หลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือน ของข้าราชการ สถาบันพระบรมราชชนก

หลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือน ของข้าราชการ สถาบันพระบรมราชชนก
ผู้บันทึก :  นางยุพิน ทรัพย์แก้ว นางปวันณัฐ จันทร์ภักดี และนางปัญจมาพร รัตนมณี
  กลุ่มงาน :  งานบริหารทั่วไป
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติ
  เมื่อวันที่ : 25 ก.พ. 2553   ถึงวันที่  : 26 ก.พ. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพฯ
  เรื่อง/หลักสูตร :  หลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือน ของข้าราชการ สถาบันพระบรมราชชนก
  วันที่บันทึก  5 มี.ค. 2553


 รายละเอียด
               การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน สิ่งจำเป็นสำหรับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ได้แก่ กำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของงาน, กำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด, กำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัด การกำหนดค่าเป้าหมายเป็นร้อยละ ระดับคะแนน 1,2,3,4, 5 มีผลการดำเนินงานร้อยละ 60,70,80,90,100 ตามลำดับ การกำหนดค่าเป้าหมายเป็นระดับความสำเร็จ ระดับคะแนน 1 มีการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 1, ระดับคะแนน 2 มีการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 1+2, ระดับคะแนน 3 มีการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 1+2+3, ระดับคะแนน 4 มีการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 1+2+3+4, ระดับคะแนน 5 มีการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 1+2+3+4+5 โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 มีการประชุมพัฒนาระบบและกลไก ร่วมกับภายในหน่วยงาน, ขั้นตอนที่ 2 มีการกำหนดกิจกรรม/โครงการตามระบบและกลไกของหน่วยงาน, ขั้นตอนที่ 3 มีการดำเนินงานตามระบบและกลไกของหน่วยงาน, ขั้นตอนที่4 มีการประเมินผลการดำเนินงานตามระบบและกลไกของหน่วยงาน, ขั้นตอนที่ 5 มีการพัฒนาระบบและกลไกจากผลการประเมิน ขั้นตอนผลสัมฤทธิ์ของงาน มีดังนี้ 1.กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงาน 2.กำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัด 3.ประเมินผลแต่ละตัวชี้วัด 4.นำผลการประเมินมาเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย 5.นำระดับคะแนนจากข้อ 4 คูณกับน้ำหนักของตัวชี้วัด หารด้วย 5 6.หาคะแนนรวมของแต่ละตัวชี้วัด จากข้อ 5 7.นำผลรวมคะแนนรวมจากข้อ 6 ใส่ในแบบสรุปการประเมินการปฏิบัติราชการ ส่วนที่ 2 ในองค์ประกอบที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ของงาน การประเมินสมรรถนะเพื่อประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้ใช้สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะตามที่ ก.พ.กำหนด คือ 1.การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2.การบริการที่ดี 3.การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4.การยึดมั่นความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม 5.การทำงานเป็นทีม ในส่วนสมรรถนะหลัก ต้องมีการกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ หรือตัวอย่างพฤติกรรมของสมรรถนะสำหรับนำไปใช้ในการประเมินข้าราชการแต่ละประเภท โดยการจัดทำรายละเอียดรวบรวมคำอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนสมรรถนะด้านด่างๆ ทั้งหมดต้องกำหนดไว้ใน พจนานุกรมสมรรถนะ เพื่อนำมาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินสมรรถนะของบุคคล สำหรับการประเมิน สถาบันพระบรมราชชนก ใช้ตามแบบของพจนานุกรมที่ ก.พ.กำหนดการกำหนดค่าน้ำหนักของรายการสมรรถนะแต่ละตัว ทางสถาบันพระบรมราชชนก ได้กำหนดให้มีค่าน้ำหนัก ทุกตัวเท่ากันคือ ร้อยละ 20 มาตรวัดสมรรถนะ มีดังนี้ 1 คะแนน (น้อยกว่าร้อยละ 60), 2 คะแนน (ร้อยละ 60-70), 3 คะแนน (ร้อยละ71-80) ,4 คะแนน ร้อยละ81-90 , 5 คะแนน ร้อยละ 91-100 วิธีการประเมิน อย่างน้อย 3 คนประเมิน 1)ให้ประเมินตนเอง ร้อยละ 30 2)ผู้บังคับบัญชาที่ใกล้ชิดที่สุด ร้อยละ 60 3)ผู้เกี่ยวข้อง/เพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 10 หมายเหตุ รายละเอียดของข้อมูลสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการเลื่อนเงินเดือนของสถาบันพระบรมราชชนก มีที่ อ.ยุพิน ทรัพย์แก้ว ผู้สนใจสามารถถามข้อมูลได้


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              ความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาวางแผนในการประเมินเพื่อเลื่อนเงินเดือนของบุคลากร ได้เที่ยงตรง มีความยุติธรรม และโปรงใส


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การบริหารจัดการ การประเมินเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ

(484)

Comments are closed.