ผู้บันทึก : นางพนิดา รัตนพรหม | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 2 พ.ค. 2555 ถึงวันที่ : 4 พ.ค. 2555 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สมาคมเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (ไทย) | |
จังหวัด : ชลบุรี | |
เรื่อง/หลักสูตร : ประชุมวิชาการประจำปีสมาคมเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (ไทย) ครั้งที่ ๓ เรื่อง วิกฤตการณ์ทางสูติกรรมที่รุนแรง | |
วันที่บันทึก 19 มิ.ย. 2555 | |
|
|
รายละเอียด | |
Work shop เรื่องการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
๑. การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคศาสตร์ ของเต้านมแม่ เช่น ไม่พบว่ามี Lactiferous dust เป็นเพียงท่อน้ำนมที่ส่งตรงมายังหัวนม ซึ่งมีเพียง ๔ – ๑๔ ท่อเท่านั้น ๒. ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นจากปัญหาการให้บุตรดูดนม จำแนกเป็น ๒ กลุ่ม
Work shopเรื่อง Update management in postpartum hemorrhage การเสียเลือดหลังคลอดปกติมากกว่า 500 มล.และจากการผ่าตัดคลอดมากกว่า 1000 มล. มีสาเหตุหลัก ได้แก่ 4 T - Tissue การมีรกค้างอยู่ในโพรงมดลูก - Trauma การฉีกขาดของช่องทางคลอด มดลูก ปากมดลูก ฝีเย็บ - Tone การตึงตัวของกล้ามเนื้อมดลูก - Thrombin ภาวะไม่แข็งตัวของเลือด การป้องกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ผ่านการวิเคราะห์แบบ metaanalysis สามารถลดการเสียเลือดหลังคลอดได้แก่ - การทำ Active management of third stage คือ การให้ oxytocin 10 u intramuscular ทันทีหลังคลอด (อาจให้ oxytocin 20u ในน้ำเกลือ 1,000 มล. ด้วยอัตรา 10 มล.นาทีก็ได้) - การทำคลอดรกด้วยวิธี control cord traction เมื่อมดลูกหดรัตตัวดี - การให้ Tranexamic acid 0.5 – 1 mg ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหลังเด็กคลอด หรือก่อนการผ่าตัดคลอด **** ยาใหม่ที่มีประสิทธิภาพและใช้ในกรณีที่มีการเสียเลือดระหว่าง 500-1,000 และมีประสิทธิภาพดีกว่า Syntometrine คือ Coubetocin ซึ่งมีชื่อการคือ Duratocin Coxytocin ซึ่งจะเพิ่ม frequency และ tone ของมดลูก 1 amp มี 100 mg ให้ทาง IV หรือ IM ขณะนี้ใช้ในกรณีผ่าตัดคลอดเท่านั้น ยังไม่ approve ในกรณีคลอดทางช่องคลอด
การรักษา - การสร้างทีมการดูแลมารดาที่ภาวะฉุกเฉิน ซึ่งประกอบไปด้วย แพทย์ พยาบาล วิสัญญี คนงาน - การให้สารน้ำ เลือด และใช้เข็มขนาดใหญ่ และสารน้ำควรให้ชนิด crystalloid solution ส่วนเลือดควรขอ packed red cell ประมาณ 2-4 หน่วย - เตรียมเจาะ lab CBC Coagulogram - ใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อติดตามปริมาณสารน้ำที่เข้าและออกให้สมดุล - ติดเครื่องวัดสัญญาณชีพ - ตรวจภายในเพื่อประเมินช่องทางคลอด โพรงมดลูกว่ามีการฉีกขาดหรือไม่ - ถ้าพบสาเหตุ การฉีกขาดให้รีบเย็บซ่อมแซม หรือมีเศษรกค้างให้ล้วงรกแต่ถ้าพบรกออกยาก อย่าพยายามดึงเพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น ให้ทำ bimanual uterine compression แล้วเตรียมผ่าตัดเอามดลูกออก - ถ้าพบสาเหตุการตกเลือดเกิดจากภาวะ uterine atony ให้ดำเนินการแก้ไขดังนี้ 1. ทำ bimanual uterine compression และให้ยา methergin และ pros-taglandins 2. ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น สูติศาสตร์ต้องรีบตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการรักษาว่าจะผ่าตัดรักษาหรือไม่ เพราะถ้าเลือดออกมากนานๆจะทำให้เกิดภาวะ coagulopathy ซึ่งการผ่าตัดมีวิธีดังต่อไปนี้ 2.1 การผูกตัดเส้นเลือด uterine ovarian arteries, internal iliac arteries 2.2 การทำ B-Lynch คือการทำการเย็บมดลูก (uterine compression suture) ซึ่งค่อนข้างได้ผลดีไม่ต้องตัดมดลูก 2.3 ในกรณีที่เป็นครรภ์หลังไม่ต้องกามีลูกแล้วหรือการผ่าตัดข้างต้นไม่ได้ผลจำเป็นต้องทำ Total หรือ Subtotal hysterectomy - ในกรณี ร.พ.ชุมชน ทำผ่าตัดไม่ได้ หรือขณะทำการส่งตอผู้ป่วยไปรักษาที่อื่น จำเป็นต้องทำ uterine compression โดยใส่ balloon tip catheter ชนิดต่างๆ เช่น Foley coatheter, Sendstaken-Blakemore tube, Rusch urologic hydrostatic balloon catheter เข้าไปในโพรงมดลูกแล้วใส่น้ำไป ประมาณ 80-100 มล. ถ้าได้ผลเลือดจะหยุดใน 10-15 นาที - การทำ embolization internal iliac artery ได้ผลค่อนข้างดี แต่ต้องมีรังสีแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะในขณะทำอาจเกิดเหตุฉุกเฉินไม่ทันการ ที่เป็นประโยชน์ควรทำรายที่คิดว่าเลือดออกมาก เช่น รกเกาะต่ำ รกติดตรึง - ในกรณีที่เลือดออกมาก หรือมีการให้เลือดจำนวนมากๆ ควรตรวจดูกปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ซึ่งส่วนใหญ่ให้ fresh frozen plasma, platelet แต่มีรายงานการให้ recombinant activated factor VII ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน
บทบาทพยาบาลในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด พยาบาล เป็นทีมสุขภาพที่มีความสำคัญในการป้องกันภาวการณ์ตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากเป็นทีมสุขภาพที่ใกล้ชิดและพบสตรีตั้งครรภ์เป็นกลุ่มแรก หากพยาบาลสามารถประเมินภาวะเสี่ยงในการเกิดจะช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิด ภาวการณ์ตกเลือกได้มากซึ่งบทบาทพยาบาลในระยะต่างๆของการตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด มีดังนี้ ระยะตั้งครรภ์
ระยะคลอด
ระยะที่สามของการคลอด แนวทางในการป้องกัน โดยวิธี Active management of the third stage of labor โดยมีขั้นตอนดังนี้
การคาดคะเนปริมาณการเสียเลือด - ใช้ถ้วยตวงขนาด 1 ลิตร ตวงเลือดที่อยู่ในถาดรองเลือด โดยหักปริมาณน้ำคร่ำออก - คะเนจากจำนวนผ้าอนามัยที่ชุ่มเลือดคิด 1 ชิ้นเท่ากับเลือด 60 มล. - กรณีที่ผ่าตัด คิดจากปริมาณเลือดในขวด suction รวมกับ เลือดที่ผ้า swab คิด 1ชิ้น เท่ากับ 100 มล.
ลักษณะของเลือดที่ออกผิดปกติ - เลือดไหลพุ่ง (largr gush) - เลือดไหลช้าๆ แต่ไหลตลอด (slow, steady trickle) - มดลูกติดขัด (boggy uterus) - ลักษณะเลือดที่ออกเป็นก้อนใหญ่ หรือมีหลายก้อน (large clots or multiple clots)
บทบาทพยาบาลในกรณีที่มีการตกเลือดหลังคลอด
ภาวะ การตกเลือดเป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ที่สำคัญเป็นสาเหตุการตายของมารดา เป็นอันดับแรกของประเทศไทยและมีแนวโน้มที่ยังคงมีต่อไปที่ส่งผลต่อการเสีย ชีวิตของมารดา ทีมสุขภาพซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์ พยาบาล และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีความชำนาญถือเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งที่ช่วย ป้องกันการเกิดและลดอัตราการเสียชีวิตในกรณีที่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ดัง นั้นความพร้อมในการช่วยเหลือจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ทีมสุขภาพจะต้อง ฝึกฝนตนเองและมีวิทยาการและความรู้ใหม่มาหาแนวทางป้องกัน ช่วยเหลือและดูแลรักษา อย่างมีประสิทธิภาพ
สาระจากการประชุมวิชาการ ๑) ความเสี่ยงทางสูติกรรม ๑. ความเสี่ยงของผู้ป่วยทางสูติกรรม จำแนกเป็น ๒ กลุ่ม คือ
๒. การลดความเสี่ยงมีดังนี้ - การกำหนดสมรรถนะของทีมรักษาพยาบาล - การกำหนดแนวทางการดูแลรักษา - การออกแบบระบบ ให้เข้าใจง่าย - การจัดระบบประกันคุณภาพ - การจัดการสิ่งแวดล้อม - การจัดระบบ informed consent - การจัดระบบป้องกันกรณีพิพาทและการฟ้องร้อง ๒) Update : CPR and trauma in pregnancy การ ช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ควรประเมินด้วยการดูการตอบสนอง เช่น เรียก เขย่า หากไม่พบการตอบสนองให้ดำเนินการกู้ชีพได้ทันที มีขั้นตอนดังนี้ ๑. จัดท่านอนตะแคงซ้าย (left lateral tile) เพื่อลดการกด inferior vena caeva ซึ่ง เชื่อว่าเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ดีและเพิ่มออกซิเจนให้กับทารก ในครรภ์ ซึ่ง ระบุว่าการใช้มือช่วยดันมดลูกไปด้านซ้าย ร่วมด้วยช่วยให้การกู้ชีพมีประสิทธิภาพมากขึ้น ๒. เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ๓. ตรวจการหายใจ และการทำงานของหัวใจด้วยความรวดเร็ว ๔. กดนวดหน้าอก หากไม่พบการเต้นของหัวใจ ใน สัดส่วนนวดหน้าอก ๓๐ ครั้ง ต่อ ช่วยหายใจ ๒ ครั้ง โดยให้ตำแหน่งการกดอยู่สูงกว่าปกติเล็กน้อย คือกึ่งกลางของครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก รวบนิ้วมือเข้าหากันไม่ให้นิ้วกดบนกระดูกซึ่โครงของผู้ป่วย กดลึก ๔ – ๕ เซนติเมตร ในอัตรา ๑๐๐ ครั้ง/นาทีและควรเปลี่ยนตัวผู้นวดทุก ๒ นาที เพื่อคงประสิทธิภาพการกู้ชีพ ๕. ให้ออกซิเจน ๑๐๐% high flow ผ่านท่อหายใจ ซึ่งการช่วยหายใจควรดำเนิน ๑๐ ครั้งใน ๑ วินาที ๖. & |
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การสอนการพยาบาลในคลินิกและใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา การพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ |
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? |
(4118)