“Where do Fontys teachers teach and Where do Fontys students learn/study?”

“Where do Fontys teachers teach and Where do Fontys students learn/study?”

“Where do Fontys teachers teach and Where do Fontys students learn/study?” โดย Mr. John van Lare, Dr. John Scholtes

การจัดสถานที่และสภาพแวดล้อม รวมทั้งปัจจัยเกื้อหนุนที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอน

        ช่วงเช้าเมื่อเดินทางไปถึงมหาวิทยาลัย Fontys วิทยาเขต Venlo ได้แบ่งเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเยี่ยมชมสถานที่ ซึ่งสามารถสรุปสาระจากการเยี่ยมชมมีดังนี้

1. student   service center   ชั้นล่าง เป็นศูนย์บริการนักศึกษา ทำหน้าที่เหมือนกับบัณฑิตวิทยาลัย ให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหา  เช่น  การเรียน การลงทะเบียน การขอเอกสาร เป็นต้น  เวลาการเปิดทำการ  8.30-17.00 น. นอกจากนี้มีส่วนของหนังสือสำหรับค้นคว้า ,  multimedia  center , computer  zone สำหรับบริการนักศึกษาในการสืบค้นข้อมูล ด้านการบริการที่ให้นักศึกษาเพิ่มเติม คือ บริการเต้าเสียบสำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับห้องเรียน เน้นการใช้สีสันสดใส เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้  มีห้องที่เป็นสัดส่วน สำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว

2. ห้องต่างๆ
2.1 ห้องเรียน ทั้งแบบ small   group  สำหรับนักศึกษาจำนวน  3-4 คน , ห้อง  conference ขนาดเล็ก สำหรับให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา 1 : 1 เรียกว่า ห้อง  Conference  IM  และห้อง Conference  ขนาดใหญ่เรียกว่า  ห้อง Cockpit  ซึ่งสามารถใช้  internet
2.2 Teacher training room ซึ่งใช้สำหรับ train ครูที่สอนในระดับ primary school ครูสามารถสอนได้เกือบทุกวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ศิลปะ สังคม เป็นต้น

3. ห้อง work shop สำหรับนักศึกษา Engineer สำหรับออกแบบชิ้นงาน และร่วมกันประดิษฐ์ตามแบบ มีตู้โชว์สำหรับแสดงผลงานของนักศึกษาที่ประดิษฐ์ขึ้นมา

สรุปกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นใน 3 พื้นที่ที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. พื้นที่โล่ง (Open area) ซึ่งมีโต๊ะพร้อม เก้าอี้ ที่วางเป็นจุด ๆ ในส่วนที่เป็นพื้นที่โล่งในอาคารนั้น มีการใช้ฉากกั้นเป็นสัดส่วน ทั้งนี้ ฉากที่ใช้นั้นได้รับตกแต่งอย่างสวยงามและมีสีสันที่น่าจะมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น สีเขียวหัวเป็ด และ สีส้ม ในส่วนที่เป็นพื้นที่โล่งนอกอาคาร มีเก้าอี้ที่มีสีสันและน่าใช้

2. ห้องประชุมกลุ่มย่อย (Cockpit) ที่เป็นรูปทรงโค้ง ซึ่งอาจใช้เป็นทั้งที่ทำงานกลุ่มชองนักศึกษา หรือการพบปะระหว่างผู้เรียนและผู้สอน โดยที่ห้องทำงานของอาจารย์ก้อจะอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้สะดวกต่อการพบกันของผู้เรียนและผู้สอน

3. ห้องเรียน  (Classroom)

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ที่ตอบสนองต่อแนวคิด “การเรียนรู้เกิดได้ทุกที่” ได้แก่
1. ห้องสมุดและสื่อการเรียนการสอน
2. ห้องฝึกปฏิบัติการ ซึ่งมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่พร้อมต่อการฝึกปฏิบัติ
3. สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั้งในและนอกอาคาร
4. เก้าอี้ที่จัดไว้เหมือนบรรยากาศในห้องนั่งเล่น
5. มีสิ่งที่ตอบสนองต่อการความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น ตู้เครื่องดื่มและเครื่องทำกาแฟหยอดเหรียญ เป็นต้น

สรุปสาระสำคัญ โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน ณ  Fontys University of Applied Science ประเทศเนเธอร์แลนด์ 22 พฤษภาคม 2556

  (477)

Comments are closed.