แบบฟอร์มสำหรับส่งบทความเข้าคลังความรู้
วันที่บันทึก : 6 กุมภาพันธ์ 2557
ผู้บันทึก : นางสาวจันทิมา ช่วยชุม และนางชุติมา รักษ์บางแหลม
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาการพยาบาลพื้นฐานและพื้นฐานวิชาชีพ และกลุ่มการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและบริหารการพยาบาล
ฝ่าย : วิชาการ
ประเภทการปฏิบัติงาน: ประชุม
วันที่ 28 ตุลาคม ถึง 9 พฤศจิกายน 2556
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :
สถานที่จัด : ณ Institute of Health Science, Kendal
เรื่อง : การแลกเปลี่ยนทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษากับสถาบันการศึกษาจากประเทศอินโดนีเซีย
รายละเอียด
การร่วมกิจกรรมโครงการการแลกเปลี่ยนทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษากับสถาบันการศึกษาจากประเทศอินโดนีเซียก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศอินโดนีเซียที่ต้องดำเนินชีวิตด้วยความเสี่ยงเพราะยานพาหนะที่ใช้เดินทางส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ประกอบกับความเจริญทางถนนหนทางก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงส่งผลให้ Top 5 ของโรคที่ประเทศนั้น คือ การบาดเจ็บที่ศีรษะ หากแต่บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะยังไม่เห็นเด่นชัดหรือมีแนวทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้ถึงการจัดระบบการศึกษาของประเทศ วัฒนธรรม การเมืองและการปกครองที่เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสถานศึกษาด้วย โดยระบบการศึกษาจะจัดให้หลักสูตรพยาบาลมีการเรียนการสอน 2 หลักสูตร นั่นคือ หลักสูตรพยาบาล 4 ปี เทียบได้กับพยาบาลเทคนิคของไทย และหลักสูตรพยาบาล 5 ปี เทียบได้กับพยาบาลวิชาชีพของไทย ซึ่งในปีที่ 5 จะเน้นการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยทั้งปีโดยผลัดเปลี่ยนไปยังหอผู้ป่วยต่างๆ ทั้งตึกอายุรกรรม ศัลยกรรม ห้องคลอด เด็ก ผู้สูงอายุ จิตเวช และชุมชน อีกทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะมีบทบาทหนึ่งในการส่งเสริมสนับสนุนระบบการศึกษาให้มีความคล่องตัวและสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาของเมืองนั้นๆ สำหรับวัฒนธรรมมีความแตกต่างกับไทยค่อนข้างมากในเรื่องอาหารการกินโดยจะเน้นอาหารที่มีเครื่องเทศเป็นส่วนประกอบหลักทำให้กลิ่นค่อนข้างแรง ในเรื่องการทักทายก็จะใช้การจับมือและกอดสำหรับเพศเดียวกัน ส่วนต่างเพศกันจะใช้เพียงการจับมือเท่านั้น และในเรื่องการมีคู่ครองในอายุที่ค่อนข้างน้อย เป็นต้น เมื่อกล่าวถึงเนื้อหาทางวิชาการที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนั้นทำให้ทราบว่าการจัดการศึกษาของวิทยาลัยของเราค่อนข้างครอบคลุมและเจาะลึกสามารถให้การพยาบาลบุคคลที่มีความซับซ้อนทั้งโรคทางกายและทางจิตรวมถึงครอบครัวอันสอดคล้องกับความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง หากแต่ในการแลกเปลี่ยนทางวิชาการครั้งนี้คณะอาจารย์ของเราทั้งสองท่านก็ยังมีโอกาสในการสอนให้ความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการ ปวดหลัง การแก้ปัญหาจริยธรรมทางการพยาบาล แก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และการพยาบาลผู้ป่วย โรคลมชักแก่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ซึ่งบรรยากาศการเรียนการสอนในครั้งนั้นเป็นไปด้วยดีเพราะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งนักศึกษาและครูด้วยความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน สอบถามข้อสงสัยต่างๆ ด้วยความสนใจ
สิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ นั่นคือ การมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลระหว่างไทยและอินโดนีเซีย รวมถึงการต่อยอด การพัฒนางานวิจัยทางการพยาบาลอันเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศด้วย
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
-ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน
-การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบททางการศึกษาของไทย
-การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร
-การปรับทัศนคติให้มุ่งมั่นกับการทำงานให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์กร
-สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการทำข้อสอบเพื่อวัดและประเมินผลนักศึกษาพยาบาลให้ตรงตาม-วัตถุประสงค์และเกิดประสิทธิภาพในการวัดผลสูงสุด
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ
การเรียนการสอนและทัศนคติที่
การพัฒนาบุคลากร
การวิจัยและ/ผลงานทางวิชาการ
-ด้านสมรรถนะ
การวางแผนการสอน
การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษ
การสร้างเครือข่ายทางการวิจัย/ผลงานวิชาการ
-ด้านอื่น ๆ
-ด้านการนำผลการพัฒนาไปประยุกต์ใช้กับงาน
(355)