ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาล 6 รายวิชา

ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาล 6 รายวิชา
ผู้บันทึก :  นายสุทัศน์ เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 25 ม.ค. 2553   ถึงวันที่  : 26 ม.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาล 6 รายวิชา
  วันที่บันทึก  20 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               จากปรัชญาของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2545 ที่เน้นความเป็นมนุษย์ (A Existential humanistic ) สิ่งที่ทำให้ชีวิตทั้งอยู่ได้ตามความเชื่อ ความศรัทธา และปัญญา โดยให้ความสำคัญ 2 เรื่อง คือ Human dimension และ Scientific dimension จากหลักการดังกล่าวทำให้เกิดมโนทัศน์ 3 อย่างได้แก่ ความเป็นมนุษย์ กิจกรรมการพยาบาล การดูแลอย่างเอื้ออาทร จากหลักสูตรดังกล่าวเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิผลโดยการนำหลัก สูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยมีการออกแบบการสอนซึ่งผู้ที่จะออกแบบการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องรู้เป้าหมายของหลักสูตร เข้าใจกรอบแนวคิดของการพยาบาลพื้นฐานความเอื้ออาทร วิเคราะห์ลักษณะรายวิชา วิธีการสอน และการวัดประเมินผล ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามปรัชญาของหลักสูตร จะใช้การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยในการออกแบบหรือวางแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ทฤษฎี Constructivism โดยมีหลักการเรียนรู้ ประกอบด้วย การเรียนจากประสบการณ์ตรง การเรียนจากง่ายไปยาก การเรียนจากรูปธรรมไปนามธรรม ใช้หลักเหตุผลแบบอุปนัยและแบบนิรนัย การเรียนจากสภาพจริง และการประเมินที่เน้นประสบการณ์เรียนรู้ สำหรับการวางแผนหรือออกแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นต้องกำหนด วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมให้ครบ 3 ด้านได้แก่ ด้านความรู้ ด้านกระบวนการ และด้านคุณสมบัติ กำหนดเนื้อหาให้สอดคล้องหรือล้อไปกับวัตถุประสงค์ การออกแบบการสอน มีแนวคิดหลักคือ เลือกวิธีสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา โดยเริ่มตั้งแต่ การวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ในรายวิชา กำหนดเนื้อหา สาระ ให้ถูกต้องชัดเจน กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ครอบคลุม KAP กำหนดยุทธศาสตร์ / หลักการเรียนรู้ (สอนตรง : สอนเน้นครูเป็นศูนย์กลาง , สอนด้วยสื่อ : เรียนรู้ด้วยตนเอง , สอนอ้อม : สอนเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ) กำหนดสื่อการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้ กำหนดการประเมินการเรียนรู้ ( ประเมินอะไร ประเมินด้วยเครื่องมืออะไร ประเมินอย่างไร ประเมินโดยใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ )


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              การออกแบบการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และแนวทางการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              การสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

(279)

Comments are closed.