Category Archives: การเรียนการสอน

“Where do Fontys teachers teach and Where do Fontys students learn/study?”

“Where do Fontys teachers teach and Where do Fontys students learn/study?”

“Where do Fontys teachers teach and Where do Fontys students learn/study?” โดย Mr. John van Lare, Dr. John Scholtes

การจัดสถานที่และสภาพแวดล้อม รวมทั้งปัจจัยเกื้อหนุนที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอน

        ช่วงเช้าเมื่อเดินทางไปถึงมหาวิทยาลัย Fontys วิทยาเขต Venlo ได้แบ่งเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเยี่ยมชมสถานที่ ซึ่งสามารถสรุปสาระจากการเยี่ยมชมมีดังนี้

1. student   service center   ชั้นล่าง เป็นศูนย์บริการนักศึกษา ทำหน้าที่เหมือนกับบัณฑิตวิทยาลัย ให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหา  เช่น  การเรียน การลงทะเบียน การขอเอกสาร เป็นต้น  เวลาการเปิดทำการ  8.30-17.00 น. นอกจากนี้มีส่วนของหนังสือสำหรับค้นคว้า ,  multimedia  center , computer  zone สำหรับบริการนักศึกษาในการสืบค้นข้อมูล ด้านการบริการที่ให้นักศึกษาเพิ่มเติม คือ บริการเต้าเสียบสำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับห้องเรียน เน้นการใช้สีสันสดใส เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้  มีห้องที่เป็นสัดส่วน สำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว

2. ห้องต่างๆ
2.1 ห้องเรียน ทั้งแบบ small   group  สำหรับนักศึกษาจำนวน  3-4 คน , ห้อง  conference ขนาดเล็ก สำหรับให้คำแนะนำหรือคำปรึกษา 1 : 1 เรียกว่า ห้อง  Conference  IM  และห้อง Conference  ขนาดใหญ่เรียกว่า  ห้อง Cockpit  ซึ่งสามารถใช้  internet
2.2 Teacher training room ซึ่งใช้สำหรับ train ครูที่สอนในระดับ primary school ครูสามารถสอนได้เกือบทุกวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ศิลปะ สังคม เป็นต้น

3. ห้อง work shop สำหรับนักศึกษา Engineer สำหรับออกแบบชิ้นงาน และร่วมกันประดิษฐ์ตามแบบ มีตู้โชว์สำหรับแสดงผลงานของนักศึกษาที่ประดิษฐ์ขึ้นมา

สรุปกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นใน 3 พื้นที่ที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. พื้นที่โล่ง (Open area) ซึ่งมีโต๊ะพร้อม เก้าอี้ ที่วางเป็นจุด ๆ ในส่วนที่เป็นพื้นที่โล่งในอาคารนั้น มีการใช้ฉากกั้นเป็นสัดส่วน ทั้งนี้ ฉากที่ใช้นั้นได้รับตกแต่งอย่างสวยงามและมีสีสันที่น่าจะมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น สีเขียวหัวเป็ด และ สีส้ม ในส่วนที่เป็นพื้นที่โล่งนอกอาคาร มีเก้าอี้ที่มีสีสันและน่าใช้

2. ห้องประชุมกลุ่มย่อย (Cockpit) ที่เป็นรูปทรงโค้ง ซึ่งอาจใช้เป็นทั้งที่ทำงานกลุ่มชองนักศึกษา หรือการพบปะระหว่างผู้เรียนและผู้สอน โดยที่ห้องทำงานของอาจารย์ก้อจะอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้สะดวกต่อการพบกันของผู้เรียนและผู้สอน

3. ห้องเรียน  (Classroom)

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ที่ตอบสนองต่อแนวคิด “การเรียนรู้เกิดได้ทุกที่” ได้แก่
1. ห้องสมุดและสื่อการเรียนการสอน
2. ห้องฝึกปฏิบัติการ ซึ่งมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่พร้อมต่อการฝึกปฏิบัติ
3. สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั้งในและนอกอาคาร
4. เก้าอี้ที่จัดไว้เหมือนบรรยากาศในห้องนั่งเล่น
5. มีสิ่งที่ตอบสนองต่อการความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น ตู้เครื่องดื่มและเครื่องทำกาแฟหยอดเหรียญ เป็นต้น

สรุปสาระสำคัญ โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน ณ  Fontys University of Applied Science ประเทศเนเธอร์แลนด์ 22 พฤษภาคม 2556

  (477)

Campus tour: “Training in Education” and ICT & Multimedia sup. Education

Campus tour: “Training in Education” and ICT & Multimedia sup. Education

Campus tour: “Training in Education” and ICT & Multimedia sup. Education  Fontys HKE Den Bosh โดย Mr. Erik Meester และ ผู้ช่วยสอน Miss Alieke Hetjes

             มหาวิทยาลัย Fontys มีหน่วยงานด้านการเตรียมการเรียนการสอนและการเตรียมอาจารย์ในการใช้ ICT และ Multimedia ที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนหน่วยงานที่ได้ไปศึกษาดูงานเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเรื่องดังกล่าวโดยการศึกษาดูงานจะประกอบด้วยการศึกษาสถานที่ และ การบรรยายร่วมกับการลองฝึกปฏิบัติจริง

การศึกษาดูงานสถานที่

ICT & Multimedia sup. Education Fontys HKE Den Bosh จะมีห้องต่าง ๆ ที่ใช้ในการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย ห้อง Lecture, ห้องสมุด, มุมสำหรับทำงานกลุ่ม, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และ ส่วนสนับสนุนการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

การบรรยายร่วมกับการลองฝึกปฏิบัติจริงในการใช้ ICT และ Multimedia ในการพัฒนาการเรียนการสอน
การใช้ ICT และ Multimedia เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการจัดการเรียนการสอนใน 21th Century เพื่อที่จะให้เหมาะกับสภาพการเรียนรู้ของเด็กสมัยใหม่ที่มีความสนใจในเทคโนโลยี  และใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย โดยการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ ICT ร่วมด้วย มีการใช้ภายใต้ TPACK โมเดล และมีการใช้แนวคิดของ Blooms ซึ่งจะมีการผสมผสานรูปแบบแนวคิดที่หลากหลายในการจัด การจัดการเรียนการสอนเพื่อที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และรู้จักปรับเปลี่ยน และ พัฒนาด้านต่างๆ ของผู้เรียน    (ดูรายละเอียดของโมเดลตามเอกสารที่แนบมา)

กลยุทธ์ที่ใช้ ICT และ Multimedia ในการพัฒนาการเรียนการสอนมีหลากหลาย ซึ่งประกอบด้วย

1. การใช้เครื่องมือที่เป็น web base (ฟรี) ได้แก่ todaysmeet.com ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ครูได้สร้างห้องสนทนา เพื่อที่จะสามารถพูดคุยกับนักเรียนและแลกเปลี่ยนข้อมูลถามตอบ-คำถามที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน, padlet.com จะช่วยให้อาจารย์สร้างกระดานที่ทำให้ผู้เรียนได้มีการปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนและสามารถใช้เพื่อช่วยกันระดมสมองในเรื่องต่างๆโดยผู้เรียนจะสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและศึกษาสิ่งที่เพื่อนได้แสดงความคิดเห็นได้ในเวลาเดียวกันหลังจากนั้นยังสามารถทำ mind map เกี่ยวกับเนื้อหาที่มีการสนทนากันอีกด้วย และ  mentimeter.com, vot.rs สามารถใช้ในการให้นักศึกษา vote ในเรื่องต่างๆหรือทำ quiz ในห้องเรียนสำหรับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มใหญ่และจะมีการประมวลผลทันทีนักศึกษาสามารถสอบถามได้ทันทีหากมีข้อสงสัย

2. Social media ได้แก่ Face book เป็น social media ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยการสร้างกลุ่มขึ้นมาเพื่อใช้ในการสนทนาหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาชิกและบุคคลอื่นที่สนใจ รวมทั้งการส่งคำถามหรือสิ่งที่จะเรียนให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวล่วงหน้า ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสามารถทำได้หลากลายเช่น วีดีโอ รูปภาพ และ อื่นๆ นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอกอีกด้วย, Twitter มีประโยชน์ในการติดตามข้อมูลและกิจกรรมของบุคคลต่างๆที่อาจจะมีความสนใจในสิ่งเดียวกันแลกเปลี่ยนข้อมูลและ update ข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์ในการนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน  และ edmodo เป็นเว็บไซด์สำหรับคนที่ต้องการให้การสนทนาจะเน้นที่เป็นทางการมากกว่า 2 website แรก ซึ่งนักศึกษาจะต้อง log in เมื่อใช้งานก่อน ส่วนข้อเสียคือ เว็บนี้ไซด์อาจจะได้รับความนิยมน้อยกว่า Face book เพราะสามารถเข้าถึงได้มากกว่า

3. Work online จะมีการจัดทำโปรแกรมที่รองรับ data base สำหรับให้นักศึกษาส่งงาน ทำ portfolio หรือ สอบ การจัดทำ data base ประเภทนี้จะเสียค่าใช้จ่ายในการจัดทำแต่จะช่วยลดการใช้กระดาษ การเก็บข้อมูลเป็นระบบ สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. Tablet and smart phone สามารถใช้ในการเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ของนักเรียน ในด้านการเรียนการสอน ซึ่งจะมี application ที่หลากหลายที่สามารถทำให้เนื้อหาการเรียนน่าสนใจมากขึ้น เช่น มี digital board สำหรับการพัฒนาสื่อสามารถเพิ่ม VDO รูปภาพ ข้อความต่าง ๆ ได้ ทำให้การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนมีความหลากหลาย (ตอนนี้ที่มีเป็นภาษา Dutch ) การใช้ web base  เช่น  socrative.com ในการจัดการเรียนการสอนที่มี interaction เช่นให้ vote และ ทำ quiz  ซึ่งจะมีการประมวลผลทันทีทำให้ทราบคำตอบและข้อผิดก็สามารถอธิบายได้ทันที connect.prowise.com (ไม่ฟรี), application เช่น teacher kit สามารถทำ digital class room และ add นักเรียนเข้าไปสามารถเช็คการส่งงาน การเข้าเรียนของนักเรียนได้ นอกจากนี้ก็มีapplication ที่สามารถสร้าง ที่สามารถสร้าง VDO ประกอบการเรียนการสอนได้

สรุปเว็บไซด์และโปรแกรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น
1. www.todaysmeet.com/fontysict
2. www.padlet.com
3. www.mentimeter.com
4. www.provise.com
5. www.vot.rs
6. www.wordle.net

สรุปสาระสำคัญ โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอน ณ  Fontys University of Applied Science ประเทศเนเธอร์แลนด์ 21 พฤษภาคม 2556

  (606)

ยุทธศาสตร์ไอที 2020 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

ยุทธศาสตร์ไอที 2020 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21

ยุทธศาสตร์ไอที 2020 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 (ICT 2020) เป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันแบบ online
สร้างนวตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่21
ห้องเรียนกลับด้าน(flipped classroom)
การเรียนแบบผสมประสาน(blended classroom)
ชมคลิปวิดีโอ Bridging our future ห้องเรียนอัจฉริยะเกิดขึ้นได้รอบตัว ทุกที่ทุกเวลา สามารถค้นหาข้อมูลผ่นระบบonline ซึ่งต้องมีระบบเครือข่ายที่พร้อมต่อการสนับสนุนการเรียนรู้
คลิป a day made of glass เป็นรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคโนโลยี glass ให้เกิดประโยชน์ และคลิป a day made of glass2เกี่ยวกับวิถีชีวิตของวัยรุ่นในกรใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และเทคโนโลยีทางการแพทย์
สิ่งประดิษฐ์สร้างนวตกรรมและต่อยอดนำไปใช้อย่างแพร่หลายจะกลายเป็นเทคโนโลยี
กระทรวงไอซีที ได้สร้างแฟรมเวิร์ค 2020(SMART Thailand 2020)

Smart hearth and smart learningนโยบายที่เกี่ยวข้อง สร้งทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มี ICT literacyคือการใช้สารสนเทคอย่างมีวิจารณญาณ information literacy คือการกรองเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆอย่างชาญฉลาด media literacy คือการเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ให้เหมาะสม

การใช้ประโยชน์จาก Social media เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมสร้างสรรค์สินค้าและบริการและเรียนลัดในกระบวนการการสร้างนวตกรรม (โดยแนวทาง Open innovation)

21st century student outcome and support system

ผู้สอนต้องเตรียมสภาพการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สร้างสภาพการเรียนรู้แบบ online หรือสภาพการเรียนรู้แบบเสมือน ปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการสื่อสารผ่าน ICT เช่น facebook, post group, video conference ทักษะในกรทำงานร่วมกันทั้งภายในและนอกสถานศึกษา Read the rest of this entry (1158)

การพัฒนาอาจารย์ด้านบริหารจัดการหลักสูตร

การพัฒนาอาจารย์ด้านบริหารจัดการหลักสูตร

การบริหารหลักสูตรเพื่อความเป็นเลิศในศตวรรษที่ ๒๑  บรรยายโดย ดร.ลิลลี่ ศิริพร

ผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องมีคุณลักษณะ ๔ ประการ (โชติมาพร, ๒๕๕๕) ดังนี้

-วิธีการคิด สามารถคิดวิเคราะห์ ประเมินได้

-วิธีการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี

-เครื่องมือสำหรับการทำงาน สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี

-ทักษะสำหรับการดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน เป็นพลเมืองที่ดี มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

การปฏิรูปการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา (พลศักดิ์, ๒๕๕๖)

ผู้เรียน : ต้องได้รับการพัฒนาทักษะทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาและการสื่อสาร การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ปลูกฝังให้มีนิสัยในการใฝ่รู้และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม

ผู้สอน : ต้องลดการบรรยาย เป็นผู้สนับสนุนชี้แนะ กำหนดภาระงานให้ชัดเจน ได้แก่ การสอน การวิจัย การให้บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การประเมินผลการสอนเพื่อปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพ

วิธีการเรียนการสอน : เน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้เกิดการคิดวิเคราะห์ วิจารณญาณและทักษะการแก้ปัญหา ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา ส่งเสริมการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้

หลักสูตร : จัดให้เป็นหลักสูตรบูรณาการ ฝึกประสบการณ์ตรง และมีสมาคมวิชาชีพดูแลควบคุมมาตรฐานหลักสูตร

Read the rest of this entry (516)