วิธีปฏิบัติที่ดีตอบสนองการดำเนินงานตามกลุ่มภารกิจการบริการวิชาการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในชุมชนนาเคียน

วิธีปฏิบัติที่ดีตอบสนองการดำเนินงานตามกลุ่มภารกิจการบริการวิชาการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในชุมชนนาเคียน

ชื่อผลงานวิธีปฏิบัติที่ดีตอบสนองการดำเนินงานตามกลุ่มภารกิจการบริการวิชาการ

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการในชุมชนนาเคียน

 วัตถุประสงค์

1)      พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน

2)      พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

3)      สร้างองค์ความรู้จากการบูรณาการบริการวิชาการกับการวิจัยในชุมชนโดยสร้างรูปแบบการดูแล

ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนและรูปแบบการดูแลผู้พิการด้วยระบบครอบครัวพหุวัฒนธรรม

4)      สร้างเครือข่ายความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโหนด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราชในการดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียน

5)       เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์โดยบูรณาการบริการวิชาการแก่สังคมกับการ

เรียนการสอน

การดำเนินการ

วิทยาลัยดำเนินการตามแผน มีการสำรวจความต้องการของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโหนด ผู้นำหมู่บ้าน แกนนำชุมชน โรงเรียน ผู้นำศาสนา ในการจัดทำประชาพิจารณ์ ค้นหาปัญหาชุมชนร่วมกัน  และได้จัดทำบันทึกตกลงความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนนาเคียนโดยกำหนดการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 สร้างความรู้ โดยจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลในการฟื้นฟูสภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนระหว่างเดือน มกราคม- กรกฎาคม 2553ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน จำนวน 80,000 บาท ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน มีผู้เข้าอบรม จำนวน 195 คน หลังจากนั้นได้จัดทีมจิตอาสา มีอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีจิตอาสา จำนวน 53 คน ลงปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่บ้าน ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล จำนวน 5 คน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโหนดจำนวน 5 คน อาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช จำนวน 20 คน นักศึกษา จำนวน 65 คน รวมทีมจิตอาสาทั้งหมด 148 คน  และมีการจัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินปัญหาและความต้องการของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และนำผลของการประเมินไปปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้พิการผลจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ ทำให้อสม. เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหว สามารถประสานงานกับโรงพยาบาลมหาราชในการพาผู้พิการไปตรวจเพื่อขึ้นทะเบียนผู้พิการ และเบิกอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการในการเคลื่อนไหวมาให้ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน ซึ่งจากการถอดบทเรียนประเมินผลโครงการ อสม.ต้องการความรู้ในการดูแลผู้พิการเพิ่มเติม นำไปสู่การจัดโครงการในระยะที่ 2

ระยะที่ 2 สร้างความรัก โดยจัดทำโครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนนาเคียนโดยการจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. เพิ่มเติมด้านการดูแลทางจิตใจ การใช้กระบวนการจิตปัญญาในการสื่อสารกับผู้พิการและครอบครัว การดูแลตามหลักการทางศาสนาการดูแลโภชนาการ เพื่อให้ อสม. สามารถดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียนต่อเนื่องและยั่งยืนโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.นาเคียน จำนวน 110,650 บาทในการบริหารจัดการโครงการ และเป็นค่าตอบแทนให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขในการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือผู้พิการในชุมชน และดำเนินงานต่อเนื่องจนถึง เดือน ธันวาคม 2553และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  ผลของการประเมินโครงการ อสม. ต้องการความรู้ ทักษะในการดูแลผู้พิการเบื้องต้น เช่น การพลิกตะแคงตัว การเช็ดตัว การสระผมบนเตียง นำไปสู่การจัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล ในด้านการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวบูรณาการบริการวิชาการกับรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล โดยจัดอบรม อสม. ชมรมจิตอาสาดูแลผู้พิการ ให้มีความรู้และทักษะในการดูแลช่วยเหลือผู้พิการเบื้องต้น เช่น การเช็ดตัวบนเตียง การสระผม การนวดหลัง การพลิกตะแคงตัว โดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรู้การให้บริการตามสภาพจริง จากการดำเนินกิจกรรมโครงการในการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนเป็นระยะเวลานาน ทำให้ อสม. มีความใกล้ชิด เข้าใจความรู้สึกของผู้พิการมากขึ้น อยากดูแลช่วยเหลือผู้พิการต่อไป   จึงเกิดการก่อตั้งชมรมจิตอาสาดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  ๑) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียน๒) สร้างจิตสำนึกด้านความรัก การช่วยเหลือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกันในชุมชนและ ๓) เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดโครงการ/กิจกรรมในการพัฒนาชุมชน  ซึ่งกิจกรรมที่ชมรมได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้แก่ ๑) กิจกรรมการดูแลช่วยเหลือผู้พิการ โดยการทำกายภาพบำบัดให้ความรู้ คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ ปลอบใจและเป็นกำลังใจให้ผู้พิการอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ ๑ ครั้ง  ๒) กิจกรรมสืบค้นผู้พิการรายใหม่เพื่อนำไปตรวจร่างกายและลงทะเบียนผู้พิการ  จัดหาวัสดุอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้พิการ    ๓)  กิจกรรมจัดหาทุนในการดูแลผู้พิการและสร้างศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการของชุมชนผลการประเมินถอดบทเรียนสะท้อนคิดของ อสม. จิตอาสาดูแลผู้พิการ รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้พิการในชุมชน และผู้พิการต้องการมีรายได้จากการประกอบอาชีพ นำไปสู่การจัดโครงการในระยะที่ 3

ระยะที่ 3 สร้างคุณค่า โดยวิทยาลัยร่วมกับชมรมจิตอาสาดูแลผู้พิการตำบลนาเคียน สำรวจความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการสร้างอาชีพแก่ผู้พิการ และได้จัดทำแผนการส่งเสริมอาชีพการทำไม้กลัดแก่ผู้พิการโดยวิทยาลัยมอบทุนส่วนหนึ่งในการจัดซื้ออุปกรณ์  และส่งเสริมอาชีพการปอกกระเทียม จากการติดตามเยี่ยมประเมินคุณภาพชีวิตผู้พิการ และถอดบทเรียน พบว่า ผลของการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อนิ้วมือและข้อของผู้พิการให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น  

วิธีปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์

แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

 

จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

 

วางแผนการดำเนินงาน

1.ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน

2.สร้างความเข้าใจและความร่วมมือของเครือข่ายในชุมชน

3. จัดทำพันธะสัญญา (MOU) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ

 

 

 

 

 

 

 

ดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผน

1.โครงการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลในการฟื้นฟูสภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

2. โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนนาเคียน

3. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแล ในด้านการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว

 

 

 

 

 

 

 

 

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับปรุงการปฏิบัติงาน

 

 

 

 

นำผลการดำเนินงานไปวางแผนเพื่อดำเนินการรอบปีถัดไป

 

 

 

 

 

ผลการดำเนินการ

จากการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการอย่างต่อเนื่อง  วิทยาลัยได้มีการประเมินผลความสำเร็จของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการดังนี้

5.1 ร้อยละ 100 ของอาสาสมัครสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยของ ทัศนคติ  ความรู้ความเข้าใจ  และ

ระดับความสามารถในการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น

5.2 ร้อยละ 100 ของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ดัชนี

สภาวะสุขภาพ และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคม และสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้น

5.3 ร้อยละ 88.4 ของผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

5.4ได้รูปแบบการดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียนและรูปแบบการดูแลด้วยระบบครอบครัวพหุ

วัฒนธรรม

5.5 เกิดเครือข่ายร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโหนด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช และโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราชในการดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียนโดยในการดำเนินงานดูแลผู้พิการ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียนจะเป็นผู้สนับสนุนเรื่องเงินงบประมาณ สถานที่ในการดำเนินโครงการ ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโหนดและวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช จะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ และโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราชจะสนับสนุนในส่วนของวิทยากร การอำนวยความสะดวกในการรับรองเป็นผู้พิการ การร่วมตรวจเยี่ยมผู้พิการในชุมชน และการเบิกอุปกรณ์สำหรับผู้พิการ

5.6   ความสำเร็จของการบูรณาการบริการวิชาการ กับรายวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดโครงการ

  1. เกิดชมรมจิตอาสาดูแลผู้พิการตำบลนาเคียน

จากการดำเนินงานร่วมกันของวิทยาลัย กับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเคียน โรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหมืองหัวทะเล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโหนด ในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนนาเคียนตลอดระยะเวลา ๒ ปี พบว่าชุมชนมีผู้นำและสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องอาสาสมัครสาธารณสุขมีกระบวนการแลกเปลี่ยนแนวคิด ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ และเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ ภายใต้บริบทของวัฒนธรรมความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการก่อตั้งชมรมจิตอาสาดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียนขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือผู้พิการอย่างต่อเนื่อง

2.ได้องค์ความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2.1)  ระบบในการดูแลผู้พิการในชุมชน

ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทำให้อาสาสมัคร

สาธารณสุขมีความเข้าใจในบทบาทของตนเองมากขึ้น และมีความรู้ในการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพและดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมากขึ้น  ดังนั้นในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียนในระยะหลัง จึงมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนมากขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนของการสำรวจผู้พิการในชุมชน  การประสานงานเพื่อจดทะเบียนผู้พิการ การขอรับอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวแก่ผู้พิการ  เช่น ไม้เท้า  เหล็กสามขา  เก้าอี้รถเข็น การรายงานผลการเยี่ยมผู้พิการ และการส่งต่อ

2.2) การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ข้อนิ้ว จากการส่งเสริมอาชีพปอกกระเทียม และทำไม้กลัด

ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งส่งผลทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของข้อเป็นไปด้วยความยากลำบาก การส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพทั่วไปจะเน้นการบริหารกล้ามเนื้อและข้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกายที่มีพยาธิสภาพโดยการเคลื่อนไหวในท่าต่างๆ เช่น เหยียด งอ กางเข้า กางออก และหมุน ซึ่งจากการที่ผู้พิการได้รับการส่งเสริมอาชีพให้ปอกกระเทียม ทำไม้กลัด ทำให้ได้ฝึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อเป็นประจำทุกวัน ผลของการที่ผู้พิการได้ปอกกระเทียมไป 3 เดือน พบว่าการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อนิ้วมือและข้อนิ้วดีขึ้น อาการชาลดลง

2.3) นวัตกรรมจากชุมชน

เกิดนวัตกรรมในชุมชนในการดูแลผู้พิการ โดยผู้ดูแล และผู้พิการ ประยุกต์วัสดุ เครื่องใช้ใน

ครัวเรือนมาช่วยในการดูแลผู้พิการ เช่นเก้าอี้พลาสติกช่วยเดิน    ส้วมมหัศจรรย์    ยางรัดสารพัดประโยชน์ นำเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการรายอื่นๆตามบริบทที่เหมาะสม

2.4) องค์ความรู้จากการวิจัยในชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ

วิจัยระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้พิการ  : กรณีศึกษาในชุมชนนาเคียนตำบลนาเคียนอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นการศึกษาถึงความรู้ ระดับการปฏิบัติงาน  และแนวทางในการพัฒนาระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้พิการในชุมชนนาเคียนผลของการศึกษาพบว่าความรู้และระดับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้พิการอยู่ในระดับปานกลาง (=3.69, SD=.79; =3.75, SD=.76)อาสาสมัครที่มีระดับการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีแนวทางในการพัฒนาระบบอาสาสมัครสาธารณสุขแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 7.64, p <.05)   ผลจากการวิจัยนำไปสู่การปรับปรุงระบบอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้พิการในชุมชน

วิจัยรูปแบบการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนด้วยระบบครอบครัวพหุวัฒนธรรม เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง 2) ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนลดภาระของญาติและผู้ดูแล3)ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน 4)อาสาสมัครสาธารณสุขมีความพร้อมและมั่นใจในการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน 5)สร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน และ 6) นักศึกษาพยาบาลได้เรียนรู้สภาพจริงของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนวิธีการดำเนินงานโดยลงศึกษาชุมชนและหาแนวร่วมในการดำเนินงาน จัดประชุมทีมงาน ค้นหาปัญหา อุปสรรค แนวทางในการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนรับสมัครทีมจิตอาสาดูแลผู้พิการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลผู้พิการ จัดระบบครอบครัวเสมือน ติดตามประเมินความสามารถของผู้พิการและแนวทางการฟื้นฟูสภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวเป็นรายคนจัดทำแฟ้มครอบครัวทีมร่วมดูแลผู้พิการบันทึกผลการเยี่ยมจัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงาน  ผลของการดำเนินงานผู้พิการทางการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ มีคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น ดัชนีสภาวะสุขภาพเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นในทุกด้าน และผู้ดูแลผู้พิการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการดูแลของทีมจิตอาสาในระดับมากที่สุดและจำนวนจิตอาสาในชุมชนเพิ่มขึ้น 10 คน ในรอบ 1 ปีผลของการวิจัยได้รูปแบบการดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชนด้วยระบบครอบครัวพหุวัฒนธรรมและนำรูปแบบไปขยายสู่การดูแลผู้สูงอายุ

 

  (385)

Comments are closed.