ผู้บันทึก : นางนิศารัตน์ นรสิงห์ และนางจิตฤดี รอดการทุกข์ | |
กลุ่มงาน : กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช | |
ฝ่าย : ฝ่ายวิชาการ | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุม | |
เมื่อวันที่ : 25 ส.ค. 2553 ถึงวันที่ : 26 ส.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สถาบันพระบรมราชชนก | |
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร | |
เรื่อง/หลักสูตร : ประชุมวิชาการประจำปี “ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต” | |
วันที่บันทึก 20 ก.ย. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
๑) การปาฐกถานำเรื่องสถาบันพระบรมราชชนก อุดมการณ์จัดการศึกษาที่เน้นคุณค่าของความเป็นคน โดยผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก ได้ชี้ประเด็นความสำคัญสถาบันพระบรมราชชนก เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุข การพัฒนาบุคลากรต้องพัฒนาความรู้ที่ทันสมัย พัฒนาเทคนิคการทำงาน และพัฒนาให้บุคลากรสาธารณสุขให้สร้างระบบการปรับความคิด ให้คิดใหม่ในเรื่องการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ผ่านกระบวนการพัฒนาความคิดของคนทำงาน ให้ทำความเข้าใจประชาชน มองว่าประชาชนคิดอย่างไร เข้าใจสิ่งที่ประชาชนคิด ประชาชนทำ เข้าใจการให้คุณค่าแต่ละเรื่องว่าเป็นอย่างไร แล้วจึงนำความเข้าใจนั้นมาต่อยอดการทำงานพัฒนาสุขภาพ ๒) การเสวนา มนุษย์: มุมมองที่เปลี่ยนไป ผู้เสวนาได้ชี้ประเด็นความสำคัญในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนความคิด เรียนความจริง เรียนชีวิตคน ทำให้นักศึกษาเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนมุมมอง เข้าใจมนุษย์ ในมุมมองที่ไม่เคยรู้มาก่อน เข้าใจความคิดตัวเอง ใช้ข้อคิด จากชีวิตที่เห็นและเรียนรู้มาสร้างพลังในการเรียน ๓) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา เรื่องการสอนทัศนคติ การเรียนสภาพจริง: เปลี่ยนความคิดพิชิตความจริง ผู้เสวนาได้ชี้ประเด็นความสำคัญของทัศนคติต่อการเรียนการสอน ผู้สอนต้องสอนให้ศิษย์ได้รู้ ได้เข้าใจต้องมองในภาพกว้าง พยาบาลต้องเข้าใจเรื่องความคิด ต้องสอนให้คิด ๔) เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการจัดการศึกษา เรื่องพัฒนาจิตกับการศึกษา ระบบครอบครัวเสมือน ตัวแทนนักศึกษา ๕ วิทยาลัย (พะเยา ขอนแก่น จักรีรัช ชลบุรี และนครศรีธรรมราช) เล่าถึงกิจกรรมครอบครัวเดียวกันของแต่ละวิทยาลัย และความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมครอบครัว นักศึกษาทุกวิทยาลัยรู้สึกอบอุ่น กล้าพูด สามัคคี เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ซึ่งแต่ละวิทยาลัยมีรูปแบบการจัดครอบครัวที่แตกต่างกัน โดยวพบ.พะเยานำแนวคิดครอบครัวไปใช้กับชุมชนภายนอกหลาย โครงการ วพบ. ขอนแก่นประสบการณ์ปีที่ 1 สร้างครอบครัวในวิทยาลัยเน้นการพัฒนาตนเองของสมาชิก ปีที่ 2 พัฒนากิจกรรมครอบครัวสู่จิตอาสา และปีที่ 3 นำแนวคิดออกสู่ชุมชน วพบ.ชลบุรีเน้นการสร้างความเข้าใจและความเข้มแข็งของสมาชิกในวิทยาลัยโดยการ กระบวนการจิตปัญญา วพบ.นครศรีธรรมราช เน้นการสร้างความเข้าใจของสมาชิกในวิทยาลัย พัฒนาตนเองของสมาชิก นำสู่การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ใช้กิจกรรมเป็นตัวพัฒนาสมาชิก โดยทุก ๆวิทยาลัยมีเป้าหมายคือ การสร้างบัณฑิตเพื่อให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ โดยผ่านการเรียนรู้จากระบบครอบครัวเสมือน ซึ่งจะเป็นตัวกล่อมเกลาสมาชิก
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
๑) การดำเนินโครงการภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน ๒) ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ ทรัพยากร บุคลากร สิ่งแวดล้อม และหัวใจของความเป็นมนุษย์ มาใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชาที่รับผิดชอบ ๓) พัฒนาความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับการเรียนตามสภาพจริง
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต พฤติกรรมมนุษย์ มนุษยกับการอยู่ร่วมกัน |
(295)