ผู้บันทึก : นางปิยรัตน์ จีนาพันธุ์ และนางพนิดา รัตนพรหม | |
กลุ่มงาน : งานวิจัยและผลงานวิชาการ | |
ฝ่าย : ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : อบรม | |
เมื่อวันที่ : 14 ก.ค. 2553 ถึงวันที่ : 16 ก.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงสาธารณสุข | |
จังหวัด : นนทบุรี | |
เรื่อง/หลักสูตร : การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประจำสู่การวิจัย ครั้งที่ 3 | |
วันที่บันทึก 11 ส.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
วันที่ 14 กรกฎาคม 2553 ช่วงที่ 1 เวลา 08.00น. ณ ห้องรอยัล จูบีลี่ บอลรูม ซึ่งมีผู้ร่วมประชุมประมาณ 2,000 คน โดยมีท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร. พรรณศิริ กุลนาถศิริ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พิธีเปิดเริ่มต้นด้วยวิดิทัศน์ เครือข่าย R2R ก้าวไกล สาธารณสุขไทยก้าวหน้า ที่เล่าเรื่องการทำงานวิจัยในงานประจำ ของพยาบาลแผนก ICU ที่ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางการพยาบาล เป็นการพัฒนางานด้านการพยาบาล ที่ส่งผลไปสู่ผู้รับบริการอย่างตรงจุด ซึ่งสิ่งนี้ได้สร้างความภาคภูมิใจและเสริมกำลังใจของทีมงาน นอกจากนี้วิดิทัศน์ยังเล่าถึง เครือข่าย R2R ที่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งภาคเหนือ อีสาน กลาง และใต้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของฟันเฟืองของคนทำงานตัวเล็กๆ ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนางานประจำของตนเอง ผ่านเครื่องมือที่ไม่ยากอย่างที่คิด นั่นคือการวิจัย เป็นการจุดประกายให้นักวิจัยหน้าใหม่เข้ามามีส่วนร่วม ช่วงที่ 2 เป็นเวทีการอภิปราย การพัฒนาระบบสุขภาพ เครือข่าย R2R คือคำตอบ ซึ่งมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากหน่ายงานต่างๆ อาทิ ศ .นพ. วิจารณ์ พานิช ซึ่งได้กล่าวว่า งานประจำคือสมบัติที่มีค่ายิ่งที่ทำให้เกิด ความสุข ปัญญา และความก้าวหน้า โดยได้ขยายความว่า สามารถทำงานประจำให้ไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ได้ โดยสร้างความสนุกจากงาน ก่อให้เกิดความรู้ทางปัญญา ก้าวไปสู่ความก้าวหน้าของงาน ซึ่งจะทำให้เกิด สังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด เครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันนั่นคือ R2R ช่วงที่ 3 เป็นการบรรยายโดย นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ที่ชี้แนะแนวทางและให้กำลังใจนักวิจัยหน้าใหม่ ให้เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ 10 ข้อควรจำ เพื่อไต่สู่นักวิจัยขั้นเทพ 1. เริ่มต้น (หาเรื่องที่ใช่ประเด็นวิจัยที่ชอบ) หาเรื่องที่สนใจ เลือกเรื่องที่มีประเด็นไม่กว้างจนเกินไป และต้องเลือกประเด็นที่เราอยากรู้ 2. ค้นคว้า (ก่อนลงมือวิจัยรู้อะไรอยู่ก่อนบ้าง) หาความรู้เพิ่ม เลือกอ่านเฉพาะงานที่มีคุณภาพ 3. หาเป้า(อยากรู้อะไรอีกจากที่ไปค้นคว้ามา) ต้องรู้ว่าเราอยากรู้อะไร หาส่วนที่ขาดแล้วต่อยอดเรื่องที่รู้ไปสู่สิ่งใหม่ 4. เหลาโจทก์ (ลับคำถามวิจัยให้แหลมคม) คำถามวิจัยที่ดี มาจากแนวคิดที่ดี และข้อมูลที่ดี 5. กำหนดวิธีการ(เลือกวิธีการหาข้อมูลมาตอบคำถาม) วิธีการวิจัยขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการจะรู้ ที่สำคัญคือจะต้องรู้จุดแข็ง จุดอ่อนของแต่ละวิธี 6. ทำงานภาคสนาม (เก็บข้อมูลให้เป็นระบบ) เข้าใจธรรมชาติของข้อมูลและแหล่งข้อมูล 7. ถามหาความรู้ใหม่(ข้อมูลที่ได้บอกอะไรใหม่) นักวิจัยที่ดีต้องไม่เป็นผู้รายงานข้อมูล แต่ต้องเป็นผู้คิดค้นสิ่งใหม่ๆที่สร้างสรรค์และมีความสำคัญ 8. ใช้บทคัดย่อนำทาง(คิดให้ชัดจัดลำดับความสำคัญ) เพราะบทคัดย่อคือการสกัดส่วนที่สำคัญที่สุด 9. นำเสนออย่างสร้างสรรค์(สื่อสารความรู้สู่การเปลี่ยนแปลง) เชื่อในสิ่งที่เสนอและหากลุ่มเป้าหมายให้เจอ 10. มุ่งมั่นสู่ขั้นเทพ(เดินทางหมื่นลี้เริ่มต้นที่ก้าวแรก) ต้องจำไว้ว่างานวิจัยชิ้นแรกน่าอายเสมอ ฉะนั้นอย่ากลัวที่จะเริ่ม ช่วงบ่าย 13.00-16.30 น. การนำผลงาน R2R ไปใช้ประโยชน์ในระบบบริการปฐมภูมิ ซึ่งมีการนำเสนอผลงานทั้งหมด 12 เรื่อง ภาคอีสาน 2 เรื่อง ภาคใต้(พัทลุง) 1 เรื่อง ภาคเหนือ 3 เรื่อง ภาคกลาง 1 เรื่อง ลักษณะผลงานส่วนใหญ่เป็นงานโครงการพัฒนาหรือประเมินผลกิจกรรม ซึ่งจะเป็นการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลโครงการ รูปแบบการดูแลผู้ป่วย กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ระเบียบวิธีวิจัยก็มีทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาได้มีการนำไปพัฒนาในงานอย่างต่อเนื่อง เช่น ปฏิบัติการสู้ภัยมะเร็งปากมดลูก..ภัยเงียบที่คุกคามหญิงไทย ผลลัพท์ของการใช้โปรแกรมลูกไม้หล่นไกลต้นในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เบาหวาน จะเห็นได้ว่าหน่วยงานระดับปฐมภูมิ เริ่มมีความตื่นตัวในการพัฒนาโดยใช้ประเด็นการปฏิบัติของงานประจำไปสู่การวิ จัย ซึ่งเริ่มต้นด้วยระเบียบวิธีที่ไม่ซับซ้อนมากนัก แต่สามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาได้ วันที่ 15 กรกฎาคม 2553 การทำ R2R ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการอภิปรายโดยผู้ที่มีประสบการณ์ทำวิจัย ทั้งผู้ที่เพิ่งจะเริ่ม และผู้ที่มีความชำนิชำนาญ มาเล่าเรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยมี คุณอู่ทอง นามวงษ์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย มีการเล่าประสบการณ์ในการทำวิจัยตั้งแต่ การเริ่มต้น ซึ่งบางท่านบอกว่าไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนดี หรือบางท่านระบุว่า มีหัวข้ออยู่ในใจแล้ว หรือบางท่าน ถูกบังคับเชิงนโยบาย จึงจำเป็นจะต้องทำวิจัย บางท่านไม่มีประสบการณ์การทำวิจัยมาก่อนเลย ผู้นำอภิปรายได้ไล่เรียงคำถามเป็นขั้นตอน ให้ผู้ร่วมอภิปรายเล่าประสบการณ์ ทำให้ผู้ฟังได้ step ของการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งไม่พ้นการเดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ 10 ข้อควรจำ เพื่อไต่สู่นักวิจัยขั้นเทพ ( ของ นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์) ได้เข้าใจมากขึ้นในระเบียบวิธีวิจัยแบบ RAP (Rapid Assessment process) ซึ่งเป็นกระบวนการวิจัยประยุกต์ซึ่งใช้หลักการของการวิจัยเชิงชาติพันธ์ วรรณาและ Grounded Theory ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งทำให้กระบวนการวิจัยใช้เวลาสั้น มีการเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ สร้างสมมติฐานและเก็บข้อมูลต่อไป และใช้การจัดระบบข้อมูลด้วยรหัส วันที่ 16 กรกฎาคม 2553 วิเคราะห์สังเคราะห์บทสรุปภาพรวมของการประชุม เป็นการอภิปรายของผู้ทรงคุณวุฒิ การทำงานในระบบบริการสุขภาพ หากมีการสร้างและใช้ความรู้ โดยการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ นอกจากจะทำให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์ (สุขภาพดีขึ้น บริการที่ดีขึ้น ) ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ยังได้ประโยชน์ด้วย(พัฒนาความสามารถตนเอง ในงาน)
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ และการพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพการพยาบาล
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ และการพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพการพยาบาล |
(580)