Management of Patients with Personality Problems

Management of Patients with Personality Problems
 ผู้บันทึก :  นางสาวอุษา จันทร์แย้ม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 1 ก.พ. 2555   ถึงวันที่  : 3 ก.พ. 2555
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : 
  จังหวัด :  สุราษฎร์ธานี
  เรื่อง/หลักสูตร :  Management of Patients with Personality Problems
  วันที่บันทึก  19 มิ.ย. 2555


 รายละเอียด

บุคลิกภาพ เป็นรูปแบบหรือลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมที่ปรากฏอยู่ในมนุษย์ทุกคน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตของบุคคลนั้นในทุกๆด้าน และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาและโอกาสในการเกิดภาวะหรือโรคต่างใน ทางจิตเวชตามมา การเข้าใจทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับบุคลิกภาพจะช่วยให้เราจำแนกบุคลิกภาพที่ ปรากฏอยู่บุคคลต่างๆได้ อีกทั้งทำให้เข้าใจสาเหตุของลักษณะต่างๆของพฤติกรรมมนุษย์ ทั้งที่เป็นปกติและผิดปกติ

บุคลิกภาพ (Personality) ใน ทางจิตเวช หมายถึง แบบแผนหรือลักษณะจำเพาะของแต่ละบุคคลที่แสดงออกในการใช้ชีวิตประจำวันปกติ ซึ่งเป็นผลรวมของความรู้สึกนึกคิด การรับรู้และพฤติกรรมของบุคคลนั้น

การแบ่งบุคลิกภาพของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม (3 Clusters) ซึ่งแบ่งแยกบุคลิกภาพได้ทั้งสิ้น ๑๐ แบบ (10 Personalities) ได้แก่

บุคลิกภาพในกลุ่ม A (Cluster A Personality) ได้แก่ ผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบแยกตัว หรือมีพฤติกรรมที่แปลกแตกต่างจากบุคคลอื่น แบ่งเป็น

- Paranoid Personality

- Schizoid Personality

- Schizotypal Personality

บุคลิกภาพในกลุ่ม B (Cluster B Personality) ได้แก่ ผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบอารมณ์ไม่คงที่ เจ้าอารมณ์ไม่อยู่กับร่องกับรอย หรือเอาแน่นอนไม่ได้ แบ่งเป็น

- Narcissistic Personality

- Histrionic Personality

- Borderline Personality

- Antisocial Personality

บุคลิกภาพในกลุ่ม C (Cluster C Personality) ได้แก่ ผู้ที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบเจ้าความคิด ยึดติดกับเหตุผลและกรอบความคิดของตนเอง หรือวิตกกังวลง่าย คิดมาก แบ่งเป็น

- Avoidant Personality

- Dependent Personality

- Obsessive-Compulsive Personality

บุคลิกภาพที่ผิดปกติ (Personality Disorder: PD) หมาย ถึง การที่บุคคลมีบุคลิกภาพที่เบี่ยงเบนอย่างชัดเจนจากกรอบของสังคมและวัฒนธรรม นั้นๆในลักษณะที่ไม่สามารถยืดหยุ่นตามสถานการณ์ได้ ทำให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อผู้ป่วย (ทุกข์ทรมานกับบุคลิกภาพของตนเอง หรือ Distress) และต่อบุคคลรอบข้าง (ถูกรบกวนโดยบุคลิกภาพของผู้ป่วย หรือ Disturb) และอาจส่งผลให้เกิดความบกพร่องในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย (Dysfunction หรือ Disable) ซึ่งเราอาจใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder, fourth edition, text-revised (DSM-IV TR) และระบุการวินิจฉัยไว้ใน Axis ที่ ๒ ตามการวินิจฉัยแบบ Multi-axial Diagnosis

บุคลิกภาพที่ผิดปกติเป็นความผิดปกติที่มีความชุกสูงถึง ๑๐-๒๐% ของประชากรทั่วไป และจัดเป็นความผิดปกติที่คงอยู่แบบเรื้อรัง นอกจากนี้ยังพบว่า ๕๐% ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยทางจิตเวชด้วยโรคหรือภาวะใน Axis ที่ ๒ (โรคหรือภาวะทางจิตเวชทั้งหมด) พบว่ามี บุคลิกภาพที่ผิดปกติร่วมด้วย

บุคลิกภาพผิดปกติในกลุ่ม A (Cluster A Personality) ได้แก่

- Paranoid Personality มีลักษณะเด่นของความไม่วางใจและมีความสงสัยในบุคคลอื่น (Distrust and suspiciousness of others) ทำให้มองวัตถุประสงค์ของพฤติกรรมของบุคคลอื่นในทางมุ่งร้ายกับตนเอง พบในชายมากกว่าหญิง

- Schizoid Personality มีลักษณะเด่นของการขาดสัมพันธภาพทางสังคมและการจำกัดการแสดงออกทางอารมณ์ในสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Detachment from social relationships and a restricted range of expression of emotions in interpersonal settings) พบในชายมากกว่าหญิง (๒:๑)

- Schizotypal Personality เป็นบุคลิกภาพที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรค Schizophrenia มาก ที่สุด และเป็นบุคลิกภาพที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ จะมีลักษณะเด่นของการขาดสัมพันะภาพทางสังคม มีความคิดและการรับรู้ที่ผิดแปลกไปจากปกติ และมีพฤติกรรมแปลกแตกต่าง (Social and interpersonal deficits, cognitive or perceptual distortion and eccentricities of behaviors) มักพบความคิดที่แปลก magical thinking, idea of reference, derealization และ depersonalizations

บุคลิกภาพผิดปกติในกลุ่ม B (Cluster B Personality) ได้แก่

- Narcissistic Personality มี ลักษณะเด่นของการมั่นใจในตนเองอย่างมาก (อาจเป็นเพียงความคิดเพ้อฝัน จินตนาการหรือแสดงออกเป็นพฤติกรรมเลยก็ได้) ต้องการการชื่นชมจากคนอื่นและขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Grandiosity (in fantasy or behaviors), need for admiration, and lack of empathy) พบในชายมากกว่าหญิง

- Histrionic Personality มีลักษณะเด่นของการแสดงออกของอารมณ์อย่างชัดเจน (บางครั้งมากเกินควร) และแสวงหาความสนใจจากคนรอบข้างอยู่ตลอด (Excessive emotionality and attention seeking) พบในหญิงมากกว่าชาย

- Borderline Personality มี ลักษณะเด่นของการไม่เสถียรหรือไม่คงทนของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ภาพลักษณ์แห่งตนและการแสดงอารมณ์ และมีอารมณ์หุนหันพลันแล่นอย่างรุนแรง (Instability of interpersonal relationships, self-image and affects, and marked impulsivity) พบในหญิงมากกว่าชาย

- Antisocial Personality มีลักษณะเด่นของการไม่สนใจหรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ และการละเมิดสิทธิ์ของคนอื่น (Disregard for and violation of the rights of others) เริ่ม มีลักษณะดังกล่าวนี้ ตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี พบในชายมากกว่าหญิง ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มีโอกาสฆ่าตัวตายสำเร็จสูงที่สุด และมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและการใช้สารเสพติดอย่างชัดเจน

บุคลิกภาพผิดปกติในกลุ่ม C (Cluster C Personality Disorders) ได้แก่

- Avoidant Personality มีลักษณะเด่นของการยับยั้งทางสังคม ความรู้สึกไม่มั่นใจและอ่อนไหวต่อสถานการณ์ในด้านลบอย่างชัดเจน (Social inhibition, feeling of inadequacy, and hypersensitivity to negative evaluation) เป็นบุคลิกภาพที่พบบ่อยที่สุด (๑-๑๐%) มักพบในเด็กที่มีลักษณะขี้กลัว (timid temperament) และมีความสัมพันธ์กับโรคในกลุ่ม anxiety disorders อย่างชัดเจน

- Dependent Personality มีลักษณะเด่นของความต้องการการดูแล/ปกป้องที่มากเกินควร นำมาซึ่งการยอมจำนนหรือพฤติกรรมเกาะติดและมีความกลัวต่อการถูกแยกจาก (Excessive need to be taken care of the leads to submissive and clinging behavior and fear of separation) พบในหญิงมากกว่าชาย บุคลิกภาพแบบนี้มีความสัมพันธ์กับ agoraphobia และ substance dependence

- Obsessive-Compulsive Personality มี ลักษณะเด่นของการหมกมุ่นกับกฎระเบียบ ความสมบูรณ์แบบหรือการควบคุมตนเองและความสัมพันธภาพ โดยปราศจากความยืดหยุ่นการเปิดกว้างและประสิทธิภาพโดยรวม (Preoccupation with orderliness, perfectionism, or mental and international control, at the expense of flexibility, openness, and efficiency) ยึดมั่นกับกฎระเบียบเล็กๆน้อยๆหรือรายละเอียด ต่างๆจนทำให้มองข้ามจุดสำคัญๆของกิจกรรมนั้นๆไป จนอาจกระทบต่อควาสำเร็จของงานในภาพรวม ไม่ค่อยแสดงออกทางอารมณ์ พบในชายมากกว่าหญิง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาการแนะแนวและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาให้สอดคล้องกับลักษณะบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
มีความรู้และเชี่ยวชาญในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช เรื่อง บุคลิกภาพ

(15979)

Comments are closed.