การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น ประจำปีงบประมาณ 2553

การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น ประจำปีงบประมาณ 2553
ผู้บันทึก :  นายอาทิตย์ ภูมิสวัสดิ์
  กลุ่มงาน :  งานพัฒนาบุคลากร
  ฝ่าย :  ฝ่ายบริหาร
  ประเภทการปฎิบัติงาน :  อบรม
  เมื่อวันที่ : 29 พ.ค. 2553   ถึงวันที่  : 3 ก.ค. 2553
  หน่วยงาน/สถาบันที่จัด :  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาทสระบุรี
  จังหวัด :  สระบุรี
  เรื่อง/หลักสูตร :  การอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น ประจำปีงบประมาณ 2553
  วันที่บันทึก  3 ก.ย. 2553

 รายละเอียด
               ๑. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม ๑.๑ ด้านความรู้ การบริหารองค์กร ปัจจัยและทรัพยากรต่างๆทางการบริหารต่างก็มีความสำคัญและสัมพันธ์ซึ่งกันและ กัน โดยปัจจัยทางการบริหารที่มีความสำคัญและจำเป็นมากที่สุดในปัจจุบันคือ ทรัพยากรบุคคล หรือผู้ทำงานในองค์การนั้นๆ เพราะเป็นผู้ใช้ปัจจัยทางการบริหารทั้งหมด ทั้งเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานกระจายครอบคลุม ทั่วประเทศในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหาร ซึ่งจะต้องหากลยุทธ์และกลวิธีการดำเนินงานที่เหมาะสม หลากหลายสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง สถานการณ์และบริบท เพื่อให้การบริการสุขภาพประชาชนเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนด จึงมอบหมายให้สถาบันพระบรมราชชนก โดยวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข ดำเนินการพัฒนาผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้นซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มี ความใกล้ชิดกับผู้รับบริการคือ ประชาชน และเป็นผู้รับนโยบายไปดำเนินงาน ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการบริหารจัดการงานตามบทบาทหน้าที่และภารกิจที่สอด คล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและประเทศ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เหมาะสมกับสถานการณ์ บริบท และการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม โดยยึดหลักความพอเพียง รายละเอียดหลักสูตรการอบรมผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น หน่วยการเรียนที่ ๑ การเตรียมความพร้อมก่อนการอบรม จำนวน ๑ สัปดาห์ วัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมศักยภาพความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ และความพร้อมด้านการเรียนรู้ของ ผู้เข้ารับการอบรม ประเด็นเนื้อหา และกิจกรรม เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการอบรมด้านกฎ ระเบียบต่าง ๆ การพัฒนาศักยภาพผู้เข้ารับการอบรมเพื่อเตรียมพร้อมการอบรมในสัปดาห์ต่อไป ซึ่งเป็นความรู้ และทักษะพื้นฐานสำหรับผู้บริหาร หน่วยการเรียนที่ ๒ กระบวนการและกิจกรรมการอบรม (ตลอดระยะเวลาการอบรม) วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เข้ารับการอบรมด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะความพร้อมในการบริหารงานตามภารกิจ และบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ประเด็นเนื้อหา และกิจกรรม เป็นความรู้ ทักษะและสมรรถนะผู้บริหาร ประกอบด้วย ๔ หมวดวิชา คือ หมวดความรู้พื้นฐานทางการบริหาร หมวดความรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้บริหาร หมวดความรู้สนับสนุนทาง การบริหาร และอื่นๆ หน่วยการเรียนที่ ๓ การบูรณาการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม จำนวน ๑ สัปดาห์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้และประสบการณ์มาบูรณาการและประยุกต์การ ฝึกปฏิบัติงานภาคสนามในระดับตำบลโดยการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และปัจจัยทางด้านการบริหารงานสาธารณสุขที่ทำให้เกิดปัญหา พร้อมกำหนดแผนกลยุทธ์การพัฒนาและแก้ไขปัญหาการบริหารงานสาธารณสุข การประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม แบ่งเป็น ๑. ประเมินกระบวนการกลุ่ม หรือการทำงานเป็นทีม ในประเด็น ก. การเตรียมการ /แผนงาน ข. กระบวนการทำงานกลุ่ม ค. บรรยากาศของการทำงาน ๒. การประเมินผลผลิต ในประเด็น ก. รายงานผลการศึกษา ข. การนำเสนอผลการศึกษา หน่วยการเรียนที่ ๔ การบูรณาการความรู้เพิ่มเติมและรับประกาศนียบัตร จำนวน ๑ สัปดาห์ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม บูรณาการความรู้ที่ได้รับจากการอบรมทั้งด้านทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติงานภาค สนามมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน หรือโดยศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือศึกษาดูงานภาครัฐและเอกชน ๒. สรุปผลการอบรมตลอดหลักสูตรและรับประกาศนียบัตร ขอบเขตประเด็นเนื้อหา ๑. บูรณาการความรู้จากทฤษฎีและฝึกปฏิบัติงานประยุกต์ใช้ในการทำงานในหน่วยงาน ของผู้อบรมแต่ละคน ๒. บูรณาการความรู้จากทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ สรุปเป็นผลการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร (ความรู้จากวิทยากร การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม Port No.๔ และ PBL) ๓. การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม หรือศึกษาดูงาน ๔. การสรุปผลการอบรมและการนำเสนอผลการอบรมตลอดหลักสูตร ๕. พิธีมอบประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะ รูปแบบการอบรม เนื่องจากผู้บริหารระดับต้นจะต้องเป็นผู้นำหรือหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ จึงต้องมีการพัฒนาระบบความคิดและฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตน เอง ซึ่งความสามารถในการเป็นผู้นำและสมรรถนะทางการบริหารนั้น จำเป็นต้องพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อการพัฒนาในระดับชั้นสูงต่อไป กระบวนการเรียนการสอนที่ใช้จึงมุ่งที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วย ตนเอง (Student – Centered Learning) ซึ่งวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองวิธีหนึ่งก็คือ วิธีการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning = PBL) และการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จริง (Community Based Learning = CBL) หลักสูตรนี้จึงกำหนดกระบวนการเรียนการสอนและรูปแบบการอบรม ดังนี้ ๑. การเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning โดยใช้ Trigger ๑ เรื่องเป็นสถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนค้นหาปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์การ เรียนรู้ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้น ๒. การเรียนโดยการฟังการบรรยาย อภิปราย ค้นคว้าด้วยตนเอง ๓. การเรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติการทำงานเป็นทีม ๔. การเรียนรู้โดยฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม (Community Based Learning) โดยให้ผู้เรียนนำข้อมูลจริงในระดับตำบลของจังหวัดใกล้เคียงที่เป็นสถานที่ ศึกษาดูงาน ซึ่งประยุกต์ใช้หลักการทางระบาดวิทยาและการบริหารงานมาวิเคราะห์ปัญหาสาธารณ สุข สาเหตุของปัญหาโดยเฉพาะสาเหตุที่เกิดจากการบริหาร และวางแผนหาแนวทางแก้ไขสาเหตุของปัญหานั้น การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก(Problem Based Learning) หรือ PBL หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนซึ่งใช้ตัวปัญหา (Problem) เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาข้อมูลและองค์ความ รู้มาช่วยแก้ปัญหาหรือทำให้ปัญหานั้นกระจ่างมองเห็นแนวทางแก้ไขทำให้เกิดการ เรียนรู้ และสามารถที่จะผสมผสานความรู้นั้นๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนแบบ PBL เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาตัวผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Directed Learning : SDL) เป็นการเรียนที่ถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student – Centered Learning)ผู้เรียนจะใช้ทั้ง Head Heart และ Hand พร้อมๆ กัน คือใช้สมองในการคิด ใช้หัวใจในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้และใช้มือในการ จดบันทึกและค้นคว้า ซึ่งการเรียนแบบ PBL จะเกิดประโยชน์และได้ผลดีเมื่อเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย(Small Group Learning)ไม่เกิน ๑๕ คนโดยสมาชิกที่มีประสบการณ์ที่หลากหลายมีการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ ๑. วัตถุประสงค์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Base Learning: PBL) คือ เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้าน ๑.๑ พัฒนาสมรรถนะกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๑.๒ พัฒนาสมรรถนะในการแก้ปัญหา ๑.๓ พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ๑.๔ พัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่ม (Group Skills) ของผู้เรียน ๒. กระบวนการเรียนรู้แบบ PBL เริ่มต้นจาก “ปัญหา” (Problem) หรือ Trigger (แปลว่าไกปืน) สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนใช้ในการดำเนินการ แก้ปัญหา และศึกษาค้นคว้าจนเกิดการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ มี ๙ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ ทำความเข้าใจในความหมายต่าง ๆ ใน Trigger ให้เข้าใจ (understanding of triggers) โดยผู้เรียนต้องทำความเข้าใจกับปัญหาที่ได้ ถ้ายังไม่เข้าใจ ความหมายของคำ หรือข้อความใดต้องหาคำอธิบายให้ชัดเจน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกภายในกลุ่ม หรือจากเอกสารตำรา ขั้นตอนที่ ๒ ค้นหาปัญหา และกำหนดปัญหาให้ชัดเจน (Problem identification) โดยต้องเข้าใจปัญหาที่ถูกต้องสอดคล้องกันว่ามีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใด ถูกกล่าวถึงหรืออธิบายในปัญหานั้น ขั้นตอนที่ ๓ วิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุและตั้งสมมติฐาน (Cause of Problem & Set Hypothesis) ขั้นตอนที่ ๔ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยวิทยากร (Additional information) ซึ่งขั้นตอนที่ ๓ และ ๔ คือ การวิเคราะห์ปัญหาโดยความรู้เดิมของผู้เรียนเอง สรุปรวบรวมความคิดเห็น ความรู้ ของสมาชิกภายในกลุ่มด้านกระบวนการ และความเป็นไปได้ที่สมเหตุสมผลในปัญหานั้นๆ เป็นการระดมสมองให้สมาชิกของกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีเพื่อให้ได้ สมมุติฐานมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ขั้นตอนที่ ๕ วิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Real cause of Problem) จากสมมุติฐานต่าง ๆ ที่ได้ นำมาพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ โดยการสนับสนุนจากข้อมูล และความรู้จากสมาชิกภายในกลุ่ม เพื่อสรุปประเด็นสำคัญที่เป็นเป็นปัญหาที่แท้จริงและมีความสำคัญที่ต้องแสวง หาข้อมูลเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ ๖ กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Set Learning Objective) ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแก้ไข ปัญหากำหนด ขั้นตอนที่ ๗ ศึกษาค้นคว้า๗.๑) ด้วยตนเอง (Active Learning) ๗.๒) การบรรยายของวิทยากรหรือการสอบถามผู้รู้ (Passive Learning) ซึ่งจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดสมาชิกในกลุ่มช่วยกันแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก ภายนอก จากตำรา เอกสารทางวิชาการและผู้เชี่ยวชาญต้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการทำงานจะทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้ ขั้นตอนที่ ๘ แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกและกลุ่ม (Exchange Knowledge among members and groups) โดยแต่ละคนในกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้และร่วมอภิปราย เพื่อความชัดเจนในประเด็นที่ศึกษา ขั้นตอนที่ ๙ การนำเสนอรายงานการค้นคว้า (Presentation skills) ผลการศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอเพื่อให้สมาชิกในห้องเรียนรับทราบร่วมกัน ในการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การให้ผู้เรียนได้ผ่านกลไก ๓ ประการ คือ ๑. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning) การเรียนรู้จาก“ปัญหา” เป็นสิ่งที่มนุษย์ยึดถือมาตลอด เพราะมนุษย์ต้องเผชิญปัญหามากมาย ในวันหนึ่งๆ ซึ่งทำให้มนุษย์ได้สั่งสมประสบการณ์การแก้ปัญหา จนกลายเป็นความรู้และประสบการณ์เฉพาะบุคคล การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ การใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบโดยอาศัยปัญหาเป็นตนนำเข้า ที่เรียกว่า “Trigger” ในกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาที่นำเข้าไปเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ กระบวนการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลหรือความรู้ต่างๆ มาช่วยเสริมในการที่จะทำความเข้าใจกับตัวปัญหา เพื่อแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ๒. การเรียนรู้โดยใช้ตนเองเป็นหลัก (Self directed Learning or Student Centered) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน มีเสรีภาพในการใช้ความรู้ ความสามารถ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองในเรื่อง ๑. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เอง ๒. กำหนดเนื้อหาวิชา ๓. กำหนดหนังสือและแหล่งข้อมูล ๔. กำหนดขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในการเรียน ๕. กำหนดการประเมินผลการเรียนรู้ ๓. การเรียนรู้โดยอาศัยกลุ่ม (Small Group Learning) วิธีการเรียนแบบนี้ จะแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละไม่เกิน ๑๕ คน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยสมาชิกในกลุ่มจะช่วยกันค้นคว้าหาความรู้มาถ่าย ทอดและแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในกลุ่มพร้อมร่วมอภิปราย เพื่อความกระจ่างในเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก จึงอาศัยกลไก ๓ ประการ – Problem Based Learning (PBL) – Self Directed Learning – Small Groups Learning ในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีเงื่อนไขในการส่งเสริมการเรียนรู้ ๓ ประการ คือ ๑. กระตุ้นความรู้เดิม (Activation of prior Knowledge) ความรู้เดิมเป็นพื้นฐานที่มีประโยชน์ ผู้เรียนจะต้องนำความรู้เดิมออกจากความรู้เดิมออกจากความทรงจำให้มากที่สุด โดยมีวิทยากรพี่เลี้ยงและเพื่อนสมาชิกในการช่วยกระตุ้นให้สมาชิกนำความรู้ เดิมออมามาทำงานหรือแลกเปลี่ยนภายในกลุ่ม ๒. เสริมความรู้ใหม่ (Encoding Specificity) เป็นการนำความรู้ใหม่มาเสริมความรู้เดิมเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ๓. ต่อเติมความเข้าใจให้สมบูรณ์ (Elaboration of Knowledge) เป็นการให้ผู้เรียนเสริมความรู้โดยให้ผู้เรียนร่วมกันและแลกเปลี่ยนความรู้ และอภิปรายกับเพื่อนในกลุ่ม สรุป ตั้งคำถาม และพิสูจน์สมมุติฐาน การปฏิบัติดังกล่าวจะให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ เป็นความรู้เก็บกักไว้ในทรงจำได้นาน และสามารถนำออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ผู้เรียนที่จะประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาจะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ๕ ประการ (๕ C) ดังนี้ ๑. Competence หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงาน ๒. Communicative หมายถึง การติดต่อปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความเชี่ยวชาญในการสื่อสาร ๓. Concern หมายถึง ตระหนักในความสำคัญของงานที่ได้รับมอบหมาย ๔. Courage หมายถึง ความกล้าในการแสดงความคิดเห็น กล้าตัดสินใจ กล้าพูด กล้าทำ ๕. Creativity หมายถึง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่ผู้บริหารต้องการอย่างยิ่ง การใช้ความคิดนอกกรอบ จะช่วยแก้ปัญหาได้หลากหลายวิธี ในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ครูพี่เลี้ยงจะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้เรียน และมีบทบาทสำคัญกับผู้เรียน ดังนี้ ๑. เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ให้ผู้เรียน/กลุ่ม ทำงานโดยไม่ติดขัดและไม่หลงประเด็น ๒. เป็นที่ปรึกษาและคำแนะนำ เกี่ยวกับตำราที่ผู้เรียนใช้ค้นคว้า (Learning material) วิทยากร/บุคคลที่จะให้ความรู้แก่ผู้เรียน (Human Resources) ให้ข้อมูลบางอย่างที่จำเป็น ๓. เป็นผู้คอยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ กระตุ้นให้แสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เกิด Concept ที่หลักสูตรคาดหวัง ๔. เป็นผู้คอยประเมิน Group Dynamic /Group Process, ผลงาน, KAP ผู้เรียน, Trigger ว่าควรได้รับการปรับปรุงหรือไม่ ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Best Learning) เป็นกระบวนการเรียนการสอนซึ่งใช้ตัวปัญหา กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าข้อมูลและองค์ความรู้มาช่วย แก้ปัญหา หรือทำให้มองเห็นแนวทางแก้ไข ก่อให้เกิดการเรียนรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนาตัวของผู้เรียน ให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต สมรรถนะการแก้ปัญหา ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มของผู้เรียน การเรียนการสอนวิธีนี้จึงถือเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ เมื่อการเรียนรู้จบตามหลักสูตร จึงถอดบทเรียนจากผู้เข้าอบรมเพื่อประเมินผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนวิธี นี้ พบว่า การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อประโยชน์แก่ผู้เรียนคือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเอง ซึ่งมีแนวทางการเรียนรู้ 4 ประการคือ ๑. การเรียนรู้ด้วยตัวเอง และเรียนรู้ตามความต้องการ เนื่องจากการรอคอยให้ผู้อื่นมาบอกอาจจะไม่ได้ความรู้ตามที่ต้องการ ๒. การร่วมแลกเปลี่ยนกับเพื่อน “ใช้เพื่อนช่วยเพื่อน” ทำให้ทราบข้อมูลลึกซึ้ง สามารถนำไปใช้งานได้สมประโยชน์ ๓. เรียนรู้จากวิทยากรซึ่งได้จากคณะผู้จัดการอบรมฯ เห็นความสำคัญและสมควรจัดให้มีการเรียนรู้จากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ มาบรรยาย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยตรง ๔. เรียนรู้ที่จะค้นคว้า ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญการเรียนรู้ จากคำพูดที่ว่า “สิ่งใดไม่รู้ ต้องเรียนรู้ที่จะค้นคว้า” นอกจากแนวทางการเรียนรู้ข้างต้นแล้ว ยังได้ให้แนวคิดและปรัชญาการเรียนรู้ไว้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือ “มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต” “อายุไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนรู้” “การเรียนรู้ต้องไม่อาย” “พื้นฐานองค์ความรู้ที่มีของทุกคนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่สมาชิกในกลุ่ม” และได้กล่าวถึงปรัชญาการเรียนรู้ไว้ว่า “การเรียนรู้คือการพัฒนา การไม่เรียนรู้คือการไม่พัฒนา เมื่อไม่พัฒนาก็เหมือนไดโนเสาร์ที่มันจะตายไปเองตามกาลเวลา” กระบวนการกลุ่มและการทำงานเป็นทีม เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่สมาชิกกล่าวถึงจากการถอดบทเรียน โดยกล่าวว่า เป้าหมายของกระบวนการกลุ่มคือการขับเคลื่อนงานสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่ขัดกัน “ลงเรือลำเดียวกันต้องอยู่ร่วมกัน” การใช้กระบวนการกลุ่มจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนในเรื่องของความกล้าแสดง ความคิดเห็นและมีโอกาสแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้กระบวนการกลุ่มจะสำเร็จลุล่วงตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ขึ้นกับปัจจัย ด้านบทบาทของผู้นำและสมาชิก กล่าวคือ ผู้นำกลุ่มต้องพูดน้อยฟังมาก สมาชิกต้องรู้บทบาทและหน้าที่ของตนเอง องค์ประกอบของกระบวนการกลุ่มคือ การวางแผนที่ดี บริหารเวลาที่เหมาะสม การประสานงานที่ชัดเจน มีการแบ่งงาน เน้นมอบหมายคนตรงกับความรู้ความสามารถ “Put the right man on the right job” มีการระดมความคิด รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เรียนรู้ร่วมกัน ร่วมแรงร่วมใจ เสียสละและอดทน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าผู้นำมีบทบาทสำคัญในกระบวนการกลุ่ม จากการถอดบทเรียนพบว่าคุณลักษณะของผู้นำที่พึงประสงค์ซึ่งทำให้การเรียนวิธี นี้สำเร็จได้ด้วยดี คือ พูดน้อยฟังมาก สื่อสารเชิงบวก มีความคิดเชิงระบบ สามารถประมวลความคิดเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถบริหารเวลาให้เกิดสมดุลในชีวิตและงาน มีทักษะการฟังเพื่อประมวลความคิดเป็นข้อสรุปของทุกฝ่ายเพื่อป้องกันความขัด แย้ง นอกจากคุณลักษณะของผู้นำแล้ว การศึกษาในครั้งนี้ยังทำให้ค้นพบว่าผู้นำโดยธรรมชาติมีความสำคัญในการขับ เคลื่อนงานสาธารณสุข การทำงานต้องเสียสละประโยชน์ส่วนตัวบางส่วนเพื่อสร้างความสุขของส่วนรวม ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการหลักของการเรียนการสอนโดยการใช้ปัญหาเป็นหลักนั้น ต้องมีการค้นหาปัญหาอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ปัจจัยในเชิงลึกมากขึ้นเพื่อหาต้นตอของปัญหา แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการและข้อมูลต้องบูรณาการความรู้เพื่อใช้แก้ปัญหาอย่างเข้าใจ ทำให้ผู้เรียนมองเห็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหามากขึ้น มีมุมมองปัญหากว้างขึ้น และประการสุดท้ายที่พึงระลึกถึงเสมอคือ แต่ละบุคคลมีศักยภาพและวิธีการแก้ปัญหาไม่เหมือนกัน ผู้นำนอกจากจะต้องแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การมอบหมายงานก็มีความสำคัญ ที่แสดงถึงความไว้วางใจซึ่งกันและกัน วิธีการมอบหมายงานอาจแตกต่างกัน ตามลักษณะความชอบและถนัดของทั้งผู้มอบหมายงานและผู้รับมอบหมายงาน เช่น บางคนชอบให้สั่งการ บางคนชอบคิดวางระบบเอง เป็นต้น ดังนั้นก่อนการมอบหมายงานจึงควรมองคนให้ออก มองคนให้เป็น การมอบหมายงานจึงจะมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย ท้ายสุดยุทธศาสตร์กับการเรียนรู้ คือ ก่อนการพัฒนางานต้องวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค กำหนดทิศทางเพื่อเป็นเข็มทิศนำทางสู่เป้าหมาย ใช้ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมาย หรืออีกนัยหนึ่งความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกิดจากความสอดคล้องของความต้องการ ยุทธศาสตร์ จุดยืนทางยุทธศาสตร์ ทิศทางยุทธศาสตร์ การประเมินศักยภาพทางยุทธศาสตร์ ระบบการวัดและระบบการปฏิบัติการทางยุทธศาสตร์ นั่นเอง จากการถอดบทเรียนข้างต้น สรุปได้ว่า มีการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มและการทำงานเป็นทีม พัฒนาภาวะผู้นำและสมรรถนะในการแก้ปัญหา รวมถึงการเรียนรู้ยุทธศาสตร์และความเชื่อมโยงในมิติต่างๆของยุทธศาสตร์ที่ สอดคล้องกัน


   ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน
              – การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Best Learning) – แนวคิดและปรัชญาการเรียนรู้ – กระบวนการกลุ่มและการทำงานเป็นทีม – การแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ – การมอบหมายงาน – การพัฒนางานต้องวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค


  ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ?
               การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Best Learning) – แนวคิดและปรัชญาการเรียนรู้ – กระบวนการกลุ่มและการทำงานเป็นทีม – การแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ – การมอบหมายงาน – การพัฒนางานต้องวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค


(826)

Comments are closed.