ความรู้พื้นฐานด้านการบริหารงานบุคคล สำหรับผู้ปฏิบัติงานใหม่ ปีงบประมาณ 2558
1. อัตรากำลังและการบริหารจัดการตำแหน่งใน สป.สธ.
การบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 สิ่งสำคัญต้องมี คือ ตำแหน่งในระดับที่จะแต่งตั้ง, คุณสมบัติ, Spec , ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ, ดำเนินการออกคำสั่งแต่งตั้ง
การบรรจุมี 8 กรณี
- การบรรจุผู้สอบแข่งขันได้
- การบรรจุผู้ได้รับคัดเลือก
- การบรรจุผู้มีความรู้ ความชำนาญงานสูง
- การบรรจุกลับผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่ออกไปรับราชการทหาร
- การบรรจุกลับผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่ออกไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามมติ ครม. – การบรรจุกลับผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
- การโอนข้าราชการ/พนักงานตามกฎหมายอื่น มาบรรจุ
- การบรรจุกลับผู้เคยเป็นข้าราชการ/พนักงานตามกฎหมายอื่น
การบรรจุผู้สอบแข่งขันได้
1. ต้องบรรจุตามลำดับที่
2. ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือได้รับยกเว้น
3. ต้องมีคุณสมบัติตรงตาม Spec หรือได้รับยกเว้น
4. การรับเงินเดือนตามวุฒิ ตามปัจจัยที่ อ.ก.พ.กระทรวงกำหนด
การบรรจุผู้ได้รับคัดเลือก ดำเนินการเหมือนการบรรจุผู้สอบแข่งขันได้ ถ้าเป็นกรณีสำหรับผู้ที่เคยเป็นลูกจ้างหรือพนักงานราชการให้ใช้ ว.54 เท่านั้น
แนวปฏิบัติในการจัดทำคำสั่’
การออกคำสั่ง
1. รูปแบบคำสั่ง ตำแหน่ง/กำหนดถูกต้องหรือไม่
2. ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
3. คุณสมบัติทั่วไป/คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
4. หลักเกณฑ์และวิธีการ
5. วันที่คำสั่งมีผลบังคับใช้
หากกรณีหน่วยงานจัดทำคำสั่งผิด การแก้ไขคำสั่ง/การยกเลิกคำสั่ง ของทางราชการนั้น เมื่อออกมาแล้วจะยกเลิกได้ก็ต่อเมื่อคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ออกมาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริง
2. การสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ
การสรรหาและเลือกสรร ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรม คำนึงถึงความรู้ ความสามารถและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ช่องทางการสรรหาและเลือกสรร ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
1. การสอบแข่งขัน หลักสูตรการสอบมี 3 ภาค คือ 1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป 2. ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง 3. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง เกณฑ์การตัดสิน แต่ละภาคไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
2. การคัดเลือก เป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา 53 ก็ได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
การประเมินผลงานทางวิชาการ แนวทางการประเมินระดับเชี่ยวชาญในสังกัด สบช.
ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
- นักวิชาการศึกษา เป็นตำแหน่งใน วพบ.
- นักทรัพยากรบุคคล เป็นตำแหน่งใน สบช. รูปแบบ
ผลงานที่ต้องส่งประเมิน ตาม ว16/2538
- เล่มที่ 1 แบบประเมินบุคคลและผลงาน (อวช.1) ฉบับลายเซ็นจริง 1 เล่ม ฉบับสำเนา 5 เล่ม
- เล่มที่ 2 ผลงานวิชาการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 – 3 เรื่อง
- เล่มที่ 3 เอกสารเผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่ตีพิมพ์ เผยแพร่ในเอกสารวารสารต่าง ๆ หรือจัดพิมพ์ในรายงานประจำปี อย่างน้อย 1 เรื่อง ส่งฉบับจริง 1 เล่ม ฉบับสำเนา 6 เล่ม (Reprint)
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ ตามหลักเกณฑ์
ว10/15 กันยายน 2548
1. ประเมินเพื่อเลื่อนระดับ
1.1 ตำแหน่งเลื่อนไหล เป็นตำแหน่งที่เลื่อนระดับสูงขึ้นได้ด้วยตนเอง ได้ทุกตำแหน่ง จากปฏิบัติการ-ชำนาญการ : พยาบาลวิชาชีพ, เภสัชกร, วิทยาจารย์ และทันตแพทย์ (ด้านการสอน) นักวิชาการศึกษา, นักทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน, นักจัดการงานทั่วไป
1.2 ตำแหน่งนอกเลื่อนไหล ชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ : นักวิชาการศึกษา / นักทรัพยากรบุคคล / นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
2. ประเมินเพื่อขอรับเงินประจำตำแหน่ง
คุณสมบัติการขอรับเงินประจำตำแหน่ง
ระดับ |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (ตาม Spec) |
ระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่ง (ตาม ว 16) |
อื่น ๆ |
ชำนาญการ | ระดับชำนาญการ 2 ปี | - ป.ตรี 7 ปี- ป.โทหรือเทียบเท่า 5 ปี- ป.เอกหรือเทียบเท่า 3 ปี | มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ หรือวุฒิเพิ่มเติม (เฉพาะสายงาน |
ห้ามส่งล่วงหน้า | ที่กำหนด | ||
เชี่ยวชาญ | ระดับชำนาญการพิเศษ ไม่น้อยกว่า 3 ปี | - ป.ตรี 9 ปี- ป.โทหรือเทียบเท่า 7 ปี- ป.เอกหรือเทียบเท่า 5 ปี | มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ หรือวุฒิเพิ่มเติม (เฉพาะสายงานที่กำหนด |
ทรงคุณวุฒิ | ระดับเชี่ยวชาญไม่น้อยกว่า 2 ปี | - ป.ตรี 10 ปี- ป.โทหรือเทียบเท่า 8 ปี- ป.เอกหรือเทียบเท่า 6 ปี | มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ หรือวุฒิเพิ่มเติม (เฉพาะสายงานที่กำหนด |
ขั้นตอนและวิธีการ
1. การคัดเลือกตัวบุคคล (ชี้ตัว) คัดเลือกล่วงหน้าได้ 1 ปี
1.1 ตำแหน่งเลื่อนไหล
- ผู้มีคุณสมบัติส่งเอกสารคัดเลือกให้งานการเจ้าหน้าที่
- คุณสมบัติครบถ้วนเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบผ่านกลุ่มบริหารงานบุคคล
- ติดประกาศผลการคัดเลือก
- ส่งประเมินผลงานภายใน 12 เดือน
1.2 ตำแหน่งนอกเลื่อนไหล ดำเนินการตาม ว 651/27 พฤศจิกายน 2557 “คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลที่ อ.ก.พ.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้ง (ส่วนกลาง) พิจารณาแล้วเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบ ต้องส่งประเมินผลงานภายใน 90 วัน
หลักเกณฑ์การคัดเลือกบุคคล ว 651/27 พ.ย. 57
1. เริ่มใช้ 27 พ.ย. 57
2. คณะกรรมการที่ อ.ก.พ. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2.1 พิจารณาว่าจะคัดเลือกเพื่อ ย้าย โอน บรรจุกลับ หรือเลื่อนระดับ
2.2 ประกาศรับสมัคร ไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ
2.3 น้ำหนักคะแนนในแต่ละองค์ประกอบ
- ความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ 20 คะแนน
- ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 20 คะแนน
- การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ 20 คะแนน
- ผลงานหรือผลการปฏิบัติงาน 30 คะแนน
- เกณฑ์อื่น ๆ ภาวะผู้นำ 10 คะแนน
2.4 คัดเลือกตำแหน่งละ 1 คน แล้วเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบ
2.5 ประกาศผลการคัดเลือกให้ทักท้วง ภายใน 30 วัน (ระบุชื่อเรื่องผลงานวิชาการ และข้อเสนอแนวคิดด้วย)
3. การบริหารค่าตอบแทน
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ต้องครอบคลุมทั้ง 2 องค์ประกอบ
1. ผลสัมฤทธิ์ของงาน พิจารณาจากความสำเร็จของงาน ซึ่งมี 3 ลักษณะ
1.1 งานที่ปรากฏในคำรับรองการปฏิบัติราชการ/แผนปฏิบัติราชการประจำปี
1.2 งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก
1.3 งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ซึ่งไม่ใช่งานประจำ
2. พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ ประเมินจาก
2.1 สมรรถนะหลัก ที่ ก.พ. กำหนด ได้แก่ มุ่งผลสัมฤทธิ์ บริการที่ดี สั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม การทำงานเป็นทีม
ข้าราชการทั่วไป ผลสัมฤทธิ์ของงานต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ข้าราชการผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ สัดส่วนผลสัมฤทธิ์ของงานต่อพฤติกรรม ร้อยละ 50 : 50
การบริหารวงเงินในการเลื่อนเงินเดือน
การเลื่อนเงินเดือน ปีละ 2 ครั้ง รอบที่ 1 วันที่ 1 ต.ค. – 31 มี.ค. ปีถัดไป
รอบที่ 2 วันที่ 1 เม.ย. – 30 ก.ย. ในปีเดียวกัน
การบริหารวงเงินรวมไม่เกินร้อยละ 3 ต่อครึ่งปี
กำหนดกรอบวงเงินเลื่อนเงินเดือนรายบุคคลไม่เกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเลื่อนเงินเดือน
1. กำหนดเวลาปฏิบัติราชการ 4 เดือนจึงเลื่อนเงินเดือนได้กรณี
- การลาศึกษา, การอบรม/ดูงาน/ปฏิบัติการวิจัย, บรรจุเข้ารับราชการใหม่, ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ
2. การปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ หรือถูกสั่งให้ไปทำการใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการหรือได้รับอนุญาตให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ เนื่องจากได้รับอันตรายหรือการเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ เมื่อผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด
3. เกษียณอายุราชการ ให้เลื่อนเงินเดือนในวันที่ 30 กันยายน เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ
4. เงื่อนไขอื่น ๆ ที่เลื่อนเงินเดือนได้
- มีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
- ไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาฯ
- ไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่า 2 เดือน
- ไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
- ไม่ลาหรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนหรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายกำหนด
- มีวันลาไม่เกิน 23 วันทำการ (แต่ไม่เกิน 10 ครั้ง ของรอบการประเมิน) โดยไม่นับรวมวันลาดังต่อไปนี้
– วันลาอุปสมบท
- ลาคลอดบุตร ไม่เกิน 90 วัน
- ลาป่วยจำเป็น ซึ่งต้องรักษาตัวนานไม่เกิน 60 วัน
- ลาป่วยเพราะประสบอันตรายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
- ลาพักผ่อน- ลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
- ลาไปปฏิบัติงานองค์การระหว่างประเทศ
- ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
- ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
4. หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการ
ลำดับ |
ตำแหน่ง |
เครื่องราชสริยาภรณ์ |
เงื่อนไขและ |
หมายเหตุ |
1. |
ระดับ 1 |
ร.ง.ม. – ร.ท.ช. |
ขอพระราชทานได้เฉพาะกรณีพิเศษ เท่านั้น | 1. ต้องมีระยะเวลารับราชการ ติดต่อกัน มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่ วันเริ่มเข้ารับ ราชการ จนถึงวัน ก่อนวัน พระราช พิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน ไม่น้อยกว่า 60 วัน2. ลำดับ 2 -5 ซึ่งกำหนดระยะ เวลาเลื่อน ชั้นตรา 5 ปี หมายถึง ต้องดำรงตำแหน่ง ในระดับนั้นๆ รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี บริบูรณ์ ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนม พรรษาของปีที่จะ ขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน |
2. |
ระดับ 2 |
บ.ม. – บ.ช. |
1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ม. 2. ดำรงตำแหน่งระดับ 2 มาแล้วไม่ น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช. |
|
3. |
ระดับ 3 |
จ.ม. – จ.ช. |
1. ดำรงตำแหน่งระดับ 3 หรือ ระดับ 4 เริ่มต้น ขอพระราชทาน จ.ม. 2. ถ้าดำรงตำแหน่งระดับ 3 และหรือ ระดับ 4 มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี บริบูรณ์ ให้ขอ จ.ช. |
|
4. |
ระดับ 5 |
ต.ม. – ต.ช. |
1. ดำรงตำแหน่งระดับ 5 หรือ ระดับ 6 เริ่มต้น ขอพระราชทาน ต.ม. 2. ถ้าดำรงตำแหน่งระดับ 5 และหรือ ระดับ 6 มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี บริบูรณ์ ให้ขอ ต.ช. |
5. |
ระดับ 7 |
ท.ม. – ท.ช. |
1. ดำรงตำแหน่งระดับ 7 หรือ ระดับ 8 ให้เริ่มต้น ขอพระราชทาน ท.ม. 2. ถ้าดำรงตำแหน่งระดับ 7 และหรือ ระดับ 8 มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี บริบูรณ์ ให้ขอ ท.ช. |
|
6. |
ระดับ 8 |
* – ป.ม. |
1. ได้รับเงินเดือนเต็มขั้นของระดับ 8 2. ดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา 3. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. 4. ให้ขอได้ในปีก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ หรือ ในปีที่เกษียณอายุราชการเท่านั้น |
|
7. |
ระดับ 9 |
* – ม.ว.ม. |
1. ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. 2. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. 3. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. 4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้น 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก |
ลำดับที่ 7 – 9 การขอกรณีปีที่ เกษียณอายุ ราชการ ตามข้อ 4 หรือ ข้อ 5 แล้วแต่กรณีให้ขอปีติดกันได้ |
8. |
ระดับ 10 |
* – ม.ป.ช. |
1. ให้เลื่อนชั้นตราได้ตามลำดับทุกปีจนถึง ชั้น ป.ม. 2. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. 3. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. 4. ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช. 5. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้น 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก |
|
9. |
ระดับ 11 |
* – ม.ป.ช. |
1. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. 2. ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. 3. ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช. 4. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้น 1 ชั้นตรา เว้นกรณีลาออก |
5. การบริหารลูกจ้างประจำและพนักงานราชการ
การปรับระดับชั้นงานของลูกจ้างประจำ ส่วนราชการสามารถปรับระดับชั้นงานของตำแหน่งลูกจ้างประจำ จากระดับ 1 เป็นระดับ 2 เป็นระดับ 3 หรือจากระดับ3 เป็นระดับ 4 โดยปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว14 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2553
วิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการปรับระดับชั้นงานของลูกจ้างประจำ จากระดับ ส.1 เป็นระดับ ส. จำนวน 7 ราย และเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ 2 ราย เสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้รับการปรับค่าจ้างแล้ว จำนวน 7 ราย การเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ของลูกจ้างประจำ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ลูกจ้างประจำ ทำให้มีความกระตือรือร้นและตั้งใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น มีความมั่นคงในชีวิต
1. ระบบพนักงานราชการ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการ
พนักงานราชการ มี 2 ประเภท คือ 1. พนักงานราชการทั่วไป ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำทั่วไปของส่วนราชการในด้านการบริการ งานเทคนิค งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะและงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
2. พนักงานราชการพิเศษ ปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้หรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ เพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะเรื่องของส่วนราชการ
สิทธิประโยชน์การลาของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานกระทรวงสาธารณสุข
สิทธิ |
ข้าราชการ |
ลูกจ้างประจำ |
พนักงานราชการ |
ลูกจ้างชั่วคราว |
พนักงานกระทรวง สธ. |
ลาป่วย(ตามที่ป่วยจริง) |
60 |
60 |
30 |
8 (6เดือน) 15 (ปีถัดไป) |
45 |
ลาคลอด |
90 |
90 |
90 |
90 |
90 |
ลากิจ |
45 |
45 |
10 |
- |
15 (ปีแรก 6 วัน) |
ลาพักผ่อน |
10 (6 เดือน) |
10 (6 เดือน) |
10 (6 เดือน) |
10 (6 เดือน) |
10 (6 เดือน) |
ลาอุปสมบทหรือลาประกอบพิธีฮัจย์ |
120 |
120 (1 ปี) |
120 (4 ปี) |
/ (แต่ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างลา” |
120 (4 ปี) |
ติดตามคู่สมรส |
/ |
/ |
- |
- |
- |
ลาศึกษา |
/ |
/ |
- |
- |
/ (2 ปี) |
อบรม ดูงาน วิจัย |
/ |
/ |
/ |
/ |
/ |
สรุปจากกาอบรมเรื่องความรู้พื้นฐานด้านการบริหารงานบุคคล สำหรับผู้ปฏิบัติงานใหม่ ปีงบประมาณ 2558 วันที่ 12 – 16 มกราคม 2558 ณ โรงแรมเดอร์ริช : ขวัญหฤทัย บุญสำราญ สุทัศน์ เหมทานนท์
(2816)