ทักษะการบริการปฐมภูมิและเวชปฏิบัติครอบครัวในศตวรรษที่ 21 Annual Meeting 2014 Primary Care and Family Practice Skills in 21 Century

ทักษะการบริการปฐมภูมิและเวชปฏิบัติครอบครัวในศตวรรษที่ 21 Annual Meeting 2014 Primary Care and Family Practice Skills in 21 Century

การประชุมวิชาการประจำปี 2557 ครั้งที่ 16  ทักษะการบริการปฐมภูมิและเวชปฏิบัติครอบครัวในศตวรรษที่ 21 (Annual Meeting 2014 Primary Care and Family Practice Skills in 21 Century)  26 -28พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องสยามมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี: สุธาสินี เจียประเสริฐ  จิฑาภรณ์ ยกอิ่น

ห้วข้อ
     1.  นโยบายเวชศาสตร์ครอบครัวในระบบสาธารณสุขไทย : ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน
2.  Primary Care and Family Medicine WHO Perspective : ศ.นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง
3. ปัญหากฎหมายในเวชปฏิบัติ พ.ร.บ. การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่ม: ศ.นพ.วิรัตน์ พาณิชย์พงษ์  คุณประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล

     4.  Pitfall in Clinical Practice: น.อ.นพ.ไกรสร วรดิถี  พว.สุรีรัตน์ ธนกิจเติม
     5. การพัฒนาความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิ: รศ.พญ.สมจิต พฤกษะริตานนท์  ศ.เกียรติคุณ ดร.สมจิต หนุเจริญกุล
     6. เป้าหมายระยะสั้น (1 ปี) ภายในปี พ.ศ. 2558: นพ.อภิชาติ รอดสม

นโยบายเวชศาสตร์ครอบครัวในระบบสาธารณสุขไทย : ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน

Thailand Health Care Delivery System ประกอบด้วย

1.  Universal Health Coverage
-   National Health Care Security Agency
-  Government Employee Health Care Plan
-  Social security
2. Primary Care
-   9,750 Healthcare promotion hospitals
-   744 District hospitals
3. Secondary Care
-   69 Provincial hospitals
4. Tertiary Care
-  26 Referral hospitals
-  14 University hospitals
5. 207 Private hospitals

นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข มีทั้งหมด 10 ข้อ ในที่นี้จะยกตัวอย่างมาเพียงบางข้อ

ข้อที่ 2 พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ทุกคนบนแผ่นดินไทยสามารถเข้าถึงการบริการที่มี คุณภาพอย่างทั่งถึง โดยมีการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบที่ยั่งยืน
ข้อที่ 2.1 พัฒนาบริการปฐมภูมิ

  • พัฒนา ทีมหมอประจำครอบครัว (Family care team) ดูแลประชาชนทุกครัวเรือนในเขตชนบท โดยแบ่งหมู่บ้านให้บุคลากร รพ.สต. และรพช. แต่ละคน ดูแล ให้คำปรึกษา ดูแลถึงบ้าน และประสานการส่งต่อ โดยมีแพทย์รพช. เป็นที่ปรึกษา
  • พัฒนา ระบบบริการปฐมภูมิในเขตเมือง โดยให้ฝ่ายเวชกรรมสังคมเป็นหลักในการประสาน อปท. และคลินิกเอกชน จัดบริการปฐมภูมิให้ครอบคลุมประชากรเขตเมืองเป้าหมายคือ คนไทยมีทีมหมอครอบครัวประจำทุกครัวเรือน
    - มีทีมหมอครอบครัวดูแล ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาทุกครอบครัว ประดุจญาติมิตร
    - ให้การดูแลครอบคลุมทุกมิติ รักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูแบบองค์รวม อย่างต่อเนื่องและผสมผสาน
    - ให้การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวทั้งในหน่วยบริการและมีทีมงานเยี่ยมถึงบ้านอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง
    - มีการประสานงานรับ-ส่งต่อผู้ป่วยในทุกระดับของการบริการอย่างใกล้ชิด เหมาะสม ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน รพ.สต. และรพ. (ไม่ต้องให้ผู้ป่วยถือใบส่งตัวไปเอง)
    - ให้การดูแลครอบครัวที่มีประชากรกลุ่มเสี่ยงอย่างครอบคลุมและครบถ้วน- ลดทุกข์ เพิ่มสุข ให้แก่ครอบครัวและชุมชนเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นใครคือทีมหมอครอบครัว–>>ทีมหมอครอบครัวเป็นทีมงานใหญ่
    มีบุคลากรวิชาชีพที่ทำงานร่วมกันทั้งระดับรพช. รพ.สต. และภาคประชาชนในระดับหมู่บ้านผังโครงสร้างทีมหมอครอบครัว 

    องค์ประกอบของทีมหมอครอบครัวระดับอำเภอ (รพช.)
        – หัวหน้าทีม คือ ที่ปรึกษาของทีม ได้แก่ FamMed หรือ GP ที่มีความสนใจและได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติมด้านเวชศาสตร์ครอบครัว
    - ทีมงาน พยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาลวิชาชีพ หรือพยาบาลชุมชน ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก นักโภชนาการ แพทย์แผนไทย และสหวิชาชีพอื่น
    บทบาทหน้าที่ของทีมหมอครอบครัว
    -
    เป็นที่ปรึกษา พี่เลี้ยง สนับสนุน บริหารจัดการ พัฒนาศักยภาพแก่ทีมหมอครอบครัว (ตำบล) และชุมชน
    - มีพื้นที่ในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวในลักษณะเดียวกับทีมหมอครอบครัว (ตำบล)
    - ให้คำปรึกษาในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยและครอบครัวแก่ทีมหมอครอบครัว (ตำบล)
    - จัดทีมหมุนเวียนในการมาให้บริการสุขภาพแก่ผู้ป่วยในรพ.สต.
    - จัดทีมหมุนเวียนในการมาให้บริการสุขภาพแก่ผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน
    - ให้การดูแลสุขภาพ และ/หรือ ประสานงานการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยและครอบครัวในรพช. (กรณีที่ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาในรพช.)
    - ประสานงานในการส่งต่อผู้ป่วยไปยังรพศ./รพท. หรือสถานบริการที่จำเป็น
    - ช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านคลินิก และการดูแลสุขภาพให้แก่ทีมหมอครอบครัว (ตำบล) และนักบริบาลชุมชน
    - นิเทศ ติดตาม และให้คำปรึกษาแก่ทีมหมอครอบครัว (ตำบล) ในการดูแลและพัฒนาสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว

  • องค์ประกอบของทีมหมอครอบครัวระดับตำบล (รพ.สต.)
    เป็นเจ้าของพื้นที่หลัก รับผิดชอบหลักในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัวในพื้นที่ (1 คน/ประชากร 1250 คน)
    บทบาทหน้าที่ของทีมหมอครอบครัว
    -
    เป็นหมอครอบครัว ดูแลปัญหาสุขภาพ รักษาพยาบาลเบื้องต้น
    - ประสานการส่งต่อเมื่อเกินความสามารถ
    - เน้นส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เสริมพลังการพึ่งพาตนเอง
    - เชื่อมประสานองค์กรท้องถิ่น ภาครัฐอื่นๆ ขจัดทุกข์ เพิ่มสุข ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้กับครอบครัวและชุมชน
    -  เป็นพี่เลี้ยงทีมชุมชน
  • เป้าหมายดำเนินการ
  • พื้นที่เขตชนบท (รพ.สต.)
    - บุคลากรสาธารณสุขในรพ.สต. แบ่งพื้นที่ครอบครัวที่รับผิดชอบ โดยมีเป้าหมายประมาณ 1,250 คน/หมอครอบครัว- มีแพทย์ที่ปรึกษาจากรพช
    . รับผิดชอบทุกรพ.สต. เพื่อให้คำปรึกษาและรับส่งต่อ มีทีมหมอครอบครัว ซึ่งเป็นทีมสหวิชาชีพจากรพช.
    - มีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เช่น อสม. จิตอาสา อปท. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน ช่วยเหลือดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบองค์ประกอบของทีมหมอครอบครัวระดับหมู่บ้าน
    อสม. พัฒนาศักยภาพ นักบริบาลชุมชน (Care Giver)
    บทบาทหน้าที่ของทีมหมอครอบครัว
    -
    ช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเอง ให้การบริบาลเบื้องต้น
    - ทำหน้าที่ประดุจญาติของผู้ป่วยและครอบครัว ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อต้องไปรักษาต่อที่รพ.สต.หรือรพช.
    - ช่วยเหลือดูแลขจัดทุกข์ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของครอบครัว ชุมชน

2.  Primary Care and Family Medicine WHO Perspective : ศ.นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง

Primary Care and Family Medicine WHO Perspective : ศ.นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง

Levels of Interventions in Health
- Health promotion- Disease prevention
- Treatment of the sick
- Rehabilitation of the disabled

Health – Two main inter – linked domains
- Medicine;     Specialized domain
Individual approach
Emphasizing treatment and rehabilitation

- Public health;          Multidisciplinary and multi-sectorial domain
Group approach
Emphasizing health promotion and disease prevention

Primary health care (Alma Ata Declaration, 1978)
- People’s health care system
- Empowerment of all people for self-reliance
- Tool for public health interventions- Key to health for all people
- Primary medical care

Family medicine vs Family health (Medicine + Public health)

Family physician vs Public health physician

Primary Care

- Link to secondary and tertiary care in referral system

- A part of national health care system

Issues between Medicine + Public health

- Mutually inclusive

- Use of medical treatment in public health

          – Use of back up from medical institutions in public health

*Training and supervising

*Research

Role of Family physician

- Link between national health care system and people’s health care system

- Link between public health and medicine

Education and training for FP

- Undergraduate

- Postgraduate

- Content [ Both medicine & Public health

Primary health care

Utilization for FP

- Closed to families

- In health facilities; primary secondary tertiary

- In medical schools

- Ten-household doctors

***Family is most important unit as the starting point of the development of health of people/population

Factors influencing the training of FP

- Career ladder

- Social recognition

- Financial and other incentives

- Inadequate motivation in medical schools

- Lack of confidence to deal with health problems right at the grassroots in community

- Longing for being specialists
3. ปัญหากฎหมายในเวชปฏิบัติ พ.ร.บ. การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม: ศ.นพ.วิรัตน์ พาณิชย์พงษ์  คุณประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล

ปัญหากฎหมายในเวชปฏิบัติพ.ร.บ. การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม: ศ.นพ.วิรัตน์ พาณิชย์พงษ์  คุณประภัสสร พงศ์พันธุ์พิศาล

มาตรา 4 “การพยาบาล” หมายความว่า การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับ
- การดูแลและการช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วย
- การฟื้นฟูสภาพ
- การป้องกันโรค
- การส่งเสริมสุขภาพ
- การช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค

“การประกอบวิชาชีพการพยาบาล”
การกระทำตามวิธีที่กำหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค
การช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค
ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาลในการประเมินสภาพ การวินิจฉัยปัญหา การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมิน

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ตามข้อกำหนดในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2545

“การรักษาโรคเบื้องต้น” หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดรักษาเบื้องต้น เพื่อการแก้ปัญหาการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย บรรเทาความรุนแรงหรืออาการของโรคให้ผู้ป่วยพ้นภาวะความเจ็บป่วย หรือภาวะวิกฤต ทั้งนี้รวมถึงการประเมินผลการรักษาเบื้องต้นด้วย

“การให้ภูมิคุ้มกัน” หมายความว่า การให้วัคซีนป้องกันโรค

ผู้มีสิทธิทำการรักษาโรคเบื้องต้นฯ
1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 1 หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 1
2. ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกำหนด
3. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) กับสภาการพยาบาล

หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรักษาโรคเบื้องต้น
1.  ตรวจวินิจฉัยและบำบัดโรคตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
2.  ให้ผู้ป่วยไปรับการบำบัดจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
- อาการไม่บรรเทา
- อาการรุนแรงเพิ่มขึ้น
- เป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความตามพ.ร.บ. โรคติดต่อ
- มีเหตุอันควรเกี่ยวกับการบำบัดรักษา เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์
3. ต้องให้ยาตามคู่มือยาที่สภาการพยาบาลกำหนด
4. ต้องให้ภูมิคุ้มกันโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
5. ต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ อาการของโรค การรักษาที่ให้ หรือการให้บริการตามความเป็นจริง

ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550

“การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายความว่า การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือและดูแลทันที รวมถึงการปฐมพยาบาล การปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตั้งแต่จุดเกิดเหตุ/แรกพบ จนผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกวิธีจากแพทย์

“การเจ็บป่วยวิกฤต” หมายความว่า การเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือพิการได้

เงื่อนไขการรักษาโรคเบื้องต้น
1. ตรวจวินิจฉัยและบำบัดโรคตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพฯ
2. ให้ผู้ป่วยไปรับการบำบัดรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เมื่อ
- อาการไม่ทุเลา
- อาการรุนแรงเพิ่มขึ้น
- มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความตามกฎหมาย
- มีเหตุอื่นๆ เกี่ยวกับการบำบัดรักษา เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเวชภัณฑ์
3. ต้องใช้ยาตามคู่มือยาที่สภากำหนด
4. ต้องให้ภูมิคุ้มกันโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
5. ต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย อาการของโรค การรักษาพยาบาลหรือบริการที่ได้รับ ให้บันทึกตามแบบของสภาฯ และเก็บไว้เป็นหลักฐาน (อย่างน้อย 5 ปี)

การควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น
คุณสมบัติของพยาบาลที่รับผิดชอบในการรักษาโรคเบื้องต้น
1. ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 1
2. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลไม่น้อยกว่า 2 ปี
3. ผ่านการอบรมจากหลักสูตรในหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) และได้รับประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางการรักษาโรคเบื้องต้นจากสถาบันที่ ฝึกอบรม
4. ได้รับวุฒิบัตรความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์สาขาเวชปฏิบัติชุมชน

ขอบเขตการรักษาโรคเบื้องต้น
1. สามารถตรวจ ประเมินสภาพ วินิจฉัย แยกโรคว่าอยู่ในกลุ่มใด และให้การรักษาช่วยเหลือที่เหมาะสมตามข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้น
2. ให้การช่วยเหลือ ส่งต่อ การรักษาโรค และทำหัตถการที่กำหนด
3. ให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ รักษาโรคตามแนวทางที่กำหนด และให้ภูมิคุ้มกันพื้นฐาน
4. ติดตามผลการให้การช่วยเหลือ รักษา
5. รับดูแลผู้ป่วยต่อ เพื่อให้การดูแลที่ต่อเนื่อง รวมทั้งการให้ยาเพิ่มเติมตามคำสั่งแพทย์ในผู้ป่วยเรื้อรัง (Refill)

การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการปฏิบัติ
     1. ต้องมีเครือข่ายที่สามารถปรึกษา หรือส่งต่อเมื่อเกินความสามารถ
2. มีแนวปฏิบัติทางคลินิกที่ชัดเจน
3. มีการทำบันทึก และทำรายงานเพื่อการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ
4. สภาการพยาบาลจะจัดทำทะเบียนผู้ผ่านการอบรมฯ ที่เป็นปัจจุบันทุก 6 เดือน
5. มีกลไกในการประสานงานเพื่อควบคุมคุณภาพ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

ปัญหา ที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินเพื่อช่วย ชีวิต ช่วยยับยั้งความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการดำเนินของโรคตามมาตรฐานวิชาชีพ เวชกรรม โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 80 คุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพไว้

-  ผลการรักษาไม่เป็นที่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วย หรือญาติที่คาดหวังไว้จากหลายประเด็น
1. มาตรฐานการรักษาพยาบาลของแพทย์และสถานพยาบาล
2. ขัดต่อหลักศาสนา การยอมรับในสังคม ประเพณีท้องถิ่นที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
3. ขัดต่อการยอมรับของญาติ หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่มีแนวปฏิบัติต่างกัน

- ปัญหากฎหมายที่อาจมีผู้หยิบยกขึ้นมาร้องเรียน ฟ้องร้อง การละเมิดทางอาญา ทางแพ่ง
1. พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมเรื่องความยินยอมให้การรักษาพยาบาล
2. คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
3. เจตนาของผู้ป่วยที่ทำเจตสัญญาไม่ยื้อชีวิต และการบริจาคอวัยวะเมื่อสมองตาย
4. การหน่วงเหนี่ยวกักขัง มาตรา 310
5. การขืนใจผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม มาตรา 309
6. การปฏิบัติหน้าที่แพทย์ได้มาตรฐานวิชาชีพเวชกรรมหรือไม่
7. เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของสถานพยาบาลแต่ละแหล่ง เน้นขั้นตอนความรับผิดชอบ
7.1   ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ของแพทย์ และคำแนะนำจากแพทย์ที่ปรึกษา
7.2   ศักยภาพของสถานพยาบาล อุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์
7.3   ความพร้อมของบุคลากรในขณะนั้น
7.4  มีทางเลือกที่ดีกว่าหรือไม่ในแต่ละกรณี ถ้ามีความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วยเป็นเหตุสุดวิสัย หรือความประมาทที่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ตามกระบวนการ

การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
1. จริยธรรมแห่งวิชาชีพ
1.1 เป็นผู้มีความรู้ในวิชาชีพตามหลักสูตรที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
1.2 มีการฝึกอบรมด้านจริยธรรมแห่งวิชาชีพแพทย์ให้รับทราบ เข้าใจ ยอมรับ นำมาใช้ ปฏิบัติใช้ตั้งแต่เป็นนักศึกษาแพทย์จนจบหลักสูตร
1.3 มีการปฏิญาณตนก่อนการประกอบวิชาชีพ
1.4 รับค่าตอบแทนเป็นระบบค่าธรรมเนียม
1.5 มีการประเมินคุณภาพวิชาการของต้นให้ทันสมัยตามมาตรฐานวิชาชีพสากล
2. มีความถูกต้องตามกฎหมาย
2.1 ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากแพทยสภา (รวมถึงวุฒิการศึกษาเพิ่มเติม) ตามกำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525
2.2 มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติรับผิดชอบ ถ้าไม่ปฏิบัติจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไปตามที่กฎหมายกำหนด
2.3 มีการประเมินความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ตนเองว่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่มีความพร้อมของบุคลากรที่จำเป็น และสถานพยาบาลมีศักยภาพเพียงพอที่จะปฏิบัติได้
2.4 มีแพทย์ที่ร่วมรับผิดชอบ ให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางปฏิบัติ
3. การมีส่วนร่วมตัดสินใจ รับผิดชอบผู้ป่วยหรือญาติให้ได้รับทราบข้อมูล เข้าใจ ยอมรับ การวินิจฉัยแนวทางและผลการรักษา เพื่อตัดสินใจร่วมกันในการรักษา
4. เลือกแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดในการรักษาพยาบาลเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย
4.1 ให้การรักษาในสถานพยาบาลนั้น
4.2 สื่อสาร ส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสมที่สุดในด้านศักยภาพ การส่งต่อและระยะเวลาเป็นตัวแปร
4.3 ผู้ป่วยหรือญาติรับทราบ ยอมรับผลการรักษาพยาบาลที่จะเกิดขึ้นและอนุญาตให้ดำเนินการได้เป็นหลักฐานพยานเอกสาร
5. มีความโปร่งใส ตรวจสอบผลที่เกิดจากการรักษาพยาบาลในทุกขั้นตอนว่าเป็นเหตุสุดวิสัย หรือมีความประมาทในขั้นตอนใดหรือไม่
6. มีความรับผิดชอบของทุกฝ่าย ร่วมกันรับผลการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น

  4.  Pitfall in Clinical Practice: น.อ.นพ.ไกรสร วรดิถี  พว.สุรีรัตน์ ธนกิจ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในบริการ

1. สมรรถนะของผู้ให้บริการ
- ความรู้ ทักษะ เหมาะสมกับหน้าที่
- มีการติดตามประเมินผล
2. กิจกรรมต้องตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้รับบริการ มีความเหมาะสมและถูกต้อง
3. ประสิทธิภาพของบริการทำให้อัตราการรอดชีวิต หรือคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น
4. มีความปลอดภัย

เป้าหมายการควบคุมและป้องกันโรคเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอคลองใหญ่
1. สร้างระบบเฝ้าระวังปัญหา เตือนภัย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดโรครายใหม่ และโรคระบาดชายแดน
2. สร้างระบบการดูแลที่บ้าน/ ติดตามผู้ป่วย ควบคุมการดำเนินของโรค เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และอัตราตายของโรค
3. สร้างระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังระยะประคับประคองหรือระยะสุดท้าย เชื่อมต่อจากสถานบริการสู่ครอบครัวและชุมชนเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถอยู่กับความเจ็บป่วยได้อย่างมีสุขภาวะที่บ้าน

การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เชื่อมการดูแลจากรพ. สู่ครอบครัวและชุมชน

แนวทางการพัฒนาการดูแลแบบประคับประคอง
1. พัฒนาต่อยอดรูปกแบบการดูแลผู้ป่วยของสหวิชาชีพให้สอดคล้องกับเวชศาสตร์ครอบครัว
2. ตั้งธนาคารอุปกรณ์สำหรับให้ผู้ป่วยยากจนยืมใช้ที่บ้าน ได้แก่ เตียง ที่นอนลม เจล เครื่องพ่นยา เครื่องดูดเสมหะ เครื่องผลิตออกซิเจน ฯลฯ
3. แสดงผลการดูแลผู้ป่วยในเวทีประชาคม และสภาท้องถิ่นเพื่อขอบคุณความร่วมมือและเงินบริจาคของชุมชน และสร้างความเข้าใจเรื่องจิตวิญญาณ
4. พัฒนาทักษะด้าน Spiritual support แก่บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ปฏิบัติจริงในวิถีชีวิตของตนเองและผู้ป่วย
      5. การพัฒนาความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิ: รศ.พญ.สมจิต พฤกษะริตานนท์  ศ.เกียรติคุณ ดร.สมจิต หนุเจริญกุล  

Four sets of PHC reforms (WHO, 2008)
- Universal coverage reforms
- to improve health equity- Services delivery reforms
- to make health system people centered- Leadership reforms
- to make health authority reliable- Public Policy reforms
- to promote and protect the health of community

 

Primary care
   – เป็นบริการที่ประชาชนเข้ารับบริการด่านแรก เมื่อมีปัญหาสุขภาพ หรือเกิดเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ
- Primary health careสามารถประยุกต์ใช้กับ Primary care ได้ดีที่สุด

 

การบริการปฐมภูมิ: บริบทของประเทศไทย
- การบริการสุขภาพพื้นฐานสำหรับประชาชนทุกคน
- เป็นบริการที่เป็นองค์รวมและต่อเนื่องแก่บุคคลในทุกภาวะสุขภาพ ตั้งแต่สุขภาพดี กลุ่มเสี่ยง เจ็บป่วยเล็กน้อย เจ็บป่วยเรื้อรัง ไปจนระยะท้ายของชีวิต และจากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน
- ทำงานเป็นเครือข่าย
- Empowerment
Health literacy
การดูแลตนเอง การพึ่งพากันเอง และแสวงหาบริการสุขภาพที่เหมาะสม
สามารถตัดสินเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน
- การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom/complementary therapy)
- ชุมชนมีส่วนร่วม
- เน้นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้กับผู้ใช้บริการและกับชุมชน
- ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- เปลี่ยนจากการบริการที่ใช้สถานบริการเป็นฐาน เป็นการใช้ชุมชนเป็นฐาน มุ่งเป้าหมายของระบบสุขภาพชุมชน

 

พัฒนาการและการเตรียมพยาบาลเวชปฏิบัติในประเทศไทย

 

Historical Development of NP: Thailand context  
พ.ศ. 2513 มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ริเริ่มจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการรักษาโรคเบื้องต้นในหลักสูตรปริญญาตรี

 

การขับเคลื่อนของสภาการพยาบาล
         
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 มาตรา 4 (3) การกระทำการตามวิธีที่กำหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้น การให้ภูมิคุ้มกันโรค และการวางแผนครอบครัว

 

การศึกษาของพยาบาลเวชปฏิบัติปัจจุบัน
– หลักสูตรฝึกอบรม 4 เดือน เน้นการรักษาโรคเบื้องต้น
– หลักสูตรปริญญาโท 2 ปี เน้นความเข้มแข็งวิชาการ สุขภาพชุมชน การรักษาโรคเบื้องต้น ทักษะในการศึกษาค้นคว้า ทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพการพยาบาลและเรียนรู้ด้วยตนเอง
- สอบวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติ

 

NP สามารถทำงานกับประชาชนได้ดีในเรื่องการให้ความรู้ การจัดการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง การค้นหาบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง และหาทางป้องกัน การเข้าถึงกลุ่มประชากรที่ย้ายถิ่น มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และปัญหาทางจิตสังคม

 

NP สามารถใช้ทักษะได้อย่างกว้างขวางในการให้คำปรึกษา การสอน การส่งเสริมให้ประชาชนดูแลตนเอง การประสานงานและการใช้แหล่งประโยชน์ต่างๆ ในชุมชน รวมถึงการดูแลสุขภาพที่บ้าน

 

Nurse Practitioner Physician Relationship in USA

 

Currently in transition

 

Physician supervision to physician collaboration

 

“Physician extenders” to independent practitioners

 

Extreme examples of early, tight supervision

 

NP scope of practice was very limited

 

NP checked with physician before implementing any plan of any patient

      6. เป้าหมายระยะสั้น (1 ปี) ภายในปี พ.ศ. 2558: นพ.อภิชาติ รอดสม

เป้าหมายระยะสั้น (1 ปี) ภายในปี พ.ศ. 2558: นพ.อภิชาติ รอดสม

แพทย์และทีมสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานบริการปฐมภูมิและพร้อมจะทำงานในทีมหมอครอบครัว

รพศ. รพท./รพช./ รพสต  →พัฒนาศักยภาพ →เวชศาสตร์ครอบครัว  อำเภอ = 1,000 ทีม  ตำบล = 10,000ทีม

อสม. ทุกหมู่บ้าน→ พัฒนาศักยภาพ →นักบริบาลชุมชน 100,000 คน (รพสต.ละ 10 คน)

เป้าหมายระยะกลาง ( 3-5 ปี) โรงพยาบาลชุมชน

1. โรงพยาบาลขนาดเล็ก
   – มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 1 คน
- มีทีมครอบครัว (อำเภอ) 1 ทีม

2. โรงพยาบาลขนาดกลาง
   – แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 2-3 คน
- มีทีมครอบครัว (อำเภอ) 2-3 ทีม

3. โรงพาบาลขนาดใหญ่
- แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 3-5 คน
- มีทีมครอบครัว (อำเภอ) 3-5 ทีม (1616)

Comments are closed.