หัวข้อการประชุม
- ความเป็นวิชาชีพ
- กรอบยุทธศาสตร์สภาการพยาบาล พ.ศ.2555-2559
– พยาบาลกับการเปิดสถานพยาบาลตามพรบ.สถานการพยาบาล พ.ศ.2541
- บทบาทหน้าที่ของผู้แทนสภาการพยาบาลกับการคุ้มครองผู้บริโภค และผดุงความเป็นธรรมของสมาชิก
- การส่งเสริมภาพลักษณ์และคุณค่าวิชาชีพ
- Update สถานการณ์และประเด็นปัญหาของผู้ประกอบวิชาชีพ
- เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาจากการปฏิบัติหน้าที่
ความเป็นวิชาชีพ
บริการที่สังคมขาดไม่ได้
มี body of knowledge ศาสตร์/องค์ความรู้ของตนเอง
ต้องมีการศึกษาชั้นสูง higher education
จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณ
มีองค์กรวิชาชีพ ควบคุมวิชาชีพกันเอง
อยู่ที่ทุกคนปฏิบัติ ว่ามีความเป็นวิชาชีพ
สภาการพยาบาล การควบคุม
สมาคมพยาบาล สนับสนุนสวัสดิการ สวัสดิภาพในการปฏิบัติงาน
สำนักการพยาบาล สนับสนุนการนำมาตรฐานวิชาชีพมาปฏิบัติ
อำนาจหน้าที่ของสภาพยาบาล
-ควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามจรรยาวิชาชีพเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
-พัฒนาวิชาชีพ
-เป็นตัวแทนวิชาชีพ
-ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
-เป็นแหล่งช่วยเหลือ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชน
กรอบยุทธศาสตร์สภาการพยาบาล พ.ศ.2555-2559
กรอบยุทธศาสตร์สภาการพยาบาล พ.ศ.2555-2559
กรอบยุทธศาสตร์ที่ 1
ยุทธศาสตร์ที่ 1.1 พัฒนานโยบายและควบคุมระบบการผลิตบุคลากรสาขาการพยาบาลศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1.2 พัฒนานโยบายส่งเสริมสนับสนุนและกำกับระบบการศึกษาต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 1.3 พัฒนานโยบายส่งเสริมและสนับสนุนระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพการบริการการพยาบาลและผดุงครรภ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1.4 พัฒนานโยบายส่งเสริมและสนับสนุนระบบและกลไกในการปฎิบัติการพยาบาลชั้นสูง
ยุทธศาสตร์ที่ 1.5 พัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐานวิชาชีพ
กรอบยุทธศาสตร์ที่2 การคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ยุทธศาสตร์ที่ 2.1 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการขาดแคลนกำลังคนสาขาการพยาบาลศาสตร์
: ผู้ช่วยพยาบาล มอบหมายให้ตามความสามารถ ช่วยงานที่ไม่สำคัญเพื่อให้พยาบาลได้ทำบทบาทที่สำคัญ
ยุทธศาสตร์ที่ 2.2 การพัฒนาความก้าวหน้าและความเป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพ
กรอบยุทธศาสตร์ที่ 3. การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ยุทธศาสตร์ที่ 3.1 เร่งรัดพัฒนาระบบและกลไกส่งเสริมการวิจัย
ยุทธศาสตร์ที่ 3.2 พัฒนากลไกส่งเสริมการจัดการความรู้ทางการพยาบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 3.3 เร่งรัดพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารพยาบาลระดับสูง
กรอบยุทธศาสตร์ที่ 4. การบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 4.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4.2 เร่งรัดพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถตอบสนองพันธกิจสภาการพยาบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 4.3 เร่งรัดพัฒนาประชาสัมพันธ์สภาการพยาบาลในเชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 4.4 เร่งรัดพัฒนากระบวนการดำเนินการทางด้านกำหมาย และจริยธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4.5 พัฒนาระบบประกันคุรภาพของสภาพยาบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 4.6 ส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์และระบบสุขภาพที่เป็นมาตรฐานสากล
กรอบยุทธศาสตร์ที่ 5. การพัฒนานโยบายด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์และระบบสุขภาพที่มีมาตรฐานสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 5.1 เร่งรัดพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาระบบบริการและสุขภาพที่เป็นมาตรฐานสากลและพัฒนาการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ยุทธศาสตร์ที่ 5.2 เร่งรัดการเสนอ กม.สำคัญเพื่อพัฒนาการบริการสุขภาพและพัฒนาการพยาบาล
พยาบาลกับการเปิดสถานพยาบาลตามพรบ.สถานการพยาบาล พ.ศ.2541 :อัยการจิรวุสฐ์ สุขพึ่งได้
พ.ร.บ.สถานการพยาบาล พ.ศ.2541
พยาบาลวิชาชีพ สามารถดำเนินการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้เท่านั้น เป็นทั้งผู้ขอใบอนุญาตผู้ดำเนินการและผู้ประกอบวิชาชีพ
แต่ ขอเป็นผู้รับใบอนุญาตเปิดสถานพยาบาล ได้ทุกประเภท
และต้องจัดหา ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล
ผู้อนุญาตคือ นายแพทย์สสจ. ได้รับการมอบหมายจาก รมต.กระทรวงสาธารณสุข
ทุกคนที่บ่งบอกว่าประกอบวิชาชีพ คือ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ไม่ใช่ชุดพยาบาล
พ.ร.บ.สถานการพยาบาล พ.ศ.2541 (เฉพาะเอกชน)
ความหมายของสถานพยาบาล
-สถานที่/ยานพาหนะ
-จัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะ วิชาชีพเวชกรรม วิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ วิชาชีพทันต กรรม
-กระทำเป็นปกติธุระ
-ไม่ว่าจะได้ประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
-ข้อยกเว้น สถานที่ขายยาตามกม.
ประเภทของสถานพยาบาล
1. ที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ชื่อขึ้นต้นด้วย“คลินิก”
2. ที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ชื่อขึ้นต้นด้วย“โรงพยาบาล” <30เตียงเรียก “สถานพยาบาล” ยกเว้นเรื้อรังใช้ สถานพยาบาล
ผู้ประกอบกิจการสถานพยาบาล มีคุณสมบัติตามที่กม.กำหนด ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
การขาดคุณสมบัติ การถอนใบอนุญาต
ใบอนุญาต มี 2 ประเภท
1. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล อายุ 10 ปี ชื่อสถานพยาบาล ต้องถูกต้อง ไม่โฆษณาโอ้อวดเกินความจริง ไม่จำกัดจำนวนแห่ง
2. ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
ผู้ขอรับใบอนุญาต จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ประกอบวิชาชีพ (เวชกรรม พยาบาลและผดุงครรภ์ ทันตกรรม)
2. ไม่เป็นผู้ดำเนินการอยู่แล้ว 2 แห่ง
3. สามารถต้องควบคุมดูแลกิจการได้โดยใกล้ชิด
หน้าที่รับผิดชอบของผู้ดำเนินการ
1. ควบคุมและดูแลให้ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
2. มิให้รับเกินจำนวนเตียงที่อนุญาต
3. ดูแลสถานที่ให้สะอาด เรียบร้อย
ร่วม
1. จัดให้มี และจำนวนที่กำหนด ตามระยะเวลาที่การช่วยเหลือผู้ป่วย มาตรา 30
2. ผู้รับอนุญาตและดำเนินการต้องควบคุม และดูแลให้การช่วยเหลือเยียวยา สภาพอันตรายและจำต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉินเพื่อให้พ้นอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพ
3. ถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อ หรือ
4. ห้ามผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการ
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับอนุญาต
1. จัดให้มีผู้ดำเนินการเป็นผู้ควบคุม ดูแลรับผิดชอบการดำเนินการสถานพยาบาล
2. ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการ และผู้ประกอบวิชาชีพเป็นบุคคลเดียวกันได้
3. ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานพยาบาล
หน้าที่และความรับผิดชอบร่วม
1. จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพ ตามวิชาชีพและจำนวนที่กำหนด ตลอดเวลาทำการ
2. จัดให้เครื่องมือเครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล
3. จัดให้มีและรายงานหลักฐานเกี่ยวกับ
-ผู้ประกอบวิชาชีพ
-ผู้ป่วย
-เอกสารเกี่ยวกับการรักษา
โดยเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันจัดทำ
4. ควบคุมดูแลมิให้มีการใช้ หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานพยาบาลประกอบกิจการสถานพยาบาลผิดประเภท ผิดลักษณะการใช้บริการตามที่ระบุไว้ในอนุญาต
หน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ป่วย
1. ผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการ ต้องควบคุมและดุแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสภาพอันตราย และจำต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตราย ตามมาตรฐานวิชา
2. ถ้ามีความจำเป็นต้องส่งต่อ หรือผู้ป่วยประสงค์ไปรักษาต่อที่อื่น ต้องจัดให้มีการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลอื่นตามความสามารถ
บทบาทหน้าที่ของผู้แทนสภาการพยาบาลกับการคุ้มครองผู้บริโภค และผดุงความเป็นธรรมของสมาชิก
โดย ดร.ผ่องพักตร์ พิทยพันธุ์
1. ให้ข้อมูลข่าวสาร แก่สภาและสมาชิก ติดต่อประสานงานกับสมาชิกและประชาชนในจังหวัดและกรุงเทพ
2. ร่วมดำเนินกิจการของสภา ในเรื่องต่อไปนี้
- จัดกิจกรรมวันพยาบาลแห่งชาติในจังหวัด และกรุงเทพฯ
- แสวงหาข้อมูลเบื้องต้น ในกรณีที่มีเรื่องร้องเรียน หรือ เป็นข่าวเกี่ยวกับความประพฤติของสมาชิกในจังหวัด และกรุงเทพฯ
- รับเรื่องราวร้องทุกข์จากสมาชิกและประชาชนในจังหวัด และกรุงเทพ และหาทางแก้ไขคลี่คลายในเบื้องต้น และหรือเสนอให้สภาฯ ทราบเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
- ช่วยเหลือเพื่อปกป้องและผดุงเกียรติของวิชาชีพ รวมทั้งผดุงความธรรมให้กับสมาชิกในจังหวัดเบื้องต้น และแจ้งให้สภาการพยาบาลทราบเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
- จัดทำฐานข้อมูลสมาชิกการพยาบาลในจังหวัดให้เป็นปัจจุบัน
3. เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกในจังหวัดและกรุงเทพฯ
4. พบปะสมาชิกและสร้างความเข้าใจ ประสานงานในการจัดประชุมสภาสัญจรในจังหวัดหรือเขตใกล้เคียง
5. ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามที่สภาการพยาบาลมอบหมาย
การส่งเสริมภาพลักษณ์และคุณค่าวิชาชีพ
ภาพลักษณ์สำคัญอย่างไร
- เป็นองค์ประกอบที่สำคัญขององค์กร
- เป็นคุณค่าเพิ่มให้องค์กร
- ทำให้องค์กรอยู่ได้อย่างสุขภาพที่ดี
- นำมาซึ่งความร่วมมือและการสนับสนุน
ภาพลักษณ์ ไม่เกิดขึ้นเอง ต้องสร้าง
บอกเล่าเรื่องราวข่าวสาร
สร้างประสบการณ์ด้วยการกระทำ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
-ความคิดสร้างสรรค์
-ความคงเส้นคงวา
-ความชัดเจน
-อยู่บนรากฐานของความจริง
-มียุทธวิธีการสื่อสารที่ดี
-ทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ
การเสริมสร้างภาพลักษณ์วิชาชีพการพยาบาล
-ส่งเสริมจรรยาวิชาชีพ
-สร้างความร่วมมือกับองค์กร/หน่วยงานในพื้นที่
-สื่อสารเรื่องราวดีๆของวิชาชีพให้รับทราบในวงกว้าง
-ยกย่องชมเชยและให้เกียรติผู้ประกอบวิชาชีพต้นแบบ
-เสริมสร้างความสามัคคี
-สร้างต้นแบบผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นที่ยกย่องของสังคม
-มีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคมในระดับเขต/จังหวัด
การสร้างคุณค่าในวิชาชีพพยาบาล
-การสร้างองค์กรความรู้ที่ทันสมัย และนำมาการปฏิบัติ
-ความมุ่งมั่น ยืนหยัดในความดี และความถูกต้อง
-ความมีเมตตา กรุณาต่อกัน
-ความสามัคคี และประสานพลังในเชิงบวก
-ความไว้ใจกัน เข้าใจ และเชื่อมั่นต่อกัน
-การเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีน้ำใจต่อกัน ดูแลกัน
ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Update สถานการณ์และประเด็นปัญหาของผู้ประกอบวิชาชีพ: ดร.ธีรพร สถิรอังกูร
การบรรจุพยาบาลเป็นข้าราชการ สธ.
คณะทำงานที่ศึกษาการความต้องการอัตรากำลังของสธ. พบว่าพยาบาลของสธ. ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50ปี และ 30 ปี ทำให้ช่วงเวลาหนึ่งจะขาดพยาบาล จึงมีการดำเนินการบรรจุ ส่วนการจัดสรรสัดส่วน กระจายไปยังเขต จังหวัด
จังหวัดต้องแต่งตั้ง คกก. ดำเนินการตามกระบวนการคัดเลือกบรรจุแต่งตั้ง
ปี 2556 อัตราใหม่สำหรับข้าราชการ 7547 อัตรา
ปี 2558 จะจัดสรรตามการขาดแคลน
ต้องจัดสรร 1. รพ.สต. รพช. 2. รพ.ทั่วไปในเขตทุรกันดาร 3.รพ.ชุมชนที่เปิดใหม่ 4. รพ.ที่ขาดสภาพคล่อง 5.รพ.ทั่วไปที่มีภาระหนัก 6. หน่วยงานที่มีภารกิจพิเศษ เช่น การบริการ
การจัดสรรตำแหน่งปี 2557 และปี 2558 พิจารณาจากภาระงานและความขาดแคลนกำลังคนตามเงื่อนไขที่ครม.มีมติ
หลักการ
1. วิเคราะห์ คำนวณภาระงาน และคำนวณ FTE ของบุคลากรแต่ละสายงาน
2. ข้อมูลที่ใช้ เป็นข้อมูลากระบบรายงานที่มีเก็บใหม่น้อยที่สุด
3. จำแนกบุคลากรออกเป็น 2 กลุ่ม
- สายบริการหลัก สายงานบริการเฉพาะด้าน และสายงานสนับสนุนการจัดบริการ
- กลุ่มอำนวยการ และสายสนันสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยบริการ
ภาระงาน workload =ปริมาณงาน X เวลา
FTE : full time equivalent อัตราชั่วโมงเทียบเท่าพนักงานประจำ ตามเวลามาตรฐานการทำงานของข้าราชการ 1 คน โดยกำหนดให้ทำงาน 7 ชั่วโมง/วัน 240 วัน/ปี
1 FTE = 1680 hr/yr.
ค่าพตส.
ตามระเบียบ ก.พ.ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข พ.ศ.2548
สำหรับพยาบาลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
ตามลักษณะการปฏิบัติงานที่ตรากตรำ ระดับการศึกษา (ต้องให้บริการเกี่ยวกับ APN)
การให้ พตส. ให้ยึดตามระเบียบฯ หลักเกณฑ์
การกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นของพยาบาล
ประเด็นสำคัญ
ความเป็นวิชาชีพ มีมาตรฐาน มีความสากล มีผลงานเป็นที่ประจักษ์
โครงสร้าง กพ. กำหนดให้ หน.ส่วนราชการที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา 4 คนขึ้นไป ได้ซี 8
ขณะนี้ยังไม่ประกาศเป็นทางการ
ถ้าภาระงานมาก เอาคนไป ถ้างานยุ่งยาก เอาซีไป
การกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น
ต้องมีเกณฑ์ มีผ่านการประเมินค่างาน มีตำแหน่งยุบรวม
APN ไม่ใช่การได้รับวุฒิบัตร แต่ต้องปฏิบัติงาน APN
เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาจากการปฏิบัติหน้าที่: ประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล
การให้ถ้อยคำในชั้นสอบสวน
ขอให้มีหนังสือแจ้งและขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชา
ทบทวนเหตุการณ์ก่อนให้ถ้อยคำ
ให้ถ้อยคำตามลำดับของเหตุการณ์ และตรงตามความเป็นจริง
อ่านทบทวนก่อนลงลายมือชื่อ
การขอความเห็นจากสภาฯก่อนการมีคำสั่งคดี
การขอความร่วมมือ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หนังสือที่ ตร.0211.24/ว.85 ลงวันที่ 13 กันยายน 2556 เรื่อง แนวทางปฏิบัติกรณีพยาบาลถูกแจ้งความดำเนินคดีอาญา
การไปพบอัยการหรือนิติกรผู้แก้ต่างก่อนวันขึ้นศาล
เพื่อทบทวนเหตุการณ์
เพื่อประเมินบุคลิกของพยาน (ช่างพูด เงียบขรึม ตื่นกลัว)
เลื่อนนัดศาลได้ถ้าจำเป็น
กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพพยาบาล
โทษของกม.ที่ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลควรรู้
โทษทางอาญา |
โทษทางวินัย |
โทษในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ |
โทษทางแพ่ง |
|||
Ä |
Ä |
Ä |
Ä |
|||
ปอ. ม.291 ประมาทเป็นเหตุให้เสียชีวิต หรือปอ.ม.297 ทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส
ปอ.ม.390 ประมาทเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ เป็นต้น |
ตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 เช่น ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลอดออก ไล่ออก | พ.ร.บ.วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2540 (ว่ากล่าว ตักเตือน พักใช้ เพิกถอนจำคุก ปรับ ทั้งจำทั้งปรับ) | 1. กระทำโดยจงใจ/โดยประมาท2. หน้าที่ต้องกระทำแต่งดเว้นไม่กระทำ
3. กระทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน |
ความรับผิดทางละเมิด
1. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.420
2. พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
3. พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ.2551
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.420
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินก็ดี หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ท่านว่าผู้นั้นกระทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
“จงใจ” เป็นการกระทำที่ผู้กระทำรู้สึกตัว และรู้สำนึกถึงผลเสียหายหรือผลร้ายนั้นด้วย
“ประมาทเลินเล่อ” การกระทำผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นแต่หาได้ใช้เพียงพอไม่
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยการกระทำละเมิด
1. การกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพต่อผู้รับบริการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับบริการ ถือว่าผู้ประกอบวิชาชีพไม่มีสิทธิที่จะกระทำเช่นนั้น เป็นการกระทำมิชอบด้วยกฎหมาย
2. กระทำโดยไม่ได้มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังแล้วยังรวมถึงการกระทำโดยขาดความรู้ความชำนาญที่ควรจะมีสำหรับการกระทำนั้น
3. มีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วย ซึ่งข้อนี้คงจะเป็นที่เห็นได้ชัดเจน
4. ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการกระทำละเมิด ซึ่งรวมถึงความเสียหายจากการละเว้นที่ต้องกระทำด้วย
ละเมิด (มาตราที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม) ใช้กับรพ.เอกชนหรือคลินิก
- นายจ้างร่วมรับผิดกับลูกจ้าง ปพพ.ม.425
“นายจ้างร่วมรับผิดชอบในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในในการที่ว่าจ้างนั้น”
พยาบาลฉีดยาผิด
- สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้าง ปพพ.426
“นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
- มาตรา 427 บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ ตัวการ และตัวแทนด้วยโดยอนุโลม
อายุความ
- มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันทำละเมิด
- แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันมีความผิด มีโทษตามลักษณะกฎหมายอาญาและมีกำหนดอายุความยาวกว่าที่กล่าวมานั้น ท่านเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
1. กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก ประเด็นนี้จะพบบ่อยในกรณีทำละเมิดกับผู้รับบริการ
1.1 กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ (ฟ้องหน่วยงานเท่านั้น)
(1) ถ้าเจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรงก็ตาม ให้หน่วยงานรับผิดต่อบุคคลภายนอกไปก่อน (ม.5)
(2) เมื่อหน่วยงาน ชดใช้สินไหมทดแทนไปแล้ว หน่วยงานมีสิทธิไล่เบี้ยแก่เจ้าหน้าที่ได้ ถ้าเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
1.2 มิใช่กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ (ม.6)
(1) เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
(2) ถ้าเจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง สิทธิของบุคคลภายนอกฟ้องเจ้าหน้าที่ได้ แต่ฟ้องหน่วยงานไม่ได้
2. กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานรัฐ
2.1 กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
(1) ถ้าเจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อธรรมดา เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด
(2) ถ้าเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด
2.2 มิใช่กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ (ม.6)
(1) เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง
(2) ต้องรับผิดทุกกรณีคือ จงใจ ประมาทเลินเล่อธรรมดาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
สรุป พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการหรือบุคคลภายนอก อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเมื่อ
1. จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ที่จะต้องรับผิด
2. ประมาทไม่ร้ายแรง ไม่ต้องรับผิด
3. บุคคลภายนอกมีสิทธิยื่นคำขอค่าเสียหาย ต่อหน่วยงาน หรือยื่นฟ้องต่อศาล
การฟ้องศาล ต้องฟ้องหน่วยงาน จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
4. เจ้าหน้าที่ถูกไล่เบี้ยได้เฉพาะกรณีละเมิดอย่างจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น
5. ถ้ามีผู้กระทำผิดหลายคน ไม่ใช้หลักลูกหนี้ร่วม (ให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคน)
6. ผู้กระทำผิดขอผ่อนชำระได้
“ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง”
1. มีลักษณะไปในทางที่บุคคลนั้นได้กระทำไปโดยขาดความระมัดระวัง
2. ที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์มาตรฐานอย่างมาก เช่น พึงคาดเห็นได้ว่าความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้ หรือหากระมัดระวังสักเล็กน้อยก็คงคาดเห็นการอันอาจเกิดความเสียหายเช่นนั้น
การถูกฟ้องร้อง
กรณีพยาบาลปฏิบัติงานในสถานบริการ หรือรพ.เอกชน ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.นี้
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
ยึดหลักความสะดวกและประหยัด ความรวดเร็ว ไม่เป็นทางการ และความสุจริต
สรุปจาก การประชุมวิชาการสภาการพยาบาลสัญจรและเครือข่ายสภาการพยาบาล ประจำปี 2557 27 – 28 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมลีการ์เด็น พลาซ่า หาดใหญ่ สงขลา จัดโดย สภาการพยาบาล: เกษรา วนโชติตระกูล (1185)