อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดแนวใหม่(Update Newborn Resuscitation)

อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดแนวใหม่(Update Newborn Resuscitation)
 ผู้บันทึก :  นางสาวเบญจมาศ จันทร์อุดม
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 15 ม.ค. 2556   ถึงวันที่  : 15 ม.ค. 2556
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  จังหวัด :  สงขลา
  เรื่อง/หลักสูตร :  อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดแนวใหม่(Update Newborn Resuscitation)
  วันที่บันทึก  24 มิ.ย. 2556


 รายละเอียด
         ด้านเนื้อหาสาระ  การช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดแนวใหม่           (2012)  มีเนื้อหาสาระที่ปรับเปลี่ยนจากเดิม  ดังนี้ 

       1.1.1  การใส่  Endo thracial  tube  เพื่อดูด  maconium  เดิมให้ใส่  tube  ดูด  ครั้งที่  2หรือ-3 ถ้าหากครั้งแรกดูดได้ meconium ทั้งนี้เพื่อ clear air way  ให้โล่ง   เปลี่ยนเป็น  หลังจากการใส่ tube ดูด maconium 1 ครั้งแล้วพบว่าดูดได้ meconium  แต่ทารกเขียวมากหรือ   HR   < 100   ให้ช่วยฟื้นคืนชีพตามแผนภูมิแนวปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพก่อน จากนั้นพิจารณาใหม่ในภายหลัง

1.1.2 การใส่ Endo thracial  tube  เพื่อดูด  maconium  จากเดิมทำเฉพาะรายที่มี  thick   meconium amniotic fluit  และทารกมีภาวะ  not  vigorous (ไม่ร้อง  ไม่ขยับแขนขา  และ/หรือ HR <  100)  เปลี่ยนเป็นควรใส่   Endo thracial  tube  เพื่อดูด  maconium  ทุกรายที่มีภาวะ not  vigorous  ร่วมกับมีประวัติ  พบ maconium amniotic fluit ไม่ว่าความเข้มของ meconium   จะอยู่ในระดับ  thin   หรือ thick

1.1.3 แผนภูมิแนวปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกคลอดดังเอกสารแนบท้ายรายงาน

1.1.4 ความรู้ด้านยา  ประสิทธิภาพของ  ยา  epinephrine  ที่ให้ทางหลอดเลือดดำดีกว่าการให้ทางท่อช่วยหายใจ  ทั้งนี้เนื่องจากการให้ทางท่อช่วยหายใจการดูดซึมยาเข้าสู่กระแสเลือดช้ากว่า  และไม่สามารถคาดเดาปริมาณยาในกระแสเลือดได้  ดังนั้นการบริหารยาในแต่ละช่องทางจึงมีขนาดยาแตกต่างกัน  ดังนี้

  epinephrine  1:10000  iv.    : dose   0.1 0.3  มล./กก. (0.01 0.03 มก./กก.)
epinephrine    1:10000   ET-tube :  dose      0.5
  1.0  มล./กก. (0.05 0.1 มก./กก.) 

  epinephrine  เพิ่มการใช้ออกซิเจนและการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ  ซึ่งถ้าให้ในขณะที่ให้ออกซิเจนไม่พอ  อาจทำให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจได้ 

  ดังนั้นห้ามให้ epinephrine ทางหลอดเลือดดำในขนาดที่สูงกว่า  0.01 0.03 มก./กก.  เพราะเป็นอันตรายได้ทั้งสมองและหัวใจ


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติการพยาบาลช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกคลอด


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
ปฏิบัติการพยาบาล ช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกคลอดได้    

                           เป็นวิทยากรช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกคลอดได้

(3379)

Comments are closed.