สรุปจากการประชุมวิชาการ เรื่อง “Step Forward to Better Child Health” ณ โรงแรมเซนต์ จู รี่ ปาร์ค กรุงเทพมหานครฯ วันที่ ๒๔ – ๒๖ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ กรุงเทพมหานคร โดย นภาวรรณ วิริยะศิริกุล
สุขภาพเด็กไทย
วัคซีน
ไข้เลือดออก
ทักษะชีวิต
แพ้โปรตีนจากนมวัว
มณีเวช
สุขภาพเด็กไทย
โครงสร้างประชากรเด็กและประชากรวัยเรียนของไทยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสตรีมีการศึกษาสูงขึ้น แต่งงานช้าลง ส่งผลต่ออัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง มีทั้งสัดส่วนจำนวนและการเกิดลดลง
ผลการสำรวจ IQ เด็กไทยด้อยลงกว่าปีที่เเล้ว จาก 94 เหลือ 93.1 ในขณะที่ มาตรฐานโลก อยู่ที่ 100 เด็กไทยในเมืองใหญ่ๆ มี IQ อยู่ที่ 100.78 ในขณะที่เด็กอยู่ในเขตุกันดานมี IQ อยู่ที่ 89.18
ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มักถูกละทิ้งให้รับปัญหาคนเดียว ทั้งที่ยังขาดวุฒิภาวะ มีภาวะอารมณ์ไม่คงที่ ไม่มีความรู้ในการเลี้ยงดูลูก ไม่รู้จะสอนลูกในเรื่องเพศศึกษาอย่างไร ขณะที่สภาพแวดล้อมก็ยังไม่พร้อม ทั้งฐานะทางการเงิน ความสัมพันธ์ในครอบครัว ทำให้เด็กที่คลอดออกมาเป็นกลุ่มเปราะบาง เด็กที่เกิดมามีน้ำหนักตัวน้อย ติดเชื้อ ทั้งยัง เสี่ยงเกิดปัญหาในอนาคต นอกจากนี้ลดปัญหาแม่วัยรุ่น และป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำครั้งที่สอง และเปิดบริการคลินิก วัยรุ่นในโรงพยาบาลทุกระดับ บริการวัยรุ่นไปยังร้านขายยา เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงบริการคุมกำเนิด จัดการสอนเพศศึกษาในโรงเรียน โรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน บริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมีขีดความสามารถสูง ประชาชนได้รับการคุ้มครองในเรื่องสุขภาพภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี
หญิงตั้งครรภ์ที่ได้กินยาเม็ดเสริมไอโอดีนเพื่อพัฒนาสมองเด็ก และตรวจพัฒนาการเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ขวบ ทุกคน วางระบบดูแลเชื่อมโยงระหว่างพ่อ-แม่ ที่บ้าน ครูโรงเรียน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เพื่อสร้างศักยภาพให้กับคนไทยรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศชาติ พร้อมทั้ง สามารถแข่งขันในเวทีโลกอย่างโดดเด่น สร้างเด็กวัยเรียนให้แข็งแรง ไม่เป็นโรคอ้วน
การประเมินพัฒนาการเด็ก ตามแบบประเมิน DAIM และ DSIM
วัคซีน
วัคซีนปี 2016 ที่อยู่ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กระทรวงสาธารณสุข เรียกว่า วัคซีนพื้นฐาน ได้แก่
- วัคซีน BCG ป้องกันวัณโรค ให้ตั้งแต่แรกเกิด
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด ให้เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน ขวบครึ่ง และสามถึงสี่ขวบ
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ให้พร้อมกับวัคซีนป้องกันโปลิโอ คือ เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน ขวบครึ่ง และสามถึงสี่ขวบ อาจให้กระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 11-12 ปี
- วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี ให้ 3 ครั้ง ตั้งแต่แรกคลอด อายุหนึ่งถึงสองเดือน และอายุ 6 เดือน
- วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน ให้เมื่ออายุ 1 ขวบ และอาจให้กระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบ
- วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเชื้อเป็น ให้เมื่ออายุ 1 ขวบครึ่ง และให้กระตุ้นอีกครั้ง 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบ
วัคซีนที่อยู่นอกแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กระทรวงสาธารณสุข เรียกว่า วัคซีนเสริม ได้แก่
- วัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อ H. influenza type B (HIB) ให้เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และกระตุ้น 1 ครั้งช่วงอายุ 12-15 เดือน
- วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ ให้ได้ตั้งแต่อายุ 1 ขวบขึ้นไป 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือนถึง 1 ปี
- วัคซีนป้องกันโรคสุกใส ให้ได้ตั้งแต่อายุ 1 ขวบขึ้นไป และอาจให้กระตุ้นอีกครั้งช่วง 4-6 ขวบ
- วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้ได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
- วัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อ Streptococcus pneumoniae หรือที่เรียกว่า วัคซีนไอพีดี ให้ได้เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และกระตุ้นเมื่ออายุ 1 ขวบ
- วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโรตาไวรัสที่ทำให้เกิดท้องเสีย เป็นวัคซีนแบบหยอดทางปาก ให้ 2 หรือ 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน
ไข้เลือดออก
การรักษาตามอาการที่เกิด ดังนี้
- ไข้ ให้เช็ดตัวลดไข้ หากไข้สูงกว่า ๓๘.๕ องศาเซลเซียส
- ขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์ ให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ (ORS) หรือน้ำผลไม้ งดการดื่มน้ำเปล่าเพื่อชดเชย
น้ำและอิเล็คโทรลัยท์ ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาภาวะช็อค โดยส่วนใหญ่จะให้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะช็อค เพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในร่างกาย สารน้ำที่ใช้คือ isotonic solution ได้แก่ Ringer lactate, ๐.๙% NSS, 5%D/NSS ในเด็กโต และ 5%D/2 ในเด็กเล็ก อายุน้อยกว่า ๑ ปี โดยมีอัตราการให้สารน้ำคือ
- ไม่มีอาการช็อคให้ ๒-๕ มล./กก./ชม.
- มีอาการเกรด ๓ ให้ ๑๐ มล./กก./ชม.
- มีอาการเกรด ๔ ให้ ๒๐ มล./กก./ชม.
- หากมีเลือดออกมาก อาจพิจารณาให้เลือด
ทักษะชีวิต
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต (Life skills) หมายถึง ความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหา และความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่นทักษะชีวิต เป็นความสามารถ อันประกอบด้วยความรู้ เจตคติ และทักษะ ในการที่จะจัดการกับความกดดัน ความบีบคั้น ปัญหารอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต
ทักษะชีวิตมีความคิดวิเคราะห์วิจารณ์และความคิดสร้างสรรค์เป็นพื้นฐานสำคัญ มีการตระหนักรู้ในตน ความเห็นใจผู้อื่น ความภูมิใจในตนเอง ความรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างสัมพันธภาพ การสื่อสาร การตัดสินใจ แก้ไขปัญหา การจัดการกับอารมณ์
สำหรับเด็ก ควรเสริมสร้างพัฒนาทักษะชีวิตพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ ความภูมิใจในตนเอง ความตระหนักรู้ในตนเองหรือการมีวินัยและความรับผิดชอบ การสร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารหรือทักษะทางสังคม ทักษะชีวิตดังกล่าวนี้จะเป็นพื้นฐานด้านบุคลิกภาพที่สำคัญที่เด็กควรได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังความภูมิใจในตนเอง คือ ความคิดความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความภูมิใจ เห็นคุณค่าความสามารถของตนเอง มีความมั่นใจในการคิด ตัดสินใจ มีการแสดงออก สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ สร้างประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะปรับตัวและยอมรับกติกา กฎระเบียบของกลุ่ม ของโรงเรียน เข้าใจสิทธิของผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็น มีความอดทน อดกลั้น ควบคุมตนเองได้ และสามารถปรับตัวอยู่ในกลุ่มสังคมได้อย่างภาคภูมิ เรียนรู้ที่จะทำกิจกรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ที่นอกเหนือไปจากคนในครอบครัว เด็กที่มีทักษะชีวิตที่ดี จะช่วยให้เด็กรู้จักที่จะอยู่กับตัวเอง รู้จักที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความบากบั่น รู้จักคิด พบปัญหา สามารถแก้ไขได้ รู้จักปรับตัวที่จะอยู่ในสังคมได้ เป็นภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งให้เด็กรู้จักดูแลตนเองและพึ่งตนเองได้ในที่สุด
การดูแลแบบประคับประคอง
องค์การอนามัยโลก ได้ให้ความหมายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือการดูแลแบบประคับประคอง Palliative Care มุ่งที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ซึ่งเผชิญหน้ากับโรคที่คุกคามต่อชีวิต (Life – threatening illness) ไม่ว่าจะเป็นโรคใด โดยเน้นที่การดูแลรักษาอาการที่ทำให้ทุกข์ทรมาน ทั้งอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวมและควรให้การรักษาดังกล่าวตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคระยะสุดท้าย (Terminal illness) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต และรวมถึงการดูแลครอบครัวของผู้ป่วยหลังจากการสูญเสีย
ดังนั้น Palliative Care จึงเป็นการดูแลแบบประคับประคอง มุ่งให้ความสุขสบายแก่ผู้ป่วย ช่วยลดความทุกข์ทรมานจากความปวดครอบคลุมถึงจิตวิญญาณ และตระหนักถึงการตายอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (dignified death) รวมถึงครอบครัวที่มีผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย และหลังเสียชีวิตแล้วทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย และครอบครัวดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
- มุ่งประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเป็นหลัก มิใช่ตัวโรค
- มุ่งช่วยลดอาการเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจ ในวาระสุดท้ายของชีวิต
- ดูแลครอบคลุมถึงการตอบสนองทางด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วย
- ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นจนวาระสุดท้าย เพื่อเตรียมตัวเผชิญกับความตายอย่างสงบ
- ดูแลครอบคลุมถึงผู้ใกล้ชิดในครอบครัวของผู้ป่วย ทั้งในระยะที่ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ และหลังเสียชีวิตแล้ว
- ช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ในสถานที่ซึ่งผู้ป่วยเลือกเอง ถ้าเป็นไปได้)
- ไม่ควรเร่งรัด หรือเหนี่ยวรั้งความตายจนเกินกว่าเหตุ
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- การประเมินความต้องการของผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลประคับประคอง การประเมินปัญหาของผู้ป่วย โดยการพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อค้นปัญหา และให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่างๆ ออกมา เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจขึ้น พยาบาลควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดถึงความเจ็บป่วย
- การบอกข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ผู้ป่วยและครอบครัวรับทราบ โดยอธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจในการวินิจฉัยโรค ความก้าวหน้าของโรค แผนการรักษา ตลอดจนข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อให้การรับรู้ต่อเหตุการณ์ถูกต้องตามความเป็นจริง
- จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้มีโอกาสพูดคุยระบายความรู้สึกออกมา
- การสร้างสัมพันธภาพที่ดีและความเชื่อมั่นในการรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยไว้วางใจ และมั่นใจว่าผู้ป่วยจะไม่ถูกทอดทิ้งให้รู้สึกหวาดกลัว เจ็บปวด หรือว้าเหว่อยู่ผู้เดียว
- การบรรเทาความทุกข์ทรมานทางกายของผู้ป่วย โดยเฉพาะความเจ็บปวดที่เกิดจากอาการของโรค พยาบาลจะให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา และประเมินระดับความปวด (pain score) เพื่อการให้ยาที่มีประสิทธิภาพ และบรรเทาอาการทุกข์ทรมานของผู้ป่วย
- ความเชื่อ ศาสนา และปรัชญาชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อความตายของผู้ป่วย เช่น การขอให้พระมาให้ศีลต่ออายุ การใช้น้ำมนต์ การทำบุญ การทำละหมาด เป็นต้น
- ผู้ป่วยบางรายต้องการวางแผนชีวิตบั้นปลายเกี่ยวกับธุรกิจส่วนตัว เช่น การทำพินัยกรรม การวางแผนอนาคตของบุคคลในครอบครัว พยาบาลควรช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาของผู้ป่วยและญาติ ความต้องการก่อนที่จะตาย เช่น การได้เที่ยวทะเล การทำสิ่งที่ชอบ การได้อยู่ใกล้บุคคลอันเป็นที่รัก
แพ้โปรตีนจากนมวัว
อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการได้รับ โปรตีนบางชนิดในนมวัว โดยอาจเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่อยู่ในครรภ์คุณแม่ เนื่องจากคุณแม่กินนมวัวเพื่อบํารุงครรภ์ หรือได้รับเข้าสู่ร่างกายหลังจาก คลอดแล้ว แต่เนื่องจากทารกยังมีข้อจํากัดของระบบการย่อย และระบบ ภูมิคุ้มกันในลําไส้ที่ ไม่แข็งแรง อีกทั้งมีระบบน้ำย่อยยังไม่สมบูรณ์ และเซลล์ เยื่อบุทางเดินอาหารยังอยู่กันห่างๆ จึงทําให้โปรตีนแปลกปลอม ของนมวัว เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด ไปกระตุ้นให้ร่างกายของทารกที่มีความเสี่ยง (ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว หรือผู้ที่แม่ดื่มนมวัวหรือผลิตภัณฑ์นมวัวขณะตั้งครรภ์) ต่อมาหากมีการได้รับนมวัวหรือสารก่อภูมิแพ้เข้าไปอีก ภูมิต่อต้านจะ มาทําปฏิกิริยาทันที เกิดเป็นอาการเจ็บป่วยได้หลายรูปแบบ เช่น
- ระบบผิวหนัง มักมีผิวแห้ง แพ้เหงื่อ เป็นผื่นแดงเม็ดเล็กคล้าย เม็ดทรายหยาบๆ บนใบหน้า แขนขา และลําตัว สะเก็ดชันตุที่หนังศีรษะ มีอาการ คัน เป็นๆ หายๆ เรื้อรัง น้ำเหลืองเยิ้ม หรือเป็นผื่นลมพิษ
- ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ คันตา คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล เลือดกําเดาไหล เสมหะครืดคราดในลําคอ นอนกรน อ้าปากหายใจ หายใจ เสียงดังวี้ด หรือ หอบหืด ไอเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลและ ต่อมอดีนอยด์อักเสบ และเมื่ออักเสบบ่อยๆ จะทําให้มีขนาดใหญ่ผิดปกติจน อุดกั้นทางเดินหายใจ
- ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียน ท้องผูก แหวะนม ท้องอืด ปวดท้อง ร้องกวนโคลิค ทําให้เป็นเด็กนอนน้อย นอนหลับไม่สนิท เลี้ยงยาก น้ำหนักขึ้นน้อย เลี้ยงไม่โตเพราะลําไส้ไม่ดูดซึมอาหาร ไม่ชอบกินนมหรือกินนมยาก ท้องเสียบ่อยๆ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด
- ระบบอื่นๆ เช่น อาการช็อกรุนแรง ปากบวม หน้าบวม ตัวเขียว หายใจลําบาก ความดันตก จนถึงขั้น เสียชีวิตได้
มณีเวช
มณีเวช เป็นวิชาเกี่ยวกับการจัดสมดุลโครงสร้างของร่างกายที่ท่านอาจารย์ประสิทธิ์ มณีจิระประการ เป็นผู้คิดค้นโดยผสมผสานวิชาแพทย์แผนไทย จีนและอินเดีย ประยุกต์ต่อยอดและพัฒนาการรักษามาเป็นของไทยเรา และท่านอาจารย์ได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์หลายท่าน
หลักการของมณีเวช คือ เมื่อโครงสร้างของร่างกายอยู่ในลักษณะสมดุลจะทำให้การไหลเวียนของเลือด ลม น้ำเหลือง และระบบประสาท เป็นไปอย่างสะดวก แต่หากโครงสร้างไม่อยู่ในลักษณะสมดุล การไหลเวียนต่างๆ ก็จะบกพร่องซึ่งเป็นสาเหตุของการผิดปกติ ไม่สบายต่างๆ ของร่างกาย
ท่ายืนเพื่อรักษาสภาพสมดุลของร่างกาย
ท่ายืนตามปกติที่ถูกต้องควรยืนลงน้ำหนักทั้ง 2 เท้าให้เท่ากัน เท้าทั้งของข้างห่างกันพอสมควร และขนานกันเป็นเลข “11” ในการบริหารตามหลักมณีเวชท่ายืนทุกท่าควรยืน การยืนที่เท้าไม่ขนาน หรือการเดินที่ปลายเท้าแบะออกอาจทำให้ปวดเข่า หรือสะโพกต่อไปได้ การพักขาทีละข้างต้องสลับซ้ายขวาบ่อยๆ เพราะการยืนพักขาทำให้ขาข้างใดข้างหนึ่งรับน้ำหนักเต็มที่ ถ้ายืนพักขาข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำจะทำให้สะโพกเอียงและกระดูกสันหลังคด และจะตามมาด้วยอาการปวดหลังในอนาคต
ท่าบริหารแบบมณีเวช
- ท่าที่ 1 – ท่าสวัสดี หรือรำละคร
- ท่าที่ 2 – ท่าโม่แป้ง
- ท่าที่ 3 – ท่าถอดเสื้อ
- ท่าที่ 4 – ท่าหมุนแขนกันเชียง
- ท่าที่ 5 – ท่าปล่อยพลัง
- ท่าที่ 6 – ท่าขึ้นลงเตียง และท่างู
- ท่าที่ 7 – ท่าแมว และท่าเต่า
ท่าทั่วไปในชีวิตประจำวัน
บางครั้งการใช้ชีวิตประจำวันก็ทำให้เราเจ็บปวดได้ ไม่ว่าจะเป็นการกอดอก การเท้าคาง ยกของ บิดตัว อุ้มเด็ก หรือการนั่งทำคอมพิวเตอร์ โดยมณีเวช ถือว่าการงอข้อมือมากๆ บ่อยๆ เป็นสาเหตุของการปวดคอ ปวดหลัง และปวดไหล่ได้
ท่านั่ง
ท่านั่งพับเพียบ และท่านั่งแบบญี่ปุ่น (เท้าแบะออก 2 ข้าง) นั่งไขว้ห้าง และนั่งเอนตัวบนโซฟา ถือเป็นท่านั่งต้องห้าม เพราะการนั่งด้วยท่าเหล่านี้เป็นประจำเป็นสาเหตุของการเกิดสะโพกเอียง ทำให้สะดูกสันหลังเคลื่อนที่ผิดปกติได้ โดยท่านั่งที่ดี คือ นั่งตัวตรง หรือนั่งไขว้ห้างแบบอาเสี่ย (ขาทับกันเป็นเลข 4) นั่งขัดสมาธิ นั่งคลุกเข่าท่าเทพบุตร ท่าเทพธิดา โดยเวลานั่งควรถอยหลังให้ขาสัมผัสเก้าอี้ที่จะนั่งก่อน แล้วก้มตัวลงจับหัวเข่าทั้ง 2 ข้าง แล้วหย่อนก้นก้นลงนั่ง เวลาจะลุกขึ้นควรใช้วิธีจับเก้าอี้ข้างๆ ตัว ขยับก้อนให้เลื่อนออกมาข้างหน้าก่อน แล้วใช้มือทั้ง 2 จับเข่าทั้ง 2 ข้างเอนตัวไปข้างหน้า แล้วลุกขึ้นยืนโดยที่มือยังกุมเข่าเอาไว้ทั้ง 2 ข้าง เมื่อยืนเรียบร้อยแล้วดันเข่าให้ตึงจึงยืดตัวตั้งตรง (706)