คุณภาพอุดมศึกษาไทยสู่สากล

คุณภาพอุดมศึกษาไทยสู่สากล
  ผู้บันทึก :  นางสาววิลาสินี แผ้วชนะ
  กลุ่มงาน :  รองวิชาการ
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 8 ก.ย. 2554   ถึงวันที่  : 9 ก.ย. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สกอ.
  จังหวัด :  นนทบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  คุณภาพอุดมศึกษาไทยสู่สากล
  วันที่บันทึก  20 ก.ย. 2554


 รายละเอียด
การปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๖๑)   ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างมีคุณภาพ” 

พันธกิจ ได้แก่ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม

ยุทธศาสตร์       ๑) คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพเชิงสากล

                   ๒) คนไทยใฝ่รู้ รักการอ่าน เรียนรู้ตลอดชีวิต

                   ๓) คนไทยใฝ่ดี มีคุณธรรม จิตสาธารณะ วัฒนธรรมประชาธิปไตย

                   ๔) คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น

เป้าหมายของการปฏิรูป ได้แก่      ๑) กระบวนการเรียนรู้ใหม่

                                      ๒) การเกิดของครูพันธุ์ใหม่

                                      ๓) สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่

                                      ๔) การบริหารจัดการแนวใหม่

ประเด็น หลัก สถาบันอุดมศึกษา ต้องเป็นสมองให้กับสังคม เคียงคู่สังคม พัฒนาให้เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม และเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเปิดประเทศสู่อาเซียนเป็นหนึ่ง  ต้อง มีการวิจัยค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ๆมาใช้ในการสอนนักศึกษา เพิ่มศักยภาพขีดความสามารถของนักศึกษา สร้างประสบการณ์ทางวิชาการให้นักศึกษา ให้คำปรึกษาและบริการด้านวิชาชีพแก่สาธารณชน

การเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาก้าวสู่ประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. ๒๕๕๘  ได้มีข้อตกลงยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติหรือมาตรฐานในแต่ละวิชาชีพของอาเซียน (MRA: Mutual Recognition Arrangements) ๘ สาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ นักบัญชี วิศวกรรม และการท่องเที่ยว

มาตรการเตรียมความพร้อม        

๑)      พัฒนาระบบการศึกษาให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถตามกรอบ TQF พร้อมทำงานได้ทุกที่

๒)      พัฒนาความสามารถด้านภาษาและคอมพิวเตอร์ การเตรียมความพร้อมสำหรับรับการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยี

๓)      พัฒนาอัตลักษณ์และศักยภาพไปสู่ความเป็นเลิศ

๔)      พัฒนาทักษะการทำงานข้ามวัฒนธรรม

๕)      พัฒนานักศึกษาให้มีใจสู่โลกกว้าง กล้าเผชิญโลก

 

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
 

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน  เตรียมความพร้อมในการเปิดสู่สังคมอาเซียน พ.ศ.๒๕๕๘  ในด้านการเรียนการสอน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?

(288)

Comments are closed.