ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ ๒๑

ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ ๒๑

 ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ ๒๑

            ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในศตวรรษที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๗- พ.ศ. ๒๕๖๑) ต้องการทำให้การศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพของประเทศไทยตั้งอยู่บนฐานความร่วมมือระหว่างระบบการจัดการศึกษาและระบบสุขภาพของประเทศ ด้วยการบริหารจัดการที่มีความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาและการจัดการศึกษา โดยมีการพัฒนาคุณภาพปละมีความสอดคล้องกับระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่องด้วยการประกันคุฯภาพการศึกษา การจัดการความรู้ สรรค์สร้างและใช้นวัตกรรมในการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรด้านสุขภาพให้บริการเป็นทีมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม

เป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์
          ๑.  Equity มีความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาและการจัดการศึกษา
๒.  Integration มีความร่วมมือระหว่างระบบการจัดการศึกษากับระบบสุขภาพ
๓.  Innovation มีนวัตกรรมและการวิจัยทั้งในด้านการจัดการศึกษาและการบริการ
๔.  Responsiveness and Relevancy มีแหล่งข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นและสอดคล้องกับวิถีแห่งสุขภาพและความต้องการของประชาชน
๕.  Humanistic health care มีการจัดการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

ดัชนีวัดความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์

ดัชนีวัดความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์
       ๑.  สัดส่วนของการรับเข้าเรียนจากชนบทและเมือง
๒.  ค่าใช้จ่ายต่อหัวที่เหมาะสมในการผลิตต่อบุคลากรในสถานศึกษา
๓.   จำนวนงานวิจัยทางด้านการศึกษาและนวัตกรรมการบริการที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงการจัดการศึกษาและบริการสุขภาพ
๔.  บุคลากรที่ผลิตเพื่อรองรับการบริการทางสุขภาพในอนาคต มีคุณลักษณะ ทักษะ และความรู้ความสามารถสอดคล้องกับความ   ต้องการ และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและสภาวิชาชีพ
๕.  ทัศนคติและจิตสำนึกของผู้เรียนต่อการทำงานในชนบทและการเลือกทำงานในชนบท
๖.  สัดส่วนการสมัครเข้าทำงานและยังคงทำงานในชนบทและเมืองหลักจากจบการศึกษา
๗.  ความพึงพอใจ การร้องเรียน ของผู้รับบริการสุขภาพ ผู้ใช้บัณฑิต โดยรวมถึงการบริการด้วยจริยธรรมและหัวใจของความเป็นมนุษย์
๘.  การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้บุคลากรด้านสุขภาพ วิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นยุทธศาสตร์และมาตรการที่สำคัญ

๑. การกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพโดยใช้หลักฐานทางวิชาการ
เป็นการปรับแนวคิดในภาพรวมและสร้างความสัมพันธ์ของนโยบายและดำเนินการจัดการ ศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพของประเทศ การออกแบบระบบบริการสุขภาพ แผนการจัดการบุคลากรด้านสุขภาพ รวมทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงของโลก เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งจะปรับจากกรอบแนวคิดเดิมมาเป็นการจัดการศึกษาที่มีหลักสูตรและกระบวนการ เรียนรู้รวมถึงการประเมินผลที่สอดคล้องกับสมรรถนะเพื่อตอบสนองความจำเป็น ด้านสุขภาพ
มาตรการหลัก
- ทบทวนสถานการณ์ระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
-  บูรณาการนโยบายการจัดการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพให้เป็นส่วนสำคัญของนโยบาย และการดำเนินการด้านการจัดบริการสุขภาพและการจัดการศึกษาของประเทศ
- ติดตาม ประเมินผล ทบทวนสถานการณ์ของนโยบายการจัดการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพ หลักสูตร รวมถึงการสนับสนุนการจัดประชุมการศึกษาแห่งชาติของบุคลากรสุขภาพทุกสาขา อย่างสม่ำเสมอ
- จัดและสนับสนุนให้มีระบบและกลไกการรับรองเป็นผู้ประกอบอาชีพสุขภาพจากหน่วย งาน องค์กรหรือสภาวิชาชีพให้ชัดเจนเป็นมาตรฐานในแต่ละวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ

๒. การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้บุคลากรด้านสุขภาพ
มาตรการหลัก
- สร้างและพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้บุคลากรด้านสุขภาพ รวมถึงผู้กำหนดนโยบาย ในการกำหนดสมรรถนะของบุคลากรที่พึงประสงค์ร่วมกัน และร่วมในการกำหนดหลักสูตร
-  สร้างและพัฒนาระบบการรับบุคลากรเข้าสู่ระบบการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพที่สอด คล้องกับความต้องการของพื้นที่และคำนึงถึงความเท่าเทียมในการคัดเลือกนัก เรียนที่มีประสบการณ์ในชนบท
- สร้างและพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ผลิต และผู้ใช้ ในการรับเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติ จัดสรรสนับสนุนด้านงบประมาณ การเงินหรือทุนการศึกษา
-  สนับสนุนและดำเนินการให้มีการทบทวนและปรับปรุงกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยว ข้องที่จะให้หน่วยงานและสถานบริการสาธารณสุขทุกสังกัดและทุกระดับ สามารถกำหนดอัตราจ้างงาน โอกาสความก้าวหน้า หรือมีช่องทางการจ้างงานบุคลากรด้านสุขภาพในรูปแบบต่างๆ
- สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ใช้และผู้ผลิตในการกำหนดจำนวนการผลิตบุคลากร และมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ได้บุคลากรด้านสุขภาพที่มีสมรรถนะตามที่พึงประสงค์อย่างเพียงพอ

๓. การปฏิรูปการบริหารจัดการในสถาบันการศึกษา
มาตรการหลัก
-  จัดกระบวนการเพื่อสร้างความเข้าใจและฉันทามติในหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ เกิดเจตนารมณ์ร่วมที่จะปฏิรูปการบริหารจัดการสถาบันการศึกษาเพื่อการเรียน รู้ด้วยกระบวนการ Transformative learning
- จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ให้มีจำนวน คุณวุฒิ สมรรถนะความรู้ทางวิชาการ ความเข้าใจในสังคมวัฒนธรรม ความเป็นครู ความเป็นกัลยาณมิตร การทำงานร่วมกันระหว่างสาขาวิชาชีพ โดยเฉพาะทักษะในการจัดการความรู้เน้นการมีส่วนร่วมและการพัฒนาคู่ขนานของผู้ เรียนโดยถือว่ากระบวนการพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งที่แยกจาก กันไม่ได้
-  เน้นการประกันคุณภาพการศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนา
-  ลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาและสถาบัน เครือข่ายอย่างเพียงพอ
-  สร้างระบบการเงินการคลังเพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม มีความคล่องตัวและมีส่วนร่วมจากหน่วยราชการส่วนกลางและท้องถิ่น ภาคเอกชน รวมทั้งแหล่งทุนอื่นๆ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและ ยั่งยืน
- สร้างกลไกธรรมาภิบาลในการจัดการระบบการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม ความโปร่งใสเป็นธรรม รับผิดชอบต่อส่วนรวม และสามารถตอบสนองต่อความจำเป็น ต้องการของชุมชน สังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของระบบ

๔. การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
มาตรการหลัก
-  จัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ โดยเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยพื้นฐาน คุณภาพชีวิตที่ดีและปัญหาสุขภาพ ระบาดวิทยา ปัจจัยทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรม พฤติกรรม รวมทั้งสร้างประสบการณ์จริงในการทำงานในระบบบริการสุขภาพระดับท้องถิ่นและ ประเทศ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การพึ่งตนเองและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ โดยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บัณฑิต ผู้ที่กำลังศึกษา และบุคลากรด้านสุขภาพที่ปฏิบัติงานในหน่วยสุขภาพ
-  ออกแบบหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทักษะการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพและทักษะอื่น และต้องมีกระบวนการเรียนที่เพียงพอในการสร้างประสบการณ์และการฝึกทำงานเป็น ทีมร่วมกันเป็นทีมสหวิชาชีพ
-  ออกแบบหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ให้มีเนื้อหาวิชาศึกษาทั่วไปให้มีความเชื่อมดยงและประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ รวมทั้งมีเวลาส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรมเสริมหลักสูตร ซึ่งจะทำบุคลากรมีการพัฒนาตน มีจิตสำนึกสาธารณ เข้าใจและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การบริหารงาน ความสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการบริหารความขัดแย้ง
-  ออกแบบหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อศักยภาพรองรับการทำงานในอนาคต-    ออกแบบหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและ ความพร้อมในทักษะสำคัญๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ภาษา การสื่อสาร  การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับชุมชน
- จัดทำแผนดำเนินการเพื่อการติดตามประเมินหลักสูตรตาม TQF
-  ทบทวนระบบและกลไกการปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้เกิดเวทีความร่วมมือสู่การปรับ ปรุงหลักสูตรร่วมกันระหว่างบุคลากรด้านสุขภาพ รวมผู้เกี่ยวข้องภาคส่วนอื่นๆ

๕.  การจัดการความรู้
      มาตรการหลัก
-  สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาดำเนินงานวิจัยสร้างองค์ความรู้
-  สร้างกลไกให้เกิดเครือข่ายวิจัยสร้างองค์ความรู้ และการใช้งานวิจัย สู่นโยบายและการปฏิบัติ
-  สร้างกลไกสนับสนุนกระบวนการจัดการความรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
-  พัฒนากลไกการจัดการความรู้ให้เอื้อต่อการบูรณาการใช้ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดบริการสุขภาพอย่างเหมาะสม
-  สร้างกลไกที่จะทำหน้าที่วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการข้อมูลวิชาการด้านสุขภาพโดยองหลักฐานทางวิชาการ ง่ายต่อการนำไปใช้

๖. การสร้างเครือข่ายสู่การปฏิรูปการศึกษาบุคลากรด้านสุขภาพ
มาตรการหลัก
- สร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันผลิตบุคลากรกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพและการสาธารณสุข สภาวิชาชีพต่างๆ
- จัดการเรียนรู้โดยใช้เครือข่างสถาบันการศึกษา สถาบันสมทบและแหล่งฝึก
- กำหนดให้ภาคีเครือข่ายสุขภาพ ร่วมกันวางแผนปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องของบุคลากรด้าน สุขภาพที่      เชื่อมโยงกับความต้องการของระบบสุขภาพ
- สร้างอุดมการณ์ร่วมกันของเครือข่ายวิชาชีพ สถาบันการศึกษา ผู้ใช้บุคลากรทั้งภาครัฐ ภาคอกชน ภาคประชาชน ให้เกิดการขับเคลื่อนสู่การปฏิรูปการจัดการศึกษาเพื่อบุลากรด้านสุขภาพ

สรุปจากการประชุมเรื่อง การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรสาธารณสุขที่เหมาะสมในศตวรรษที่ ๒๑ วันที่ ๑๘-๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ โรงแรม Grand Mercure Bangkok Fortune กรุงเทพฯ จัดโดย คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ:  จามจุรี แซ่หลู่

  (1013)

Comments are closed.