Author Archives: admin

โครงการบัณฑิตคืนถิ่น

โครงการบัณฑิตคืนถิ่น
  ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 25 มี.ค. 2554   ถึงวันที่  : 26 มี.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการบัณฑิตคืนถิ่น
  วันที่บันทึก  28 มี.ค. 2554


 รายละเอียด
               ได้เข้าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมในการรับลงทะเบียนบัณฑิตตั้งแต่วันที่ ๒๕ มี.ค. ๕๔ เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. ณ โรงแรมบีพี สมิลา บีช จ.สงขลา โดยมีการบรรจุเอกสารประกอบการประชุมแก่ สูจิบัตร สารจาก ศอบต. ถึงผู้ปกครอง หนังสือกระบวนการพยาบาล วันที่ ๒๖ มี.ค. ๕๔ เวลา ๐๗.๐๐ น. เดินทางถึง หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฎ สงขลา เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงทะเบียนของบัณฑิต พบว่า มีฝนตกหนักและลมแรง ทำให้บัณฑิตมาลงทะเบียนเข้าประชุมสายมาก ต้องให้เข้าห้องประชุมก่อนเนื่องจากปลัดกระทรวงได้เดินทางมาถึงแล้ว จึงค่อยมาลงทะเบียนอีกครั้งเวลาพักรับประทานอาหาร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน การสอดแทรกความรับผิดชอบในการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการปฏิบัติงาน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(292)

พัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ ๕ ประจำปี ๒๕๕๓

พัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ ๕ ประจำปี ๒๕๕๓
  ผู้บันทึก :  นางจิตฤดี รอดการทุกข์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 8 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 10 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กลุ่มสร้างเสริมวินัยและระบบคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  พัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ ๕ ประจำปี ๒๕๕๓
  วันที่บันทึก  21 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               ๑.ปาฐกถา รหัสชีวิต ทบทวนหรือ ตามกระแสการเปลี่ยนแปลง ๒. ปาฐกถา สติรู้ตัว ปัญญารู้คิด จิตเมตตา สามัคคีเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม สู่สุขภาวะสังคมไทย ๓. บรรยายพิเศษ คุณธรรมนำไทย สู่สังคมร่มเย็น เป็นสุข ๔.เสวนา คุณธรรมนำใจ ถวายแด่พ่อหลวงและแผ่นดิน ๕.การเจริญสมาธิภาวนา ๖. บรรยายพิเศษ อริยะสร้างได้ สังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุข และนำภาวนาจิต ๗.บรรยายพิเศษ จิตสำนึกรักบ้านเกิด สร้างสังคมอุดมปัญญา สู่ศักยภาพสากล


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              เป็นแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ในการปฏิบัติงาน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              เป็นแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ในการปฏิบัติงาน

(290)

การอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

การอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
 ผู้บันทึก :  นางจิตฤดี รอดการทุกข์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 18 ส.ค. 2553   ถึงวันที่  : 18 ส.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  กลุ่มสร้างเสริมวินัยและระบบคุณธรรม กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การอบรมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  วันที่บันทึก  21 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               การประชุม ครั้งนี้จัดเป็นการบรรยายในหัวข้อ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ซึ่งสำนักงานที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ปปท.) การทำงานของ ปปท. มีหน้าที่เช่นเดียว กับป.ป.ช. แบ่งเป็น ปราบปราม ๑ คดีกลุ่มกระทรวงด้านสังคม ปราบปราม ๒ คดีกลุ่มด้านเศรษฐกิจ, ปราบปราม ๓ คดีกลุ่มรัฐวิสาหกิจ , ปราบปราม ๔ คดีกลุ่มอบต. / องค์กรปกครองท้องถิ่น, ปราบปราม ๕ คดีกลุ่มองค์กรอิสระทั้งหมด เช่น ศาล การปราบปรามการทุจริต มีความเป็นมาจากยุทธศาสตร์ชาติภาครัฐตั้งแต่ ปี ๒๕๕๑ โดยมีวิสัยทัศน์คือ “ หน่วยงานภาครัฐ บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ทุกภาคส่วนร่วมกันป้องกันและปราบปรามการทุจริต” การทุจริตจะมีโครงสร้างการทุจริต ตั้งแต่ภาคการเมือง ภาครัฐ ภาคธุรกิจจนเป็นค่านิยม เพราะฉะนั้นหน่วยงาน ปปท. ที่จัดตั้งขึ้นต้องมีการป้องกันการทุจริตที่จะเกิดขึ้น โดยการกำหนดแนวทางการปฏิบัติไว้ ๓ แนวทาง ๑. การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนคือทำอย่างไรไม่ให้คนทุจริต ๒. ต้องทำควบคู่กันระหว่างการป้องกันและการปราบปราม และ๓. เน้นการดำเนินงานเชิงบูรณาการจึงได้มีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ เสริมสร้างสำนึก ค่านิยม ให้หน่วยงานภาครัฐบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางในการดำเนินการ – การรณรงค์สร้างจิตสำนึก ค่านิยมใหม่ให้ประชาชน – การรณรงค์สร้างจิตสำนึก ค่านิยมใหม่ให้บุคลากรภาครัฐ -การปลูกฝังจิตสำนึกค่านิยมใหม่แก่เยาวชน -การฝึกอบรมและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่และรัฐ ประชาชนประพฤติตนตามหลักปรัชญาเศษรฐกิจพอเพียง -การเผยแพร่ข่าวสาร – การยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่ประพฤติดี แนวทางในการดำเนินการ – การแลกเปลี่ยนข้อมูลการทุจริตและการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันในการ ป้องกันปราบปรามการทุจริตระหว่างภาครัฐ – การจัดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน -การส่งเสริมประชาชนรู้ถึงข้อมูลข่างสารทางราชการมากขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสริมสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ แนวทางในการดำเนินการ – การนำกระบวนการตรวจสอบภายในมาใช้ในการตรวจสอบ – การจัดทำดัชนีชี้วัดความโปร่งใส – การเสนอ/ สนับสนุนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เอื้อต่อการทุจริต – การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการตรวจสอบข้อมูล – การศึกษาค้นคว้าและทำงานวิจัยด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริต ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ แนวทางในการดำเนินการ – การอบรมเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ – การจัดทำรูปแบบและงานวิจัยเกี่ยวกับการทุจริต – การจัดทำจรรยาบรรณวิชาชีพและมาตรฐานคุณธรรมจริยธรรมภาครัฐ – การติดตามตรวจสอบให้ข้าราชการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ แนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างราชการใสสะอาดและการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต – ความหมายของราชการใสสะอาด การที่หน่วยงานของรัฐมีกลไกการทำงานและการให้บริการโปร่งใสและตรวจสอบได้ ปลอดการทุจริต และประพฤติมิชอบ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่มีคุณธรรม จริยธรรมมีทักษะ สมรรถนะในการประกอบอาชีพที่ถูกต้อง -ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินการโดยการฝึกอบรม หลักสูตรพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติ จำนวน ๓ หลักสูตร , การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรเครือข่าย และวิทยากรกลุ่มเพื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติ จำนวน ๒ ครั้ง , – สร้างมาตรฐานความโปร่งใสในภาครัฐ ๕ มิติ / ๑๕ ตัวชี้วัด ๑.มิติด้านนโยบาย/ ผู้บริหาร การให้ความสำคัญต่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของฝ่ายบริหาร ๒. มิติด้านข้อมูลข่าวสาร ๓. มิติด้านระบบการตรวจสอบติดตามการทำงานภายในองค์กร ๔.มิติด้านระบบรับร้องเรียน ๕.มิติด้านการให้บริการ มาตรฐานความโปร่งใส ๔มิติ / ๑๓ ตัวชี้วัด ๑. มิติ ด้านนโยบาย / ผู้บริหาร และความพยายาม / ริเริ่ม ของหน่วยงานในการสร้างความโปร่งใส ๒.มิติด้านความเปิดเผย / การมีระบบตรวจสอบภายในองค์กร และการมีส่วนร่วม ๓.มิติด้านการใช้ดุลยพินิจ ๔.มิติด้านการมีระบบกลไก จัดการรับเรื่องร้องเรียน ค่านิยมหลักสำหรับประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้า หน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ๑.การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ๒.การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ ๓. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ๔. การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรมและถูกกฎหมาย ๕. การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความราดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฎิบัติ ๖. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องไม่ บิดเบือนข้อเท็จจริง ๗. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน และมีคุณภาพโปร่งใส และตรวจสอบได้ ๘. การยึดถือมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ๙. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              เป็นแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ในการปฏิบัติงานด้านการไม่ทุจริต


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              เป็นแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ในการปฏิบัติงานด้านการไม่ทุจริต

(273)

โครงการประชุมวิชาการกายวิภาคศาสตร์ ประจำปี ครั้งที่ 33

โครงการประชุมวิชาการกายวิภาคศาสตร์ ประจำปี ครั้งที่ 33
  ผู้บันทึก :  นางจิตฤดี รอดการทุกข์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 28 เม.ย. 2553   ถึงวันที่  : 30 เม.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  จังหวัด :  นครราชสีมา
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการประชุมวิชาการกายวิภาคศาสตร์ ประจำปี ครั้งที่ 33
  วันที่บันทึก  15 มิ.ย. 2553


 รายละเอียด
               การประชุม ครั้งนี้จัดในรูปของการนำเสนองานวิจัย ในรูปแบบ นำเสนอปากเปล่า และ โปสเตอร์ ซึ่งมีหลายเรื่องมาก สรุปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านการจัดการเรียนการสอน วิชากายวิภาค คือ เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา 2 ระบบสืบพันธุ์ โดยใช้บทเรียน สำหรับนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เป็นการเปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา 2 ระบบสืบพันธุ์และเรียนด้วยวิธีบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า คะแนนหลังเรียนของทั้ง สองกลุ่มสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัย สำคัญ แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ของคะแนน ก่อนเรียน แต่คะแนนหลังเรียนของการเรียนด้วยวิธีบรรยาย สูงกว่าการเรียนบนเว็บ อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม การเรียนบนเว็บ ก็สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน รายวิชานี้ เนื่องจากสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนได้ เรื่องการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์พื้นฐานระบบประสาทที่มีความซับซ้อนและยาก ต่อการจำและเข้าใจสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาวิชานี้ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรบทเพลง เพื่อนำไปใช้ประกอบในการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาระบบประสาท และคาดหวังว่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนในระดับคลินิก เช่น การตรวจร่างกายระบบประสาท การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท ตลอดจนเรียนเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติได้


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ๑. การจัดการเรียนการสอนที่สามารถให้นักศึกษาเรียนเสริมเพื่อประกอบความเข้าใจ เนื่องจากได้มีการวาง E-learning ในรายวิชาดังกล่าว บนเว็บ ของวิทยาลัย ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวจะเป็นข้อมูลสนับสนุนว่า นักศึกษาสามารถ เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ ๒. ทำบทเพลงกายวิภาคศาสตร์พื้นฐานระบบประสาทสามารถนำมาใช้ในการประกอบการสอน เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหา มากขึ้นและเพื่อง่ายต่อการจำทำให้เกิดความบันเทิง


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การจัดการเรียนการสอนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา

(350)

การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยประจำปี2555

การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยประจำปี2555
 ผู้บันทึก :  อมรา ภิญโญ
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 1 ม.ค. 2513   ถึงวันที่  : 1 ม.ค. 2513
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด : 
  เรื่อง/หลักสูตร :  การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยประจำปี2555
  วันที่บันทึก  28 พ.ย. 2555


 รายละเอียด

การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยประจำปี2555

             เรื่องมาตรฐานกระบวนการให้โภชนบำบัดทางการแพทย์

การ ให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ให้ได้ตามมาตรฐานนั้น จะต้องมีการคัดกรองและการประเมินภาวะโภชนาการซึ่งจะทำให้สามารถค้นหาผู้ป่วย ที่มีความเสี่ยงหรือมีภาวะทุโภชนาการได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งประกอบด้วย 1.Nutrition screening and assessment 2.Nutrition diagnosis 3.Nutrition intervention และ4.Nutrition monitoring and evaluation

การคัดกรอง( Nutrition screening)หมาย ถึงการค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการโดยใช้เครื่องมือ ช่วยในการคัดกรองซึ่งจะเป็นรูปแบบการสอบถามใน 4 หัวข้อหลักได้แก่ 1.Current body mass index  (BMI)  2.Recurrent weight loss 3. Recent food intake และ4.Disease severity or stress factors ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางหรือสงสัยว่าอาจจะเกิดภาวะทุโภชนาการโดยการตรวจ Nutrition screening ควรได้รับการดูแลทางโภชนาการอย่างใกล้ชิดและทำการประเมินซ้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวัง หากมีการเปลี่ยนแปลงในทางเลวลง ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุโภชนาการสูงควรได้รับการประเมินภาวะทุ โภชนาการ(Nutrition assessment) และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากทุโภชนาการและให้การรักษาโดยเร็ว

การประเมิน (Nutrition assessment) หมายถึงการตรวจประเมินอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยสภาวะทุโภชนาการ(Nutrition status)ใน ระดับต่างๆโดยอาศัยประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการรับประทานอาหาร อาการและอาการแสดงของภาวะทุโภชนาการ การตรวจร่างกาย การตรวจวัดทางกายภาพ(Anthropometric measurement ) รวมถึงการตรวจทางห้องปฎิบัติการ

 

  1. 1.       ประวัติ   การซักประวัติประกอบด้วยประวัติ 2 ส่วนได้แก่

1.1 ประวัติ  Medical history ที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วย

1.2 ประวัติ  Nutrition  history ได้แก่ ประวัติเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่เคยเป็นอยู่และการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ประวัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร    ประวัติเกี่ยวกับอาการทางาการระบบทางเดินอาหาร    ประวัติการใช้ยาและการดื่มสุรา

  

      2.  การตรวจร่างกาย   ประกอบ ด้วยการตรวจร่างกายทั่วไปกับการตรวจร่างกายที่จำเพาะทางโภชนาการได้แก่การ ตรวจความอ้วนหรือผอม ปริมาณไขมัยสะสมน้อยหรือมาก ปริมาณกล้ามเนื้อฝ่อลีบและการตรวจหาอาการแสดงจากการขาดสารอาหาร

3. Antropometry  การวัดBody composition เป็นการวัดที่ต้องใช้เวลานานจึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของ Body composition  มีการใช้ใน 2 ลักษณะได้แก่การเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานและการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ของผู้รับการประเมินเองเมื่อเวลาผ่านไป วิธีการวัดประกอบด้วย

3.1  Body weight และHeight ซึ่งนำมาหาค่าweight per heightเปรียบเทียบกับค่าปกติหรือนำมาคำนวณหา Body mass index

3.2   Skinfold  thickness เพื่อหาFat reserve ถ้าค่า Triceps skinfold 4-8mm.หรือระหว่างเปอร์เซ็นต์ไตล์ที่ 5-15 บ่งชี้ถึงการขาด Fat reserve ปานกลาง  ถ้าต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไตล์ที่ 5  บ่งชี้ถึงการขาด Fat reserve รุนแรง

3.3  Arm muscle circumference และ Arm muscle area เป็นการบอกถึงSkeletal muscle หรือSomatic protein reserve ซึ่งค่าที่วัดได้อยู่ระหว่างเปอร์เซ็นต์ไตล์ที่ 5-15 บ่งชี้ถึงการขาด Somatic protein  reserveปานกลาง  ถ้าต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไตล์ที่ 5  ถือว่าขาดรุนแรง

 

4.Laboratory test

4.1. การวัดVisceral proteine reserve  ส่วนใหญ่เป็นการวัดระดับProteinต่างๆในเลือดซึ่งประกอบด้วย

4.1.1ระดับโปรตีนทั้งหมด

4.1.2ระดับอัลบูมิน

4.1.3ระดับทรานสเฟอร์ริน

4.1.4 ระดับพรีอัลบูมินหรือทรานสไทเรซิน

4.1.5ระดับSerum retinal binding protein

4.1.6ระดับ  Serum IGF-1

4.1.7ระดับไฟโบรเนกติน

 

4.2 การวัด Somatic protein reserveได้แก่การวัดค่าCreatinine

ที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะใน  24 ชั่วโมงโดยเทียบกับค่ามาตรฐาน

 

 

5. Funtional  test

 

5.1 Hand  dynamoetry เป็นการวัดแรงบีบมือ สามารถเปรีบยเทียบกับ

ค่ามาตรฐานหรือใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้รับการประเมินได้

5.2 Direct muscle  stimulation เป็นการทดสอบโดยการกระตุ้น

กล้ามเนื้อ Adductor pollicis วัดแรงหดของกล้ามเนื้อและความถี่ที่ใช้กระตุ้น และอัตราสูงสุดของการคลายตัว ใช้วัด Involuntory  muscle  strength

5.3 Respiratory  function  เป็นการประเมิน Peak flow  และ

FEV1 บ่งชี้ถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ

5.4 Immune  functionในภาวะทุโภชนาการจะกดการตอบสนองของ

ระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งสามารถประเมินได้จาก

5.4.1 การวัดระดับTotal  lymphocyte  count

5.4.2 ทดสอบความไวของภูมิคุ้มกันทางผิวหนัง

สรุป

ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีความเสี่ยงต่อภาวะทุโภชนาการในระดับต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล  การสร้างความตระหนักต่อความสำคัญของปัญหาทุโภชนาการด้วยการทำงานร่วมกันในรูปแบบสหวิชาชีพ  เพื่อ คัดกรองและประเมินผู้ป่วยตั้งแต่เรื่มเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและต่อ เนื่องตลอดระยะเวลาที่อยู่รักษา ช่วยให้สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีภาวะทุโภชนาการได้รวดเร็ว นำไปสู่การวางแผนการรักษาที่เป็นระบบได้มาตรฐาน ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยโดยภาพรวมประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

 

 

 

หมายเหตุ  แบบฟอร์มการประเมินภาวะโภชนาการในผู้ใหญ่ อาจารย์ท่านใดสนใจที่จะนำไปใช้ติดต่อได้ที่ อาจารย์อมรา  ภิญโญ

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(674)