ผู้บันทึก : นางวรัญญา จิตรบรรทัด นางจิตฤดี รอดการทุกข์ | |
กลุ่มงาน : งานแผนและบริหารคุณภาพ | |
ฝ่าย : ฝ่ายบริหาร | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 5 ก.พ. 2556 ถึงวันที่ : 5 ก.พ. 2556 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : กลุ่มงานควบคุมภายใน สถาบันบรมราชชนก | |
จังหวัด : กรุงเทพ | |
เรื่อง/หลักสูตร : การพัฒนาระบบการควบคุมภายในเชิงคุณภาพ หน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข | |
วันที่บันทึก 24 มิ.ย. 2556 | |
|
|
รายละเอียด | |
ระเบียบ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ความหมายของการควบคุมภายใน หมายถึง กระบวนการที่ผู้กำกับดูแลฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจกำหนดให้มี ขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะ บรรลุวัตถุประสงค์
วัตถุ ประสงค์ การควบคุมภายใน เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน ความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบการควบคุมภายใน -ผู้ปฏิบัติงาน ทุกหน่วยงาน/ระดับตามโครงสร้าง ดำเนินการปฏิบัติงานปฏิบัติและแจ้งจุดอ่อนการควบคุมภายใน เจ้าของงานต้องเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงของตนเอง -ผู้บริหารระดับต้น กลุ่มงาน/ฝ่าย ควบคุมการปฏิบัติงานจัดวาง สอบทาน ประเมินและปรับปรุงการควบคุมภายใน -ผู้บริหารระดับกลาง ควบคุมการบริหารโครงการจัดให้การวาง สอบทาน ประเมินและปรับปรุงการควบคุมภายใน -ผู้ ตรวจสอบภายใน ต้องเข้าไปช่วยแนะนำ ต้องปิดการตรวจ จัดทำรายงานที่ถูกต้องผ่านการตรวจสอบซึ่งกันและกัน สามารถชี้แจงเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขร่างรายงานและลงนามตามรายงานร่วมกัน ปัจจัย แห่งความสำเร็จของระบบการควบคุมภายใน คือ วัตถุประสงค์ชัดเจน ข้อตกลงร่วมกัน ความสามารถในการบริหารงาน การปฏิบัติการ การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจัยเกื้อหนุน คือ ผู้บริหารให้ความสำคัญ การบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ การจัดทรัพยากรบุคคลเป็นระบบ/เหมาะสม มีความรับผิดชอบและจิตสำนึกของบุคลากรทุกระดับ การ ประเมินความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ซึ่งไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด การบริหารความเสี่ยง มี การหลีกเลี่ยง การจัดการหรือการควบคุม การถ่ายโอน การยอมรับ - เจตนา ในการควบคุมภายใน มุ่งในทางสร้างสรรค์ มุ่มสนใจให้การทำงานบรรลุสำเร็จ มุ่งเข้าไปช่วยในการป้องกัน แก้ไขปัญหาอุปสรรค มุ่งให้วิธีการขั้นตนเป็นไปด้วยความถูกต้อง มุ่งพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานให้เป็นพนักงานที่มีคุณภาพ การควบคุมภายใน แบบป้องกัน แบบค้นพบ แบบแก้ไข แบบสั่งการ และแบบทดแทน ขั้นตอนการจัดทำความเสี่ยง. ๑. ประเมิน ๕ องค์ประกอบมาตรฐานการควบคุมภายใน คือ ตามหลัก COSO (ปย.1) ๒. จัดทำ flow chart ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และวิธีการปฏิบัติงาน (เขียนรายละเอียดมากยิ่งดี ค้นหาความเสี่ยงได้มากขึ้น โดยขั้นเริ่มต้นและข้นสุดท้ายเป็นวงรี ตรงกลางเป็นสี่เหลี่ยม การตัดสินใจหรือการอนุมัติเป็นสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน ๓. นำ flow chart มาใส่ในปย.๒ (ตามแบบฟอร์ม) ปย.2 รายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายใน กิจกรรมการควบคุมอยู่ในช่องที่ 5 เรียงลำดับความสำคัญ และดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณ ในการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน วิทยาลัย คือ หน่วยงานย่อย ทำ 2 แบบ คือ ปย.1 และ ปย. 2 ให้กับ สบช. |
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
ใช้การบริหารความเสี่ยงองค์กรและใช้ในการทำรายงานควบคุมภายในส่งสถาบัน
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
(351)