแบบ หมวก 6ใบ

  (680)

Comments are closed.