Author Archives: admin

“จัดทำข้อสอบความรู้รวบยอดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ของสถาบันพระบรมราชชนก”

“จัดทำข้อสอบความรู้รวบยอดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ของสถาบันพระบรมราชชนก”

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :   6    พฤศจิกายน    2556

ผู้บันทึก :  นางสาวอุษา จันทร์แย้ม    และ   นางนิศารัตน์ นรสิงห์

กลุ่มงานวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

ฝ่าย : วิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงานประชุม

วันที่      4  พฤศจิกายน  2556   ถึงวันที่   5  พฤศจิกายน   2556

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

สถานที่จัด : ณ ห้องประชุมบัวขาว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

เรื่อง : “จัดทำข้อสอบความรู้รวบยอดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 ของสถาบันพระบรมราชชนก”

รายละเอียด

          จากการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้มีโอกาสร่วมประชุมปรึกษากับอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลในสถาบันพระบรมราชชนกจากเครือข่าย SC-Net และได้ทำงานร่วมกันในการพัฒนาข้อสอบในการสอบรวบยอดของนักศึกษาพยาบาลประจำปีการศึกษา 2556   รายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ได้ข้อสอบจำนวน 2  ชุด ชุดละ 75 ข้อ

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน

สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการทำข้อสอบเพื่อวัดและประเมินผลนักศึกษาพยาบาลให้ตรงตามวัตถุประสงค์และเกิดประสิทธิภาพในการวัดผลสูงสุด

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

แนวทางการออกข้อสอบ

มีความสามารถในการบริหารแนวทางการวัดและประเมินผลเพิ่มมากขึ้น (551)

ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 (พ.ศ. 2559 – 2563)

ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 (พ.ศ. 2559 – 2563)

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :     11    มิถุนายน     2556

 ผู้บันทึกนางสาววิลาสินี   แผ้วชนะ  

กลุ่มงาน :   ยุทธศาสตร์และบริหารคุณภาพ     

ฝ่ายยุทธศาสตร์และบริหารคุณภาพ     

ประเภทการปฏิบัติงาน:  ประชุม

วันที่      7    มิถุนายน   2556 

หน่วยงาน/สถาบันที่จัดสมศ.  

สถานที่จัดณ  โรงแรมซากุระ แกรนด์วิว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  

เรื่อง : ตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 (พ.ศ. 2559 – 2563)  

รายละเอียด

ปรัชญา          ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ
 Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

ปณิธาน          ประเมินเพื่อพัฒนา…อย่างต่อเนื่อง
 Assessing for Continual Improvement

วิสัยทัศน์         คงความเชี่ยวชาญขององค์กร เพิ่มความเชื่อมั่นของประชาคม สร้างความเชื่อใจให้ประชาชน   Maintaining ONESQA’s Competency, Increasing Credibility, and Enhancing Public Confidence

พันธกิจ           ประเมินคุณภาพและรับรองมาตรฐานการจัดการศึกษา

Assessing and Accrediting the Quality of Educational Institutions

ONESQA   Overcome Limitations ก้าวข้ามขีดจำกัด

Nurture Creativity คิดสร้างสรรค์

Enhance Ethics                   ขับเคลื่อนจริยธรรม 

Social Responsibility          รับผิดชอบต่อสังคม 

 Quality Awareness              สำนึกคุณภาพ

Amicable Agency                 องค์กรกัลยาณมิตร

แนวคิด สมศ  “ลดภาระ สร้างสรรค์ กัลยาณมิตร”  ในการประเมินรอบสี่ หากไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่เพิ่มตัวบ่งชี้  หลังจากการประชาพิจารณ์แล้วจะมีการนำเสนอตัวบ่งชี้ในวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 56  ณ ศูนย์ประชุมไบเทคบางนา

แนวคิดในการกำหนดตัวบ่งชี้ ครอบคลุม  3  มิติ ได้แก่

1)      ตัวบ่งชี้พื้นฐาน  ซึ่งเป็นสากล

2)   ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ บ่งบอกความเป็นตัวตน  สามารถใช้มาตรการเทียบเคียง เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละสถาบัน  ผู้บริหารสถาบันต้องสร้างบรรยากาศภายในให้พร้อมในการสนับสนุนอัตลักษณ์ด้วย

3)      ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม  เป็นการช่วยเหลือสังคม  ต้องส่งเสริทั้งในและนอกสถาบัน มองปัญหารอบข้างของสถาบัน

การวัดคุณภาพ   ประเมินจาก

w ความต่อเนื่อง ครอบคลุม

w คุ้มค่า/คุณค่า: ใช้ห้องประชุมให้คุ้ม  

w ความปลอดภัย: ภายในสถาบัน

w ความรับผิดชอบ: ในการผลิตบัณฑิต มีงานทำ

w ความร่วมมือ: ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นเรื่องของทุกคน

w ความทันสมัย: คิดสร้างสรรค์ ริเริ่ม หลากหลาย

w ความดี: คุณธรรม จริยธรรม

w ความงาม: ขึ้นอยู่กับรสนิยม

การวัดคุณภาพศิษย์  คิด ทำ ประเมิน ก่อให้เกิดผลกระทบ เพื่อเปลี่ยนประเทศไทย  จากการประเมินที่ผ่านมาทั้ง 3  รอบ พิจารณาคุณภาพศิษย์จาก ผลสัมฤทธิ์ ความดี การศึกษาต่อ การมีงานทำ ความพึงพอใจผู้ใช้ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิจัย

นิยามคุณภาพศิษย์ “ความรู้ ความสามารถ ความคิด จิตอาสา ความเป็นไทย ทันสมัย ทันโลก”

เป็นกรอบในการคิดแบบวัด

1) ความรู้ : จำ เข้าใจ นำไปใช้

2) ความสามารถ : ตน (ทักษะชีวิต) คน (คุณลักษณะตามสาขาวิชาชีพ) งาน (การเข้าสู่วิชาชีพ)

3) ความคิด : วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ ประเมินคุณค่า และหรือความคุ้มค่า

4) จิตอาสา : เสียสละ บำเพ็ญประโยชน์ รับผิดชอบต่อสังคม

5) ความเป็นไทย : น้ำใจไมตรี สืบสานประเพณี มีวัฒนธรรม

6) ทันสมัย ทันโลก : รู้รอบ รู้ทัน เป็นปัจจุบัน

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การประกันคุณภาพฯ

  (404)

เทคนิคและวิธีการจัดระบบเครือข่าย

เทคนิคและวิธีการจัดระบบเครือข่าย

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  20   กันยายน  2556 

 ผู้บันทึก : นายวิชัย  จิรวัฒนกูลชัย

กลุ่มงาน :  งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

 ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร

ประเภทการปฏิบัติงานประชุม

วันที่      11  กันยายน   2556    ถึงวันที่     13   กันยายน    2556   

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่จัด ณ   จังหวัดนครนายก

เรื่อง :  เทคนิคและวิธีการจัดระบบเครือข่าย

รายละเอียด

1.วิธีการจัดการระบบเครือข่ายภายในองค์กรโดย วิธีการทำเครือข่ายเครือข่ายเสมือนหรือ virtual local area network : Vlan โดยวิธีการทำต้องใช้อุปกรณ์คือ สวิทชิ่งเลเยอร์สาม เป็นตัวที่ใช้ในการทำและการตั้งค่าต่างๆ สิ่งที่ได้จากการทำเครือข่ายเสมือนคือความเร็วของการสื่อสารของเครือข่ายภายในองค์กร โดยการตั้งค่าให้ระบบเครือข่ายแยกป็นส่วนๆ การทำงานจะไม่รบกวนกัน แต่จะเชื่อมต่อถึงกันได้โดยการกำหนดที่ตัวสวิทชิ่ง แต่ข้อเสียคืออุปกรณ์ที่ใช้จะมีราคาที่แพงพอสมควร

2.ระบบสำรองข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Vmware สร้างระบบเสมือนขึ้นมาแล้ว สร้างเครื่องๆหนึ่งให้เป็นเครื่องเซิฟเวอร์ ซึ่งเครื่องเซิฟเวอร์นี้ต้องมีพืนที่สำหรับเก็บข้อมูลให้เท่ากับเครื่องลูกที่เราต้องการเก็บข้อมูลมาสำรอง  วิธีการทำงานก็คือ เครื่องเซิฟเวอร์จะทำการดึงข้อมูลจากเครืองที่เราต้องการดึงข้อมูลมาไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ โดยใช้โปรแกรม Vsphere ติดตั้งที่เครื่องเซิฟเวอร์ แล้วติดตั้ง Vconverter ไว้ที่เครื่องลูกที่เราต้องการเก็บข้อมูล
 

ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

สร้างระบบสำรองข้อมูล เพื่อความปลอดภัย กรณีที่เครื่องเซิฟเวอร์เสีย

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน (293)

ประชุมวิชาการกุมารเวชศาสตร์ สุขภาพเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 14

ประชุมวิชาการกุมารเวชศาสตร์ สุขภาพเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 14

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  3   กรกฎาคม  2556

 ผู้บันทึกนางนอลีสา  โต๊ะยุโส๊ะ    และ  นางสาวนภาวรรณ  วิริยะศิริกุล

กลุ่มงานกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบบาล

ฝ่ายวิชาการ

ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม

วันที่      26  มิถุนายน  2556    ถึงวันที่    28   มิถุนายน  2556   

 หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่

สถานที่จัดณ โรงแรมเซ็นจูรี พาร์ค

เรื่อง : ประชุมวิชาการกุมารเวชศาสตร์ สุขภาพเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 14 

รายละเอียด

                   ปัญหาสุขภาพเด็ก ที่กระทรวงสาธารณสุขมอบเป็นนโยบายในการแก้ไข และการบริหาร

จัดการที่เป็นรูปธรรม คือ ปัญหากลุมที่มีผลต่ออัตราทารกเสียชีวิตในขวบปีแรก อาทิ birth defect, birth asphyxia,prematurity ปัญหากลุ่ม emergency and critical care และปัญหากลุ่ม emerging and re emerging diseae และความก้าวหน้าในการให้การรักษาพยาบาล จากสหสาขาวิชาชีพ ด้านการผ่าตัด ด้านการดมยา ด้านเภสัชกรรม ด้านทันตกรรม ด้านการฟื้นฟูสุขภาพความพิการแต่กำเนิด มีแนวทางการป้องกัน ดังนี้ 1. การให้ความรู้แก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ 2. การวางแผนครอบครัวที่ดี 3. การเสริมอาหารที่เหมาะสม 4. หลีกเลี่ยงสารก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิด 5. ให้การดูแลสุขภาพมารดาที่มีโรคเรื้อรัง 6. การตรวจกรองทารกแรกเกิด แนวทางการรักษา ประกอบด้วย

1. การรักษาทางการแพทย์

2. การรักษาด้วยการผ่าตัดโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำ มีปัจจัยดังนี้ คือ

1. การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิต

2. ผลของความก้าวหน้าในเทคโนโลยีของการรักษา

3. ปัญหาสิ่งแวดล้อม

4. การอุตสาหกรรมผลิตอาหาร

5. การค้าขายระดับสากล

6. ศึกสงคราม ความขัดแย้ง

                    การใช้ยานอนหลับและยาลดความปวดในไอซียูเด็ก ถ้าได้รับไม่เพียงพอจะทำให้เด็กเกิดความทุกข์ทรมาน ความกังวล ชีพจรเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง และอาจส่งผลให้ท่อช่วยหายใจหลุดในรายที่กระวนกระวายอยู่ไม่นิ่ง หรือหากได้รับยาในขนาดที่สูงเกินไปจะกดการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ลดการทำงานของลำไส้ทำให้ท้องอืด ผู้ที่ได้รับยานานเกินไปอาจมีผลทำให้ดื้อยานอนหลับ ปัจจุบันมีการคิดค้นระบบ Scoring system เพื่อใช้ในการประเมินระดับความรู้สึกตัวผู้ป่วย ทำให้สามารถให้ยานอนหลับได้พอเหมาะกับสภาพผู้ป่วย

                      การพยาบาลแบบองค์รวม เป็นการช่วยเหลือหรือเยียวยาสุขภาพของบุคคลทั้งคนในรูปแบบของการบูรณาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ โดยให้ความสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ บริบทของการให้บริการ รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้การพยาบาลแบบองค์รวมต้องอาศัยทั้งความรู้ หลักการ ทฤษฎี ประสบการณ์และสามัญสำนึกที่ดีของพยาบาล

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

                        การนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงานวิชาการในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 บทที่ 4 การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับสมองและไขสันหลังทั้งในระยะวิกฤติ เฉียบพลันและเรื้อรัง รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะทั้งในระยะวิกฤติ เฉียบพลันและเรื้อรัง  

                           การเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1,3

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

 

  (324)

พัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านประกันคุณภาพการศึกษา

พัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านประกันคุณภาพการศึกษา

แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้

 

วันที่บันทึก :  30    กันยายน   2556

 ผู้บันทึกนางนอลีสา โต๊ะยุโส๊ะ    และ   นางสาวจตุพร  ตันตะโนกิจ

กลุ่มงาน :  พัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ฝ่าย :  กิจการนักศึกษา

ประเภทการปฏิบัติงาน  :  ประชุม

วันที่    28   กันยายน    2556    ถึงวันที่    29     กันยายน   2556  

หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้

สถานที่จัด :   ณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สุราษฎร์ธานี

เรื่อง :    พัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านประกันคุณภาพการศึกษา

รายละเอียด

                     การประกันคุณภาพการศึกษา คือ กระบวนการจัดระบบและกลไกการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่กำหนดโดยต้นสังกัดของสถานศึกษา เพื่อให้มั่นใจได้ว่า สถาบันการศึกษาได้ดำเนินการตามภารกิจหลักอย่างมีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก (สมศ.และสกอ.)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีสาระบัญญัติที่กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่ง มีการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความจำเป็นในการประกันคุณภาพการศึกษา โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผลกระทบต่อคุณภาพของคนความหลากหลายในคุณภาพของบัณฑิต/สถานศึกษาการแข่งขันกันสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศความจำเป็นที่จะต้องสร้างองค์ความรู้ให้เป็นสากลเพื่อการยอมรับจากนานาชาติสร้างความมั่นใจให้แก่สังคมว่าสามารถผลิตคนที่มีคุณภาพเพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาลและประชาชนทั่วไปให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมตามปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่บนพื้นฐาน การป้องกัน ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตไม่มีคุณภาพและ การส่งเสริม การดำเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพส่งผลต่อผลผลิตที่มีคุณภาพ

                 บทบาทของนักศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษาสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของวิทยาลัย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา รักษาคุณภาพตามบทบาทของนักศึกษาและบทบาทสมาชิก ที่ดีของสังคม โดยนำ PDCA มาใช้ในการทำกิจกรรมนักศึกษา ประเมินรายวิชาและประเมินการสอนของอาจารย์ และให้ข้อมูลกับคณะกรรมการประเมินคุณภาพของวิทยาลัย

 ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน

การควบคุมคุณภาพการดำเนินโครงการขององค์การนักศึกษาและชมรมให้เป็นไปตามกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมให้นักศึกษามีการสร้างเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกและมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งจะส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และได้เกิดการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 

 ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ

การพัฒนานักศึกษา        

  (321)