ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)

ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)
 ผู้บันทึก :  นางเกษรา วนโชติตระกูล
  กลุ่มงาน :  งานจัดการศึกษาและหลักสูตร
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุมเชิงปฏิบัติการ
  เมื่อวันที่ : 22 ก.ย. 2553   ถึงวันที่  : 24 ก.ย. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  ส่วนพัฒนาการศึกษา สบช.
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)
  วันที่บันทึก  28 ก.ย. 2553


 รายละเอียด
               ๒๒ กันยายน ๒๕๕๓ รองผอ. ส่งศรี กิตติรักษ์ตะกูล กล่าวเปิดการประชุม บรรยายแนวทางการจัดทำคู่มือการศึกษาภาคปฏิบัติ โดย อาจารย์พจนา ปิยะปกรณ์ชัย การศึกษาภาคปฏิบัติ เป็นการ จัดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง พัฒนาทักษะให้เกิดความคล่องแคล่ว ความชำนาญ ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติ วิธีการขั้นตอนในการ ปฏิบัติ การสอนภาคปฏิบัติ = วิธีปฏิบัติ ประยุกต์ความรู้ด้านทฤษฎี ผสมผสาน บูรณาการความรู้ ทักษะ ทัศนคติ = การใช้ Scientific knowledge + Humanistic การพัฒนาทักษะ = ทักษะด้านการคิด + ทักษะการปฏิบัติ ทักษะการเรียนรู้+ทักษะการคิดวิเคราะห์ + ทักษะการตัดสินใจ+ ทักษะการแก้ปัญหา เป็นสิ่งจำเป็นต้องรู้เหตุ รู้ผลในการปฏิบัติกิจกรรมนั้น (Know How) มาตัดสินใจ ในการให้การแก้ไขปัญหาของแต่ละบุคคล เป้าหมายของการศึกษาภาคปฏิบัติ 1. ช่วยให้นักศึกษานำความรู้ภาคทฤษฎีไปใช้ในสถานการณ์จริง 2. พัฒนาความสามารถ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติเชิงวิชาชีพ 3. เรียนรู้วัฒนธรรมการปฏิบัติงานของวิชาชีพ -LO = จะรู้ เข้าใจ ทำอะไรได้บ้าง – Process = จะเรียนรู้อย่างไรให้รู้ เข้าใจ และทำได้ – Assessment จะวัดอย่างไรว่าเกิด LO – Learning Resources จะต้องสนับสนุนอย่างไร ทักษะที่จำเป็น 10 ประการ 1. ทักษะด้านการสร้างความคิด 2. ทักษะด้านพัฒนาชุมชน 3. ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร 4. ทักษะด้านการประสานงาน 5. ทักษะด้านการจัดการ 6. ทักษะด้านการสอน 7. ทักษะเทคนิค วิธีปฏิบัติ 8. ทักษะการทำงานเป็นทีม 9. ทักษะด้านการเข้าถึงมนุษย์ 10. ทักษะด้านการค้นคว้าวิจัย การจัดทำคู่มือการศึกษาภาคปฏิบัติ 1. วิเคราะห์ผลลัพธ์ 2. ออกแบบการจัดประสบการณ์ 3. กำหนดวัตถุประสงค์ 4. กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ 5. การฝึกปฏิบัติ 6. กำหนดการวัด ประเมินผล การออกแบบการศึกษาภาคปฏิบัติ ประกอบด้วย – ผลลัพธ์รายวิชา – การวัด ประเมินผล – กิจกรรมการเรียนรู้ – แหล่งเรียนรู้ แลกเปลี่ยนรู้แต่ละวิทยาลัย วพบ.ขอนแก่น : จัดบูรณาการกับวิชาบริหาร จัดเฉพาะในรพ. แต่ละ Ward ประมาณ 4-5 คน วัตถุประสงค์เพื่อเรียนบทบาทการเป็นพยาบาลวิชาชีพ การใช้กระบวนการพยาบาลในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู การบริหาร บนพื้นฐานการดูแลแบบองค์รวม เอื้ออาทร วพบ.กรุงเทพฯ : มีแนวทางเช่นเดียวกัน วพบ.ลำปาง: ไม่มีการฝึก เวลา ๑๓.๐๐ -๑๘.๐๐ น. ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อจัดทำร่างคู่มือการฝึกปฏิบัติ โดยการวิเคราะห์ ผลการเรียนรู้ที่ต้องการจากลักษณะรายวิชา ซึ่งในหลักสูตร ๔๕ ไม่มีรายวิชานี้ จึงต้องเขียนลักษณะการฝึกแทน และจากผลการเรียนรู้ นำมาสู่การกำหนดกิจกรรมการฝึก การวัดและประเมินผล และแหล่งเรียนรู้ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐-๑๗.๐๐น. นำร่างของทั้งสองกลุ่มมาวิพากษ์ และจัดทำร่างคู่มือการฝึก ๒๔กันยายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐-๑๓.๐๐น. ประชุมปรับปรุงแก้ไขระเบียบการจัดการศึกษาของสบช ที่มีประเด็นการเข้าใจไม่ตรงกัน ทางสบช.จะประกาศอีกครั้ง


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การเรียนการสอนรายวิชา Elective – การจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
              - การเรียนการสอนรายวิชา Elective – การจัดทำคู่มือการฝึกปฏิบัติเข้ม(Elective Practive)

(280)

Comments are closed.