Author Archives: admin

การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบัน พระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง: การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบัน

พระบรมราชชนก  กระทรวงสาธารณสุข

วันที่ 26  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557

          โดย  นางเบญจวรรณ     ถนอมชยธวัช

ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

ดร.รัถยานภิศ              พละศึก

นางธมลวรรณ              แก้วกระจก

นางเบญจวรรณ            ถนอมชยธวัช

นางสาวบุญธิดา            เทือกสุบรรณ

นางสาวเบญจมาศ         จันทร์อุดม

สรุปการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

1. องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย 

กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแต่ละองค์ประกอบที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพ  3 องค์ประกอบดังนี้ 1)ปัจจัยนำเข้าประกอบด้วยนโยบาย  ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ  บุคลากร  งบประมาณ  ทรัพยากร  และการบริหารจัดการ  2) กระบวนการผลิต  ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ  การประเมินคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ 3) ผลผลิตประกอบด้วย  การผลิตบัณฑิต  การวิจัย  การบริการวิชาการ  และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  ส่วนกระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา  แต่ละองค์ประกอบดำเนินงานตามกระบวนการ  PDCA

องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา  ปณิธาน  วัตถุประสงค์  และแผนการดำเนินงาน  ทั้งนี้วิทยาลัยที่มีแนวปฏิบัติที่ดี  (best  practice)  ได้กำหนดนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  มีระบบและกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาตัวบ่งชี้อัตลักษณ์คือ“บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”  ซึ่งหมายถึงการให้บริการที่เป็นมิตร  มีความรัก ความเมตตา             ใส่ใจในปัญหาและความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง  ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการที่เป็นจริง  โดยรับฟังความคิดเห็นของผุ้รับบริการเป็นหลัก  มีจิตบริการ  ใช้การคิดวิเคราะห์ในการให้บริการ  และเน้นการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ  สำหรับกระบวนการวางแผนการดำเนินงานตาม ปรัชญา  ปณิธาน  วัตถุประสงค์   และแผนการดำเนินงานของวิทยาลัย  มีการนำแผนงาน  QA  และแผนปฏิบัติการอื่นมาร่วมด้วย  การทำแผนยุทธศาสตร์มีการนำ KPI  ของแผนกลยุทธ์  และ  KPI ของงาน QA  มารวมกัน  กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์บุคลากรในวิทยาลัยทุกระดับมีส่วนร่วม  มีการทบทวน ปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ร่วมกับการวิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนกลยุทธ์กับกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี  แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 10  การทำแผนกลยุทธ์เป็นแผน 5 ปี มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน  ค่าเป้าหมาย             มีการกำหนดงบประมาณเป็นรายปีชัดเจน  ตอบตัวบ่งชี้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (Quality  Assurance)  มากน้อยอย่างไร  และก่อนนำแผนปฏิบัติการมาใช้  ได้มีการทำประชาพิจารณ์โดยบุคคลภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  เพื่อปรับทิศทางการดำเนินงานตามทิศทางการดำเนินของจังหวัดและภาคเอกชน  การวางแผนการดำเนินงานตามทิศทางที่กำหนดทำให้วิทยาลัยสามารถจัดทำ ESAR  ได้เลย  ทำให้รู้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการในแต่ปีงบประมาณว่า            บรรลุเป้าหมายหรือไม่   และการจัดทำโครงการ  จะดำเนินการตาม  Plan  Do  Check  Act

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต  วิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ผลิตบัณฑิตตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข  ในแต่ละปีกระทรวงสาธารและสถาบันพระบรมราชชนกมีการกำหนดเป้าหมายการผลิต  และมอบหมายให้วิทยาลัยดำเนินการผลิต  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมกำกับให้มีการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและเป็นไปตามเกณฑ์ของสภาวิชาชีพ  มีระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน         ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง  มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน  มีระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาตามคุณลักษณะบัณฑิต  มีการพัฒนานักศึกษาด้านวิชาการโดยมีการติวนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1  ผ่านโครงการพี่สอนน้อง  เพื่อนสอนเพื่อน  รุ่นพี่          ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วสอนน้อง  สอนโดยอาจารย์  ในแต่ละวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตรที่กำหนด มีระบบการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนชัดเจนและครอบคลุมในการดำเนินงาน

องค์ประกอบที่ 3  กิจกรรมพัฒนานักศึกษา  มีระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา  โดยการจัดให้นักศึกษาได้ศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะทุกๆด้าน  และส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้และทักษะการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมแต่ละชั้นปี  ครอบคลุมทั้ง 5 ประเภทตามที่สกอ.กำหนด  ในการดำเนินกิจกรรมใช้กระบวนการ PDCA  ทั้งกิจกรรมที่วิทยาลัยจัดให้นักศึกษา  รวมถึงกิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษา  มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้นักศึกษาในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  สำหรับ           การกำหนดพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาแต่ละวิทยาลัยมีการกำหนดที่แตกต่างกันบ้างตามนโยบายของแต่ละวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย  ทุกวิทยาลัยมีระบบและกลไกในการพัฒนางานวิจัย  และมีการดำเนินการตามระบบ  มีระบบการช่วยเหลือนักวิจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กรแต่ละที่

เช่นการเสริมแรงการทำวิจัยโดยการให้รางวัลสำหรับผู้ที่นำเสนองานวิจัย  หรือกำหนดเป็น KPI  มีงบสนับสนุนงานวิจัยเต็มที่   มีการสนับสนุนจากผู้บริหาร  มีระบบการช่วยเหลือนักวิจัย  เช่นงานวิเทศน์ช่วยเขียน Abstract  และมีระบบการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานวิจัยทุกเดือน  หาก            มีปัญหาในการบริหารเวลาเพื่อทำงานวิจัย  สามารถลาเพื่อทำวิจัยได้ครั้งละ 1 เดือน  โดยเอาผลงานมาแสดง  ประเด็นการทำวิจัยเน้นการตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น  ภูมิปัญญา

องค์ประกอบที่ 5  การบริการวิชาการแก่สังคม  ทุกวิทยาลัยดำเนินการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับดีมาก  โดยมีการดำเนินงานตามระบบและกลไกการบริการวิชาการแก่สังคม  กระบวนการบริการวิชาการเน้นการเกิดประโยชน์ต่อสังคม  มีการชี้นำสังคม  โดยใช้ความเชี่ยวชาญของอาจารย์เป็นฐานความรู้และความเชี่ยวชาญของวิทยาลัย  ซึ่งการดำเนินการ บริการวิชาการเน้นการบูรณาการทั้งด้านการเรียนการสอนและการวิจัย  และการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆ

องค์ประกอบที่  6  การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรม  ทุกวิทยาลัยมีการกำหนดระบบกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรมชัดเจนและดำเนินการภายใต้ระบบกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรมอย่างมีคุณภาพ  และบูรณาการศิลปะและวัฒนะธรรมกับพันธกิจอื่นๆ  และทุกวิทยาลัยได้พัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนะธรรมโดยการมีส่วนร่วมของทุกคน               ทำให้วิทยาลัยน่าอยู่อย่างมีสุนทรีย์และมีรสนิยม

องค์ประกอบที่  7  การบริหารและการจัดการ

การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันการเรียนรู้  วิทยาลัยมีระบบและกลไกการจัดการความรู้ทั้ง Tacit  และ Explicit  Knowledge  และมีการดำเนินการตามระบบ  สำหรับการพัฒนาฐานข้อมูลทุกวิทยาลัยอยู่ในระหว่างการพัฒนาฐานข้อมูลจากสบช.  แต่บางวิทยาลัยพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อใช้เป็นระบบสารสนเทศในบางงานเช่นฐานข้อมูลงานการเงิน  ฐานข้อมูลบุคลากร

สำหรับด้านบริหารความเสี่ยงมีการระบุความเสี่ยง  และวิเคราะห์ความเสี่ยง  และมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่สามารถควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

องค์ประกอบที่  8  การเงินและงบประมาณ  มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน  จัดทำแนวทางการจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน  มีหลักเกณฑ์การจัดสรร  และวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ  โปร่งใสตรวจสอบได้  มีการจัดแผนการใช้เงินโดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการในแต่ละพันธกิจ  มีหน่วยงานตรวจสอบการใช้เงินทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก  ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด  และมีการติดตามการใช้เงินตามเป้าหมาย  และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนการใช้เงิน

องค์ประกอบที่  9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ  แต่ละวิทยาลัยมีการปรับปรุงระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  เพื่อพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยทั้งปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ  ผลผลิตและผลลัพธ์

2. การนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

1) ด้านการเรียนการสอน

1.1 การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ  ต้องพิจารณาถึงปัจจัยนำเข้า  ซึ่งต้องเน้นคุณภาพ  ทั้งคุณภาพอาจารย์  สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งอุปกรณ์การเรียน  สารสนเทศในการสืบค้น  สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย

1.2 อาจารย์ผู้สอน  นอกจากเน้นคุณภาพด้านวิชาการ  เทคนิคการสอนแล้ว               ยังต้องมีการทุ่มเทแรงกายแรงใจ  และให้เวลากับนักศึกษาเต็มที่

1.3 การพัฒนานักศึกษาโดยเฉพาะด้านวิชาการไม่ต้องรอเวลานักศึกชั้นปีที่ 4  สามารถพัฒนานักศึกษาได้ทุกชั้นปี ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4

2) ด้านชุมชน  การบริการวิชาการเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

การผลิตผลงานวิจัย  เน้นการสร้างเครือข่ายกับชุมชน  เพื่อการสนับสนุนงบประมาณ  และการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์

3)  ด้านวิชาชีพ  กระบวนการพัฒนานักศึกษา  เน้นการพัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและตามเกณฑ์ของสภาวิชาชีพ

4)  ด้านการบริหาร

1) ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบายในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน  และปฏิบัติงานตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

2) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย  กำหนดเป็น  KPI ของรองผู้อำนวยการทุกฝ่าย (332)

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง:พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง:พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง:   พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช  

วันที่  30  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557

เวลา 13.00-16.00 น.

ณ  ห้องกลุ่มวิชา

            โดย  นางยุพิน  ทรัพย์แก้ว

  ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

นางยุพิน  ทรัพย์แก้ว

นางสาวยุพาวดี  ขันทบัลลัง

นางสาวดาลิมา  สำแดงสาร

นางสาวมลิวัลย์  บุตรดำ

นางสาววรนิภา  กรุงแก้ว

นางสาววิชชุตา  สนธิเมือง

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์

ชื่องานวิจัย: รูปแบบการปลูกฝังจิตสาธารณะในนักศึกษาพยาบาล

องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

          กระบวนการสร้างจิตสาธารณะในนักศึกษาพยาบาล 5 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่1. ขั้นก่อนสำนึกว่าจะทำความดี ระยะนี้จะต้องมีความชัดเจนว่าการทำความดีคืออะไรโดยนักศึกษา ต้องประเมินตนเองด้านจิตสาธารณะก่อน

ขั้นที่ 2. ขั้นนี้ยอมรับว่าสิ่งที่ทำคือสิ่งที่ดี  ไม่กลัวการถูกว่า โดยให้นักศึกษาตนเองว่ามีจิตสาธารณะ อย่างไรบ้างเช่นสถานการณ์การฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย

ขั้นที่3. ขั้นนี้จัดให้การทำกิจกรรม และให้สะท้อนว่ากิจกรรมที่ทำแล้วมีประโยชน์อย่างไรโดยผู้สอน  จะ

เป็นผู้กำหนดสถานการณ์จิตสาธารณะแล้วให้นักศึกษาวิเคราะห์

ขั้นที่ 4. ขั้นนี้ให้นักศึกษารู้สำนึกว่าผลที่ตามมากับผู้อื่นได้อะไรบ้างจากการกระทำของนักศึกษา

ขั้นที่ 5. นำการทำจิตสาธารณะไปขยายกับบุคคลอื่นๆที่กว้างขึ้น เช่น ทำกับบุคคลหลายๆคน  กับชุมชน

ในหอพัก  ที่บ้าน เป็นต้น

นำไปใช้ประโยชน์ในด้าน

ด้านการเรียนการสอน

          ใข้ในกระบวนการเรียนการสอน โดยผู้สอนต้องมีจิตสาธารณะก่อนที่จะไปพัฒนานักศึกษา

 

ด้านวิชาชีพ

ใช้ในการปลูกฝังจิตสาธารณะแก่นักศึกษาโดยใช้กระบวนการสร้างจิตสาธารณะ 5 ขั้นตอน โดยให้ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องคืองานวิชาการและกิจการนักศึกษาจะต้องมีร่วมปรึกษาร่วมกันเพื่อนำเข้าสู่การปฏิบัติ

ด้านบริหาร

          -ฝ่ายบริหารจัดให้มี Motto ตามสถานที่ต่างๆที่นักศึกษาเดินผ่านภายในวิทยาลัยพยาบาล

-จัดให้มีสื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในจิตสาธารณะ ได้แก่ ภาพยนต์  VDO เป็นต้น

ด้านชุมชน

-นำนักศึกษาเข้าไปวิเคราะห์สถานการณ์จิตสาธารณะในชุมชน เช่น บ้านที่มีผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแล หรือมีผู้ดูแลไม่เพียงพอ จะทำอย่างไร (314)

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหมจังหวัดนครศรีธรรมราช

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง: พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหมจังหวัดนครศรีธรรมราช

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง:   พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ  ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหมจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่  30  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557

เวลา 13.00-16.00 น.

ณ  ห้องกลุ่มวิชา

            โดย  นางยุพิน  ทรัพย์แก้ว

  ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

นางยุพิน  ทรัพย์แก้ว

นางสาวยุพาวดี  ขันทบัลลัง

นางสาวดาลิมา  สำแดงสาร

นางสาวมลิวัลย์  บุตรดำ

นางสาววรนิภา  กรุงแก้ว

นางสาววิชชุตา  สนธิเมือง

สรุปการสังเคราะห์องค์ความรู้

ชื่องานวิจัย  พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ  ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหมจังหวัดนครศรีธรรมราช

องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

เป็นงานวิจัยที่สำคัญต่อศูนย์ผู้สูงอายุ เนื่องจากศูนย์ผู้สูงอายุจำเป็นต้องทราบข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งผลการวิจัยทำให้ทราบปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องด้วยชุมชนแห่งนี้เป็นเครือข่ายหนึ่งกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพจากการบริการวิชาการและจากการที่เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล จึงพบว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุ          อยู่ในระดับดี

การนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้

ด้านการเรียนการสอน

ในรายวิชาที่นักศึกษาต้องลงชุมชน เช่น รายวิชาสร้างเสริมสุขภาพ สามารถนำข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนสำหรับนักศึกษา การได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นด้านปัจจัยและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ทำให้นักศึกษาสามารถนำไปวางแผนต่อยอดในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ การให้ข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและนักศึกษาที่ต้องทำการวินิจฉัยชุมชน           เพื่อจัดทำโครงการแก่ชุมชน หากนักศึกษาสนใจในกลุ่มผู้สูงอายุเขาสามารถนำข้อมูลพื้นฐานจากงานวิจัยนี้ เพื่อนำมาจัดทำโครงการได้เลย

ด้านวิชาชีพ

นำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ และจากข้อมูลถึงแม้ บางปัจจัยพบปัญหาน้อย ก็ต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ นักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ค้นหาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมผู้สูงอายุของรัฐบาล

ด้านชุมชน

ส่งต่อข้อมูลที่ได้ให้กับอบต.หรือรพสต. เพื่อให้ทราบภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุว่าเป็นอย่างไร เพื่อ ให้สามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาหรือส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป

ด้านการบริหาร

ได้ข้อมูลพื้นฐานซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับศูนย์ผู้สูงอายุ เพื่อวางแผนในการจัดกิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน โดยทั่วไปรพสต.จะปรับเปลี่ยนข้อมูลของผู้สูงอายุทุก ๆ ปี จึงต้องมีการทำงานประสานกันระหว่างศูนย์ผู้สูงอายุกับรพสต. เพื่อส่งต่อข้อมูลระหว่างกันในการวางแผนทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุต่อไป

 

 

  (357)

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง:ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดแก่หญิงตั้งครรภ์มุสลิม

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง:ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดแก่หญิงตั้งครรภ์มุสลิม

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง:    ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดแก่หญิงตั้งครรภ์มุสลิม

วันที่  14  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557

เวลา 13.00-16.00 น.

ณ  ห้องประชุมประดู่

          โดย  นางสาวจตุพร  ตันตะโนกิจ

  ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

                   นางสาวจตุพร     ตันตะโนกิจ

นางวรัญญา       จิตรบรรทัด

นางสาวบุญธิดา  เทือกสุบรรณ

นางสาวเบญจมาศ จันทร์อุดม

นางสาวอุทุมพร   ดุลยเกษม

นางสาวเบญจวรรณ  ละหุการ

นางวรรณรัตน์     จงเขตกิจ

นางธมลวรรณ     แก้วกระจก

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์

ชื่องานวิจัย: ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดแก่หญิงตั้งครรภ์มุสลิม

องค์ความรู้ที่ได้

ด้านเนื้อหาสาระ   เนื้อหาสาระที่ควรนำมาใช้ในโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อการคลอดชองหญิงตั้งครรภ์มุสลิม  ควรประกอบด้วย  การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ด้านจิตสังคม  ของมารดา  พัฒนาการของทารกในครรภ์  อาการและอาการแสดงที่จะต้องใช้ประกอบการตัดสินใจมาโรงพยาบาลเพื่อ ลดเวลานอนรอคลอดในโรงพยาบาล  ขั้นตอนการให้บริการของสถานบริการที่หญิงตั้งครรภ์ไปใช้บริการ  การปฏิบัติตัวระยะตั้งครรภ์  การปฏิบัติตัวขณะรอคลอด  การปฏิบัติตนเพื่อเผชิญความเจ็บปวดระยะคลอดโดย  ผู้คลอดและผู้ดูแลที่เฝ้าคลอดให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม ความเชื่อ   และศาสนา  เพื่อให้ผู้คลอดคลายความหวาดกลัว  คลายความวิตกกังวลในการคลอด และสามารถเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดได้

ด้านกระบวนการ  การสอนควรมีการทบทวนและฝึกปฏิบัติซ้ำๆเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ  สามารถปฏิบัติได้โดยอัตโนมัติเมื่อเข้าสู่สถานการณ์จริง  และควรมีคู่มือให้กลับไปทบทวนได้ด้วยตนเอง

นำไปใช้ประโยชน์ในด้าน

ด้านชุมชน  สร้างกลุ่มจิตอาสา หรือครู ก  จากการเตรียมเพื่อนหญิงมุสลิมที่ผ่านโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนคลอดและผ่านประสบการณ์คลอด  ร่วมกับ  อสม.  ให้เป็นพี่เลี้ยงในชุมชน  เพื่อการเตรียมหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอด และขยายชุมชนการช่วยเหลือไปยังชุมชนใกล้เคียงอื่นๆ

ด้านการเรียนการสอน  นำเรื่องโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อการคลอดชองหญิงตั้งครรภ์มาใช้สอน  โดยเน้นย้ำทั้งในส่วนของทฤษฎีและปฏิบัติ  ให้สอดคล้องกับการสืบสานวัฒนธรรม  ความเชื่อ  และพฤติกรรมบริการ

ด้านวิชาชีพ  เน้นย้ำพฤติกรรมบริการในหน่วยงาน  ฉุกเฉิน วิกฤติ ห้องคลอด ให้สอดคล้องกับบริบท          ของวัฒนธรรม  และความเชื่อ เพื่อลดความหวาดกลัว  ความวิตกกังวลของผู้มารับบริการ  และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณให้สามารถผ่านเหตุการณ์ที่ต้องเผชิญในครั้งนั้นได้ด้วยความเชื่อมั่น

ด้านการบริหาร  นำไปเป็นนโยบายจัดโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อการคลอดของสถานบริการแม่        และเด็ก (320)

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง:ผลของการปรับพฤติกรรมและการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิม ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย เรื่อง:ผลของการปรับพฤติกรรมและการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิม ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัย

เรื่อง:ผลของการปรับพฤติกรรมและการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิม

ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

วันที่  14  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557

เวลา 13.00-16.00 น.

ณ  ห้องประชุมประดู่

          โดย  นางวรัญญา  จิตรบรรทัด

ผู้ร่วมสังเคราะห์องค์ความรู้

นางวรัญญา       จิตรบรรทัด

นางสาวบุญธิดา  เทือกสุบรรณ

นางสาวนอลีสา   โต๊ะยุโส๊ะ

นางธมลวรรณ     แก้วกระจก

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์

ชื่องานวิจัย: ผลของการปรับพฤติกรรมและการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย

การกำหนดรูปแบบการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานชนิด         ที่ 2 โดยทีม สุขภาพไม่สามารถใช้ในการป้องกันการเกิดภาวะ Hyperglycemia และ Hypoglycemia ได้ ดังนั้นการกำหนด รูปแบบจึงขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน  โดยเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยา  ซึ่งผู้ป่วยจะเป็นผู้กำหนดวิธี การปรับเปลี่ยน การเลือกวิธีการ ซึ่งผู้ป่วยจะดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับตนและนำมาปรับใช้เป็นรูปแบบของตนเอง

นำไปใช้ประโยชน์ในด้าน

ด้านการเรียนการสอน

          -การเรียนภาคทฤษฎี : เป็นองค์ความรู้ที่ใช้สอนในชั้นเรียน

-การเรียนภาคปฏิบัติ : ต้องประเมินผู้ป่วยมุสลิมที่มีภาวะ Hyperglycemia และ Hypoglycemia ก่อนเสมอว่าอยู่ระหว่างการถือศีลอดหรือไม่

ด้านวิชาชีพ

-พยาบาลได้รับทราบถึงวิธีการการป้องกันการเกิดภาวะHyperglycemiaและ Hypoglycemia

ในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

-พยาบาลสามารถให้คำแนะนำวิธีการการป้องกันการเกิดภาวะ Hyperglycemia และ Hypoglycemia

ในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีหลากหลายวิธี ได้แก่

1. การปรับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดตามมื้ออาหารที่เปลี่ยนแปลง

2. การปรับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดและปรับอาหาร

3. การปรับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดและการออกกำลังกายโดยการการเดินตอนหัวรุ่งหลังรับประทาน อาหารหรือการละหมาดตะรอเวียะห์ในตอนกลางคืน

4. การปรับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับอาหาร และออกกำลังกาย

ด้านบริหาร

ใช้เป็นแนวทางกว้างๆในการให้การดูแลผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในช่วงเดือนถือศีลอด

ด้านชุมชน

-เป็นแนวทางการให้คำแนะนำวิธีการป้องกันการเกิดภาวะ Hyperglycemia และ Hypoglycemia ของทีมสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลให้กับผู้ป่วยมุสลิม ในช่วงเดือนถือศีลอดที่เป็นโรค เบาหวานชนิดที่ 2

  (375)