Update Management in NCD

Update Management in NCD

 

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

สาระการเรียนรู้การประชุมวิชาการ เรื่อง Update Management in NCD

วันที่บันทึก ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗

ผู้บันทึก นางพิมพวรรณ เรืองพุทธ

วันที่จัด  วันที่ ๙-๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗

สถาบันที่จัด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

สถานที่จัด โรงแรมลีการ์เด้น พล่าซ่า อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา

๑. การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณหน้าในผู้ป่วยที่มีปัญหา sleep disorder

 

 

 

ภาวะนอนกรนมี๒แบบคือ

๑.    นอนกรนแบบธรรมดาไม่อันตรายรุนแรง แต่อาจทำให้เกิดปัญหากับผู้คนรอบข้าง

๒.  นอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ มีอันตรายรุนแรงเพราะขณะนอนหลับจะมีภาวะออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง ซึ่งถ้าเกิดขึ้นบ่อยจะมีความเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดอุดตัน และยังอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขณะขับรถยนต์หรือเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานกับเครื่องจักร

สาเหตุของโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน หรืออาจเกิดจากความอ้วน ทำให้ผนังในช่องคอค่อนข้างตีบแคบ มีคางสั้น ทำให้ลิ้นตกไปปิดทางเดินหายใจขณะหลับ ลิ้นไก่ยาวหรือเพดานอ่อนย้วยก็ทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจได้ หรือในเด็กที่มีต่อมทอนซิลโตและต่อมอะดีนอยด์โตก็ทำให้เกิดการนอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ

อาการของโรคนอนกรน ตื่นนอนแล้วรู้สึกมึนศีรษะเพราะนอนไม่พอ แม้จะนอน 6-8 ชั่วโมงก็ยังรู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม ง่วงตอนกลางวัน เผลอหลับบ่อย อาจมีอาการแสบคอและคอแห้ง เพราะการนอนกรนส่งผลให้ช่องคอและโพรงจมูกแห้ง ส่วนเด็กที่เป็นโรคนอนกรนจะขาดสมาธิในการเรียน ปัสสาวะรดที่นอน หงุดหงิดง่าย

“การรักษาโรคนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่ได้ผลดีคือ การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก แต่ต้องใช้สม่ำเสมอในขณะที่การผ่าตัดได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีกายวิภาคที่ผิดปกติชัดเจน

 

๒. โภชนาการในผู้ป่วยเบาหวาน เน้นผักพื้นบ้าน ลดเกลือ ลดแป้ง ลดหวาน

ประเทศไทยมีความหลากหลายทางพันธุ์พืชสูงมาก คนไทยในอดีตจึงรู้จักใช้ประโยชน์จากพืชพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วไปรอบถิ่นที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการนำมาใช้กินเป็นผักและเป็นยารักษาโรค ความรู้เรื่องการลองผิดลองถูกได้สะสมและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง รุ่นแล้วรุ่นเล่า กลายเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น พืชผักที่นำมากินจึงนิยมเรียกว่า “ผักพื้นบ้านไทย” ซึ่งมีมากมายหลายชนิด มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพท้องถิ่น สำหรับผักพื้นบ้านไทยภาคใต้ที่นิยมนำมากินเป็นผักเหนาะหรือนำมาประกอบอาหาร เช่น ผักกูดเขียว ผักกูดแดง (ภาคใต้เรียกว่ายอดลำเพ็ง หรือลำเท็ง) ยอดแมะ หยวกกล้วย ผักเหลียง ผักหนาม ผักหวาน ช้าพลู ขี้เหล็ก สะตอ ลูกเหนียง เป็นต้น

อาหารผักพื้นบ้านภาคใต้ที่คนไทยภาคใต้ทำกินในชีวิตประจำวันมาช้านานแล้ว ได้แก่ การนำหยวกกล้วย ยอดแมะ ผักหวาน ผักเหลียง ยอดลำเพ็ง ผักกูดเขียว และผักอื่น ๆ มาเป็นส่วนผสมหลัก เครื่องปรุงก็มี กะปิ เกลือ น้ำตาล ซึ่งเป็นเครื่องปรุงที่มีประจำครัวอยู่แล้ว ไม่ได้ใช้สารแต่งรสอื่นแต่อย่างใด อาหารที่ปรุงมีดังต่อไปนี้

- อาหารที่มีหยวกหรือหยวกกล้วยเถื่อนเป็นส่วนผสมหลัก คือ แกงเลียงหยวก แกงส้มหยวก แกงเลียงกะทิหยวก หยวกกล้วยกะทิ และแกงเทโพหยวก เป็นต้น

- อาหารที่มียอดแมะเป็นส่วนผสมหลัก คือ แกงเลียงยอดแมะ แกงเลียงกะทิยอดแมะ และผัดยอดแมะ เป็นต้น

- อาหารที่มีผักหวานเป็นส่วนผสมหลัก คือ ผัดผักหวาน แกงเลียงผักหวาน และแกงจืดผักหวาน เป็นต้น

- อาหารที่มีผักกูดเขียวเป็นส่วนผสมหลัก คือ แกงเลียงกะทิผักกูด แกงส้มผักกูด ผัดผักกูด และผักกูดลวกราดกะทิ เป็นต้น

- อาหารที่มีผักกูดแดงหรือยอดลำเพ็งเป็นส่วนผสมหลัก คือ แกงเลียงยอดลำเพ็ง และแกงส้มยอดลำเพ็ง เป็นต้น

- อาหารที่มียอดเหลียงเป็นส่วนผสมหลัก คือ แกงเลียงยอดเหลียง ผัดยอดเหลียง ยอดเหลียงลวก และแกงเลียงกะทิยอดเหลียง เป็นต้น

 

ผักพื้นบ้านรักษาโรค

ผักพื้นบ้านมีคุณสมบัติหลายประการที่เหมาะทั้งการป้องกัน ทั้งช่วยรักษาโรคความเสื่อมของร่างกายทั้งกลุ่มนี้ได้ ทั้งนี้เพราะคุณสมบัติอันโดดเด่นของผักพื้นบ้าน ดังนี้คืออุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

เป็นแหล่งของสารผัก (phytonutrient) และสารสมุนไพรรักษาโรคและเป็นแหล่งของเส้นใย

สารต้านอนุมูลอิสระในผักพื้นบ้าน สีที่เขียวและรสที่ฝาดของผักพื้นบ้านจะมีสารต้านอนุมูล

อิสระสูงมาก มีทั้งวิตามินเอ วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน ได้แก่ ใบยอ  ใบย่านาง  ใบชะพลู  ยอดและใบตำลึงผักกูด  ผักแพว  ผักชีลาว  ผักแว่น  ใบบัวบก  ใบเหมียง  ใบกระเจี๊ยบ  ใบแมงลัก  แครอท  ดอกขี้เหล็กใบเหมียง  ผักหวาน  ผักเซียงดา ผักติ้ว  ยอดแค  ใบกระเพรา  ใบขี้เหล็ก  ผักกะเฉด  นอกจากนี้ยังมีผักอื่น ๆ ที่มีวิตามินเอ ได้แก่  ผักปลัง ผักหวาน ดอกขี้เหล็ก ยอดกระถิน ใบชะมวง ผักหนาม ผักเฮือด ผักชีฝรั่ง เป็นต้น การรักษาโรคไขมันเลือดสูง ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง การกินผักพื้นบ้านที่อุดมด้วยสารเหล่านี้ จึงช่วยรักษาโรคกลุ่มนี้ได้โดยรวม

 

สารผักและสารสมุนไพรในผักพื้นบ้าน

ปัจจุบันโลกกำลังก้าวสู่ยุคอาหารจรรโลงสุขภาพ (Functional Food) จุดหัวเลี้ยวของยุคนี้คือการที่วงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ค้นพบสารกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า สารผัก (Phytonutrient) เป็นสารที่ไม่ได้เข้าไปทำหน้าที่แบบอาหาร 5 หมู่ แต่เข้าไปทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวเก่งบ้าง เป็นสารกระตุ้นภูมิต้านทานบ้าง เป็นสารป้องกันไม่ให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นมะเร็งบ้าง เป็นสารที่เข้าไปสื่อความหมายกับเซลล์ร่างกายให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมน หรือเอนไซม์ เป็นต้น สารต่าง ๆ เหล่านี้มีนับได้เป็นพัน ๆ ชนิด เช่น คาโรทีนอยด์ฟลาโวนอยด์ โปรแอนโทรไซยานิดิน คาเตซินเทอร์ปีน ฯลฯ

 

๓. สมาธิบำบัดแบบSKT

สมาธิบำบัดแบบ SKT  คิดค้นโดย รศ. ดร. สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผ่านการศึกษาวิจัยและทดลอง เกี่ยวกับกลไกการทำงานของร่างกายด้วยประสาทสัมผัส ทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัส และการเคลื่อนไหว ตามหลักวิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับหลักพุทธศาสนาในเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา โดยเฉพาะการทำสมาธิด้วยการหายใจเข้า “พุทธ” หายใจออก “โธ” นั้น สามารถช่วยในด้านของจิตใจให้คลายเครียด และมีความสุขได้อย่างดี    ด้วยกลไกการทำงานของร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันโดยระบบประสาท!จึงเป็นที่มาของการเกิด “โรค”หลาย ๆ ชนิด เห็นได้จาก ถ้าเราอารมณ์แจ่มใส หรือมีความสุข ก็จะทำให้ร่างกายผ่อนคลายระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานดีก็จะทำให้สมองและความจำมีประสิทธิภาพในทางตรงข้ามถ้าอารมณ์เราขุ่นมัว กระวนกระวายใจ ฉุนเฉียว ก็จะทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนแอเจ็บป่วยได้ง่าย และอาการเหล่านี้เป็นที่มาของโรคความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะไมเกรน โรคกระเพาะอาหาร ท้องผูก โรคระบบประสาท ซึมเศร้า ความจำเสื่อม รวมทั้ง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น
สรุปได้ว่า การฝึก “สมาธิบำบัดแบบSKT” ก็คือหลักการกำหนดจิต รับรู้ และการเคลื่อนไหว ด้วยลมหายใจ เข้าและออก เป็นตัวขับเคลื่อนนั่นคือ กาย และใจ ประสานเป็นหนึ่งเดียว (415)

Comments are closed.