แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : 28 พฤษภาคม 2557
ผู้บันทึก : นางวรัญญา จิตรบรรทัด
กลุ่มงาน : การพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ
ฝ่าย : ยุทธศาสตร์และการบริหารความเสี่ยง
ประเภทการปฏิบัติงาน: การนำเสนอผลงานวิจัย
วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สถานที่จัด : ณ โรงแรมภูเก็ต แกรชแลนด์ รีสอร์ท
เรื่อง : การนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ
รายละเอียด
ชื่อเรื่องวิจัย ผลของการปรับพฤติกรรมและการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
องค์ความรู้ที่ได้
การถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอนของผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการปรับพฤติกรรม และการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอด โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative study) วิเคราะห์ผลโดยการใช้ Content analysis จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 10 คน เป็นเพศหญิงทั้งหมด เป็นโรคเบาหวานมาประมาณ 5-10 ปี มีอายุตั้งแต่ 36-74 ปี พบว่าสามารถจำแนกผู้ป่วยตามการปรับพฤติกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่มีการปรับยา โดยปรับตามมื้ออาหารที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในเดือนรอมฎอนผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ 2 มื้อหลัก คือ ก่อนแสงพระอาทิตย์ขึ้นส่วนใหญ่รับประทานอาหารเวลา 03.00-04.00 น. และมื้อเย็นตอนพระอาทิตย์ตกเวลาประมาณ 18. 30น. กรณีที่มียามื้อเที่ยงผู้ป่วยจะนำไปรับประทานก่อนนอน 2) กลุ่มที่มีการปรับยาและอาหาร ในเดือนรอมฎอนนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยบอกว่าเป็นประโยชน์คือ ไม่สามารถกินจุบจิบได้ แต่ชนิดของอาหารจะเปลี่ยนไปจากเดิม คือ อาหารที่ใช้ละศีลอดส่วนใหญ่เป็น อาหารรสหวาน เช่น น้ำหวาน ของหวาน และอาหารมัน โดยมากจะแกงกะทิ ต้มซุปเนื้อ แทนการแกงส้ม แกงลียง โดยให้เหตุผลว่า “อดมาทั้งวัน ต้องกินอาหารดีๆหน่อย” ทางกลุ่มจึงได้ตกลงกันว่า จะปรับจากน้ำหวานเป็นน้ำมะพร้าวอ่อน(ไม่ใส่น้ำตาลและเนื้อมะพร้าว)แทน และลดปริมาณข้าวลง เพิ่มการรับประทานผลไม้ เช่น อินทผาลัม(ไม่เกิน 2 ผล) และแอบเปิ้ล 3) กลุ่มที่มีการปรับยาและการออกกำลังกาย ในเดือนรอมฎอนผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียจากจึงไม่ได้ออกกำลังกาย ทางกลุ่มจึงตกลงร่วมกันว่า การออกกำลังกายจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยการเดินในตอนย่ำรุ่งหลังรับประทานอาหาร และกลุ่มที่ออกกำลังกายโดยการละหมาดตะรอเวียะห์ในช่วงกลางคืน(ละหมาดนานและได้เหงื่อ) ซึ่งใครจะออกกำลังกายแบบไหนนั้นแล้วแต่ความสมัครใจ 4) กลุ่มที่มีการปรับยา อาหาร และการออกกำลังกาย โดยในการปรับพฤติกรรมนั้นผู้ป่วยจะต้องจดบันทึกชนิด ปริมาณของอาหาร และยาที่รับประทานในทุกมื้อ รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติและจดบันทึกตลอด 1 เดือนในช่วงการถือศีลอด จากการดำเนินงานสรุปได้ว่า ผู้ป่วยสามารถถือศีลอดได้มากกว่า 20 วัน ถึง ได้ตลอดทั้งเดือน ที่ไม่สามารถถือศีลอดได้เนื่องจากมีประจำเดือน และโดนเจาะเลือด อาการผิดปกติที่พบในผู้ป่วยบางราย คือ อ่อนเพลีย ใจสั่น หวิวๆ วิธีแก้ปัญหา คือ ล้างหน้า และนอนพัก แต่ถ้านอนักแล้วไม่ดีขึ้น มีอาการหน้ามืดจะเป็นลมก็จะละศีลอดโดยการดื่มน้ำหวาน
ผลการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 10 คน เป็นเพศหญิงทั้งหมด เป็นโรคเบาหวานมาประมาณ 5-10 ปี มีอายุตั้งแต่ 36-74 ปี มีโรคความดันโลหิตร่วม7 คน
พบว่าสามารถจำแนกผู้ป่วยตามการปรับพฤติกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มีการปรับยา โดยปรับตามมื้ออาหารที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในเดือนรอมฎอนผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ 2 มื้อหลัก คือ ก่อนแสงพระอาทิตย์ขึ้นส่วนใหญ่รับประทานอาหารเวลา 03.00-04.00 น. และมื้อเย็นตอนพระอาทิตย์ตกเวลาประมาณ 18. 30น. โดยยาก่อนอาหารเช้ารับประทานตั้งแต่ตื่นขึ้นมาทำกับข้าว ประมาณ 02.00- 02.30 น. รับประทานอาหารแล้วก็จะแล้วรับประทานยาหลังอาหารเช้า และยาหลังอาหารเย็น กรณีที่มียามื้อเที่ยงผู้ป่วยจะนำไปรับประทานก่อนนอน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะประเมินตัวเองจากการถือศีลอดในวันแรกๆว่ามีอาการเหงื่อออก ใจสั่น วูบ จะเป็นลม หรือไม่ ถ้ามีอาการดังกล่าวผู้ป่วยจะลดปริมาณยาลงในวันถัดไป เช่น การไม่รับประทานยาหลังอาหารเช้า เนื่องจากคิดว่าเดี๋ยวอดอาหารทั้งวัน ถ้ารับประทานยาจะทำให้มีอาการผิดปกติในช่วงบ่ายได้
2. กลุ่มที่มีการปรับยาและอาหาร ในเดือนรอมฎอนนั้นสิ่งที่ผู้ป่วยบอกว่าเป็นประโยชน์คือ ไม่สามารถกินจุบจิบได้ แต่ชนิดของอาหารจะเปลี่ยนไปจากเดิม คือ อาหารที่ใช้ละศีลอดส่วนใหญ่เป็น อาหารรสหวาน เช่น น้ำหวาน ของหวาน และอาหารมัน โดยมากจะแกงกะทิ ต้มซุปเนื้อ แทนการแกงส้ม แกงลียง โดยให้เหตุผลว่า “อดมาทั้งวัน ต้องกินอาหารดีๆหน่อย” ทางกลุ่มจึงได้ตกลงกันว่า จะปรับจากน้ำหวานเป็นน้ำมะพร้าวอ่อน(ไม่ใส่น้ำตาลและเนื้อมะพร้าว)แทน และลดปริมาณข้าวลง เพิ่มการรับประทานผลไม้ เช่น อินทผาลัม (ไม่เกิน 2 ผล) และแอบเปิ้ล รวมทั้งไม่รับประทานอาหารหลัง 22.00 น.
3. กลุ่มที่มีการปรับยาและการออกกำลังกาย ในเดือนรอมฎอนผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียจากจึงไม่ได้ออกกำลังกาย ทางกลุ่มจึงตกลงร่วมกันว่า การออกกำลังกายจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยการเดินในตอนย่ำรุ่งหลังรับประทานอาหาร และกลุ่มที่ออกกำลังกายโดยการละหมาดตะรอเวียะห์ในช่วงกลางคืน(ละหมาดนานและได้เหงื่อ) ซึ่งใครจะออกกำลังกายแบบไหนนั้นแล้วแต่ความสมัครใจ
4. กลุ่มที่มีการปรับยา อาหาร และการออกกำลังกาย
ทั้งนี้ในการปรับพฤติกรรมนั้นผู้ป่วยจะต้องจดบันทึกชนิด ปริมาณของอาหาร และยาที่รับประทานในทุกมื้อ รวมถึงสังเกตอาการผิดปกติและจดบันทึกตลอด 1 เดือนในช่วงการถือศีลอด จากการดำเนินงานสรุปได้ว่า ผู้ป่วยสามารถถือศีลอดได้มากกว่า 20 วัน ถึง ได้ตลอดทั้งเดือน ที่ไม่สามารถถือศีลอดได้เนื่องจากมีประจำเดือน และโดนเจาะเลือด อาการผิดปกติที่พบในผู้ป่วยบางราย คือ อ่อนเพลีย ใจสั่น หวิวๆ วิธีแก้ปัญหา คือ ล้างหน้า และนอนพัก แต่ถ้านอนักแล้วไม่ดีขึ้น มีอาการหน้ามืดจะเป็นลมก็จะละศีลอดโดยการดื่มน้ำหวาน
สรุป
การถือศีลอดเป็นการปฏิบัติตามศาสนกิจของศาสนาอิสลามที่กำหนดให้มุสลิมปฏิบัติปีละหนึ่งเดือนซึ่งเรียกตามปฏิทินอิสลามว่า เดือนรอมฎอน การถือศีลอดจะละการกิน การดื่ม การร่วมประเวณี ตั้งแต่แสงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตก จึงส่งผลต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยอาจทำให้โรคกำเริบหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ การปรับพฤติกรรมและการใช้ยาในช่วงเดือนถือศีลอดของผู้ป่วยจึงมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้ก็จะทำให้สามารถถือศีลอดได้อย่างปลอดภัย
ข้อเสนอแนะ
หน่วยปฏิบัติงานปฐมภูมิควรให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนยาแก่ผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นเบาหวานทุกราย ให้สามารถถือศีลอดได้อย่างปลอดภัย
(1085)