Nursing @ McMaster

Nursing @ McMaster

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

สรุปสาระการเรียนรู้

วันที่ 4 มิถุนายน 2557

Nursing @ McMaster

โดย Dr. Mary Guise

Prof.OlaLunyk-Child

College of Nursing @ McMaster University

รายละเอียดของการรับสมัคร

  • หลักสูตรพื้นฐาน  รับสมัครจาก
    • จบ High school
    • จบจากมหาวิทยาลัยหรือเรียนบางหน่วยมาก่อน
    • ผู้ที่มีคุณวุฒิอื่น ๆ
    • Ø หลักสูตรปกติที่เป็นความร่วมมือ
    • Ø หลักสูตรเร่งด่วน
    • Ø หลักสูตรหลังประกาศนียบัตรพยาบาล
    • Ø หลักสูตรหลังประกาศนียบัตรพยาบาลเวชปฏิบัติ
    • Ø หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำทางการพยาบาล/บริหารการพยาบาล

 

หลักสูตรพื้นฐาน (Basic Stream)

คุณสมบัติของผู้สมัครหลักสูตรพื้นฐาน (Basic Stream)

¨   ผู้ที่จบ High School  จากจำนวนผู้สมัคร 1490 คน สามารถรับได้ 120 คน เลือกจากคุณสมบัติที่ต้องผ่านรายวิชา ดังนี้

  • English
  • Biology
  • Chemistry
  • Mathematics
  • Elective จำนวน 2course
  • คะแนนร้อยละ 90  หรือมากกว่า
  • ไม่รับหากคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87

จบจากมหาวิทยาลัยหรือเรียนบางหน่วยมาก่อนจากจำนวนผู้สมัคร 355คนรับได้ 20 คนเลือกจากคุณสมบัติดังนี้

  • Course work 12  หน่วยเป็นอย่างต่ำ
  • คะแนนสะสมเฉลี่ยอย่างน้อยร้อยละ 70-72
  • ประเมิน supplement application

¨    ผู้มีคุณวุฒิอื่น ๆ  ซึ่งเป็นหลักสูตร pre health science  เลือกจากคุณสมบัติ ดังนี้

  • เรียนสาขาอื่นที่สามารถประยุกต์ได้
  • ประเมิน supplement application
  • คะแนนร้อยละ 90  หรือมากกว่า(เช่นเดียวกับ high school)

แบบสอบถามเพิ่มเติมสำหรับผู้สมัคร (supplement questionnaire)มีรายละเอียดคำถาม ดังนี้

1. ทำไมถึงสนใจเรียนด้านการพยาบาล ?

2. คุณลักษณะอะไรที่คุณจะนำไปสู่การเป็นพยาบาลวิชาชีพ ?

3. คุณมีกลยุทธ์การเรียนอย่างไรที่เหมาะสมกับการศึกษาการพยาบาล ณ McMaster University ?

4.ประสบการณ์อะไร,ถ้ามี,เพื่อเตรียมคุณในการทำงานกับประชาชนจำนวนมาก ?

หลักสูตรพื้นฐาน  ประกอบด้วย 4 ชั้นปี 122 หน่วย จำแนกดังนี้

ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 หน่วย ( ตัดเกรด 28 หน่วย, 2 หน่วยไม่ตัดเกรดแต่ให้ผ่านหรือตก)

  • Health sciences  9  หน่วย
  •           Nursing            12  หน่วย
  • Psychology     6หน่วย
  • Electives          3  หน่วย

ชั้นปีที่ 2 จำนวน 31 หน่วย ( ตัดเกรด 23 หน่วย, 8 หน่วยไม่ตัดเกรดแต่ให้ผ่านหรือตก)

  • Health sciences  12  หน่วย
  •           Nursing            16  หน่วย
  • Electives          3  หน่วย

ชั้นปีที่ 3 จำนวน 31 หน่วย ( ตัดเกรด 20 หน่วย, 12 หน่วยไม่ตัดเกรดแต่ให้ผ่านหรือตก)

  • Health sciences  3หน่วย บวก 3 ถ้าลงเรียนวิจัยด้วย
    •           Nursing            19  หน่วย
    • Electives          6  หน่วย บวก 3 ถ้าไม่ลงเรียนวิจัย

ชั้นปีที่ 4 จำนวน 30 หน่วย ( ตัดเกรด 13 หน่วย, 17 หน่วยไม่ตัดเกรดแต่ให้ผ่านหรือตก)

  • Health sciences  3หน่วย
  • Nursing            24  หน่วย
  • Electives          6  หน่วย

 

หลักสูตรหลังประกาศนียบัตรพยาบาลผู้ช่วย

 

      ผู้สมัครเป็นพยาบาลผู้ช่วย จากจำนวน 100 คนรับได้ 12 คน เลือกจากคุณสมบัติ ดังนี้

¨    ได้รับประกาศนียบัตรด้านการพยาบาลผู้ช่วยของ Ontario

¨    มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 หรือมากกว่า

¨    คงลงทะเบียนเรียนใน college of nursing of Ontario

¨    ส่ง transcripts ไปสำนักทะเบียน

¨    กรอกคุณสมบัติเพิ่มเติมของผู้สมัคร

หลักสูตรหลังประกาศนียบัตรพยาบาลเวชปฏิบัติประกอบด้วย

  • Advanced credit  30 หน่วย (9 หน่วย ≥ชั้นปีที่ 2)
  • ชั้นปีที่ 2  : 34 หน่วย
  • ชั้นปีที่ 3  : 30 หน่วย
  • ชั้นปีที่ 4  : 30 หน่วย

จำนวนหน่วยกิตทั้งหมด คือ 124-30 = 96

ระยะเวลา     3 ปี สำหรับการเรียนเต็มเวลา

6 ปี หากเรียนพยาบาลมาในชั้นปีที่ 1

7 ปี หากเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปีที่ 1

หลักสูตรเร่งรัด

 

      ผู้สมัครต้องมีภูมิหลังด้านวิทยาศาสตร์   จากจำนวน  450 คนรับได้  42 คน(66คนในปี คศ. 2014)  เลือกจากคุณสมบัติ ดังนี้

¨    มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับ B -หรือมากกว่า

¨    เรียน psychology         6 หน่วย

¨    เรียน human anatomy & physiology (lab) 6 หน่วย

¨    เรียน biochemistry       6 หน่วย

¨    เรียน statistics             3 หน่วย

¨    กรอกคุณสมบัติเพิ่มเติมของผู้สมัครครบถ้วน

หลักสูตรเร่งรัดประกอบด้วย

  • Advanced credit  54 หน่วย
  • ชั้นปีที่ 3  : 45 หน่วย
  • ชั้นปีที่ 4  : 27 หน่วย

จำนวนหน่วยกิตทั้งหมด คือ 126-54 = 72

ระยะเวลา     5 เทอมหรือ 20 เดือน

Academic Regulations

โดย Dr. Mary Guise

Prof.OlaLunyk-Child

College of Nursing @ McMaster University

การวัดผลการศึกษา

McMaster จะมีOMBUDS เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือให้นักศึกษาเรียนจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา โดยหน่วยงานนี้จะมีเครื่องมือในการช่วยเหลือนักศึกษาหลายประเภท ได้แก่ การจัดทำคู่มือการศึกษา (Undergraduate Calendar) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งนักศึกษาต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด และต้องรับผิดชอบในการติดต่อสื่อสารกับทางมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยจะติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาผ่านทางอีเมลล์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น

ระเบียบการวัดผลการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางการพยาบาล (BScN Program Regulations)

ระบบการให้คะแนน (Grading System)

ใช้ระบบตัวอักษร (Letter grade) มีระดับเกรดทั้งสิ้น 12 ระดับ คือ A+,A,A-,B+,B,B-,C+,C,C-,D+,D,Dโดย D- จะมีค่าเท่ากับ 1 และ A+ มีค่าเท่ากับ 12 และการให้ค่าระดับเกรดจะใช้เทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การให้ค่าระดับเกรด D- ต้องได้คะแนนอยู่ระหว่าง 50 – 52 % เกรด A+ต้องได้คะแนนอยู่ระหว่าง 90 – 100 %

การสำเร็จการศึกษาพิจารณาจากผลการเรียนของนักศึกษาดังต่อไปนี้

  • ได้รับการพิจารณาให้เลื่อนไปเรียนในชั้นที่สูงขึ้นเมื่อผลการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสะสมอย่างต่ำที่ระดับ5จาก 12 ระดับ
  • ต้องมีผลการเรียนอย่างน้อยที่ระดับ C ในรายวิชาการพยาบาล(Nursing)และวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ(Health Science)ทุกรายวิชา
  • ต้องฝึกภาคปฏิบัติผ่านทุกคอร์ส
  • ต้องผลการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสะสมอย่างต่ำที่ระดับ 5 จาก 12 ระดับ

สำหรับหลักสูตรพื้นฐาน (Basic Stream) ผลการเรียนของนักศึกษาในชั้นปีที่ 1(Level 1) ต้องไม่ได้ค่าระดับเกรด D-,D และ D+ในวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science)มากกว่า 6 หน่วยหรือต้องไม่ได้ค่าระดับเกรด D มากกว่า 1 คอร์สในระดับชั้นอื่นๆ

และสำหรับหลักสูตร POST-RPN ผลการเรียนของนักศึกษาต้องไม่ได้ค่าระดับเกรด D-,D และ D+ในวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) มากกว่า 1 ระดับชั้น หรือหรือต้องไม่ได้ค่าระดับเกรด D ในชั้นปีที่ 1(Level 1) สูงสุด 11 หน่วย มากกว่า 1 คอร์ส

นักศึกษาจะเรียนซ้ำได้เพียง 1 ครั้ง และอนุญาตให้เรียนซ้ำในวิชาการฝึกภาคปฏิบัติ 1 วิชาและวิชาที่เป็นทฤษฎี หรือวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science) 1 วิชา

ถ้าผลการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 4.5 – 4.9 สามารถทำเงื่อนไขได้ แต่ถ้าผลการเรียนไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือเรียนซ้ำแล้วไม่ผ่านจะไม่สามารถเรียนต่อไป (discontinued) ได้

การทำเงื่อนไข (Program Probation)

หมายถึงการให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ ปรับระดับขั้นผลการเรียนของตัวเองให้ดีขึ้น ซึ่งนักศึกษาจะได้รับอนุญาตให้ทำได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

 

กรณีที่ผลการเรียนไม่ผ่าน

  • · กลับไปเริ่มต้นหลักสูตร BScNใหม่
  • · เปลี่ยนไปเรียนในหลักสุตรอื่น
  • · ลาออก

การเรียนเพื่อปรับระดับขั้น(Reviewing Period)

ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และสามารถเรียนเพื่อปรับระดับขั้นได้ในเดือนพฤษภาคม และเดือนสิงหาคม แต่ถ้าเป็นหลักสูตรพยาบาลสามารถเรียนเพื่อปรับระดับขั้นได้ในเดือนธันวาคม

แนวทางการช่วยเหลือกรณีที่มีการเรียนเพื่อปรับระดับขั้น(Reviewing Period)    

  • · จัดให้มีการเรียนเพื่อปรับระดับขั้นเมื่อจบภาคการศึกษาของแต่ละภาคการศึกษา
  • · ให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ
  • · รวบรวมข้อมูลของนักศึกษา จัดแผนการเรียนรู้
  • · ทบทวนผลการเรียนของนักศึกษาจากรายงานผลการเรียนของนักศึกษา
  • · พิจารณารายวิชาที่นักศึกษาเรียน
  • · ทำคำร้องขอปรับระดับขั้นผลการเรียน

 

 

 

 

  (376)

Comments are closed.