ผู้บันทึก : นางสาวยุพาวรรณ ทองตะนุนาม | |
กลุ่มงาน : งานพัฒนานักศึกษาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม | |
ฝ่าย : ฝ่ายกิจการนักศึกษา | |
ประเภทการปฎิบัติงาน : ประชุมและนำเสนอผลงาน | |
เมื่อวันที่ : 5 ส.ค. 2553 ถึงวันที่ : 5 ส.ค. 2553 | |
หน่วยงาน/สถาบันที่จัด : สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข สถาบันพระบรมราชชนก โดยวิทยาลัยบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และเครือข่ายวิทยาลัยภาคกลาง 1 | |
จังหวัด : นนทบุรี | |
เรื่อง/หลักสูตร : “ศักยภาพนักศึกษา: เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลงาน” | |
วันที่บันทึก 31 ส.ค. 2553 | |
|
|
รายละเอียด | |
๑.๑ ด้านเนื้อหาสาระ การบรรยายเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพ: บทบาทของสถาบันและนักศึกษาพยาบาล รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกัน รักษา โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งจากการสำรวจโดยสำนักพัฒนาคุณภาพ สปสช. พบว่า อัตราการตายต่อประชากรแสนคนจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในปี พ.ศ. 2550 อยู่ที่ 55.2 ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2546 และจากผลการวิจัยของ สวรส. ยังพบว่าในปี พ.ศ. 2547 ความชุกของเบาหวานในประชากรอายุ 15-59 ปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 เป็นร้อยละ 6.6 และมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อยู่ในระบบบริการ เพียงร้อยละ 41 และ 29 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยเหล่านี้สามารถคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดีเพียงร้อยละ 12 และสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปกติได้เพียงร้อยละ 36 โรคเบาหวานยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ ป่วยและค่าใช้จ่ายโดยรวมด้านสาธารณสุข และยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้ เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง ต้อเนื้อ เป็นต้น แต่ระบบบริการสุขภาพส่วนใหญ่ยังเน้นการดูแลรักษาในระยะเฉียบพลัน และไม่มีการเชื่อมโยงการบริการ ผู้ป่วยหลายรายต้องกลับมาพักรักษาในโรงพยาบาลด้วยสาเหตุที่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้นระบบการดูแลสุขภาพเดิมยังเน้นผู้ให้บริการเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการป้องกัน รักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจึงเป็นงานที่ท้าทาย เราควรจะปรับระบบสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการโดยระบบสุขภาพควรเน้นในเรื่อง ของ Self-Management Support, Delivery System Design, Clinical Information System และ Decision Support ในบริบทของชุมชนให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่และนโยบาย จากมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีพ.ศ. 2552 ได้เน้นการให้บริการสุขภาพในสองประเด็นหลักคือ ด้านการสนับสนุนและชดเชยบริการผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงและด้านการ สนับสนุนบริหารและพัฒนาระบบบริการ โดยให้มีการเน้นบทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และกองทุนองค์การบริหารส่วนตำบล/ เทศบาล ในการทำ Self-screening และระบบเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชน และเน้นการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิและระบบส่งต่อ ส่งกลับผู้ป่วย ของเครือข่ายหน่วยบริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตลอดจนให้เน้นการเพิ่มคุณภาพคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูงและการมีส่วน ร่วมของผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ โดยให้มีการบูรณาการงบประมาณและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
|
|
ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน | |
นำไปใช้ประกอบการสอนในวิชาการส่งเสริมสุขภาพและการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ
|
|
ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อ ? | |
การเรียนการสอนรายวิชา.การส่งเสริมสุขภาพ และการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ |
(284)