โครงการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ และ การประเมินผลระบบการควบคุมภายใน

โครงการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ และ การประเมินผลระบบการควบคุมภายใน
  ผู้บันทึก :  นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 8 มี.ค. 2553   ถึงวันที่  : 10 มี.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ตรวจสอบภายในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  ปทุมธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  โครงการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ และ การประเมินผลระบบการควบคุมภายใน
  วันที่บันทึก  24 มี.ค. 2553


 รายละเอียด
               วิธีการซื้อจ้างตามระเบียบพัสดุ – การซื้อทุกชนิดที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง – การจ้างทำของ จ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ การรับขนใน การเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการจ้างแรงงาน – งานก่อสร้างตามหลักทั่วไปที่กฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอ้างอิงได้ องค์ประกอบของคณะกรรมการต้องเป็นข้าราชการเท่านั้นหรือไม่ หลักการ คือ ประธาน/กรรมการ ต้องเป็นข้าราชการ ผู้ตรวจรับ ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำผู้เกี่ยวข้องต้องเป็นคนที่ ๔ (กรณีซื้อ / จ้างไม่เกิน ๑๐,๐๐๐.-) องค์ประกอบของคณะกรรมการ ประกอบด้วย : ประธาน ๑ คน กรรมการอย่างน้อย ๒ คน แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับชำนาญงาน หรือเทียบเท่าขึ้นไป ข้อห้าม ๑) แต่งตั้งกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ๒) แต่งตั้งกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือพิจารณาผลการประกวดราคาเป็นกรรมการตรวจ รับพัสดุ ในกรณีประธานไม่มาปฏิบัติหน้าที่ เมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดซองสอบราคา หรือ รับซองประกวดราคาให้กรรมการที่มาเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานโดยให้ ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะ ข้อ ๔๑ (๑) หรือ ข้อ ๔๙ แล้วรายงานประธาน การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง หมายถึง การลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกัน ออกเป็นหลายครั้ง โดยไม่มีเหตุผลความจำเป็น และมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง ๑) แบ่งวงเงิน ให้ลดลงเพื่อเปลี่ยนวิธีจัดหาพัสดุ ๒) ให้ผู้มีอำนาจสั่งซื้อ สั่งจ้าง เปลี่ยนไป รายงานขอซื้อ – จ้าง (ข้อ ๒๗) หลักการ ก่อนการซื้อ – จ้างทุกวิธีต้องทำรายงาน ข้อยกเว้น ข้อ ๓๙ วรรคสอง ไม่ต้องมีรายงาน ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๗ ที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคลหรือไม่ – เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ – ครม.กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมกรณีงานจ้างก่อสร้างวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐-บาทขึ้นไป คุณสมบัติผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคล ผู้เสนอราคาจำเป็นต้องมีผลงานหรือไม่ – งานจ้างก่อสร้าง : เป็นนิติบุคคลและมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่จ้างในวงเงินไม่ เกินร้อยละ ๕๐ ของวงเงินงบประมาณหรือประมาณการ – งานซื้อหากจำเป็น เป็นดุลพินิจ โดยอนุโลม หนังสือรับรองผลงาน ผลงานประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้างหมายถึง ๑) ผลงานที่ใช้เทคนิคในการดำเนินการเหมือนกันกับงานที่ประกวดราคาจ้าง ๒) เป็นผลงานในสัญญาเดียว ๓) เป็นสัญญาผู้รับจ้างได้ทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาที่ได้มีการส่งมอบงานและตรวจ รับเรียบร้อยแล้ว ๔) ต้องเป็นผลงานที่กระทำสัญญากับส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างโดยตรง ไม่ใช่ผลงานอันเกิดจาการรับจ้างช่วง การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา ผู้มีหน้าที่จัดทำเอกสารสอบราคา คือ เจ้าหน้าที่พัสดุ ผู้มีหน้าที่ลงนามในการทำเอกสารสอบราคา คือ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา เจ้าหน้าที่พัสดุ รายงานขอซื้อ ขอจ้างตามข้อ ๒๗ และตามข้อ (๒๙) หัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอตามข้อ ๒๗ เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำประกาศ (ข้อ ๔๐) ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐วัน/นานาชาติไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน เผยแพร่เอกสาร – ส่งประกาศให้ผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างโดยตรงหรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มาก ที่สุด – ปิดประกาศเผยแพร่ ณ ที่ทำการโดยเปิดเผย – ส่งประกาศให้ผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างโดยตรง หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุด – จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการที่ส่งเอกสารสอบราคาไปให้โดยตรงและผู้มาขอรับ เอกสารทั้งหมด การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา การยื่นซอง – ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึงประธานกรรมการ – ยื่นซองด้วยตนเอง/ ทางไปรษณีย์ (กรณีที่กำหนดไว้) – เจ้าหน้าที่รับโดยไม่เปิดซอง การรับซอง – ระบุวันและเวลารับซอง – ส่งมอบซองให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ การเก็บรักษาซอง – หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา หน้าที่คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (ข้อ ๔๒) – ตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน – ประกาศชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ – เปิดซองใบเสนอราคาเฉพาะผู้ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน – ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา – คัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขและเสนอราคาต่ำสุด – ราคาเท่ากันหลายรายยื่นซองใหม่ – ถูกต้องรายเดียวดำเนินการต่อได้ ในส่วนของใบเสนอราคา – ผู้เสนอราคาต้องกรอกกำหนดส่งมอบ – กำหนดยืนราคา – กรณีผู้เสนอราคาลดราคาในใบเสนอราคาไม่ได้ – ผู้เสนอราคากรอกราคาผิดพลาด การดำเนินการโดยวิธีสอบราคา กรณีเกินวงเงิน (ข้อ ๔๓) – เรียกรายต่ำสุดมาต่อรองให้อยู่ในวงเงินหรือสูงกว่าไม่เกิน ๑๐% – ถ้าไม่ได้ผลให้เรียกทุกรายมายื่นซองใหม่ – ถ้าไม่ได้ผลอีก ขอเพิ่มเงิน หรือยกเลิกการสอบราคา ระยะเวลาสอบราคา ประกาศ——-รับซองอย่างน้อย ๑๐ วัน——-ตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ——-เปิดซอง การควบคุมและการจำหน่วยพัสดุแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ การยืมพัสดุ หมายถึง การที่บุคคล/นิติบุคคล ซึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคล/หรือนิติบุคคล ซึ่งเรียกว่าผู้ยืมยืมใช้ทรัพย์สิน โดยตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใช้เสร็จแล้ว – ผู้ยืมต้องนำพัสดุที่ยืมนั้นมาส่งคืนในสภาพที่ใช้การได้เรียบร้อย – ให้ผู้ยืมจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง – ชดใช้เป็นพัสดุประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกัน – ชดใช้เป็นเงินตามราคาที่เป็นอยู่ในขณะยืมตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลัง กำหนด เมื่อครบกำหนดยืมให้ผู้ให้ยืมหรือผู้รับหน้าที่แทนมีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุ ที่ให้ยืมไปคืน ภายใน ๗ วัน นับแต่วันครบกำหนด ส่วนที่ ๒ การควบคุม การควบคุมพัสดุของส่วนราชการแบ่งออกได้เป็น ๓ ส่วนคือ ๑. การเก็บรักษา ๒. การเบิกจ่าย ๓. การตรวจสอบพัสดุ เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบพัสดุแล้วให้ดำเนินการ ตามข้อ ๑๕๒ ดังนี้ ๑. ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ ๒. เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และให้ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน เอกสารและหลักฐานการลงบัญชีและทะเบียนพัสดุ ๑. หลักฐานการรับพัสดุ คือ หลักฐานแสดงการได้มา ๒. หลักฐานการจ่ายพัสดุ คือ ใบเบิกพัสดุ ๓. บัญชีวัสดุ คือ ใช้แบบตามตัวอย่างที่ กวพ.กำหนด ๔. ทะเบียนคุมทรัพย์สิน ใช้แบบตามตัวอย่างที่กรมบัญชีกลางกำหนด หลักฐานการรับพัสดุ งานซื้อ งานจ้าง คือ ใบตรวจรับพัสดุ งานทำเอง คือ ใบรับรองผลการจัดทำเอง รับบริจาค คือ เอกสารการับมอบ / บริจาค แสดงชนิด ขนาด ลักษณะ จำนวน ราคาประมาณต่อหน่วย รับโอน คือ เอกสารแสดงการรับ – ส่งมอบพัสดุจากหน่วยงานที่โอน ยืมวัสดุ คือ เอกสารใบยืม การจ่ายพัสดุ ผู้สั่งจ่ายได้แก่ – หัวหน้าหน่วยพัสดุ มีหน้าที่ควบคุมพัสดุ – หน้าที่ผู้จ่ายพัสดุ ตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ(ถ้ามี) – ลงบัญชี/ทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย – เก็บใบเบิกไว้เป็นหลักฐาน วิธีการตรวจสอบพัสดุประจำปี ตามข้อ ๑๕๕ ก่อนสิ้นเดือน ก.ย. ของทุกปีให้ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีพัสดุไว้จ่ายตามข้อ ๑๕๓ ตรวจสอบพัสดุงวดวันที่ ๑ ตุลาคม ปีก่อน – ๓๐ ก.ย. ของปีปัจจุบันว่าคงเหลือตรงตามบัญชี/ทะเบียน หรือไม่สิ้นเดือน ก.ย.ของทุกปีให้หรือไม่ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่พัสดุทำการตรวจสอบการ รับ-จ่ายพัสดุ หน้าที่ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ตรวจสอบพัสดุประจำปี – เริ่มตรวจตั้งแต่วันทำการวันแรกของเดือนตุลาคม – รายงานผลการตรวจสอบต่อผู้แต่งตั้งภายใน ๓๐ วันทำการ นับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบ ส่วนที่ ๓ การจำหน่าย พัสดุของส่วนราชการเมื่อหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในราชการต่อไปจะสิ้นเปลือง ค่าใช้มากให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อพิจารณาสั่งการ โดยปกติให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่หัวหน้าส่วนราชการสั่งการ และสำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาคจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วน ราชการเจ้าของงบประมาณก่อนด้วย การจำหน่วยสามารถดำเนินการได้ ๔ วิธี ๑. ขาย ๒. การแลกเปลี่ยน ๓. การโอน ๔. การแปรสภาพหรือ ทำลาย Web Online ระบบจัดซื้อจัดจ้าง (PO) ผ่าน Web Online – ภาพรวม และ การเข้าใช้งาน – ข้อมูลหลักผู้ขาย – สัญญา – ใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง – การตรวจรับพัสดุ สรุปข้อมูลหลักผู้ขาย ๑. เมื่อสร้างข้อมูลหลักผู้ขายในระบบ web Online เรียบร้อยแล้ว ต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป – ส่งแบบขออนุมัติข้อมูลหลักผู้ขาย พร้อม สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี/บัตรประจำตัวประชาชน/Passport สำเนาหนังสือจดทะเบียนการค้า ส่งกรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัด ๒. เมื่อสร้างข้อมูลหลักผู้ขายผิด จะสามารถแก้ไขได้หรือไม่ ข้อมูลผู้ขายไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องส่งแบบขอแบบขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักผู้ขายพร้อมสำเนาหลักฐานที่เกี่ยว ข้อง ส่งกรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัดเท่านั้น ๓. การค้นหาข้อมูลผู้ขาย มีวิธีสังเกตอย่างไรว่าหน่วยงานได้สร้างไปผู้ขายแล้ว – ผู้ขายที่ผูกกับหน่วยงานแล้ว – ผู้ขายที่ยังไม่ได้ผูกกับหน่วยงาน สรุปการบันทึกใบสั่งซื้อสั่งจ้าง ๑. การบันทึกใบสั่งซื้อจ้างผ่าน Web Online มีการตรวจสอบอย่างไร ๒. เมื่อบันทึก/แก้ไขใบสั่งซื้อสั่งจ้าง จะตรวจสอบสถานะได้อย่างไร สรุปการเปลี่ยนแปลง/แก้ไขใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง ๑. กรณีปกติยังไม่บันทึกตรวจรับ / ตั้งเบิก สามารถแก้ไขได้ ๒. กรณีบันทึกตรวจรับแล้ว แก้ไขไม่ได้ ๓. กรณีบันทึกตรวจรับและยกเลิกการบันทึกรับแล้ว สามารถแก้ไขได้ – NO VAT : ไม่จำเป็นต้องยกเลิกตรวจรับทั้งหมดทุกบรรทัดรายการ – VAT : ต้องยกเลิกตรวจรับทั้งหมดทุกบรรทัดรายการ ๔. กรณีบันทึกตรวจรับและตั้งเบิกแล้ว แก้ไขไม่ได้ ๕. PO ที่มีเงินจ่ายล่วงหน้า (ตั้งเบิก K ๕ แล้ว) แก้ไขไม่ได้ ๖. PO ยกยอดเงินกันเบิกเหลื่อมปี แก้ไขไม่ได้ สรุปการบันทึกสัญญา เมื่อบันทึก/แก้ไขสัญญา จะตรวจสอบสถานะของสัญญาได้อย่างไร การตรวจรับพัสดุ วันที่เอกสาร คือ วันที่ส่งมอบ/ส่งของ วันที่ผ่านรายการ คือ วันที่ตรวจรับ เลขที่เอกสารส่งมอบ เลขที่ใบส่งของ/หรือทะเบียนคุมของพัสดุ ข้อควรระวัง วันผ่านรายการจะมี่ผลในเดือนปัจจุบันและย้อนหลังได้อีก ๑ เดือนเท่านั้น


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              พัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ และ การประเมินผลระบบการควบคุมภายใน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              ประยุกต์ใช้กับงานด้านพัสดุได้ถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้

(372)

Comments are closed.