ผู้บันทึก : นายอาทิตย์ ภูมิสวัสดิ์ | |
กลุ่มงาน : งานบริการวิชาการและศูนย์ศึกษา | |
ฝ่าย : ฝ่ายแผนและบริหารคุณภาพ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 1 ม.ค. 2513 ถึงวันที่ : 1 ม.ค. 2513 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) อ. นครชัยศรี จ. นครปฐม | |
จังหวัด : นครปฐม | |
เรื่อง/หลักสูตร : โครงการพัฒนาเครือข่ายการพัฒนานักบริหารสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2553 | |
วันที่บันทึก 17 ก.พ. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (PBL)
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก(Problem Based Learning) หรือ PBL หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนซึ่งใช้ตัวปัญหา (Problem) เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาข้อมูลและองค์ความ รู้มาช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้ปัญหานั้นกระจ่าง มองเห็นแนวทางแก้ไขทำให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถที่จะผสมผสานความรู้นั้นๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนแบบ PBL เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาตัวผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning : SDL) เป็นการเรียนที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student–Centered Learning) ผู้เรียนจะใช้ทั้ง Head Heart และ Hand พร้อมๆ กัน คือ ใช้สมองในการคิด ใช้หัวใจในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และใช้มือในการ จดบันทึกและค้นคว้า ซึ่งการเรียนแบบ PBL จะเกิดประโยชน์และได้ผลดีเมื่อเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย (Small Group Learning)ไม่เกิน 15 คน โดยสมาชิกที่มีประสบการณ์ที่หลากหลายมีการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ วัตถุประสงค์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Base Learning: PBL) คือ เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้าน 1. พัฒนาสมรรถนะกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. พัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหา 3. พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4. พัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม (Group Skills) ของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL เริ่มต้นจาก “ปัญหา” (Problem) หรือ Trigger (แปลว่าไกปืน) สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนใช้ในการดำเนินการ แก้ปัญหา ศึกษาค้นคว้าจนเกิดการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ มี 9 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ทำความเข้าใจในความหมายต่างๆใน Trigger ให้เข้าใจ (understanding of triggers) โดยผู้เรียนต้องทำความเข้าใจกับปัญหาที่ได้ ถ้ายังไม่เข้าใจ ความหมายของคำ หรือข้อความใดต้องหาคำอธิบายให้ชัดเจน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกภายในกลุ่ม หรือจากเอกสารตำรา ขั้นตอนที่ 2 ค้นหาปัญหาและกำหนดปัญหาให้ชัดเจน (Problem identification)โดยต้องเข้าใจปัญหาที่ถูกต้องสอดคล้องกัน ว่ามีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดถูกกล่าวถึงหรืออธิบายในปัญหานั้น ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุและตั้งสมมติฐาน (Cause of Problem & Set Hypothesis) ขั้นตอนที่ 4 ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยวิทยากร (additional information) ซึ่งขั้นตอนที่ 3 และ 4 การวิเคราะห์ปัญหาโดยความรู้เดิมของผู้เรียน การสรุปรวบรวมความคิดเห็น ความรู้ ของสมาชิกภายในกลุ่มด้านกระบวนการ และความเป็นไปได้ที่สมเหตุสมผลในปัญหานั้น ๆ เป็นการระดมสมองที่ให้สมาชิกของกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีเพื่อให้ ได้สมมติฐานมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Real cause of Problem) จากสมมติฐานต่างๆ ที่ได้นำมาพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ โดยการสนับสนุนจากข้อมูล และความรู้จากสมาชิกภายในกลุ่ม เพื่อสรุปประเด็นสำคัญที่เป็นเป็นปัญหาที่แท้จริงและมีความสำคัญที่ต้องแสวง หาข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 6 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Set Learning Objective) ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแก้ไข ปัญหากำหนด ขั้นตอนที่ 7 ศึกษาค้นคว้า 7.1) ด้วยตนเอง (Active Learning) 7.2) การบรรยายของวิทยากรหรือการสอบถามผู้รู้ (Passive Learning) ซึ่งจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดสมาชิกในกลุ่มช่วยกันแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ภายนอก จากตำรา เอกสารทางวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการทำงานจะทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้ ขั้นตอนที่ 8 แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกและกลุ่ม (Exchange Knowledge among members and groups) โดยแต่ละคนในกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้และร่วมอภิปราย เพื่อความชัดเจนในประเด็นที่ศึกษา ขั้นตอนที่ 9 การนำเสนอรายงานการค้นคว้า (Presentation skills) นำผลการศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอเพื่อให้สมาชิกในห้องเรียนรับทราบร่วมกัน 3. เงื่อนไขในการเรียนรู้ แบบ BPL คือ 3.1 กระตุ้นความรู้เดิม (Activation of prior knowledge) ความรู้เดิมที่เป็นพื้นฐานนั้นมีประโยชน์มาก ผู้เรียนต้องพยายามนำเอาความรู้เดิมจากความทรงจำออกมาใช้ให้มากที่สุด วิทยากรพี่เลี้ยงหรือเพื่อนสมาชิกในกลุ่มจะต้องกระตุ้นให้เพื่อนสมาชิกนำ ความรู้เดิมออกมาให้กับกลุ่ม 3.2 เสริมความรู้ใหม่ () การที่ผู้เรียนนำความรู้ที่แสวงหามาได้ใหม่เสริมกับความรู้เดิมจะทำให้เกิด ความเข้าใจ ใคร่ครวญและฉุกคิด และเกิดความคิดกว้างไกล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 3.3 ต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์ (Elaboration of knowledge) หากผู้เรียนได้มีโอกาสต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์ โดยวิธีอภิปรายกับเพื่อนในกลุ่ม สรุป ตั้งคำถาม และพิสูจน์สมมติฐาน การปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ เป็นความรู้เก็บกักไว้ในความทรงจำได้นาน และสามารถนำออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? |
(308)