การพัฒนาวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานและเป็นวารสารอิเล็คทรอนิคส์

การพัฒนาวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานและเป็นวารสารอิเล็คทรอนิคส์
 ผู้บันทึก :  นางสาวภาวดี เหมทานนท์
  กลุ่มงาน :  กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช
  ฝ่าย :  ฝ่ายวิชาการ
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  ประชุม
  เมื่อวันที่ : 26 ก.ค. 2554   ถึงวันที่  : 28 ก.ค. 2554
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  จังหวัด :  กรุงเทพมหานคร
  เรื่อง/หลักสูตร :  การพัฒนาวารสารทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานและเป็นวารสารอิเล็คทรอนิคส์
  วันที่บันทึก  24 ส.ค. 2554


 รายละเอียด
      การ พัฒนาวิชาการเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปงาน สาธารณสุข และเป็นการพัฒนาทั้งบุคลกรและหน่วยงาน โดยนักวิชาการทุกสายงานและทุกระดับต้องสร้างผลงานวิชาการที่มีคุณค่าและได้ มาตรฐาน รวมทั้งต้องมีการเผยแพร่ผลงานในวารสารที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ผลงานนั้นมีความน่าเชื่อถือต่อการนำไปใช้ประโยชน์

      สำนัก วิชาการสาธารณสุขได้เริ่มต้นขยายการให้บริการแก่บุคลากรสาธารณสุขและประชาชน ทั่วไป ให้สามารถเข้าถึงและค้นคว้างานวิจัย และบทความวิชาการของสำนักวิชาการสาธารณสุขทั้งในรูปแบบของบทคัดย่อ และเอกสารฉบับสมบูรณ์ โดยให้บริการในรูปของ E-service ผ่านทางระบบอิเล็คทรอนิคส์ไร้สาย โดยสามารถสืบค้นได้ที่เว็บไซด์ http://pubnet.moph.go.th/pubnet2 ประกอบกับขณะนี้วารสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณาสุขในประเทศไทยหลายฉบับ อยู่ในฐานข้อมูลเครือข่าย

      การประชุมครั้งนี้ เป็นการสมัครเป็นเครือข่าย เรียนรู้และทดลองใช้ระบบดังกล่าว คือการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ของระบบวารสาร OPEN JOURNAL SYSTEM (OJS) การที่เลือกใช้ระบบนี้เพราะ

             -สามารถเพิ่ม visibility และเพิ่ม citation (เพิ่มโอกาสถูกเก็บเกี่ยวด้วย Google)

            – Internationality at locality (รับรู้ในระดับนานาชาติ ในรูปบทคัดย่อภาษาอังกฤษ คนไทยยังได้ใช้ประโยชน์ ในรูปบทความฉบับ

                    - ค้นพบทุกอย่างที่อยู่ในรูปบทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                    - ง่ายและค่าใช้จ่ายต่ำ

      ซึ่งขั้นตอนการอบรมจะเป็นการใช้โปรแกรมตามขั้นตอน จนกระทั่งได้รูปเล่มวารสารที่จะออนไลน์ได้

 


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
การจัดทำวารสารและการใช้ในการปฏิบัติงาน


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
 

(304)

Comments are closed.