การบริหารความเสี่ยงและสร้างความโปร่งใสในการบริหารสถานศึกษา
หัวข้อ – การตรวจสอบภายใน
- การควบคุมพัสดุ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ข้อผิดพลาด/ข้อสังเกต ด้านการเงิน
- ระบบการควบคุมภายในตามระเบียบ คตง.ฯ พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๖
- บทบาทหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยการสร้างความโปร่งใสและยกระดับคุณธรรม
การตรวจสอบภายใน
พัสดุ ความหมาย วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
วัสดุ ความหมายสิ่งของใช้สิ้นเปลือง หมดไป แปรสภาพหรือไม่คงสภาพเดิม เช่น วัสดุ ราคาไม่เกิน 5,000 บาท โปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 20,000 บาท
ครุภัณฑ์ ความหมาย สิ่งของคงทน ถาวร ราคาต่อหน่วยเกินกว่า 5,000 บาท เช่น ครุภัณฑ์ ราคาเกิน 5,000 บาทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกิน 20,000 บาท
ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ความหมาย ดัดแปลง ต่อเติม ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างเกินกว่า 50,000 บาท
หน้าที่คณะกรรมการ
การลงมติ
- กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
- ประธานกรรมการและ กรรมการมีสิทธิ์ลงมติทุกคน
- มติของคณะกรรมการเสียงข้างมาก
- ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นกรณีชี้ขาด
ผู้ควบคุมงาน ปฏิบัติเกี่ยวกับ
1. ตรวจและควบคุมงาน
- สั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม
- ตัดทอนงานจ้าง
- สั่งให้หยุดงาน
- รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้าง
2. ประเด็นเกี่ยวกับสัญญา มีความขัดกัน
- สั่งพักงาน
- รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้าง
3. จัดทำบันทึก
- การทำงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมรายวัน
- รายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทุกสัปดาห์ถือเป็นหลักฐานสำคัญเพื่อการตรวจสอบ
การควบคุมพัสดุ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 151 -154
- หนังสือ กค(กวพ) 0408.4/ว129 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2549 เรื่องการลงทะเบียนควบคุมพัสดุของทางราชการ
ข้อเปรียบเทียบ ระเบียบพัสดุกับหนังสือ กค(กวพ) 0408.4/ว129
ระเบียบพัสดุ |
ว129 |
1. ลงบัญชีหรือทะเบียน | 1. ทะเบียนคุมทรัพย์สินและบัญชีวัสดุ |
2. หลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียน | 2. หลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียน |
3. เก็บรักษาพัสดุ คลังปลอดภัย | 3. เก็บรักษาพัสดุ คลังปลอดภัย |
การเบิก – จ่ายพัสดุ
- ตรวจสอบ ความถูกต้อง ใบเบิกพัสดุ
- ลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย
- เก็บใบเบิกจ่ายเป็นหลักฐาน
การตรวจสอบพัสดุประจำปี
1. ตรวจพัสดุ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
2. วันราชการแรกของเดือนตุลาคม
3. รายงานผลภายใน ๓๐ วันทำการ
4. ส่งสำเนารายงานให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
บัญชีเกณฑ์คงค้าง & ระบบ GFMIS
1. ระบบการควบคุมภายใน
- คำสั่งมอบหมายงาน
- แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ
2. การบันทึกบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน
3. การวิเคราะห์รายการบัญชี
4. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี
5. การบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง
- ด้านจ่าย บันทึกจากทะเบียนจ่ายเช็ค
- ด้านทั่วไป บันทึกจากฐานขอเบิก
6. งบพิสูจน์เงินฝากธนาคาร
- เงินโอนไม่ทราบแหล่งที่มา
- เช็คสั่งจ่ายแล้วไม่มีผู้นำไปขึ้นเงิน (หมดอายุ)
บัญชีเกณฑ์คงค้าง & ระบบ GFMIS
1. การควบคุมทั่วไป (General Control)
- คำสั่งมอบหมายงานไม่ครอบคลุมผู้ปฏิบัติงาน
- ไม่จัดทำทะเบียนคุมการเข้าใช้งาน
2. ไม่นำเข้าข้อมูลรับ – จ่ายเงินฝากธนาคารพาณิชย์ เข้าสู่ระบบ
3. ยอดคงเหลือตามรายงานการเงิน (งบทดลอง) ไม่ตรงกัน ระหว่างระบบมือกับระบบ GFMIS
4. บัญชีพักสินทรัพย์จำนวนมาก ไม่กลับรายการเป็นบัญชีสินทรัพย์
5. รายการบัญชีตามงบทดลอง พบรายงานผิดดุลบัญชี เนื่องจาก บันทึกบัญชีผิด
6. ไม่ปรับปรุงบัญชีเข้าระบบ (บช.๐๑, บช. ๑๐)
7. ทะเบียนคุมตามระบบ GFMIS ไม่ครบถ้วน
8. งบกระทบยอดเงินฝากธนาคารไม่จัดทำ/ไม่เป็นปัจจุบัน
9. การจัดทำเอกสารตามระบบ GFMIS ไม่ถูกต้อง
10. จัดส่งรายงานการเงินให้กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ไม่ครบถ้วน ตามที่ระเบียบกำหนด
ข้อผิดพลาด/ข้อสังเกต ด้านการเงิน
๑. ไม่นำเงินเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยของทางราชการ (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินการคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๗๙)
๒. กรรมการเก็บรักษาเงินไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง/ระเบียบ (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินการคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๘๔)
๓. เก็บรักษาเงินไว้เกินวงเงินที่ได้รับอนุญาต (กค ๐๕๒๖.๙/ ว ๑๐๗ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๓)
๔. เบิกจ่ายเงินงบประมาณล่าช้า/ข้ามปีงบประมาณ (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๑๗)
๕. เงินงบประมาณที่เบิกมาไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมดไม่นำส่งคืนคลังภายใน ๑๕ วันทำการนับจากวันรับเงิน (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๙๕)
๖. รายได้แผ่นดินนำส่งคลังล่าช้า ตามระเบียบฯ อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง แต่ถ้าส่วนราชการใดมีเงินรายได้แผ่นดิน เก็บรักษาในวันใดเกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้นำส่งอย่างช้าต้องไม่เกิน ๓ วัน (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๙๕ (๒))
๗. ไม่ได้จัดทำรายงานการใช้ใบเสร็จรับประจำปีการจัดทำรายงานการใช้ใบเสร็จรับเงินประจำปี เมื่อสิ้นปีงบประมาณอย่างช้าไม่เกินวันที่ ๓๑ ตุลาคม ของปีงบประมาณถัดไป (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๖๙)
๘. เงินนอกงบประมาณไม่ได้นำฝากคลังอย่างน้อยเดือนละ๑ ครั้ง ให้นำฝากคลังอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง(ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๙๗ (๔))
๙. หลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินบางรายการไม่ประทับตราข้อความ “จ่ายเงินแล้ว” และลงลายมือชื่อจ่ายเงินด้วยตัวบรรจงกำกับไว้ พร้อมวัน/เดือน/ปีที่จ่ายกำกับไว้ในหลักฐานการจ่ายเงิน (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๙๗ (๔))
๑๐. ไม่มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ตรวจสอบการรับ-จ่ายเงินประจำวัน (ระเบียบระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๗๘)
๑๑. ไม่แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน หรือกรรมการเก็บรักษาเงินผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการตามนัยข้อ ๘๒ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการเก็บรักษาเงินแทนให้ครบจำนวน(ระเบียบระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังพ.ศ.๒๕๕๑ข้อ ๘๒ )
๑๒. การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการเก็บรักษาเงินแทน จะแต่งตั้งไว้เป็นการประจำก็ได้ (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ข้อ ๘๒)
๑๓. ลูกหนี้เงินยืม (ระเบียบเบิกจ่ายเงินจากคลังฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๖๐ – ๖๓)
- สัญญาเงินยืมส่วนใหญ่ไม่ระบุวันส่งใช้เงินยืม
- ส่งใช้คืนเงินยืมล่าช้า
- ไม่ออกใบรับใบสำคัญเมื่อผู้ยืมส่งคืนเงินยืม
- ยืมเงินในโครงการมีการจัดซื้อวัสดุ สนง. ค่าถ่ายเอกสาร ค่าจ้างเหมาบริการ
๑๔. การจ่ายเงินค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์โทรเลข ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม ไม่จ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกับเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิโดยตรง (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ข้อ ๘๒)
๑๕. การเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจรับทุกครั้งที่มีการเติมน้ำมัน (กค (กวพ) ๐๔๒๑.๓/ว ๔๖๒ ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕)
๑๖. เบิกค่าที่พักในการฝึกอบรม ใช้อัตราเหมาจ่าย (ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ และ กค ๐๔๐๖.๔/ ว ๕ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖)
๑๗. การเดินทางไปราชการโดยใช้รถส่วนกลางไม่ระบุชื่อพนักงานขับรถ หมายเลขทะเบียนรถ และไม่ได้ขออนุมัติเดินทางไปราชการ หรือไม่ครอบคลุมวันเดินทาง (พระราชกฤษฎีกาวค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๘)
ระบบการควบคุมภายในตามระเบียบ คตง.ฯ พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๖
ข้อผิดพลาด/ข้อสังเกต
๑. การจัดทำระบบการควบคุมภายในไม่ครอบคลุมกระบวนการปฏิบัติงาน/กิจกรรมในความรับผิดชอบของหน่วยงาน
๒. กำหนดกระบวนการปฏิบัติงาน/กิจกรรม/โครงการไม่ชัดเจน ผลกระทบกับความเสี่ยงที่เหลืออยู่ และวิธีการปรับปรุงการควบคุม ไม่สอดคล้อง ไม่ชัดเจน และไม่สัมพันธ์กัน
๓. จัดทำรายงานระบบการควบคุมภายในตามระเบียบฯ คตง. ไม่ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด (ปย.๒, ปย.๑)
๔. คณะกรรมการระบบควบคุมภายในที่ได้รับแต่งตั้งไม่พิจารณากลั่นกรองระดับความเสี่ยงของส่วนงานย่อย ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ภายในระดับส่วนงานย่อยเพื่อยกระดับเหนือชั้นขึ้นมาหนึ่งระดับ จัดส่งในภาพรวมของหน่วยงาน (ส่ง สบช.)
สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไข
สาเหตุของความบกพร่องต่างๆ
๑. ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานไม่เหมาะสม
๒. เจ้าหน้าที่ขาดความรับผิดชอบ ประมาทเลินเล่อ ไม่เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติงานเท่าที่ควร
๓. เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ ความเข้าใจในระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานที่จะปฏิบัติ
๔. ผู้บริหารไม่ได้กำกับดูแลการปฏิบัติงานตามที่ควรจะเป็น
๕. การตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามระเบียบต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง
๖. ความต้องการอยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช่ของตน (ความโลภ/ความไม่รู้จักพอ)
ผลกระทบ
๑. ทางราชการเสียหายจากข้อบกพร่องต่างๆ และทุจริต
* สูญเสียเงินงบประมาณโดยไม่จำเป็น
* ใช้ประโยชน์จากพัสดุไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
๒. ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๓. ประเทศชาติไม่เจริญ
แนวทางแก้ไข
๑. ให้ความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบต่างๆ
๒. ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการควบคุม/กำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา
๓. จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี
* การจัดแบ่งส่วนงานที่ชัดเจน
* มีการมอบหมายอำนาจให้ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
* มีบุคลากรที่ดีเหมาะสมกับงาน
* มีการตรวจสอบภายใน
๔. การปลูกจิตสำนึก
บทบาทหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยการสร้างความโปร่งใสและยกระดับคุณธรรม
1. การทุจริตคอร์รัปชั่น: ความหมาย สถานการณ์ และแนวโน้ม
อาชญากรรม เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่ง คือ พฤติกรรมที่เป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายอาญา ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพและทรัพย์สิน
การทุจริต อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC) ค.ศ. 2003: “Corruption” คือ การหาประโยชน์ในทางมิชอบเพื่อตนเองและพวกพ้อง ซึ่งมิได้จำกัดเฉพาะเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ แต่รวมถึงพนักงานในธุรกิจเอกชนด้วย
ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4
“โดยทุจริต” หมายถึง “เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น” (ป.อ. มาตรา 1(1))
“การทุจริตต่อหน้าที่” หมายถึง การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่ง หรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
ตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 85 (2)
การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต หมายถึง การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีโทษปลดออกหรือไล่ออก มีองค์ประกอบ 4 ประการ
- มีหน้าที่ราชการที่ต้องปฏิบัติ
- ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ
- เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้
- มีเจตนาทุจริต
สาเหตุภายใน
1. บุคคล (เจ้าหน้าที่ของรัฐ)
2. ระบบ (ขั้นตอน วิธีปฏิบัติ และการกำกับดูแล)
สาเหตุภายนอก
ภาคเอกชน (ภายในประเทศ/ระหว่างประเทศ)
2. การป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามกรอบรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
มาตรการสำคัญ :- ให้รัฐภาคดำเนินการ
- ให้มีองค์กรเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่
- มีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน สนับสนุนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนโดยเฉพาะการป้องกันการทุจริต
- กำหนดให้การทุจริตคอร์รัปชันเป็นความผิดทางอาญา
- กำหนดกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการไต่สวนและดำเนินคดี (MLA)
- กำหนดมาตรการติดตามเรียกทรัพย์สินคืน (AR) ฯลฯ
มาตรการสำคัญ : อนุสัญญาฯ ในด้านการป้องกัน
- การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
- การมีส่วนร่วมของสังคม
- การปรับปรุงจริยธรรมของข้าราชการ นักการเมือง
- การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารการคลังของรัฐที่โปร่งใส
- การป้องกันการทุจริตในภาคเอกชน
- ความเป็นอิสระของศาลและอัยการ ฯลฯ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 กำหนดกรอบแนวทาง บทบาท อำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อบูรณาการบทบาทในการควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการบริหารกิจการบ้านเมือง บริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินของประเทศในระบบการเมืองและระบบราชการเพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
1. ประมวลกฎหมายอาญา กำหนดการกระทำทุจริตเป็นความผิดทางอาญา กำหนดว่าความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ประกอบไปด้วย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำแนกเป็น
1. ความผิดเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ สำหรับข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐอื่น (มาตรา 147-166)
2. ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในขบวนการยุติธรรม เช่น ตุลาการ อัยการ และพนักงานสอบสวน (มาตรา 200-205)
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
กำหนดความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ของ
จ้าหน้าที่ของรัฐที่นอกเหนือจากที่ ป.อาญากำหนดและไม่มีกฎหมายอื่นรองรับ โดยมีหลักการและบทกำหนดโทษ เทียบเคียงได้กับ ป.อาญา
“พนักงาน” หมายความว่า ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในองค์การ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ โดยได้รับเงินเดือนหรือประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น
3. พระราชบัญญัติมาตราของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551
4. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
5. พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
3. มาตรการป้องกันทุจริตในการบริหารราชการ
เป้าหมาย : เน้นประเด็นสำคัญ 2 ประการ
1. การเพิ่มความโปร่งใสและระดับคุณธรรมในการดำเนินงานของหน่วยงานในภาครัฐโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
2. การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นให้ยึดถือ ประมวลจริยธรรม
ความหมายของการกำกับดูแลที่ดีเพื่อสร้างธรรมาภิบาลภาครัฐ
“การกำหนดหลักการ กติกา และกลไกที่มีระบบการกำกับดูแลที่ดีและเหมาะสม (Self governance) ซึ่งรวมถึงการจัดโครงสร้าง ระบบการบริหารงาน ขั้นตอนกระบวนการทำงานมาตรฐานการบริหารภาครัฐ ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ของผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญๆ ในการบริหารจัดการและดำเนินงานขององค์กรในภาครัฐยุคใหม่ สร้างความมั่นคงในสังคม และเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีเสถียรภาพ มีคุณค่า เป็นกลไกที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของสังคม”
หลักของธรรมาภิบาลสำหรับหน่วยงานในภาครัฐ
1. ยึดมั่นในหลักของวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่ประชาชนหรือผู้ที่มาใช้บริการ (Clear statement-high service quality)
2. ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในหน้าที่และบทบาทของตน (Public Statement ว่าจะทำหน้าที่อย่างไรโดยวิธีอะไรที่จะบรรลุเป้าหมาย)
3. ส่งเสริมค่านิยม (Values) ขององค์กร และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของธรรมาภิบาลโดยการปฏิบัติหรือพฤติกรรม (Behaviors)
4. มีการสื่อสารที่ดี การตัดสินใจอย่างโปร่งใส และมีการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม (Providing information to flow two-ways)
5. พัฒนาศักยภาพและความสามารถของส่วนบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องและให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ผู้บริหารต้องมีความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง)
6. การเข้าถึงประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อการทำงานและผลงานอย่างจริงจัง
มาตรการป้องกันทุจริตในการบริหารราชการ : ลักษณะการบริหารงานที่ขาดหลักธรรมาภิบาล
- มีประเด็นความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
- การใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ (Abuse of Power)
- การใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาประโยชน์ (Insider Trade)
- การยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง การทุจริตคอร์รัปชั่น (Corruption)
- ขาดความสนใจในการกำกับผลงาน และมีการรายงานที่คลาดเคลื่อน
- การละเลยต่อการประเมินความเสี่ยง (Reckless Risk Management)
- แจ้งข้อมูลที่เป็นเท็จ ปิดบัง หรือเป็นข้อมูลจริงเพียงบางส่วนต่อสาธารณะ
(False Financial Report or Disclosed Information)
- สร้างภาพผลงานที่ไม่ตรงความเป็นจริง (Performance & Result Manipulation)
- ไม่เป็นธรรมต่อผู้รับบริการบางกลุ่ม หรือการเลือกปฏิบัติ
การเสริมสร้างธรรมาภิบาลระดับบุคคล (จริยธรรม)
- การกำหนดและประกาศค่านิยมจริยธรรมที่เป็นหลักในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตน
- การประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ฝึกอบรม หรือจัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจ ความสามารถในการปฏิบัติ และเห็นถึงคุณค่า
- การให้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างธรรมาภิบาล
- การออกกฎระเบียบ ขั้นตอนและคู่มือวิธีปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับธรรมาภิบาล และลดโอกาสในการทำผิด
- การติดตามดูแล กำกับตรวจสอบและประเมิน
- การให้รางวัล-ลงโทษ เพื่อจูงใจ
- การสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล
ขั้นตอนการสร้างจรรยาบรรณ/มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม
- เริ่มต้นจากผู้บริหาร
- มีการปรึกษาหารือร่วมกัน
- เห็นชอบยอมรับเป็นกติกา
- สร้างความรู้ความเข้าใจให้ทราบทั่วกัน
- ดูแลให้ยึดถือปฏิบัติ / ติดตามประเมินผล
- มีการดำเนินการเมื่อมีผู้ร้องเรียนหรือมีการละเมิด
4. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 และบทบาทหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ
- ใช้ยุทธศาสตร์ชาติฯระยะที่ 2 เป็นกรอบดำเนินงานร่วมกัน (เน้นการป้องกันคู่ขนานกับการปราบปราม) กลุ่มเป้าหมายหลัก 1 กลุ่ม 3 ภาคส่วน
- เน้นการขับเคลื่อนแบบบูรณาการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน
- การบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ มุ่งสู่เป้าหมาย 1 กลุ่ม 3 ภาคส่วน
- การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ ระยะที่ 2 แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (อาทิ การจัดทำ MOU ในเรื่องการปลูกจิตสำนึกในกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชน / การเสริมสร้างธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐและการใช้ประมวลจริยธรรม เป็นหลักปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ฯลฯ)
- มีการกำหนดให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ในลักษณะบูรณาการ (แผนบูรณาการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ)
- กำหนดให้ระบบตรวจราชการ (สำนักนายกฯ /กระทรวง) เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการติดตามกำกับดูแลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ ระยะที่ 2
- มีกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯระยะที่ 2 แบบบูรณาการ
- มีการประมวลข้อมูลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯแบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ (การจัดตั้งศูนย์ประมวลผลข้อมูลเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ ระยะที่ 2)
ยุทธศาสตร์ 1 ปลูกและปลุกจิตสำนึกการต่อต้านการทุจริต เน้นการปรับเปลี่ยนฐานความคิดของคนในทุกภาคส่วนในการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ
มาตรการ/ แนวทาง
1.1 ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ส่งเสริมการใช้และกำหนดบทลงโทษในประมวลจริยธรรมแก่ทุกภาคส่วน
1.3 การใช้การศึกษาและศาสนาเป็นเครื่องมือการปลูก-ปลุก-ปรับเปลี่ยนฐานความคิด
1.4 ดูแลคุณภาพชีวิตและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและข้าราชการ
ยุทธศาสตร์ 2 บูรณาการทำงานของหน่วยงานในการต่อต้านการทุจริต และพัฒนาเครือข่ายในประเทศ
มาตรการ/ แนวทาง
2.1 ประสานการทำงานและการบริหารระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
2.2 สร้างความเข้มแข็งการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและประชาชนในการต่อต้านการทุจริต
2.3 พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง
2.4 ปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายรวมถึงการพัฒนาระเบียบ หลักเกณฑ์ข้อบังคับในแต่ละหน่วยงานหลักในการต่อต้านการทุจริตให้สอดคล้องกัน
ยุทธศาสตร์ 3 พัฒนาความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านการทุจริต และเครือข่ายระหว่างประเทศ
มาตรการ/ แนวทาง
3.1 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรต่อต้านการทุจริตและองค์กรเอกชนในระดับนานาชาติ
3.2 ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ
3.3 สร้างความร่วมมือโดยการเข้าร่วมปฏิญญาและการทำบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ 4 พัฒนาระบบบริหารและเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
มาตรการ/ แนวทาง
4.1 . บรรจุยุทธศาสตร์ชาติเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐ
4.2 จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการป้องกันการทุจริต
4.3 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการและเครื่องมือป้องกันและปราบปรามการทุจริต
4.4 สร้างเสริมระบบแจ้งเบาะแส การคุ้มครองพยาน การเสริมสร้างศักยภาพ/การมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทุจริตให้ภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม /ประชาชน เชื่อมั่น
4.5 สร้างระบบรับเรื่องร้อง เรียนให้องค์กรตามรัฐ ธรรมนูญที่ต้านการทุจริต
ยุทธศาสตร์ 5 เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการต่อต้านการทุจริตให้กับบุคลากรทุกภาคส่วน
มาตรการ/ แนวทาง
5.1 สร้างองค์ความรู้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยการศึกษาวิจัยและการพัฒนา
5.2 พัฒนาระบบการ จัดการองค์ความรู้
5.3 สร้างบุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา สำหรับตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตรายสาขา
5.4 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
สรุปจากการประชุม การบริหารความเสี่ยงและสร้างความโปร่งใสในการบริหารสถานศึกษา วันที่ ๓–๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี จัดโดย สถาบันพระบรมราชชนก : อาทิตย์ ภูมิสวัสดิ์
(527)