สรุปผลการ อบรมการพัฒนาทักษะการประเมินคุณภาพการศึกษา ภายใน ระดับอุดมศึกษา วันที่ 2-5 กรกฎาคม 2558 ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ โดย เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช
ผลการประชุมในวันที่ 2 กรกฎาคม 2558
ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร และระดับสถาบัน
ตามกฎกระทรวงดังรายละเอียดต่อไปนี้
ด้วยกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 ข้อ 35 กำหนดไว้ว่า “วิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้ใช้แนวปฏิบัติดังนี้
1) ให้คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจัดให้มีหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น โดยมีหน้าที่พัฒนา บริหารและติดตามการดาเนินการประกันคุณภาพภายใน ตลอดจนประสานกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการจัดการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ให้คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อใช้กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบนโยบายและหลักการที่สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
3) ให้คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาดาเนินการตามระบบการประกันคุณภาพ ภายใน โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา
4) ให้คณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจัดให้มีระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพของ
ให้แต่ละคณะวิชาและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา จัดให้มีระบบติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาตามที่เห็นสมควร โดยให้สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะวิชาของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา โดยวางกรอบแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษาไว้ดังนี้
องค์ประกอบการประกันคุณภาพ
การพัฒนาตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พัฒนาขึ้นภายใต้พันธกิจหลัก 4 ประการของการอุดมศึกษาและองค์ประกอบคุณภาพ 9 ด้านซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 ซึ่งจะประกอบด้วย
การผลิตบัณฑิต
การวิจัย
การบริการวิชาการ
การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และเพิ่มเติมองค์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญและจำเป็น
ระดับการประกันคุณภาพการศึกษา
ระดับหลักสูตร
ระดับคณะวิชา
ระดับสถานศึกษา
องค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตบัณฑิต ดังต่อไปนี้
(ก) หลักสูตรการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ
(ข) คณาจารย์และระบบการพัฒนาคณาจารย์
(ค) สื่อการศึกษาและเทคนิคการสอน
(ง) ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่น
(จ) อุปกรณ์การศึกษา
(ฉ) สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้และบริการการศึกษา
(ช) การวัดผลการศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษา
(ซ) องค์ประกอบอื่นตามที่แต่ละสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเห็นสมควร
ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน
ระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ครอบคลุมถึง สัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ต่อนักศึกษา จานวนนักศึกษาต่ออาจารย์ (การเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ) ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยของอาจารย์ ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ การดาเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา คุณภาพบัณฑิตพิจารณาจาก การมีงานทาหรือประกอบอาชีพอิสระ คุณภาพผลงานตีพิมพ์และเผยแพร่ระดับบัณฑิตศึกษา
ระดับคณะวิชา ตัวบ่งชี้ควรเป็นตัวบ่งชี้ที่ประเมินการดาเนินการของคณะวิชาเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของแต่ละหลักสูตรที่คณะดูแลพิจารณาเฉพาะองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยครอบคลุมด้าน กิจกรรมนักศึกษา การให้บริการทางวิชาการ การวิจัย และการประกันคุณภาพ
ระดับสถานศึกษา เป็นการประกันคุณภาพในระดับสถาบัน พิจารณาให้เป็นไปตามมาตรฐาน
สถาบัน ซึ่งประกอบด้วย
มาตรฐานด้านศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษา
ด้านกายภาพ
ด้านวิชาการ
ด้านการเงิน
ด้านการบริหารจัดการ
มาตรฐานด้านการดาเนินการตามภารกิจของสถาบัน
ด้านการผลิตบัณฑิต
ด้านการวิจัย
ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่สถาบันพัฒนาขึ้น และได้รับการรับรองในระดับสากล สกอ.จะถือว่าเป็นระบบที่เทียบเคียงได้เท่ากับระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ สกอ. ระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่สกอ.รับรองในระดับหลักสูตร/ คณะ/สถาบัน มีดังนี้
1. ระบบที่ใช้เกณฑ์ EdPEx
2. AUN QA
3. หลักสูตรวิชาชีพ ทีได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพระดับนานาชาติ เช่น AACSB ABET
4. หลักสูตรวิชาชีพ ทีได้รับการตรวจประเมินจากสภาวิชาชีพ เช่น หลักสูตรแพทยศาสตร์ หลักสูตรพยาบาล เป็นต้น
5. หลักสูตร/สาขาวิชา/คณะ/สถาบัน ที่ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ของหน่วยงาน/สถาบันรับรอง เช่น Quacquarelli Symonds (QS)หรือ Academic Ranking of World Universities โดยShanghai Jiao Tong University ในระดับไม่ต่ำกว่า 500 หรือได้รับการจัดลำดับในสาขาวิชาระดับ World Rankingในระดับไม่ต่ำกว่า 200
ทั้งนี้ ทุกระบบต้องได้รับการเห็นชอบจาก กกอ.
องค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีทั้งหมด 13 ตัวบ่งชี้
- การกำกับมาตรฐาน มีตัวบ่งชี้ การบริหารการจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ที่กำหนดโดย สกอ. เกณฑ์ระดับปริญญาตรี 4 ข้อ
- บัณฑิต ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 1) ด้านคุณภาพบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 2) การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา
- นักศึกษา ประกอบด้วย 1) การรับนักศึกษา 2) การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 3) ผลที่เกิดกับนักศึกษา
- อาจารย์ ประกอบด้วย 1) การบริหารและพัฒนาอาจารย์ 2) คุณภาพอาจารย์ 3) ผลที่เกิดกับอาจารย์
- หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ประกอบด้วย 1) สาระของรายวิชาในหลักสูตร
2) การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3) การประเมินผู้เรียน 4) ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
- สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
โดยมีรายละเอียดแต่ละตัวบ่งชี้ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ด้
องค์ประกอบ |
ตัวบ่งชี้ |
1. การกำกับมาตรฐาน | 1.1 การบริหารจัดการหลักสูตร ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสกอ. |
เกณฑ์การประเมิน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
ตัวบ่งชี้ |
ตัวบ่งชี้ |
2.1 |
คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
2.2 (ป.ตรี) |
ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระ(ปริญญาตรี) ภายใน 1 ปี |
2.2 (บัณฑิตศึกษา) |
ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท/หรือปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ |
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
ตัวบ่งชี้ |
ตัวบ่งชี้ |
3.1 |
การรับนักศึกษา |
|
การรับนักศึกษา |
|
การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา |
3.2 |
การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา |
|
การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี |
|
การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาแก่บัณฑิตศึกษา |
|
การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 |
3.3 |
ผลที่เกิดกับนักศึกษา |
|
การคงอยู่ของนักศึกษา |
|
การสำเร็จการศึกษา |
|
ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา |
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
ตัวบ่งชี้ |
ตัวบ่งชี้ |
4.1 |
การบริหารและพัฒนาอาจารย์ |
|
ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร |
|
ระบบการบริหารอาจารย์ |
|
ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ |
4.2 |
คุณภาพอาจารย์ |
|
ร้อยละอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีวุฒิปริญญาเอก |
|
ร้อยละอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีตำแหน่งทางวิชาการ |
|
ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร |
|
จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI และ Scopus ต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร |
4.3 |
ผลที่เกิดกับอาจารย์ |
|
การคงอยู่ของอาจารย์ |
|
ความพึงพอใจของอาจารย์ |
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ |
ตัวบ่งชี้ |
5.1 |
สาระของรายวิชาในหลักสูตร |
|
การออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร |
|
การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ |
5.2 |
การวางระบบผู้สอนและกระบวนการเรียนการสอน |
|
การกำหนดผู้สอน |
|
การกำกับติดตามและตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) และการการจัดการเรียนการสอน |
|
การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มี การบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคมและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม |
|
การควบคุมหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษาให้สอดคล้องกับสาขาวิชาและความก้าวหน้าของศาสตร์ |
|
การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์ |
|
การช่วยเหลือกำกับติดตามในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระและการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา |
5.3 |
การประเมินผู้เรียน |
|
การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบ TQF |
|
การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา |
|
การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และมคอ.7) |
|
การประเมินวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา |
5.4 |
ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ |
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน
ตัวบ่งชี้ |
ตัวบ่งชี้ |
6.1 |
สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน |
|
ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
|
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพียงพอและเหมาะสม ต่อการจัดการเรียนการสอน |
|
กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
สรุปสุดท้าย วิทยากรได้พูดถึง การดำเนินงานตามระบบและกลไกระดับหลักสูตร โดยให้แต่ละวิทยาลัย ดำเนินการประเมินระดับหลักสูตรภายในปีการศึกษา 2557 (ภายในเดือน กรกฎาคม 2558 ) และนำผลการประเมินมาพัฒนาการดำเนินงาน ในปีการศึกษา 2558
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ระดับสถาบัน
องคประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
ตัวบงชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตร
ตัวบงชี้ที่ 1.2 อาจารยประจําสถาบันที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ตัวบงชี้ที่ 1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ตัวบงชี้ที่ 1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
องคประกอบที่ 2 การวิจัย
ตัวบงชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนา งานวิจัยหรืองานสรางสรรค
ตัวบงชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสรางสรรค
ตัวบงชี้ที่ 2.3 ผลงานวิจัยทางวิชาการของอาจารยประจํา และนักวิจัย
องคประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
ตัวบงชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแกสังคม
องคประกอบที่ 4 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบงชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทํานุบํารุงศิลปะและ วัฒนธรรม
องคประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
ตัวบงชี้ที่ 5.1 การบริหารของสถาบันเพื่อการกํากับติดตาม ผลลัพธตามพันธกิจ กลุมสถาบัน และอักษณ ของสถาบัน
ตัวบ่งชี้ 5.2 ผลการบริหารงานของหลักสูตร
ตัวบงชี้ที่ 5.3 ระบบกํากับการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
การประเมินโดยใช้กระบวนการพิชญพิจารณ์ (Peer Review)
- ผู้ประเมินต้องทำความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
- ศึกษาองค์ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมิน
- ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ผู้ประเมิน (ประธาน กรรมการ เลขานุการ) งานที่ต้องปฏิบัติ คือ เก็บข้อมูล ยืนยันความถูกต้องของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการประเมิน ให้ข้อเสนอแนะ ส่งผลการประเมินเข้าระบบ CHE QA Online
- การเขียนข้อเสนอแนะที่เหมาะสม ควรเขียนให้เหมาะสมกับจุดแข็ง ของสถาบัน ที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน
- การระบบจุดอ่อน ให้ระบุว่าสิ่งใดเป็นจุดอ่อนของสถาบัน และอธิบายให้เห็นลักษณะที่เป็นจุดอ่อน และแสดงหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจน
- การเขียนจุดแข็ง จุดอ่อน และข้อเสนอแนะที่ดี ต้องสอดคล้องกับผลการประเมิน
วันที่ 3-5 กรกฎาคม 2558
ฝึกปฏิบัติการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร และระดับสถาบัน และฝึกกระบวนการพิชญพิจารณ์ (Peer Review)
สุดท้าย ได้มีการซักถามเกี่ยวกับ ตัวบ่งชี้ 5.3
สบช. ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานตัวบ่งชี้ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร ผู้รับผิดชอบ เป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ (647)