การพัฒนาเครื่องมือวิจัยที่ได้มาตรฐาน

การพัฒนาเครื่องมือวิจัยที่ได้มาตรฐาน

สรุปจากการประชุม “การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการวิจัยขั้นสูง: การพัฒนาเครื่องมือวิจัยที่ได้มาตรฐาน”  ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย นางสาวภาวดี  เหมทานนท์  และ นางรัถยานภิศ   พละศึก

การออกแบบการวัด

        ๑. การกำหนดตัวแปร

ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่สนใจศึกษา ที่สามารถวัดความผันแปรที่เกิดขึ้นได้ตามสิ่งที่ศึกษา ความผันแปรที่เกิดขึ้นอาจวัดได้ในรูปของปริมาณหรือคุณภาพ เช่น รายได้ อายุ ปริมาณผลผลิต (ซึ่งไม่ใช่ตัวคงที่)

๑.๑ ประเภทของตัวแปร

๑.๑.๑ จำแนกตัวแปรตามลักษณะที่แปรค่า

๑) ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative variable) แปรค่าเป็นตัวเลข

๒) ตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative variable) แปรค่าเชิงคุณลักษณะ

๑.๑.๒ จำแนกตัวแปรตามลักษณะการวัด

๑) ตัวแปรขาดตอน (Discrete variable) ตัวแปรที่มีค่าเป็นหน่วยที่แต่ละหน่วยเป็นอิสระไม่ต่อเนื่องกัน มีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น เพศ จำนวนสมาชิกในครอบครัว การเห็นด้วย/ ไม่เห็นด้วย

๒) ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous variable) ตัวแปรที่สามารถให้ค่าเป็นค่าที่ต่อเนื่อง มีค่าเป็นทศนิยมหรือเศษส่วนได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก รายได้ อายุ

๑.๑.๓ จำแนกตามความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

๑) ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent variable)

๒) ตัวแปรตาม (Dependent variable)

๑.๑.๔ จำแนกตามความสามารถในการควบคุมตัวแปร

๑) ตัวแปรที่สามารถควบคุมได้ เช่น ตัวแปรจัดกระทำ (Active/ experimental/ treatment variable)

๒) ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ตัวแปรคุณลักษณะ (Attribute/ organism variable)

๑.๒ ประเภทของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

๑.๒.๑ ตัวแปรอิสระ (Independent variable) หรือตัวแปรเกิดก่อน (Antecedent variable) หรือตัวแปรเหตุ (Casual variable)

คือตัวแปรต้น ตัวแปรจัดกระทำ เป็นตัวแปรที่นักวิจัยสนใจนำมาจัดการหรือกำหนดเพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการจัดกระทำ หรือผลอันเกิดจากความแตกต่างกันในด้านความเข้ม ความมีอยู่ หรือปริมาณของตัวแปร อาจเรียกว่าตัวแปรสาเหตุ

๑.๒.๒ ตัวแปรตาม (Dependent variable) ตัวแปรที่เกิดขึ้นภายหลัง เป็นผลจากการให้ (หรือไม่ให้) ตัวแปรอิสระ จะมีค่าแปรผันตามตัวแปรอิสระ

๑.๒.๓ ตัวแปรสอดแทรก ตัวแปรเชื่อมโยง (Intervening variable) เกิดจากกระบวนการทางจิตวิทยา  อาจมีผลต่อตัวแปรตาม แต่ไม่สามารถวัดหรือสังเกตได้ หรือถ้าทำได้ก็ยาก เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นระหว่างการวิจัย ทำให้ผลการวิจัยคลาดเคลื่อน โดยที่นักวิจัยไม่ทราบ ไม่สามารถคาดคะเนว่าจะเกิดได้ล่วงหน้า ทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลผิด อาจโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ความสนใจ ความตั้งใจที่ผิดกว่าปกติ ความเครียด ความวิตกกังวล

๑.๒.๔ ตัวแปรเกิน ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous variable) ตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้สนใจศึกษา แต่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ศึกษา ทำให้ผลการวัดตัวแปรตามมีอิทธิพลจากตัวแปรนี้ และทำให้ผลการวิจัยขาดความตรงภายใน ตัวแปรชนิดนี้ นักวิจัยสามารถควบคุมได้ จึงเรียกว่าตัวแปรควบคุม (Control variable)

๑.๒.๕ ตัวแปรปรับ ตัวแปรขยาย (Moderator variable) ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่ไม่ได้กำจัดด้วยการควบคุม แต่นำมาเป็นตัวแปรอิสระที่ต้องการศึกษาอิทธิพลที่มีต่อตัวแปรตาม

๑.๒.๖ ตัวแปรกลาง (Mediator variables) หรือตัวกลาง (Mediator) คือ ตัวแปรที่รับอิทธิพลจากตัวแปรต้น และส่งอิทธิพลทางตรงไปยังตัวแปรตามที่นักวิจัยสนใจ

๑.๓ การวัดตัวแปร

การวัด คือ การกำหนดสัญลักษณ์/ ตัวเลขให้แก่วัตถุ เหตุการณ์หรือคุณสมบัติที่ศึกษาอย่างมีหลักเกณฑ์

การวัดตัวแปร คือ การกำหนดตัวเลขให้กับคุณสมบัติของสิ่งของหรือคุณสมบัติต่างๆที่ต้องการศึกษา

๑.๓.๑ องค์ประกอบในการวัด

๑) ตัวเลข คือ สัญลักษณ์แทนจำนวน

๒) การกำหนดให้ คือ กำหนดตัวเลขแทนวัตถุหรือเหตุการณ์

๓) กฎเกณฑ์ คือ วิธีที่ใช้ในการกำหนดตัวเลขหรือจำนวน เช่น การวัดความเร็วในการอ่าน โดยการจับเวลาโดยใช้นาฬิกาจับเวลา

๑.๓.๒ ข้อจำกัดในการใช้กฎเกณฑ์ในการวัด

๑) การวัดลักษณะทางจิตภาพ ไม่สามารถวัดโดยใช้กฏเกณฑ์ที่เป็นสากล ต้องใช้เทคนิคการวัดที่สามารถอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผล

๒) การวัดในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ มักวัดตัวบ่งชี้คุณสมบัติของคนหรือวัตถุหรือแนวคิดเชิงนามธรรม เช่น ความเชื่อในอิทธิพลของสื่อ แรงจูงใจในการอ่านหนังสือ ความเชื่อในผู้ที่มีอำนาจ เป็นการวัดที่ไม่สามารถวัดตรงไปตรงมา ต้องพัฒนาตัวบ่งชี้ที่แสดงว่ามีคุณลักษณะที่มี แล้ววัดจากตัวบ่งชี้หรือนิยาม

๑.๓.๓ กระบวนการของการวัดตัวแปร ประกอบด้วย

๑) นิยามตัวแปรที่ต้องการศึกษา

จำแนกตัวแปรตามลักษณะการวัดเป็น

-ตัวแปรที่วัดได้โดยตรง เช่น อุณหภูมิ น้ำหนัก

-ตัวแปรที่ต้องวัดทางอ้อม เช่น ความสามารถ ความซื้อสัตย์ ความสนใจ เจตคติ ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ ต้องมีการนิยามตัวแปร เพื่อให้เข้าใจตรงกัน และเป็นที่ยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องก่อน ดังนั้นจึงต้องมีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร

การนิยามศัพท์ในการวิจัยโดยทั่วไป มี 3 ลักษณะ ดังนี้

-นิยามศัพท์เฉพาะ (Term) เป็นศัพท์เฉพาะทาง นิยามเพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัย
เข้าใจตรงกันในคำศัพท์ที่ใช้วิจัย

-นิยามศัพท์ที่ไม่ใช่คำเฉพาะ แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างจากความหมาย
ปกติที่ใช้ทั่วไป

-นิยามตัวแปรในเชิงปฏิบัติการ เป็นการสื่อความหมายของตัวแปรที่เป็นแนวคิด
หรือนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรมเพื่อการวัดตัวแปร

การนิยามตัวแปร เป็นการให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational definition) เป็นการให้ความหมายของตัวแปร ที่มีลักษณะเป็นนามธรรม เป็นแนวคิด ให้อยู่ในลักษณะที่วัดได้ สังเกตได้ เพื่อให้มีความหมายที่แน่นอน มีขอบเขตอย่างเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน เน้นที่การวัด การสังเกตได้ และต้องไม่ขัดแย้งกับความหมายเชิงทฤษฎี

๒) กำหนดขอบเขตวิจัยด้านบริบท/ ตัวแปร

๓) กำหนดมาตรวัดหรือระดับการวัดตัวแปร

๔) กำหนดเครื่องมือวัด

        ๒. คุณภาพเครื่องมือวัด   

๒.๑ ความตรงตามเนื้อหา (Content validity)

ให้ผู้เชี่ยวชาญตัดสินเปรียบเทียบเครื่องมือกับนิยามศัพท์ ตัวบ่งชี้ กรอบแนวคิด (IOC Index)

๒.๒ ความตรงตามโครงสร้าง (Construct validity)

ความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม องค์ประกอบที่ใช้ในเครื่องมือ กับโครงสร้างทางทฤษฎีที่นำมาใช้ในการวัดตัวแปร เช่น เจตคติ ความคิดสร้างสรรค์

๒.๓ ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion –Related Validity)

๒.๓.๑ ความตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) คือ ความสอดคล้องของผลการวัดกับสภาพที่เป็นจริงขณะนั้นของเป้าหมายที่วัด

๒.๓.๒ ความตรงเชิงทำนาย (Predictive Validity) คือ ความสอดคล้องระหว่างผลการวัดกับสภาพที่เกิดขึ้นในอนาคตที่กำหนด

๒.๔ ความตรงเชิงจำแนก

ความสอดคล้องระหว่างผลการวัดกับสภาพที่เป็นจริงในการจำแนกกลุ่มเป้าหมายที่วัด

        ๓. แหล่งเครื่องมือวิจัย

เครื่องมือวิจัยอาจได้มาจาก ๒ แหล่ง คือ

๓.๑ นำเครื่องมือที่มีคุณภาพที่มีผู้สร้างไว้แล้วมาใช้สิ่งสำคัญที่สุด คือต้องรู้แหล่งของเครื่องมือนิยามตัวแปรที่วัด กระบวนการพัฒนาและการตรวจสอบคุณภาพ

๓.๒ สร้างขึ้นเอง  โดยมีกิจกรรมการสร้างเครื่องมือวัด เป็นดังนี้

๓.๒.๑ พิจารณากรอบการวัด

๑) วัตถุประสงค์ และระดับการวัด

๒) นิยามตัวแปรที่จะวัด

๓.๒.๒ กำหนดรูปแบบเครื่องมือที่และวิธีการวัด

๓.๒.๓ สร้างเครื่องมือ

๓.๒.๔ นำเสนอผู้เกี่ยวข้องพิจารณาลงความเห็น

๓.๒.๕ ทดลองใช้เพื่อพิจารณาคุณภาพ

๑) หาความเป็นไปได้ในการตอบ

๒) ความตรงรายข้อ ทั้งฉบับ ก่อนใช้ หลังใช้

๓) ความเที่ยงทั้งฉบับหลังใช้

        ๔. เกณฑ์พิจารณาคุณภาพเครื่องมือ

๔.๑ ความเป็นไปได้ในการตอบ

๔.๒ ความเหมาะสมของจำนวนคำถาม

๔.๓ ความสะดวกในการตอบ บันทึกคำตอบ

๔.๔ จัดหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อยให้เห็นเด่นชัด กรณีมีการข้าม/ ไม่ต้องตอบบางหัวข้อหรือบางกรณี
ต้องจัดให้ตอบง่าย

๔.๕ เรียงคำถามแต่ละประเภทให้เป็นหมวดหมู่

๔.๖ ข้อคำภามต้องชัดเจน ไดข้อมูลจากผู้ตอบตรงประเด็น มีความเชื่อถือได้ ตอบได้ตรงกับที่ผู้ถาม
ต้องการ

๔.๗ ถามคำภามที่อยู่ในวิสัยที่ผู้ตอบสามารถให้ข้อมูลได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการคิดมากนัก ใน
กรณีที่ไม่ใช่แบบทดสอบ

๔.๘ มีการทดลองใช้ก่อนใช้จริง เพื่อพิจารณาในด้าน

๔.๘.๑ ความครอบคลุมตัวแปร

๔.๘.๒ ความตรงประเด็นและน่าเชื่อถือของคำตอบ

๔.๘.๓ ความชัดเจนของข้อคำถาม

๔.๘.๔ การเรียงหัวข้อ การจัดรูปแบบ

๔.๘.๕ เนื้อหาของคำถาม ต้องไม่ขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยมของ
ผู้ตอบ

  (2548)

Comments are closed.