สัมมนาระดับชาติโรคเอดส์ ครั้งที่ ๑๔ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ครั้งที่ ๑

สัมมนาระดับชาติโรคเอดส์ ครั้งที่ ๑๔ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ครั้งที่ ๑

เป้าหมายของการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีเรียนรู้  แลกเปลี่ยนวิชาการ เทคโนโลยี และประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติที่ว่า ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการตาย รวมทั้งลดและแก้ปัญหาการตีตราผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์  การนำเสนอผลการดำเนินการ ผลการศึกษาวิจัย และการจัดกิจกรรม แบ่งออกเป็น ๓ track ได้แก่

              Track A : Epidemiology & Prevention
Track B : Biology, Pathogenesis, Clinical Research, treatment & Care
Track C : Social, Behavioral & Economic Science, Community Participation & Involvement, Human Rights and Policy

มีการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การนำเสนอแบบบรรยาย เสวนา โปสเตอร์ ลานชุมชน นิทรรศการผลการดำเนินงาน เป็นต้น โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอชน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แห่งประเทศไทย ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ

เป้าหมาย “ภายในปี ๒๕๗๓ หรือ ๑๖ ปี ประเทศไทยจะไม่มีเด็กคลอดแล้วติดเชื้อเอชไอวี ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนเข้าถึงการรักษาได้สะดวก จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่เกิน ๑,๐๐๐ ราย/ปี และไม่มีการตีตรา”

แนวปฏิบัติในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีล่าสุด (ตุลาคม ๒๕๕๗) ต้องให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรับประทานยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องดูผล CD4  หากผู้ติดเชื้อพร้อมรับเงื่อนไขในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและตรงเวลา

ปัญหาการตีตรา นับว่าแก้ได้ยาก ต้องมีการปรับทัศนคติที่มีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีใหม่ คนส่วนใหญ่กลัวว่าจะติดต่อกันได้ง่าย รักษาไม่หาย ปัจจุบันนี้ มีผลงานวิจัยที่สนับสนุนอย่างชัดเจนว่า หากผู้ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้มากว่า ๓๐-๔๐ ปีขึ้นไป

มาตรการที่มีผลในการลดปัญหาโรคเอดส์ ได้แก่
- การให้บริการตรวจรักษาที่เป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่าย
- การให้คำปรึกษาแนะแนวแก่ผู้รับบริการทั้งที่ป่วยและไม่ป่วย เน้นการป้องกัน
- การควบคุมแหล่งแพร่โรค- การดำเนินมาตรการเชิงโครงสร้าง เช่น การส่งเสริมการใช้ถุงยาง ๑๐๐ %
- การควบคุม กำกับ ติดตามและรายงานโรคที่ถูกต้อง

กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังอย่างมากคือ กลุ่มชายรักชาย (MSM) ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นซิฟิลิส หรือ HIV

การป้องกันที่สำคัญคือ รณรงค์การใช้ถุงยางทั้งในเพศหญิงและชาย  การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด การให้ยาก่อนและหลังสัมผัสเชื้ออย่างรวดเร็ว การตรวจเชื้อเอชไอวีเพื่อคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง

ปัจจุบันการผลิตวัคซีนยังได้ผลไม่แน่นอน ยังคงต้องศึกษาวิจัยกันอย่างต่อเนื่อง

การวิจัยการรักษาใหม่ๆ ที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว เช่น การใช้เจลทาในช่องคลอดผู้หญิงก่อนมีเพศสัมพันธ์ ๑๒ ชม. และหลังมีเพศสัมพันธ์ พบว่า สามารถป้องกันได้ ๔๐ % อาจจะมีการวางขายภายใน ๓ ปี  การใช้ rectal gel สำหรับชายรักชาย ขณะนี้กำลังทดลองใน USA และประเทศไทย (กทม. และ เชียงใหม่)  อาจจะมีการวางขายภายใน ๕ ปี

สรุปจาก การสัมมนาระดับชาติโรคเอดส์ ครั้งที่ ๑๔ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ครั้งที่ ๑   วันที่ ๑๗-๑๙  ธันวาคม   ๒๕๕๗  ณ อิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี  จ.นนทบุรี   จัดโดย  สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  : วิลาสินี   แผ้วชนะ

(522)

Comments are closed.