Global Health Collaboration

Global Health Collaboration

Course overview

  • งานวิเทศน์เกี่ยวอะไรกับ global health
  • งานของเราเกี่ยวกับ global health collaboration อย่างไร
  • ความคาดหวัง
    • แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้
    • อยากทราบขอบข่ายงานวิเทศน์สัมพันธ์
    • การทำ MOU ที่ดี/การถอดบทเรียนการทำ MOU ที่ดี
    • นโยบายทิศทางองค์กร และทิศทางของโลก
    • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ MOUยุทธศาสตร์ สุขภาพโลกของประเทศไทย
      • จากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2557 มติ 5 เรื่อง การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย
      • มี keyword สำคัญ 2 คำ คือ
      • สุขภาพโลก (Global Health) หมายถึง ปัญหาด้านสุขภาพ หรือข้อกังวลด้านสุขภาพ หรือข้อกังวลด้านสุขภาพ ที่ข้ามพรมแดนหรือผลจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนอกพรมแดน
      • ระบบสุขภาพโลก(Global Health System) หมายถึง ระบบกลไกการจัดการเพื่อตอบสนองปัญหาสุขภาพที่ข้ามพรมแดน ที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมและความร่วมมือระหว่างประเทศ
      • ตัวอย่าง global health strategies ใน  UK, Switzerland, The US, Norway
      • กลับมาที่ประเทศไทย แผนยุทธ์ฯ ปี 2015-2020 ซึ่งมีเป้าหมายให้ประชาชนไทยมีสุขภาวะที่ดี  มั่นคงและปลอดภัยทางด้านสาธารณสุขที่จะขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เศรษฐกิจและสังคมไทยพัฒนาได้อย่างยั่งยืน  รวมทั้งมีบทบาทและความร่วมมือระดับสากล ซึ่งยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทยมี 5 ประเด็น ดังนี้
        • ส่งเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพ
        • เสริมสร้างระบบสุขภาพให้เข้มแข็ง ยุติธรรม และเป็นธรรม
        • ส่งเสริมบทบาทนำและความรับผิดชอบของไทยในประชาคมโลก
        • ความสอดคล้องระหว่างนโยบายสุขภาพภายในประเทศและระหว่างประเทศ
        • เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรในด้านสุขภาพโลกอย่างยั่งยืนและพัฒนากลไกการประสานงาน

      Basic diplomacy protocol

      • การต้อนรับชาวต่างชาติเมื่อเข้ามาในฐานะผู้แทนประเทศ จะต้องทำ 3 อย่าง คือ ต้อนรับ จัดหารือ และกินเลี้ยง การพบปะที่ไม่มีการกินเลี้ยงนั้นจะถือว่ายังไม่ครบถ้วน
      • การต้อนรับ: ต้องมีการจัดรถไปรับและควรจะต้องมีผู้แทนจากสถาบันไปด้วย ส่วนการจัดที่นั่งในรถยนต์ แขกวีไอพีจะนั่งเยื้องกับคนขับ ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าจะนั่งหลังคนขับ และผู้แทนจากสถาบันที่ไปรับจะนั่งคู่กับคนขับรถ ส่วนรถตู้ที่นั่งวีไอพีคือเบาะหลังแถวแรก
      • การยืน เดิน นั่ง แขกต้องอยู่ทางขวามือ
      • มารยาทสากลในการต้อนรับคือการจับมือ (shake hand) และอาจมีการ kissing ซึ่งอาจเป็น hand kissing, cheek kissing and air kissing สำหรับการกอด จะทำในกรณีที่รู้จักกันแล้ว
      • การประดับธง: ธงชาติไทยจะเป็นธงแรก ธงใหญ่บอกอาณาเขต(ประเทศ) ธงเล็กบอกบุคคล (เวลาเข้านั่ง)
      • การประดับพานพุ่ม: พุ่มทองเป็นพุ่มแรก พุ่มที่สองเป็นพุ่มเงิน
      • อาหาร: มื้อสำคัญที่สุดคือมื้อเย็น มื้อกลางวันควรใช้เวลาไม่เกินชั่วโมงครึ่ง ส่วนมื้อเย็นไม่ควรต่ำกว่า 2 ชั่วโมง
      • การจัดอาหารฝรั่ง BMW: bread, meal, water ขนมปังจะอยู่ทางซ้ายมือ การกินอาหารจะใช้อุปกรณ์จากด้านนอกเข้าหาด้านใน  การกินซุปต้องตักออก โดยจังหวะที่กินจะเป็น ตัก ปาด เข้าปาก
      • การนั่งโต๊ะ เจ้าภาพจะนั่งกลางแขกสำคัญอยู่ขวา ในกรณีที่จากมาหลายๆที่อาจให้นั่งตามลำดับตัวอักษรเพื่อความสะดวก การนั่งควรจะให้แขกเห็นวิวที่ดีที่สุด ในกรณีโต๊ะกลมแขกนั่งคู่กับเจ้าภาพ โดยหลักแขกจากประเทศเดียวกันจะไม่นั่งติดกัน

      Dealing with funder, including negotiation

      • หลักการของผู้ให้ทุน ซึ่งมาจากการประชุมนานาชาติหลายๆครั้ง และเกิดเป็นสนธิสัญญา
      • การของบประมาณสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างประเทศจำเป็นต้องพิจารณาถึงรายละเอียดของหลักการของสนธิสัญญาต่างๆที่ว่าด้วยเรื่องผู้ให้ทุน
      • Win-win situation : เราได้แล้วเค้าไม่เสีย
      • สถานการณ์ในประเทศไทย: มีหลายหน่วยงานที่พร้อมให้ทุน ประเทศไทยในปัจจุบันไม่ได้มีปัญหาเรื่องทุน

      Capacity for Global Health Collaboration

      • Capacity

      ◦      People, organization, society

      ◦      Strengthen, create, adapt and maintain

      ◦      INNE model

      I  : Individual capacity

      N : Node or institutional capacity

      N : Network for herd immunity and support

      E : Enabling environment for continued learning

      • Collaboration

      ◦      การเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมกันแก้ปัญหา

      ◦      Cooperation + Coordination

      ◦      GH collaboration

      สรุปสาระสำคัญMOU,MOA, LOA

      MEMORANDUM OF UNDERSTANDING–MOUบันทึกความเข้าใจ  แสดงความสมัครใจจะปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยไม่ถือว่าเป็นข้อผูกมัด

      Memorandum of Agreement – MOA  บันทึกข้อตกลง เป็นสัญญาผูกมัดที่ระบุหลักเกณฑ์ เงื่อนไข หรือวิธีการให้ปฏิบัติตาม

      Letter of Agreement – LOA  หนังสือข้อตกลง นิยมทําเพื่อลดขั้นตอน ของแบบแผนพิธีการต่างๆลง

      ขอบเขตความตกลง: ระหว่างประเทศ

      • ก่อให้เกิดพันธกรณีในระดับประเทศ/รัฐบาลหรือไม่
      • ก่อให้เกิดผลผูกพันในแง่งบประมาณ หรือไม่
      • ขอมติคณะรัฐมนตรี

      เนื้อหาข้อตกลง

      1. Organization ชื่อหน่วยงานที่ทำข้อตกลง
      2. Identity  of organization  อัตลักษณ์ นโยบาย วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน
      3. Goals /value /outcomes จากการทำข้อตกลง
      4. Operating principles  รูปแบบการทำงาน ตัดสินใจร่วมกัน เช่น committee, chair
      5. Contribution
      6. Conflict resolution
      7. Consultation Committee
      8. Mortification/withdraw/termination
      9. Period of MOU
      10. Effective date and signature

      Evaluation of Global Health

      • การสืบค้นองค์กรนานาชาติว่ามีองค์กรใดบ้างที่ให้การสนับสนุนในด้านสุขภาพ เช่น 0.7 countries, JICA, UNDP, PMAC etc
      • ศึกษาข้อมูลขององค์กรที่ให้การสนับสนุนทุนในการพัฒนาด้านสุขภาพ
      • Partnership ในเรื่อง Global Health ต้องทราบว่ามีที่มาจากส่วนใดบ้าง เช่น ภาครัฐ องค์กรอิสระ กองทุนต่างๆ และภาคเอกชน
      • เงินทุนที่สนับสนุนองค์นานาชาติส่วนใหญ่ได้มาจากผู้บริจาค (private) มากกว่า ภาครัฐ เช่น เงินสนับสนุนจากBill Gate ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการได้รับสิทธิซึ่งโครงการที่ได้รับทุนมันจะตอบสนองความต้องการของผู้ที่ให้ทุนมากกว่าที่จะแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่แท้จริง
      • ข้อตกลงร่วมที่ทำขึ้นกับนานาประเทศนั้นบางครั้งไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ประเทศเช่นความแตกต่างทางด้านภาษา วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ

      Principle of Collaboration

      • Participation
      • Collective
      • Transparency
      • Independence
      • Persistence
      • Emergence
      • เป้าหมายในการสร้างความร่วมมือต้องมีความชัดเจน และมีจุดยืน โดยต้องพยายามฝ่าฝันอุปสรรคเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

      การแลกเปลี่ยนประสบการณ์

      • ประสบการณ์ที่ดี ได้แก่ การสร้างความไว้วาง การสร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์
      • ประสบการณ์ที่ไม่ดี ได้แก่ การชี้นำจากผู้ให้ทุน การไม่รับผิดชอบงาน ความขัดแย้งในด้านความคิดเห็นของทีมผู้ร่วมงาน

      ข้อควรระวัง

      • รักษาคำสัญญาที่ให้ไว้
      • ให้ความระมัดระวังในการปฏิบัติต่อบุคคลสำคัญ
      • ต้องตอบสนองในด้านบวกต่อสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป
      • พลิกวิธีคิด เพื่อแก้ปัญหา

      Step in writing speech

      1. ต้องรู้จักผู้ฟัง ว่าเป็นใคร มาจากไหน จำนวนเท่าไหร่ ประชุมเรื่องอะไร เป็นทางการหรือไม่
      2. กำหนดวัตถุประสงค์ของการพูดให้ชัดเจน ชักจูง หรือให้ข้อมูล
      3. หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะพูด  (information is a power)
      4. วางโครงสร้างในการเขียน ประกอบด้วย
      • บทนำ/เกริ่นนำ อาจใช้คำที่จูงใจหรือจุดสนใจให้ผู้ฟังสนใจในเรื่องนั้นๆ เช่นเรื่องตลก บทกลอน หรือคำถาม เป็นต้น
      • เนื้อหา เป็นส่วนที่ต้องระบุคำสำคัญ รายละเอียดของเรื่องที่จัดประชุมพอสังเขป ต้องมีการจัดเรียงลำดับความสำคัญ
      • บทสรุป เป็นการสรุปใจความสำคัญในเนื้อหา จบให้ประทับใจผู้ฟัง ให้เพิ่มข้อความจะทำให้ผู้ฟังได้คิดต่อจากสิ่งที่เราพูด
      1. เขียน ต้องมีการเพิ่มสีสัน เน้นคำที่น่าสนใจ  และมีความหลากหลาย ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง โดยคำพูดต้องเป็น Active voice

      รูปแบบการเขียน

      • กล่าวถึงแขก VIP และผู้เข้าร่วมประชุม
      • ระบุชื่อการประชุมและผู้จัดและขอบคุณผู้ที่มาร่วมประชุม
      • แนะให้รู้จักผู้จัด
      • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมอย่างกว้างๆ
      • แนะนำวิทยากรที่จะพูดคนถัดไป (กรณีที่มี)
      • สร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง

      สิ่งที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติ

      1. ต้องมีการเตรียม Script ให้พร้อมเสมอกับทุกสถานการณ์ เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
      2. ทีมต้องมีการบริหารจัดการอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพ
      3. ต้องมีการสร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังรู้สึกเป็นกันเอง
      4. อย่าใช้คำที่เข้าใจยาก ศัพท์สวย
      5. ให้ใช้คำสำคัญ ที่หลากหลายแต่มีความหมายเดียวกัน
      6. อย่าชนตัวต่อตัว แต่ให้ใช้กระบวนการกลุ่มในการขับเคลื่อนเพื่อปรับเปลี่ยนและแก้ปัญหา
      7. แก้ปัญหาอย่างอะลุ่มอล่วย ไม่แข็งกร้าว

      การสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ

      • ความเคลื่อนไหวกระแสโลก
        •  การเปิดเสรีการค้า การลงทุน
        • การเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรี
        • การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือโดยเสรี
        • การศึกษาข้ามพรมแดน

      ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS)

      • เสรีการค้า  บริการ ในสาขาการศึกษา ระดับอุดมศึกษา
        • การให้บริการข้ามพรมแดน (E-Learning)
        • จัดตั้งธุรกิจบริการ เช่น ตั้งวิทยาเขตในต่างประเทศ
        • การเคลื่อนย้ายบุคลากรทางการศึกษา

      Mutual Recognition Arrangement (MRA) ยอมรับในคุณสมบัติบริการวิชาชีพ 7 สาขาวิชาชีพ

      โอกาสแสวงหาความร่วมมือ

      • เข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติ
      • เชิญอาจารย์ชาวต่างชาติมาสอน
      • Visiting professor
      • ส่งอาจารย์ไปสอน และทำวิจัยร่วมในต่างประเทศ
      • แลกเปลี่ยนนักศึกษา
      • ทำ roadshow ในต่างประเทศ

      การสร้างความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศ

      • รู้จัก/เข้าใจ สถาบันของเรา
      • เหตุผล / ประโยชน์ที่อยากได้จากความร่วมมือ
      • ต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อรองรับความร่วมมือ
      • จะร่วมมือกับใครดี / ต้องทำอย่างไรให้ได้ความร่วมมือ
      • กิจกรรมความร่วมมือประเภทใดที่เหมาะกับเรา
      • ทำแล้วได้ประโยชน์จริง ทั้งเราและคู่ร่วมมือหรือไม่
      • ควรพัฒนาความร่วมมืออะไรเพิ่มเติม

      Lesson Learn

      จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ

      • ออกไปแสวงหาโอกาส
      • เมื่อโอกาสเข้ามาต้องรีบเปิดรับ

      การบริหารจัดการ แปลง MOU สู่ Action planโดยการทำ Action plan ให้ active

      การ Develop curricullum

      • พัฒนาอาจารย์
      • แลกเปลี่ยนอาจารย์, นักศึกษา
      • ความร่วมมือทางด้านการวิจัยและการสอน

      การบริหารจัดการ  การเตรียมบุคลากร   เช่นทักษะการสื่อสารการเปลี่ยน AttitudeและEmpowerment

      หัวใจของความสำเร็จ

      • Win – win co-operation
      • มี Commitment จากทั้งสองฝ่าย
      • ยึดหลักการต่างตอบแทน
      • กำหนดแผนงานที่ชัดเจนพร้อมงบประมาณสนับสนุน
      • กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบและ contact person ของทั้งสองฝ่าย
      • มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
      • การสื่อสาร
      • การสร้างมิตรภาพ
      • ความไว้เนื้อเชื่อใจ
      • ความซื่อสัตย์
      • ระมัดระวังเรื่อง sensitive issue ต่างๆ

    สรุปจากการประชุม Global Health Collaboration ระหว่าง 23-27 กุมภาพันธ์ 2558 โดย อ.ชุติมา  รักษ์บางแหลม

(1216)

Comments are closed.