หลักการเขียน อ่านภาษาอังกฤษ

หลักการเขียน อ่านภาษาอังกฤษ

Part of grammar and writing

ประโยคในภาษาอังกฤษ

ประเภทของคำในประโยคภาษาอังกฤษ

1. Verb กิริยา คำที่แสดงการกระทำ เช่น  (to) be, have, do, like, work, sing, can, must

2. Noun คำนาม คือคำที่แทนสิ่งต่างๆ เช่น  คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น pen, dog, work, music, town, London, teacher, John

3. Adjective คำขยาย(บรรยาย)คำนาม  เช่น  a/an, the, some, good, big, red, well, interesting (มักอยู่หน้าคำนาม)

4. Adverb คำขยาย Verb, Adjective หรือขยาย Adverb เอง มักลงท้ายด้วย -ly เช่น quickly, silently, well, badly, very, really (มักอยู่หน้า verb หรืออยู่ท้ายประโยค)

5. Pronoun คำสรรพนาม เอาไว้พูดแทนคำนามที่พูดไปแล้ว เช่น  I, you, he, she, some

6. Preposition คำบุพบท ใช้เชื่อมคำนามกับคำนามอื่น เช่น in, on, at, to, after, under, over, from (มักอยู่หลังคำนามที่มันไปขยาย)

in ใช้กับบอกตำแหน่งแบบกว้างๆ ไม่เจาะจง เช่น in May(เดือน), in 2010(ปี), in Bangkok(จังหวัด), in Thailand (ประเทศ)

on ใช้กับการบอกตำแหน่งแบบเจาะจงยิ่งขึ้น เช่น on Tuesday (วัน), on Sukhumvit Road (ถนน)

at ใช้กับการบอกตำแหน่งแบบเจาะจงที่สุด เช่น at 11:00(เวลา), at Central World (สถานที่เจาะจง)

7. Conjunction คำสันธาน เอาไว้เชื่อมประโยค หรือเชื่อมคำ เช่น  and, but, or, nor, for, yet, so, although, because, since, unless

การที่จะสร้างประโยคได้ จะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ  คือ  Subject (ประธาน) + Verb (กิริยา) และถ้ากิริยานั้นต้องการกรรมด้วย ก็ต้องมี Object (กรรม) ด้วย

แนวคิด

1. สิ่งที่จะเป็นประธานของประโยคได้นั้นก็ คือ คำที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม  เช่น  Noun เอง หรือจะเป็น Pronounก็ได้  แต่ก็อาจมีตัวมาขยายคำนามซึ่งก็คือ Adjective หรือ อาจมีตัวที่จะมาเชื่อมคำนามด้วย ซึ่งก็คือPreposition

2. ส่วนกิริยานั้นจะต้องเป็น Verb ซึ่งก็อาจมีตัวมาขยายซึ่งก็คือ Adverb

3. ส่วนที่เป็น Object ก็จะเป็นคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม เช่นเดียวกับประธานของประโยค

4. เมื่อเราต้องการเชื่อมประโยคหลายๆ อันเข้าด้วยกัน ก็จะต้องใช้ Conjunction ในการเชื่อมนั่นเอง

คำนาม เอกพจน์ พหูพจน์ การนับคำนาม

แนวคิด

1. คำนามเอกพจน์ จะตามด้วย is/am/has/does/Vเติม s,es เมื่อใช้ Present Simple

2. คำนามพหูพจน์ จะตามด้วย are/have/do/V ไม่เติม s,es เมื่อใช้ Present Simple

3. เวลาใช้นามขยายนาม นามตัวหน้าจะห้ามเติม s เด็ดขาด เช่น Vegetable soup

4. ถ้าใช้นามขยายนาม แล้วนามตัวขยายมีการใช้ร่วมกับตัวเลข จะใช้คำนามเอกพจน์ เชื่อมด้วย – เช่น five-year-old son

5. นามนับได้เอกพจน์ ถ้าไม่เจาะจงจะนำหน้าด้วย a, an (กรณีที่คำตามหลังออกเสียง ออ-) หรือใช้ the ในกรณีที่เจาะจง หรือผู้ฟังรู้อยู่แล้วว่าพูดถึงอะไรอยู่

6. นามนับไม่ได้ จะถือว่าเป็นเอกพจน์เสมอ และจะไม่มีการใช้ a/an นำหน้าด้วย

7. นามนับได้เอกพจน์ สามารถนำหน้าด้วย one, each, every

8. นามนับได้พหูพจน์ สามารถนำหน้าด้วย two, both, a couple of, a few, several, many, a number of

9. นามนับไม่ได้ สามารถนำหน้าด้วย a little, much, a great deal of

10. ส่วนตัวที่นำหน้าได้ทั้งนามนับได้และนับไม่ได้ คือ not any/no, some, a lot of, lots of, plenty of, most, all

11. a few / a little เป็นคำในแง่ดี คือ พอมีอยู่

12. few / little เป็นคำในแง่ลบ คือ มีน้อยมาก

13. other = อันอื่น / another อีกอันหนึ่งจากสิ่งที่พูดถึง / the other(s) อันที่เหลือจากส่งที่พูดถึง

Tense

ภาษาอังกฤษนั้นมีรูปแบบประโยคที่เรียกว่า Tense เอาไว้แสดงเวลาในกรณีต่างๆ กัน โดยจะทำให้ส่วนของ Verb นั้นเปลี่ยนรูปแบบไป (ซึ่ง verb ที่เปลี่ยนไปตาม Tense คือ Verb แท้ของประโยค) แบ่งเป็น 3 ประเภทเวลาใหญ่ๆ คือ    ปัจจุบัน Present = V1,    อดีต Past = V2,    อนาคต Future = Will + V

แต่ละเวลาจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบย่อย คือ   Simple = V (รูปแบบอย่างง่าย),  Continuous = be + Ving (กำลังทำ) , Perfect = Have + V3 (เกิดก่อนอีกอัน เวลาไม่สำคัญ)

แนวคิด

1. Present Tenseใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในปัจจุบัน

Present Simple = ใช้บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เป็นจริงเสมอ = รูปแบบ คือ S + V1 (ผันตามประธาน) เช่น He watches TV everyday.

Present Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน = S + is/am/are + Ving [be ผสมกับ V1 ได้ is/am/are] เช่น I am doing my homework.

Present Perfect = ใช้บอกว่าได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยไม่ต้องระบเวลาที่แน่นอน(รู้แค่ทำไปแล้ว เวลาไม่สำคัญ) = S + has/have +V3 [เนื่องจาก V1 ผสม have ได้ has/have ] เช่น I havealready seen that movie.

2. Past Tenseใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในอดีต

Past Simple = ใช้บอกเหตุการณในอดีต ที่เกิดแล้วจบในอดีต มักระบุเวลาที่เจาะจงในอดีต = รูปแบบ คือ S + V2 เช่น I walked to school yesterday.

Past Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต (มักใช้คู่กับ Past Simple) = S +was/were + Ving [be ผสม V2 ได้ was/were] เช่น He was sleeping when I arrived.

Past Perfect = ได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ในอดีตอีกอันหนึ่ง (จึงมักใช้คู่กับ Past Simple Tense) = S + had +V3 [เนื่องจาก V2 ผสม Have ได้ Had ] เช่น I had already eatenwhen they arrived.

3. Future Tenseใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในอนาคต

Future Simple = ใช้บอกเหตุการณ์ในอนาคต = รูปแบบ คือ S + will + V1 เช่น It will snowtomorrow.

Future Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต = S +will + be + Ving เช่น Hewill be sleeping when we arrive.

Future Perfect = ได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ในอนาคต = S + will + have +V3 เช่น I will have already eaten when you arrive.

* S = Subject ประธาน หรือ ผู้กระทำ, V =Verb คือ กิริยา หรือคำแสดงการกระทำต่างๆ
**จริงๆ มีรูป Perfect Continuous ด้วย แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้

Auxiliary Verbs  กิริยาช่วย

คือ Verb ที่ใช้ร่วมกับ Verb หลักในการสร้างประโยค แบ่งเป็น  2  พวก คือ

1. Primary auxiliaries เช่น Be, Have,Do พวกนี้ยังสามารถทำตัวเป็น Verb แท้ได้ด้วย รวมถึงเป็นตัวที่ประกอบอยู่ใน Tense ต่างๆ

 

Be      : V1= is/am/are ,       V2 = was/were,         V3=been

Have   : V1 = has/have,        V2 = had,                 V3= had

Do      : V1 = does/do,         V2= did,                  V3 = done

2. Modal auxiliaries เช่น can, could, may, might, must, ought, should, will, would พวกนี้ใช้ในการขอร้อง บอกความจำเป็น หรือความเป็นไปได้   กิริยาช่วยพวกนี้จะเป็นตัวช่วยในการสร้างประโยคคำถาม และประโยคปฏิเสธด้วย

การสร้างประโยคคำถาม

ให้นำเอา Verb ช่วยที่มีในประโยคบอกเล่ามาสลับไว้หน้าประโยค ถ้าในประโยคบอกเล่าไม่มี Verb ช่วย ให้เอา Vพวก Do มาใช้เป็น Verb ช่วย และหลังจากใช้ Verb ช่วยแล้ว Verb จะต้องไม่ผันตามประธาน เช่น

He watches TV everyday. => Does he watch TV everyday?

He is doing his homework. => Is he doing his homework?

She can speak Thai. => Can she speak Thai?

การสร้างประโยคปฎิเสธ

ให้เติม Not หลัง Verb ช่วย ถ้าไม่มี Verb ช่วยให้ใช้ Vพวก Do มาช่วย เช่น

He watches TV everyday. =>  He does not watches TV everyday.

He is doing his homework. =>  He is not doing his homework.

She can speak Thai. => She can not speak Thai

ประโยค Passive Voice

ประโยคในภาษาอังกฤษ สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ แบบ Active (เน้นที่ผู้กระทำ) และแบบ Passive (เน้นที่สิ่งที่ถูกกระทำ) โดยจะใช้รูป be + V3 มาผสมกับ Tense เดิม เพราะบางทีเราไม่ต้องการจะพูดว่าใครเป็นคนทำ หรือไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำ เราก็ใช้ Passive Voice ได้ เช่น

Active : Mary helped the boy (S + V2 + O)

Passive : The boy was helped by Mary (S + was/were + V3 + O)  [เนื่องจาก V2 ผสมกับ Be จะได้ Was/Were]

Verb กลุ่มทำให้…รู้สึก…น่า…

ชื่ออาจจะดูแปลกๆ แต่ในภาษาอังกฤษจะมี Verb กลุ่มหนึ่งที่มีวิธีการแปลแปลกออกไป เช่น excite, interest, amaze, bore, amuse, annoy, amaze    Interest = ทำให้สนใจ (รูปปกติ) / be interested in = รู้สึกสนใจ (รูปแบบpassive) / Interesting = น่าสนใจ (รูป Adjective)  เช่น

This book interests me (หนังสือนี้ทำให้ฉันสนใจ)

I am interested in this book (ฉันรู้สึกสนใจในหนังสือเล่มนี้)

This book is interesting (หนังสือนี้น่าสนใจ)

Gerund และ Infinitive

Gerund คือ รูปของ Ving ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม จะเป็นประธานหรือเป็นกรรมของประโยคก็ได้ เช่น Walking is good exercise (Walking = การเดิน เป็นคำนาม)

Infinitive = To + V1 ไม่ผันตามประธาน เป็นการบอกว่าเพื่อที่จะทำอะไร เช่น The police ordered the driverto stop

แนวคิด

1. คำกิริยาบางคำ ตามด้วย Gerund หรือ Infinitive ความหมายก็เหมือนกัน เช่น It began to rain / It began raining

2. คำกิริยาบางคำ ตามด้วย Gerund มีความหมายแบบหนึ่ง  แต่ตามด้วย Infinitive จะมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น Remember, Regret, Forget, Try, Stop เช่น Forget + to +v1 จะแปลว่า ลืมที่จะทำอะไร แต่ทว่า Forget + Ving จะแปลว่าลืมการกระทำในอดีตไปแล้ว

Clause

          Clause มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. Independent Clause = หรือ Simple Sentence (ประโยคอย่างง่าย) ซึ่งก็คือ Clause ที่อยู่โดดๆ ได้ อ่านรู้เรื่อง ซึ่งตัวมันเองก็ถือว่าเป็นประโยคแล้ว มี Subject และ Verb ที่แสดงความหมายโดยสมบูรณ์ เช่น It was raining hard. (ฝนกำลังตกหนัก = พูดแค่นี้ก็รู้เรื่องแล้ว)

2. Dependent Clause = Clause ที่อยู่โดดๆ ไม่ได้ ต้องมี Clause อื่นอยู่ด้วยจึงจะประกอบกันเป็นประโยคที่อ่านรู้เรื่อง เช่น When we were in Bangkok (เมื่อเราอยู่ที่กรุงเทพ =แล้วไง?? พูดแค่นี้ไม่รู้เรื่อง มันต้องมีประโยคอื่นมาด้วย เช่น เมื่อเราอยู่ที่กรุงเทพ เราชอบไปเที่ยวห้างมาก เป็นต้น)

ประโยคความรวม (Compound Sentence)

เกิดจากการรวมกันระหว่าง  Independent Clause  2 ตัวขึ้นไป   ซึ่งเราจะใช้ Coordinating conjunctions ต่อไปนี้ในการรวมประโยค

แนวคิด

Coordinating conjunctions

For (เพราะว่า), And (และ) , Nor (และแบบปฏิเสธ), But (แต่), Or (หรือ), Yet (แต่), So (ดังนั้น) หรือFANBOYS

โดยคั่นประโยคด้วย “, (คอมม่า)” ตามด้วยคำสันธาน แต่ว่าถ้าประโยคสั้นๆ ก็ไม่ต้องใส่คอมม่าก็ได้ โดยที่ Coordinating conjunctions จะเชื่อมคำหรือประโยคที่มีหน้าที่แบบเดียวกัน หรือมี tense แบบเดียวกัน เรียกว่าโครงสร้างขนาน (parallel structure)

The children are energetic and noisy.  = adjective + adjective

She bought a skirt and a blouse. = noun + noun

He walked slowly and confidently to the witness stand.  = adverb + adverb

          Swimming and hiking are my favorite summer activities.  = gerund + gerund

คำสันธานคู่ (ใช้โครงสร้าง Parallel เช่นกัน)

Both…and (ทั้ง.. และ…) + V พหูพจน์ => Both my mother and my sister are here.

Not only…but also (ไม่เพียง…. แต่ … ก็ด้วย) + V ตามตัวหลัง => Not only my mother but also my sister is here.

Either…or (อย่างใดอย่างหนึ่ง) + V ตามตัวหลัง => I’ll take either chemistry or physics next semester.

Neither nor… (ไม่ทั้งคู่) + V ตามตัวหลัง => Neither my sister nor my parents are here.

 

Transitions

Transition ใช้ร่วมกับเครื่องหมาย “; semicolon” (หรือจะใช้เครื่องหมาย . แทนก็ได้) เพื่อบ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประโยคให้ชัดยิ่งขึ้น

โดยจะใช้รูปแบบ ==>  ประโยค 1 ; transitions, ประโยค2.  หรือ ประโยค 1. Transitions, ประโยค2

Result           : as a result, consequently, therefore, thus

Contrast         : however, on the other hand, nonetheless, nevertheless

Time             : before that, after that, meanwhile, afterward, first

Addition         : moreover, furthermore, in addition

Condition       : otherwise

Exemplification  : for example, for instance

เช่น

His first class begins at 8 AM; therefore, he leaves home at 7:30 AM to get there on time. <= ถ้าใช้ semicolon ก็ควรตามด้วยตัวพิมพ์เล็ก เพราะยังไม่จบประโยค

The tornado destroyed the entire town. However, no one was killed. <== ถ้าใช้ period. ต้องตามด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เพราะจบประโยคแล้ว

อย่างไรก็ตาม เราสามารถสลับ Transitions มาไว้ในประโยคก็ได้  แต่จะขั้นด้วย comma แทน   เช่น
The president promised a quick victory. Victory, however, was not easily won.

ประโยคความซ้อน (Complex Sentence)

เป็นการรวม  Independent Clause และ Dependent Clause เข้าด้วยกัน ด้วย Subordinating conjunctions  เช่น Adverb Clause และ Adjective Clause

Adverb Clause

เราจะรวม Adverb Clause ซึ่งถือว่าเป็น Dependent Clause เข้ากับ Independent Clause ด้วยเครื่องหมาย “,คอมม่า”

While I was walking home, it began to rain.
หรือถ้าสับที่ ก็ไม่ต้องมีคอมม่าแล้ว =>

It began to rain while I was walking home,

คำที่ใช้ขึ้นต้น Adverb Clause

time (เวลา)               : before, after, as soon as, since, until, while, whenever

reason (เหตุผล)          : as, because, since

condition (เงื่อนไข)       : as if, even if, if, unless

contrast (ขัดแย้ง)        : although, even though, despite the fact that, whereas

purpose (บอกจุดประสงค์) : in order that, so that

manner                   : as if, as though

เช่น

Although Jay has a Master’s degree, he works as a store clerk.

 

If Clause ประโยคเงื่อนไข

มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

1. เป็นไปได้จริง เป็นเหตุเป็นผล: If present simple, future simple

เช่น   If it rains tomorrow, I will stay at home. (ถ้าฝนตก เราจะอยู่บ้าน <= เป็นเรื่องที่ทำได้)

2. บอกเรื่องที่เป็นไปได้ยาก หรือสมมติเหตุการณ์อีกแบบที่ไม่ได้เกิดขึ้น: if past simple, would + simple

เช่น    If I were you , I would go to study abroad. (แบบนี้ จะใช้ were แทน was ด้วย แม้จะเป็นประธานเอกพจน์)

3. เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ตรงข้ามกับความจริงในในอดีต: if past perfect, would have + V3

เช่น   If I had found her address, I would have sent her an invitation.

Adjective Clause

Adjective Clause ก็คือ Dependent Clause ที่ทำหน้าที่ขยายนาม (ซึ่งตัวมันก็คือ Adjective) ในภาษาไทยก็เทียบได้กับคำว่า ซึ่ง…. ที่….. เช่น คนที่ฉันเจอเมื่อวาน ชอบกินกบ เป็นต้น ซึ่งถ้าเรารู้วิธีใช้คำพวกนี้ เราก็จะสามารถใช้ประโยคที่ซับซ้อนขึ้นได้   คำที่สามารถใช้ได้ มีดังนี้

Relative pronouns เช่น who ใช้กับคน, which ใช้กับสิ่งของ, that ใช้ได้ทั้งคนและสิ่งของ, whose แสดงความเป็นเข้าของ, where ใช้กับสถานที่, when ใช้กับเวลา, whom ใช้กับคนที่เป็นกรรม (แต่เดี๋ยวนี้ก็ใช้ who เหมือนกัน)  เช่น

  •           I thank the woman. +She helped me => I thanked the woman who helped me (ขยาย woman)
  •           The book is mine + It is on the table => The book that is on the table is mine (ขยาย book)
  •           I know the man + His bicycle was stolen => I know the man whose bicycle was stolen.

ถ้าใช้ which, that, who, and whom ขยายกรรมเราสามารถละที่จะไม่พูดได้ เช่น

  •           The man was Mr. Jones. + I saw him. => The man who(m) I saw was Mr. Jones. => The man I sawwas Mr. Jones.

 

ถ้าใช้ขยายกรรมที่ต่อจาก preposition เราต้องเก็บ preposition เอาไว้ด้วย เช่น

  •           The music was good + We listened to it last night => The music to which we listened last night was good หรือ The music which we listened to last night was good => The music we listened to last night was good

 

การลดรูป Adjective Clause ( Reduced Adjective Clause)

1. ถ้ามี verb to be ให้ตัด Relative pronouns และ V to be ออก  เช่น

The car which is left on the street is broken. (Adjective clause)
–>The car left on the street is broken. (Adjective phrase)

The man, who was waiting for you, comes from Arizona.
–>The man, waiting for you, comes from Arizona.

2. ถ้าไม่มี Verb to be ให้ตัด Relative pronouns ออกและเปลี่ยน Verb ให้เป็นรูป Ving เช่น

The man who came yesterday knows how to repair the faucet. ลดเป็น
–>The man coming yesterday knows how to repair the faucet.

 

ในทางกลับกัน ถ้าเราเห็นประโยคที่ลดรูปไปแล้ว เราก็จะเข้าใจมากขึ้นว่ามันมาจากไหน เช่น

The teacher punishes anyone breaking the rules. (=…anyone who breaks rules.)

I live in a building having forty storeys. (=….buildingwhich has forty…)

The house painted in red is where John lives. (= The house which is painted in red….)

People invited are expected to be formally dressed for the occasion. (= Peoplewho are invited …..)

 

Noun Clause

Noun Clause  ก็คือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม อาจจะใช้เป็นประธานหรือกรรมของประโยคก็ได้

แนวคิด

1. Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วยคำสร้างคำถาม เช่น When, Where, Why, How, Who, What, Which, Whose (สังเกตว่าจะไม่มีการสับ verb ช่วย มาไว้ข้างหน้าเหมือนประโยคคำถาม เช่น where she is. ไม่ใช่ where is she?)

I don’t know where she lives. (where she lives เป็น Noun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของกิริยา know)

Please tell me what happened.

What she said surprised me.

2. Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย Whether หรือ if ซึ่ง ใช้เมื่อเมื่อคำตอบเป็นได้ 2 แบบ คือ ใช่ หรือ ไม่ใช่ ไม่ได้เกี่ยวกับ if clause นะครับ

I don’t know whether she will come[or not]. (ใช้ if แทน whether ได้เลย แต่จะออกเป็นภาษาพูดมากกว่า)

หรือจะสลับที่ I don’t know whether or not she will come.

3. Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย That (เป็นแบบที่เจอบ่อยพอสมควร)

I think that he is a good actor (เป็นกรรม)

 

Part of Reading

          เทคนิคการอ่านเร็วที่สำคัญและมีประโยชน์มี 2 แบบ คือ การอ่านแบบสกิมมิ่ง (Skimming) และ การอ่านแบบสแกนนิ่ง (Scanning) ทั้งสองเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่าน เรื่องได้รวดเร็วและเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ทันที ผู้เชี่ยวชาญทางการอ่านบางคนเรียกว่า ทักษะการ ค้นหา (Searching Skill) ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้เรียนควรได้ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญต่อไป

การอ่านแบบสกิมมิ่ง (Skimming)

คือ การอ่านข้อความอย่างเร็ว ๆ เป็นจุด ๆ เช่น อ่าน 2-3 คำแรก หรือ 2-3 ประโยคแรกแล้วข้ามไป อาจข้ามเป็นประโยคหรือเป็นบรรทัด หรืออ่านเฉพาะประโยค แรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้า หรืออ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ ๆ การอ่านแบบนี้มี จุดมุ่งหมายหลัก 2 ประการ คือ อ่านเพื่อเก็บประเด็นหรือใจความสำคัญ และอ่านเพื่อเก็บ รายละเอียดที่สำคัญบางอย่าง

การอ่านแบบสกิมมิ่งมีประโยชน์ที่จะช่วยประหยัดเวลาในการอ่าน เพราะช่วยให้ ผู้อ่านอ่านเรื่องต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น และเข้าใจใจความสำคัญที่อ่านได้โดยไม่จำเป็นต้องอ่าน รายละเอียดตลอดทั้งเรื่อง

การอ่านแบบสแกนนิ่ง (Scanning)

จะเป็นวิธีการหาข้อมูลเฉพาะ เช่น ตัวเลข วันที่ สถานที่ ชื่อคน เป็นต้น จะเป็นข้อมูลที่ปรากฏให้ผู้อ่านเห็นได้อย่างชัดเจนในบทอ่าน โดยถ้าในคำถาม ถามถึงสถานที่ ก็ให้กวาดสายตาไล่ดูแต่คำที่หมายถึงสถานที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่เฉพาะ เป็นชื่อเฉพาะ ดังนั้นต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่แน่นอน (แต่อย่างที่ได้ระบุไว้ข้างต้นว่า ผู้อ่านต้องทราบคำศัพท์พอสมควร เพราะคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรใหญ่ทุกตัว ไม่ได้หมายถึงสถานที่เฉพาะทุกตัว อาจจะหมายถึงชื่อคนหรือชื่อเมืองหรือชื่อถนน ขึ้นอยู่กับความรู้รอบตัวของแต่ละบุคคลด้วย)

 

ความแตกต่างของวิธีการอ่านสองวิธีนี้คือ
Skimming – เห็นใจความสำคัญของบทอ่าน มองเห็นภาพรวมแบบคร่าวๆ ว่าบทอ่านนั้นเกี่ยวกับอะไร
Scanning – หาข้อมูลเฉพาะ

 

แนวคิดทักษะการอ่าน  (Reading)

1. จับใจความสำคัญของเรื่อง (Determining the Main Idea) ซึ่ง Main idea จะอยู่ที่ส่วนต่างๆ ของย่อหน้า ดังนี้

1.1 โดยส่วนมากใจความสำคัญ หรือใจความหลัก (main idea) จะอยู่ที่ topic sentence ประโยคแรกของเรื่อง

Niagara Falls has an irresistible lure for dare-devils. Some foolhardy men have dared death by dancing above the chasm on a tight rope or plunging over the cataract in a barrel. Others have tried to swim the current and to shoot the Rapids in boats.

 

1.2 Topic sentence อยู่ที่ ประโยคสุดท้ายของย่อหน้า  เช่น

People behave strangely sometimes. It is not very unusual to here of or read about cases such as these; a lady with all the advantages of wealth and position picking up a champagne bottle, ready to launch a ship, suddenly disappears in confusion: a soldier keeps his bride waiting at the church for an hour before he decides to show up for the wedding ceremony and, for one last example, a teenage typist is afraid of changing her job. The lives and interests of these people are greatly different, but they have one thing in common. The reason for their peculiar behavior is that they are shy.

 

1.3 Topic sentence อยู่ตรงกลางของย่อหน้า   เช่น

There are a lot of deer here. There are bears, mountain lions, and coyotes. This area attracts a great number of hunters and fishermen. To the east there are streams full of trout, and there are ducks, geese and pheasants.

 

1.4 Topic sentence อาจจะอยู่สองแห่งของใจความทั้งสองอาจจะเหมือนกัน เพื่อเน้นหรืออาจขัดแย้งกัน หรือ อาจมีใจความต่อเนื่องกัน

1.5 บางครั้งผู้อ่านไม่พบ   topic sentence  ผู้อ่านต้องจับใจความสำคัญเอง โดยพิจารณาจาก รายละเอียดที่มีอยู่

 

2. เข้าใจรายละเอียดที่สำคัญของเรื่อง (Recognizing Important Details)

2.1 ฝึกจับใจความสำคัญ เมื่อได้ใจความสำคัญแล้ว  ผู้อ่านย่อมมองเห็นรายละเอียดสำคัญได้ชัดเจน

2.2 รายละเอียดต่าง มีความสำคัญไม่เท่ากัน   พยายายามมองหารายละเอียดที่เกี่ยวโยงกับใจความ

2.3 พยายามแยกแยะความจริง (fact) กับความคิดเห็น (opinion)

2.4 ในขณะที่อ่านจงถามคำ ถามในใจไปด้วย   เช่น  Who มองหาชื่อคนหรือสิ่งของ    When มองหาวันที่ เดือน ปี เวลา    Where มองหาสถานที่หรือชื่อสถานที่   What หรือ What happened?   ดูว่า มีอะไรเกิดขึ้น   Why มองหาคำ อธิบายว่า ทำไมจึงเกิดสิ่งนั้นๆ ได้

2.5 มองหาคำที่แสดงความสำคัญ   เช่น most important, first, finally, the fact are….

2.6 ขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ ไว้เมื่อเวลาตอบคำถามจะได้ย้อนกลับมาดูได้อย่างรวดเร็ว

3. สรุปใจความอย่างสมเหตุสมผล   (Drawing Logical Conclusions) หลังจากรู้จักจับใจความสำคัญแล้ว ต้องรู้จักสรุปความอย่างสมเหตุสมผลด้วย

4. สรุปลงความเห็นหรือตีความ (Making Inferences) Inference คือการเดา หรือการสรุปจากรายละเอียดที่บางครั้งผู้เขียนไม่บอกทุกสิ่งทุกอย่าง    ผู้อ่านจึงต้องรู้จักตีความจากข้อความที่อ่าน ต้องเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวเป็นนัยยะ

5. เข้าใจความหมายของสรรพนามที่อ้างอิงถึง (Knowing Pronoun References)  ผู้อ่านต้องเข้าใจสรรพนาม (Pronouns) ต่างๆ

6. เดาความหมายจากส่วนประกอบของคำ  คำจำนวนมากในภาษาอังกฤษประกอบด้วยรากคำ root   ผสมกับ อุปสรรค prefix หรือปัจจัย suffix  เช่น retrospective Root- spect มอง Prefix retro ไปทางข้างหลัง Suffix ive มีแนวโน้ม Retrospective แปลว่า มองย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ในอดีต

 

 สรุปจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “โครงการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาอาจารย์ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก    ณ สถาบันสอนภาษา Knowledge plus ถ.สีลม กรุงเทพมหานคร  ตั้งแต่วันที่ 26   มกราคม  2558  ถึง  13   มีนาคม  2558  โดย นางนรานุช  ขะระเขื่อน และนางสาวอรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง 

  (3544)

Comments are closed.