แนวปฏิบัติในการนำระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา
นิสิตนักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพตามภารกิจต่างๆของสถาบันอุดมศึกษาและในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
- ด้านการเรียนการสอน
นิสิตนักศึกษาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการริเริ่มวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง กำกับการดำเนินการตามแผน ประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองและร่วมทำงานกับอาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองนำความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษาที่มีอยู่ไปใช้ในการจัดกิจกรรม ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การให้บริการต่างๆแก่ชุมชนและสังคม และนิสิตนักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านต่างๆแก่ชุมชนและสังคม และนิสิตนักศึกษาควรมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านต่างๆของสถาบันเพื่อเป็นการเรียนรู้และฝึกฝนตนเอง เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ กิจกรรมส่วนกลาง (องค์การนิสิตนักศึกษาหรือสโมสรนักศึกษา) กิจกรรมวิชาการ (ชมรมหรือชุมนุมทางวิชาการ เช่น ชมรมภาษาอังกฤษ ชมรมคอมพิวเตอร์) กิจกรรมกีฬา (ชมรมกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ชมรมฟุตบอล ชมรมกรีฑา) กิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม(ชมรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและวัฒนธรรม เช่น ชมรมดนตรีไทย ชมรมดนตรีสากล ชมรมศาสตร์สัมพันธ์) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ (ชมรมกิจกรรมเพื่อการช่วยเหลือสังคม เช่น ชมรมค่ายอาสาพัฒนา ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) กิจกรรมนันทนาการ (การสร้างสรรค์ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ การเล่นกีฬา) สามารถนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาไปสู่การทำกิจกรรมนิสิตนักศึกษาในแต่ละประเภทซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมของนิสิตนักศึกษามีจำนวน 9 ตัวบ่งชี้ โดยนิสิตนักศึกษาจะมีบทบาทในการดำเนินการในแต่ละตัวบ่งชี้ ตามตารางดังนี้
ตารางที่ 3บทบาทนิสิตนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษาในภารกิจด้านการเรียนการสอน
ตัวบ่งชี้ | ตัวอย่างการแสดงบทบาทของนิสิตนักศึกษา |
2.1 มีระบบและกลไกการพัฒนาหลักสูตร | – ให้ข้อมูลแก่สถาบันเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
– ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการสอนของคณาจารย์ – มีส่วนร่วมในความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลผลการดำเนินการหลักสูตรที่สถาบันเผยแพร่ต่อสาธารณะ – ให้ข้อมูลแก่สถาบันเกี่ยวกับความพร้อมของการจัดการศึกษาตามหลักสูตร เช่น ตำรา วารสาร ห้องปฏิบัติการฯ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรทุกเรื่อง – ติดตามการปรับปรุงหลักสูตรของสถาบัน
|
2.2 มีกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ | – ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ แต่ละคนโดยเฉพาะวิธีการสอน การวัดและประเมินผลการเรียน ที่สะท้อนสภาพที่เกิดขึ้นจริง
– ให้ข้อมูลที่นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์
|
2.3 มีโครงการหรือกิจกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ซึ่งบุคคล องค์กร และชุมชนภายนอกมีส่วนร่วม | – เสนอแนะรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
– เสนอแนะการเชิญวิทยากรจากภายนอกหรือหน่วยงานที่สนใจไปฝึกประสบการณ์ – แสดงความสนใจในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนรู้ให้ผู้สอนทราบ
|
2.9 ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำและการประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี | – ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลของสถาบัน
– ช่วยประชาสัมพันธ์การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการติดตามผลบัณฑิตให้เพื่อนนิสิตนักศึกษาหรือผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้วให้ทราบและเข้าใจถึงการนำผลประโยชน์จากข้อมูลไปพัฒนาสถาบัน – ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการได้งานทำของรุ่นพี่ – ให้ข้อมูลการจัดการเรียนการสอน คุณภาพผลผลิตของสถาบันในมุงมองของผู้ใช้บัณฑิตให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ – หลังจากจบการศึกษา มีความตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในฐานะบัณฑิต ที่สามารถช่วยให้ข้อมูลที่มีคุณค่ายิ่งต่อสถาบัน ทั้งเรื่องการได้งานทำ เงินเดือนเริ่มต้น ข้อเสนอต่อการจัดการเรียนการสอนที่เสริมสร้างศักยภาพ ความสามารถ การบริหารจัดการ ที่นำไปสู่การทำงานในโลกแห่งความเป็นจริง อย่างเป็นที่พึงพอใจของนายจ้างผู้ประกอบการ และผู้ใช้บัณฑิต รวมถึงได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่อง ในด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม กีฬา สุขภาพ ศิลปะและวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อมในระดับชาติ หรือนานาชาติ
|
2.10 ร้อยละของบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้รับเงินเดือนเริ่มต้นเป็นไปตามเกณฑ์ | |
2.11 ระดับความพึงพอใจของนายจ้าง ผู้ประกอบการและผู้ใช้บัณฑิต | |
2.12 ร้อยละของนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา ได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่อง ในด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม กีฬา สุขภาพ ศิลปะและวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อมในระดับชาติ หรือนานาชาติ | – พัฒนาตนเองให้อยู่ในขอบข่ายที่จะได้รับการยกย่อง
– ทำตนไม่ให้สถาบันเสื่อมเสีย – หาโอกาสและสร้างชื่อเสียงแก่สถาบันตามศักยภาพของตนเอง เช่น ศึกษาข้อกำหนดของเวทีประกาศผลงานของนักศึกษา และนำมาพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับลักษณะการจัดทำผลงานวิชาการสิ่งประดิษฐ์ วิทยานิพนธ์ ให้สามารถส่งประกวดได้ฯ – ช่วยให้ข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลของเพื่อนนิสิตนักศึกษาหรือศิษย์เก่าที่ได้รับการยกย่องตามเกณฑ์ฯ ให้สถาบันทราบ
|
3.1 มีการจัดบริการแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า | – สื่อสารให้สถาบันทราบถึงความต้องการจำเป็นของตนเองที่ต้องการให้สถาบันจัดบริการให้
– ให้ข้อมูลต่อสถาบันเกี่ยวกับคุณภาพหรือเหมาะสมของบริการที่สถาบันจัดให้ – เสนอให้สถาบันจัดโครงการเพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาชีพของตนเอง และ/หรือศิษย์เก่า ที่ส่งเสริมการได้งานทำ การได้รับเงินเดือนเริ่มต้นเป็นไปตามเกณฑ์
|
3.2 มีการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาที่ครบถ้วน และสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ | – มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนิสิตนักศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองหรือเพื่อนนิสิตนักศึกษาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
– ให้ความร่วมมือกับสถาบันในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพด้านกิจการนักศึกษา – ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนิสิตนักศึกษาโดยใช้กระบวนการ PDCA |
3.2 ด้านการวิจัย
นิสิตนักศึกษาโดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสามารถเข้าร่วมงานด้านวิจัยกับอาจารย์ นักวิชา และบุคลากรสายสนับสนุนของสถาบัน ทั้งการเป็นกลุ่มตัวอย่าง (Subject) สำหรับการวิจัยและการร่วมวิจัยกับบุคลากรของสถาบัน ซึ่งจะทำให้นิสิตนักศึกษามีประสบการณ์ด้านการวิจัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียน และผลการวิจัยของนิสิตนักศึกษาและผลงานวิจัยของอาจารย์ ยังมีประโยชน์ทั้งในการนำไปใช้ด้านต่างๆ อีกด้วยตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยมีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ โดยนิสิตนักศึกษาจะมีบทบาทในการดำเนินในแต่ละตัวบ่งชี้ ตามตารางที่ 4 ดังนี้
ตารางที่ 4 บทบาทนิสิตนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษาในภารกิจด้านการวิจัย
ตัวบ่งชี้ | ตัวอย่างการแสดงบทบาทของนิสิตนักศึกษา |
2.8 มีระบบและกลไกสนับสนุนให้อาจารย์ประจำทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน | – ให้ข้อมูลอาจารย์เกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
– มีส่วนร่วมและเรียนรู้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกับผู้วิจัย – มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย
|
4.1 มีการพัฒนาระบบและกลไกการสนับการผลิตงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ | – มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย
– ให้ข้อมูลความเห็นและเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำแผนทรัพยากรด้านการวิจัย – เข้าร่วมการทำงานวิจัยเป็นทีมกับวิจัยอาวุโส และนักวิจัยระดับกลาง ในฐานะผู้ช่วยนักวิจัยเพื่อให้สามารถทำงานวิจัยอย่างลุ่มลึกและต่อเนื่อง (นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา)
|
4.2 มีระบบบริหารจัดการความรู้จากงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ | – ให้ข้อมูลสถาบันเกี่ยวกับการจัดการความรู้จากงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
– ให้ข้อมูลสถาบันเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการความรู้ที่สถาบันดำเนินงานว่าสะดวก เหมาะสมเพียงใด |
4.4 ร้อยละของงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ดีพิมพ์เผยแพร่ ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติ และในระดับนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำ | – ช่วยเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของสถาบัน
– ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยของอาจารย์ไปใช้อ้างอิงหรือการนำไปใช้ประโยชน์ระดับชาติ |
4.5 ร้อยละของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง (citation) ใน refereed journal หรือฐานข้อมูลระดับชาติหรือระดับนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ (เฉพาะสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย) |
3.3 ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นภารกิจหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันและชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความรู้สมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มทักษะและความรู้ให้กับนิสิตนักศึกษาและยังสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการเรียนของตน ได้ฝึกฝนทักษะด้านอาชีพตามสภาพความเป็นจริงเพื่อให้ทราบความต้องการของสังคม ปัญหาของสังคมและร่วมกันแก้ไข ช่วยเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นในการตรวจสอบการดำเนินงานด้านการให้บริการวิชาการแก่สังคมของสถาบัน ให้เป็นไปตามเป้าหมายของภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการวิชาการแก่สังคม มีจำนวน 2 ตัว บ่งชี้ โดยนิสิตนักศึกษาจะมีบทบาทในการดำเนินการแต่ละตัวบ่งชี้ ตามตารางที่ 5 ดังนี้
ตารางที่ 5 บทบาทนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษาในภารกิจด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
ตัวบ่งชี้ | ตัวอย่างการแสดงบทบาทของนิสิตนักศึกษา |
5.1 มีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมตามเป้าหมายของสถาบัน | – ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดบริการทางวิชาการแก่สังคมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
– ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองต้องการให้สถาบันจัดบริการทางวิชาการ – ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองต้องการให้สถาบันจัดบริการทางวิชาการให้ – เสนอการจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรม เชื่อมโยงและบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมเข้ากับการเรียนการสอน เช่น สถานการณ์และ/หรือความต้องการจริงของสังคม ชุมชน อาทิ การจัดทำแผนที่/การสำรวจข้อมูล/การวินิจฉัยชุมชน เป็นชิ้นงานจริงในระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติฯ หรือการวิจัย หรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เช่น การให้บริการตรวจสุขภาพในวันผู้สูงอายุฯ – เสนอกิจกรรมและรูปแบบการจัดบริการทางวิชาการแก่สังคมในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่ต้องการ – เข้าร่วมกิจกรรมและรูปแบบการจัดบริการทางวิชาการแก่สังคมในการจัดบริการทางวิชาการของสถาบัน – ติดตามการปรับปรุงการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
|
5.3 ร้อยละของกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความต้องการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ
|
– ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลของสถาบัน
– เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการต่างๆที่สถาบันจัดขึ้น – ช่วยประชาสัมพันธ์การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมบริการวิชาการและวิชาชีพของสถาบัน |
5.4 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ | – กรณีที่ร่วมจัดโครงการบริการวิชาการ สามารถมีส่วนช่วยรักษาและพัฒนาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยอาจคำนึงถึงผลของการดำเนินงานต่อความพึงพอใจใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ
– ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ – ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ – ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก – ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ
|
แนวปฏิบัติในการนำระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
ไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา